วิถีเชน 020 ประวัติพุทธศาสนา #อาจารย์เสถียร โพธินันทะ (youtube.com) เชน เน้น อหิงสา การแตกแยกนิกายของศาสนาเชน (youtube.com) ![]() - สมิติ 5 (Samitis) ความไม่ประมาทในการกระทำ - คุปติ 3 (Guptis) การควบคุมการกระทำ - ยติธรรม 10 (Yati Dharma) คุณธรรมทางศาสนา - ภาวนา 12 (Bhavana) การพิจารณาใคร่ครวญ หรือการทำใจให้แยบคาย - ปริษหะ 22 (Parishaha) ความอดทนต่อความลำบากด้วยใจเป็นกลาง - จาริตุระ 5 (Charitra) ความประพฤติ ![]() สมิติ หมายถึง ความไม่ประมาท หรือการมีสติรู้ตัวอยู่เสมอทุกเวลาในทุกกิจกรรมโดยระมัดระวังที่จะไม่กระทำความเบียดเบียน - อีรยา สมิติ (Irya Samiti) สติในการเดิน - ภาษา สมิติ (Bhasha Samiti) สติในการพูด - เอษณา สมิติ (Eshana Samiti) สติในการขอ - อาทานะ นิกเษปะ สมิติ (Adana Nikshepa Samiti) สติในการรับและการเก็บรักษา - อุตสรรคะ สมิติ (Utsarga Samiti) สติในการกำจัดสิ่งสกปรกของเสีย ![]() การเว้นจากอกุศลใดๆ ในทางกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรม เรียกว่า คุปติ อันเป็นข้อธรรมที่สำคัญในหมวดสังวร - มโน อุปติ (Mano Gupti) การควบคุมจิตใจให้อยู่ในความถูกต้อง - วาจา คุปติ (Vachan Gupti) การควบคุมคำพูดให้อยู่ในความถูกต้อง - กาย คุปติ (Kaya Gupti) การควบคุมกายให้อยู่ในความถูกต้อง ![]() คุณธรรม 10 ประการนี้ ได้แก่ หลักแห่งความประพฤติที่บริสุทธิ์ - กษมา (Kshama) การให้อภัย ความอดทนอดกลั้น - มารทวะ (Mardava) การรู้จักพอประมาณ ความสมถะ - อารชวะ (Arjava) ความซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา - เศาจะ (Shaucha) ความสันโดษ - สัตยะ (Satya) สัจจะ - สังยัม (Samyam) การควบคุมอายตนะ - ตบะ (Tapa) บำเพ็ญตบะ ทรมานกาย - ตยาค (Tyag) การออกบวช - อากินญจันยะจันยะ (Akinchanya) การไม่ยึดติด - พรหมจรรย์ (Brahmacharya) การถือพรหมจรรย์ ![]() ศาสนาเชน กล่าวว่า บุคคลมีความคิดที่บริสุทธิ์ได้ก็ต่อเมื่อเขาต้องขับความคิดที่ชั่วออกไป บุคคลนั้นต้องทำใจให้แยบคาย โดยการภาวนาพินิจสิ่งต่าง ๆ ใน 12 ประการ นี้ - อนิตยะ ภาวนา (Anitya Bhavana) พิจารณาความไม่เที่ยงแท้ของโลก - อศรัน ภาวนา (Asharan Bhavana) พิจารณาว่าไม่มีใครให้ความปกป้องแก่ตนได้ - สัมสาร ภาวนา (Samsar Bhavana) พิจารณาความสัมพันธ์ที่เที่ยงแท้ใด ๆ ไม่มีในโลก - เอกัตวะ ภาวนา (Ekatva Bhavana) พิจารณาความสันโดยของชีวะและวิญญาณ - อันยัตวะ ภาวนา (Anyatva Bhavana) พิจารณาในความพลัดพราก - อศุจิ ภาวนา (Ashuchi Bhavana) พิจารณาในความไม่บริสุทธิ์ของร่างกาย - อาสรวะ ภาวนา (Asrava Bhavana) พิจารณาการไหลเข้ามาของกรรม - นิรชรา ภาวนา (Nirjara Bhavana) พิจารณาการกำจัดกรรมเก่า - สังวร ภาวนา (Samvara Bhavana) พิจารณากำจัดกรรม - โลกะ ภาวนา (Loka Bhavana) พิจารณาว่าโลกไม่เที่ยง - โพธิ ทุรลัภ ภาวนา (Bodhidurlabh Bhavana) พิจารณาถึงการไม่อาจเข้าถึงศรัทธาชอบ ความรู้ชอบและความประพฤติชอบ - ธรรม ภาวนา (Dharma Bhavana) พิจารณาถึงการไม่อาจเข้าถึงครูที่ชอบรวมทั้งคัมภีร์และศาสนา ![]() การภาวนาเพื่อเจริญความเมตตากรุณามี 4 ข้อ หลักการภาวนาเพื่อพึงเกิดความคิดและการประพฤติปฏิบัติที่บริสุทธิ์การเจริญภาวนาในทุก ๆ วันจะยังช่วยให้บุคคลนั้นเจริญในกุศล - ไมตรี (Maitri) มิตรภาพ - ปราโมท (Pramod) ความซาบซึ้ง - กรุณา (Karuna) ความกรุณา - มาธยัสถะ (Madhyastha) วางใจเป็นกลาง ![]() บุคคลควรวางใจให้สงบในยามประสบกับความยากลำเค็ญ คัมภีร์เซนกล่าวถึงความทุกข์ 22 ประเภท คือ ทุกข์เนื่องจากความหิว ทุกข์เนื่องจากความกระหายความหนาวเย็นความเจ็บปวดอันเกิดจากแมลงสัตว์กัดต่อยและโรคร้าย เป็นต้น ![]() ความประพฤติเพื่อให้วิญญาณคงสภาพความบริสุทธิ์เป็นนิรันดร์นี้ เรียกว่า หลักความประพฤติมีอยู่ 5 หมวด ซึ่งตามคัมภีร์ได้ให้ความหมายไว้จากพื้นฐานของชีวะ หรือวิญญาณ - สามายิกะ จาริตระ (Samayika Charitra) ความเท่าเทียมของเวลาที่แน่นอน - เฉโท ปัสถาปนะ จาริตระ (Chhedo-pasthapana Charitra) การดำรงสมณเพศ - ปริหาระ วิศุทธิ จาริตระ (Parihara-vishuddhi Charitra) การปฏิบัติบำเพ็ญตบะ - สุกุษมะ สัมปรายะ จาริตระ (Sukshma-Samparaya Charitra) การดำรงอยู่ของชีวิตปราศจากความโกรธ ความโลภ ความยึดถือ ความหลอกลวง ดำรงอยู่กับความสันโดษกับความต้องการเพียงน้อยนิด - ยถาขยาตะ หรือวิตะราคะ จาริยา (Yathakhyata or Vitarga Charitra) การดำรงชีวิตแบบอรหันต์ ![]() นิรชรา คือ การปลดเปลื้องกรรมเก่าที่ได้สะสมกันมา วิธีการทำลายกรรมเก่าคือการบำเพ็ญตบะ ทรมานตน มี 20 ข้อ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ การบำเพ็ญตบะภายนอก และการบำเพ็ญตบะกายใน - การบำเพ็ญตบะภายนอก คือการฝึกฝนให้ร่างกายเกิดความต้องการ หรือความอยากให้น้อยที่สุด - การบำเพ็ญตบะภายใน คือ การทำให้วิญญาณเกิดความบริสุทธิ์ การบำเพ็ญตบะภายนอกเตรียมร่างกายและจิตใจเพื่อการบำเพ็ญตบะภายใน ส่วนการบำเพ็ญตบะภายใน ถือว่าเป็นการบำเพ็ญตบะที่แท้ เพราะได้กำจัดกรรมเก่าก่อนที่กรรมนั้นจะส่งผลดีหรือชั่วและนำไปสู่วิญญาณที่บริสุทธิ์ในที่สุด (ก) การบำเพ็ญตบะภายนอก - อนศัน (Anashan) การละเว้นจากการกินและดื่มทุกชนิด (ยกเว้นน้ำเปล่า) ในช่วงเวลาที่กำหนด เรียกว่า อุปาวสะ - อัลปาหาระ หรือ อุโนทริ (Alpihira or Unodari) รับประทานให้น้อยกว่าอาหารว่างหรือรับประทานเพียง 10% ในแต่ละครั้ง - อิจฉานิโธะ หรือ วฤติสังเกษปะ (Ichhanirodha or Vritti-sankshepa) จำกัดจำนวนอาหารขณะที่รับประทานและจำกัดในเรื่องของการครอบครองสิ่งของ - รสตยาค (Rasatyag) การละเว้นจากอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสชาติอร่อย เช่น เนย นม ชา ของหวาน ผลไม้แห้ง ขนมขบเคี้ยว อาหารรสจัด น้ำผลไม้ เป็นต้น (ไม่ควรยึดติดในรส) - กายเกลศ (Kaya-klesha) ความอดทนแน่วแน่ของร่างกายต่อความยากลำบากอยู่เสมอเเม้แต่การเดินก็ต้องเดินเท้าเปล่าเพื่อต่อสู้กับความหนาวเย็นและความร้อน และปลงผมด้วยการใช้มือดึงเส้นผมของตน - สันอินตา (Sanlinata) การนั่งในสถานที่คนเดียวไม่ร่วมกับผู้อื่น ด้วยท่านั่งต่างๆ พร้อมกับการควบคุมการสัมผัสอันเกิดจากการทำงานของอายตนะทั้งภายในและภายนอก ควบคุมใจภายในไม่สอดส่ายไปข้างนอก และไม่ละเมิดในกามสุขผ่านทางอินทรีย์ห้า (ข) การบำเพ็ญตบะภายใน - ปรายัศจิตตะ (Priyashchitta) สำนึกผิดในการกระทำชั่วและการที่ตนละเมิดศีลข้อห้ามอันทำให้วิญญาณขาดจากความบริสุทธิ์ - วินัย (Vinay) ความประพฤติที่หมาะสมและถ่อมตนต่อบุคคลทั้งหลาย อันได้แก่ นักบวชสาธุ สาธวี ครู คนชรา - ไ ว ย า วุ รุ ต ต ย ะ (Vaiyavruttya) การให้ความช่วยเหลืออย่างไม่เห็นแก่ตนต่อสาธุและสาธวี คนชราและผู้ยากไร้ - สวาธยาย (Swadhyay) การศึกษาเล่าเรียนด้วยการฟังหลักธรรมทางศาสนาจากคัมภีร์และการเทศนา - ธยานะ (Dhyana) การทำสมาธิอย่างแน่วแน่ - กโยตสรรคะ หรือ วยุตสรรคะ (Kayotsarga or Vyutsarga) กโยตสรรคะ เป็นการบำเพ็ญตบะภายในที่ยิ่งยวดโดยที่กิจกรรมต่าง ๆ ทั้งกาย วาจา ใจ โดยเตรียมตนให้สงบนิ่งเป็นขั้นตอนการเตรียมกายและใจให้แน่วแน่กับอารมณ์ที่พิจารณาจนเห็นชัดเเจ้งว่าชีวะหรือวิญญาณต่างจากกาย นับว่าเป็นขั้นที่สูงสุดในการทำลายฆาติกรรม https://www.facebook.com/photo/?fbid=979073984226701&set=a.484232967044141 ![]() ![]() |
บทความทั้งหมด
|