พิพิธภัณฑ์หอย ภูเก็ต (Phuket Sea Shell museum & shop) พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย ก่อตั้งขึ้นโดยคุณสมนึก ปัทมคันธิน ผู้ซึ่งสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับเปลือกหอย คุณสมนึกเริ่มศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง รวมถึงรับซื้อและแลกเปลี่ยนเปลือกหอยจากคนภูเก็ต ผู้สนใจหอยทั่วไป จากเรืออวนลาก จากชายฝั่งที่ต่าง ๆ เป็นเวลาหลายสิบปี ทำให้มีเปลือกหอยแปลกใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงคิดสร้างพิพิธภัณฑ์เปลือกหอยขึ้น เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องหอยแก่บุคคลทั่วไป ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการวิทยาศาสตร์ทางทะเล กล่าวว่าที่นี่เป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาของเอกชนที่ดีที่สุดเท่าที่เคยเห็นมาในเมืองไทย เปิดให้เข้าชมครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2540 ภายในอาคารได้จัดแสดงเปลือกหอยเป็นหมวดหมู่อย่างสวยงาม จำแนกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ หอยเบี้ย เป็นหอยที่คนนิยมสะสมมากที่สุด มีโครงสร้างโค้งมน ผิวเปลือกเป็นมันวาวคล้ายกระเบื้องเคลือบ หอยเต้าปูน เป็นหอยมีพิษ มีเปลือกเป็นทรงกรวย มีสีสัน ขนาด และลวดลายที่หลากหลายมาก หอยสังข์หนามหรือหอยหน้ายักษ์ เป็นหอยทะเลกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด เป็นหอยฝาเดี่ยว มีหนามขึ้นเป็นแนวรอบตัว และหอยสังข์จุกพราหมณ์ อาศัยอยู่ตามพื้นทรายปนเลนนอกแนวชายฝั่ง พบในประเทศไทยเพียงสองชนิด หอยแต่ละกลุ่มที่จัดแสดงมีทั้งเปลือกหอยที่พบในน่านน้ำไทย เช่น จากภูเก็ต สตูล กระบี่ ระนอง และเปลือกหอยจากหลายประเทศทั่วโลก เช่น จากทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อ่าวเม็กซิโก แอฟริกาใต้ ฯลฯ มีทั้งเปลือกหอยที่หายากมากและที่พบเฉพาะถิ่น หอยทุกตัวมีป้ายบอกชื่อ ลำดับชั้นทางวิทยาศาสตร์ และคำบรรยายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตัวอย่างที่น่าสนใจ เช่น ไข่มุกสีทองหนัก 140 กะรัต พบด้านฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต ฟอสซิลหอยกาบสองฝาอายุนับร้อยล้านปี หอยสังข์ที่ใช้ในพิธีมงคล ไมโครเชลล์หรือกลุ่มหอยที่ตัวเต็มวัยมีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถแยกได้ด้วยตาเปล่า นอกจากนี้ยังมีแอมโมไนต์ขนาดใหญ่ที่เกือบเท่าล้อรถ หอยดึกดำบรรพ์สายพันธุ์ต่าง ๆ รวมทั้งหอยพิสดารเปลือกหมุนเวียนซ้าย(หันจุกหรือยอดเข้าตัว หอยปรกติจะหมุนเวียนขวา) ไข่มุกหอยสังข์ทะนาน หรือหอยที่พบเป็นครั้งแรกในโลกที่เมืองไทยเช่น หอยเต้าปูนระนอง เป็นต้น ที่มา : ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย Picture ![]() หอยเชลล์ (Family Pectinidae) ![]() ![]() ![]() หอยนมสาวน้ำลึก ![]() หอยนมสาว: เป็นหอยตระกูลใหญ่ มีจำนวนมากกว่า 600 ชนิด เปลือกมีความหนา และมีเนื้อมุกชั้นใน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามแนวหินชายฝั่งและกินอาหารประเภทสาหร่าย หรือตะไคร่ทะเลที่ขึ้นอยู่ทั่วไป รวมไปถึงสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่อาศัยอยู่ในแนวสาหร่ายทะเลเช่นกัน ![]() หอยทากต้นไม้ ![]() หอยไส้ไก่ ![]() หอยนางรมยักษ์ (Family Gryphaeidae): ![]() หอยมือแมว, หอยมือเสือ, หอยแครง ![]() หอยแครง, หอยกาบนางฟ้า ![]() หอยหนามทุเรียน, หอยหนามดอกไม้ ![]() ![]() หอยเต้าปูน ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() เปลือยหอยที่ผิดธรรมชาติ ![]() หอยเงาะมงกุฎ : จัดอยู่ในตระกูลเดียวกันกับหอยสังข์พิธีมงคล หอยสังข์ : ![]() หอยแสงอาทิตย์น้ำลึก : พออาศัยอยู่ตั้งแต่บริเวณชายฝั่งไปจนถึงระดับน้ำลึก เปลือกชั้นในมีชั้นของมุก กินอาหารประเภทตะไคร่และสาหร่ายทะเล หอยตาวัวหนาม : อาศัยอยู่ในพื้นที่ทรายละเอียดปนเลนในระดับน้ำลึก จึงสร้างหนามที่กระจายวงออกรอบตัวเปลือกเพื่อพยุงตัวไม่ให้จมลงไปในพื้นเลนได้ พบได้ที่หมู่เกาะญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ ![]() หอยหัวใจ : ![]() หอยหมวก, หอยหลังเต่า ![]() หอยเบี้ย : ![]() ![]() ![]() หอยสังข์ยักษ์, หอยสังข์จีน : ![]() หอยสังข์ : ![]() ![]() ฟอสซิลแอสเดอโรเซอรัส ![]() ฟอสซิลหอยจุ๊บแจงยักษ์ ![]() หอยสังข์หนาม ![]() ไข่มุกสีทองจากหอยสังข์ทะนาน : มีน้ำหนักประมาณ 140 กะรัต ได้จากเรืออวนลากน้ำลึกประมาณ 40 - 80 เมตร ทางฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต, ประเทศไทย ![]() หอยมือเสือยักษ์ : เป็นหอยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกแล้วใช้เหงือกกรองอาหาร รวมถึงยังมีรูปแบบการดำรงชีพแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันกับสาหร่ายเซลล์เดียวชนิด Zooxananthellae เช่นกัน โดยสาหร่ายจะอาศัยอยู่ในชั้นเนื้อเยื่อส่วนนอกของเนื้อหอยทำหน้าที่สังเคราะห์แสงและสร้างอาหารให้กับหอย และหอยก็จะเป็นที่อยู่อาศัยคุ้มกันภัยให้กับสาหร่ายด้วย ![]() หอยโข่งทะเล, หอยรังนก : ![]() ![]() หอยเท้าช้าง, หอยกระต่าย ![]() ![]() หอยเม็ดขนุน ![]() หอย ???: ![]() หอยจุกพราหมณ์ ![]() หอยมือนาง, หอยแมงป่อง ![]() หอยสังข์ปีก ![]() กุ้งมังกร ![]() หอยฉมวก, หอยสังข์ตีนนก ![]() หอยทากต้นไม้ ![]() หอยตาเสือ ![]() หอยแต่งตัว, หอยแสงอาทิตย์ ![]() thx u crab
โดย: Kavanich96
![]() |