Skincare Basic #4 : Reading Ingredients List
คุณไม่มีทางรู้ได้เลยว่า เครื่องสำอางตัวนั้นจะดีหรือไม่ดียังไงด้วยการอ่านคำโฆษณา มองจากภายนอกหรือป้ายเนื้อครีมลงไปบนผิว สิ่งที่บอกความเป็นจริงแก่คุณได้มากที่สุดก็คือ
Ingredients List
ผลิตภัณฑ์ที่ดีควรเปิดเผยส่วนผสมโดยละเอียด กฎหมายในต่างประเทศกำหนดให้เครื่องสำอางต้องแสดงส่วนผสมทั้งหมดโดยเรียงลำดับจาก มากไปน้อย ส่วนผสมที่อยู่ในอันดับต้นแปลว่ามันมีอยู่มากที่สุด และส่วนผสมที่อยู่หลังสุดแปลว่ามันมีอยู่น้อยที่สุด กฎหมายไทยยังหละหลวมในเรื่องนี้มาก เครื่องสำอางที่ผลิตในไทยส่วนมากจะบอกแค่ส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งไม่สามารถรู้ได้เลยว่าส่วนผสมตัวที่เหลือมีอะไรบ้าง หรือใส่มามากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ดี กฎหมาย อย. ของไทยในอนาคตจะมีการบังคับให้แสดงส่วนผสมโดยละเอียดแล้วขอรับ
Ingredients List จะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนก็คือ
Active Ingredients ในส่วนนี้จะใช้แสดงสารออกฤทธิ์สำคัญ ในส่วนนี้จะมีการระบุความเข้มข้นเป็นเปอร์เซ็นต์มาให้ด้วย ตัวอย่างสารที่จะอยู่ในส่วนนี้อย่างเช่น สารกันแดด
Other Ingredients เป็นส่วนผสมอื่น ๆ ที่กฎหมายไม่ระบุว่าต้องแสดงเป็น Active Ingredients เช่น น้ำ, ตัวทำให้ส่วนผสมข้น, สารบำรุง, น้ำหอม, สี, สารกันเสีย เป็นต้น
Cosmetic Ingredient Dictionary
ส่วนผสมที่ประกอบเป็น Ingredients List นั้นเป็นชื่อทางเคมีที่เราไม่คุ้นหู การที่จะรู้ว่าสารแต่ละตัวมีหน้าที่อะไร มีประโยชน์หรือโทษกับผิวอย่างไรบ้าง ก็ต้องเอาชื่อส่วนผสมตัวนั้นไปตาม Cosmetic Ingredient Dictionary ซึ่งสามารถสั่งซื้อตามร้านหนังสือใหญ่ ๆ
อีกทางเลือกที่แสนสะดวกและง่ายดายก็คือการใช้บริการทาง Internet ซึ่งส่วนใหญ่จะฟรี (แต่ก็มีบ้างที่ต้องเสียเงินเพื่อดูรายละเอียดเบื้อลงลึก)
Cosmetic Ingredient Dictionary
//www.cosmeticscop.com/learn/cosmetic_dictionary.asp?id=6&letter=A
Cosmetic Safety Database
//www.cosmeticdatabase.com
Safety Information about Cosmetics and Personal Care Products
//www.cosmeticsinfo.org
Natural Medicines Comprehensive Database
//www.naturaldatabase.com
Health and Drug Information
//www.drugdigest.org
ปัจจุบันเริ่มมี Cosmetic Ingredient Dictionary มากขึ้นใน Internet แต่ไมได้หมายความว่าข้อมูลในเวปเหล่านั้นจะน่าเชื่อถือเสมอไป Cosmetic Ingredient Dictionary ในเวปไซท์ที่ขายเครื่องสำอางส่วนใหญ่จะให้ข้อมูลที่ไม่ค่อยเป็นกลาง ส่วนมากมักจะบอกแต่ด้านดีของสารที่ผสมในผลิตภัณฑ์ที่เขาขาย จึงจำเป็นที่จะต้องหาข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่งเพื่อมาเปรียบเทียบ
Technical Terms for Ingredients List
ส่วนผสมแต่ละตัวก็จะมีหน้าที่หลัก ๆ ต่างกันไป บ้างก็เป็นตัวทำให้ส่วนผสมข้นขึ้น บ้างก็เป็นตัวเคลือบผิว บ้างก็มีหลายคุณสมบัติในหนึ่งเดียว คำศัพท์พื้นฐานที่ควรรู้ในการอ่าน Ingredients List ก็มีดังนี้
Abrasive / Scrub
เป็นส่วนผสมที่ใช้ขัดผิวเพื่อขจัดเอาเซลล์ผิวเสื่อสภาพให้หลุดออกไป ส่วนผสมของ Scrub ที่ดีควรจะมีลักษณะกลมมนไม่มีเหลี่ยมมุมคม ๆ ที่จะบาดผิวและก่อความเสียหายทำให้ผิวระคายเคืองได้ เม็ด Scrub ที่ทำจากพลาสติก Polyethylene หรือของจากธรรมชาติอย่าง Jojoba Beads นั้นมีความกลมมน จึงปลอดภัยกับผิวมากกว่า Scrub ที่ทำจาก Alumina / Aluminum Oxide หรือพวกเปลือกหรือเมล็ดผลไม้บดละเอียด ที่เมื่อส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์และจะพบว่ามีเหลี่ยมมุมที่คมมาก
Absorbent
เป็นส่วนผสมที่ช่วยดูดซับความมัน มีอยู่หลายแบบทั้ง ทั้งแป้ง โคลน หรือซิลิโคน และสารสังเคราะห์ เช่น Kaolin, Bentonite, Magnesium Aluminum Silicate, Talc, Silica, Nylon-12 และ Cyclomethicone เป็นต้น
แป้งที่ได้มากจากพืชอย่างแป้งข้าว แป้งข้าวโพด แป้งมัน แป้งหัวบุก ก็สามารถผสมในเครื่องสำอางเพื่อดูดซับความมันได้ แต่เนื่องจากมันเป็น Food Derivative ที่เป็นอาหารอย่างดีแก่แบคทีเรีย มันจึงก่อผลเสียกับผิวได้จึงควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมดูดซับความมันที่ทำมาจากพืช
Anti-bacteria
ส่วนผสมที่ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียบนผิว ตัวที่พบบ่อยก็คือ Triclosan ซึ่งมักจะผสมในผลิตภัณฑ์รักษาสิวหรือ Cleanser เป็นส่วนใหญ่ การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมฆ่าเชื้อแบคทีเรียเป็นประจำมีโอกาสทำให้เชื้อแบคทีเรียดื้อยาได้ คุณจึงควรใช้เป็นช่วงระยะเวลาสั้นหรือ หรือหยุดใช้หลังจากได้ผลเป็นที่พอใจแล้ว
Antioxidant
ช่วยลดผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอนุมูลอิสระ รายละเอียดเพิ่มเติมจะแสดงอยู่ในบทถัด ๆ ไป สารแอนติออกซิแดนท์มีมากมายหลายตัว ทั้งวิตามิน สารสกัดจากพืช น้ำมันบางชนิด เอมไซม์บางชนิด และเปปไทด์บางตัว แต่ละตัวก็มีประสิทธิภาพมากน้อยไม่เท่ากัน ผลิตภัณฑ์ที่ดีควรมีสารแอนติออกซิแดนท์หลาย ๆ ตัวรวมกัน
ถ้าสาร Antioxidant ใส่มาในปริมาณที่น้อยมาก หรืออยู่หลังสารกันเสีย มันก็จะไม่มีประสิทธิภาพในการบำรุงผิว จะใช้เป็นตัวกันเสียของผลิตภัณฑ์มากกว่า
Cell-Signaling Substance / Cell-Communicating Ingredients
เป็นส่วนผสมที่ช่วยในสื่อสารกับเซลล์ผิว บอกให้เซลล์ผิวที่จะเกิดใหม่นั้นทำงานและมีรูปทรงที่ปกติสมบูรณ์ ส่วนผสมที่พบบ่อยก็อาธิเช่น Retinol, Niacinamide, Palmitoyl Oligopeptide เป็นต้น
Emollient and Occlusives
จริง ๆ แล้ว Emollient กับ Occlusives นั้นคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน แต่ด้วยความคล้ายที่แทบแยกกันไม่ออกเลยขอจับมายัดไว้ด้วยกันเลยจะดีกว่า
สารกลุ่มนี้จะช่วยเคลือบผิว ทำให้ลื่นผิว ลดการสูญเสียน้ำออกจากผิว ตัวอย่างเช่น Mineral Oil หรือน้ำมันจากพืชต่าง ๆ Wax หรือ Petroleum Jelly เป็นต้น
Emulsifier
เป็นตัวเชื่อมประสานน้ำกับน้ำมันให้เข้ากัน มักใส่เพื่อเชื่อให้ส่วนผสมน้ำกับน้ำมันใส่ส่วนผสมเข้ากันได้ง่าย ถ้าใส่ใน Cleanser หรือ Makeup-Remover ก็จะทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถทำคามสะอาดน้ำมันบนผิวได้ดีหรือทำให้เนื้อผลิตภัณฑ์ล้างออกด้วยน้ำได้ง่ายขึ้น (เช่น Cleansing Oil)
Film-Foaming Agent
เป็นตัวที่ทำให้ผลิตภัณฑ์เมื่อแห้งแล้วจะเป็นฟิลม์บาง ๆ เพื่อเคลือบผิวเอาไว้ ช่วยเก็บกักความชุ่มชื้นและทำให้ผิวเรียบลื่นขึ้น ส่วนผสมจำพวกนี้มักมีชื่อในทำนอง PVP หรือ acrylates หรือ acrylamides หรือ copolymers ทั้งหลายแหล่ แต่ส่วนผสมกลุ่มนี้ก็อาจกระตุ้นการระคายเคืองได้ในบางคนเหมือนกัน
Fragrance / Perfume
น้ำหอมถูกใส่เพื่อทำให้กลิ่นของผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องใจน่าใช้มากขึ้น แต่มันเป็นสารก่อการระคายเคืองและไม่มีประโยชน์ต่อผิวใด ๆ เลย หลีกเลี่ยงได้เป็นดี ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรมีอยู่ในลำดับท้ายๆ ของ Ingredients List
น้ำหอมที่ได้มาจากธรรมชาติ อย่างพวก Fragrance Plant Extract, Fragrance Oil หรือ Essential Oil นั้นก่อการระคายเคืองได้มากกว่าและง่ายกว่าน้ำหอมที่ได้มาจากการสังเคราะห์ เจอ BA ที่ไหนบอกว่า น้ำหอมของเราได้มากจากธรรมชาติ จึงปลอดภัยกับผิว ก็เอาส้นสูงตบปากสั่งสอนได้เลย (พูดเล่นนะขอรับ อย่าไปทำจริง ๆ ล่ะ)
Humectant / Water-Binding Agent
Humectant เป็นส่วนผสมที่อุ้มน้ำได้ดี จึงช่วยดึงน้ำเข้าสู่ผิวเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นได้ ส่วน Water Binding Agent เป็นตัวที่ช่วยเคลือบปิดผิวไม่ให้ความชุ่มชื้นเล็ดลอดออกไป สองตัวนี้ควรใช้คู่กันเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด แต่ที่จับมายัดรวมกันเพราะเดี๋ยวนี้ข้อมูลมันตีกันมั่วจนแยกแทบไม่ออกแล้วว่าตัวไหนเป็น Humectant หรือ Water-Binding Agent แต่ไม่ว่ามันจะเป็นอะไร มันก็ช่วยเรื่องความชุ่มชื้นเหมือนกันทั้งนั้น
นอกจากนี้ Water-Binding Agent ก็อาจจะตีความว่าเป็น Natural Moisturizing Factors ได้เหมือนกัน สารในกลุ่มนี้เช่น Amino Acids, Ceramides, Glycerin , Hyaluronic Acid, Cholesterol, Fatty Acids, Triglycerides, Phospholipids, Glycosphingolipids, Urea, Linoleic Acid, Glycosaminoglycans, Mucopolysaccharide, Sodium PCA เป็นต้น
Preservative
ก็คือสารกันเสียนั่นเอง เครื่องสำอางจำเป็นต้องมีสารกันเสีย โดยเฉพาะเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมที่ได้มากจากพืชหรือมาจากธรรมชาติ เพราะสารพวกนี้มีโอกาสที่จะทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ง่าย
สารกันเสียในกลุ่ม Paraben นั้นถูกใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด และก็ยังเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าปลอดภัย และเครื่องสำอางก็ผสมสารกันเสียในปริมาณที่น้อยมาก ความเชื่อว่าสารกันเสียเป็นสิ่งที่ไม่ดีกับผิวถูกปลุกกระแสขึ้นจากบริษัทเครื่องสำอางบางยี่ห้อที่ชูจุดขายว่าปลอดสารกันเสีย จึงเอาข้อมูลการทดสอบเรื่องผลกระทบของสารกันเสียที่มีต่อผิวมาแสดง โดยไม่ได้บอกว่า การทดสอบเหล่านั้นใช้สารกันเสียในความเข้มข้นมากกว่าที่ใช้กันปกติในเครื่องสำอางหลายสิบเท่า
แต่ถ้าคุณไม่ต้องการใช้สารกันเสียกลุ่ม Paraben ก็ยังมีสารกันเสียตัวอื่นอีกมากมายให้เลือกใช้
Slip Agent / Penetration Enhancer
เป็นตัวช่วยนำพาให้ส่วนผสมซึมลงผิวได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยเรื่องความชุ่มชื้น ให้เนื้อผลิตภัณฑ์ลื่นและทาได้ง่าย สารที่พบบ่อยในกลุ่มนี้ก็คือ Propylene Glycol และ Butylene Glycol เป็นต้น
Solvent
เป็นตัวทำละลาย ส่วนใหญ่ก็เป็น น้ำ (Water) แอลกอฮอล์ หรือซิลิโคนเพื่อช่วยละลายส่วนผสมที่ละลายในน้ำมัน
Stabilizer
เป็นตัวที่ทำให้ส่วนผสมคงตัว ยกตัวอย่างเช่น Emulsion Stabilizer ก็ช่วยทำให้ส่วนผสมน้ำกับน้ำมันที่ผสมกันแล้วไม่แยกตัวออกจากกันอีก
Surfactant
ย่อมาจากคำว่า SURFace ACTive AgeNT แปลตรงตัวก็คือ สารลดแรงตึงผิว ทำหน้าที่ง่าย ๆ ในการทำให้ส่วนที่เป็นน้ำ กับส่วนที่ไม่เข้ากับน้ำสามารถมาผสมกันได้ ใช้ประโยชน์หลัก ๆ ในการเป็นสารทำความสะอาด (Detergent) บางทีก็จะใช้เป็นตัวช่วยประสานส่วนผสมในครีมหรือโลชั่นด้วยเหมือนกัน
Surfactant ก็มีทั้งตัวที่อ่อนโยนและตัวที่ไม่ดีกับผิว รายละเอียดจะมีเพิ่มเติมในบทต่อไป
Thickening Agent / Thickener
เป็นตัวทำให้ส่วนผสมข้นขึ้น
Where to Find Ingredients List
สำหรับท่านที่อ่านส่วนผสมจนชินและจำได้แล้ว การไปเดินตามร้านขายยา ร้านขายของชำ หรือตามเคาเตอร์เครื่องสำอาง คุณก็สามารถปรายตาอ่านส่วนผสมที่ตรงนั้นได้สบาย ๆ แต่สำหรับผู้ที่ยังใหม่ ยังคุ้น จำชื่อส่วนไม่ได้และประโยชน์ของมันไม่ได้ ก็ต้องมองหาแหล่งที่มี Ingredients List บอกมาโดยละเอียด เพื่อที่เราจะได้เปิดเวปไซท์เพื่อตรวจส่วนผสมทีละตัวไป
แบรนด์เครื่องสำอางบางแบรนด์ มี Ingredients List บอกเอาไว้โดยละเอียดในเวปไซท์ของตน ยกตัวอย่างเช่น
-
Avon
:
www.avon.com
-
Boots
:
www.boots.com
-
Jurlique
:
www.jurlique.com
-
Kiehls
:
www.kiehls.com
-
Paulas Choice
:
www.paulaschoice.com
-
Philosophy
:
www.philosophy.com
-
The Body Shop
:
www.thebodyshop.com
เวปไซท์ที่ขายเครื่องสำอางออนไลน์บางแห่งก็มีระบุ Ingredients Listของผลิตภัณฑ์แต่ละตัวมาให้เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น
-
www.drugstore.com
-
www.dermadoctor.com
นอกจากนี้ยังสามารถเยี่ยมชมเวปไซท์ส่วนบุคคลที่รวบรวม Ingredient List มาให้เราได้ชมกันฟรี ๆ (ใจดีมากกกก)
//phoebe.pn-np.net
: แหล่งรวบรวม Skin-care Ingredients ที่ใหญ่มหึมา โดยคุณ Phoebe ของเรานี่เอง
อีกวิธีหนึ่งก็คือเอากล้องไปถ่ายรูปส่วนผสมข้างกล่อง แล้วค่อยกลับมาอ่านที่บ้าน วิธีนี้อาจจะต้องใช้การ แอบ หรือ ขออนุญาต ก่อน ถ้าเขาให้ก็ดีไป ถ้าไม่ให้ก็ค่อยหาวิธีการอื่นกันต่อไป...
หลังจากดูส่วนผสมเป็นแล้ว เราก็ต้องเลือกบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมอีกด้วย รายละเอียดเป็นยังไงกรุณาอ่าน
Skincare Basic #5 : Choose the Right Container
ซึ่งเป็นบทต่อไป
Create Date : 16 กันยายน 2551
Last Update : 21 พฤศจิกายน 2551 2:21:52 น.
Counter : 24266 Pageviews.
24 comments
Share
Tweet
ดีจัง รวบรวมข้อมูลส่วนที่เป็นความรู้แยกไว้เลยแบบนี้
เพราะเพิ่งถามไปเมื่อวันก่อนเหมือนกัน แล้วก็ได้คำตอบแล้ว
มาเจออันนี้ยิ่งละเอียดเข้าไปอีก ชอบนะ
โดย:
สรุป...เหมือนเดิม
วันที่: 16 กันยายน 2551 เวลา:19:45:38 น.
ติดตามต่อไปเรื่อยๆค่ะ ความรู้ทั้งนั้น ขอบคุณนะคะ
โดย: sriwis IP: 125.26.163.62 วันที่: 16 กันยายน 2551 เวลา:22:02:19 น.
มีประโยชน์มากมาย ขอบคุณค่ะ ^^
โดย:
La_Siesta
วันที่: 16 กันยายน 2551 เวลา:22:12:08 น.
มีประโยชน์มากมากเลยค่า TAT"//
คุณปูเป้ค่ะ เวป Cosmetic Safety Database นี่มันหาส่วนผสมยังไงค่ะ งงมากเลย เห็นมีหลายตัวเลือกเหลือเกินงงจริงๆ - -
โดย: puppet IP: 222.123.86.120 วันที่: 17 กันยายน 2551 เวลา:19:41:10 น.
ด้านบนตรงกลางจะเห็น Search Box อยู่ขอรับ พิมพ์ส่วนผสมไปแล้วก็คลิกทีนึงให้มันหาให้ มันก็จะ List รายการค้นหามาให้เราขอรับ
โดย:
PuPe_so_Sweet
วันที่: 17 กันยายน 2551 เวลา:19:52:51 น.
ว่ะ55555 เจอประจำน้ำหอมจากธรรมชาติ ล่าสุดไปเจอเค้าบอกว่าบลัชออนครีมเค้าอ่อนโยนต่อผิวแพ้ง่าย แต่กลิ่นหอมแรงมาก เลยขอเค้าดูที่ส่วนผสมก็มีน้ำหอม เค้าก็บอกว่าเป็ฯอโรม่าธรพี เอ้ยเธอราพี่ สีก็สวยดีนะก็ไม่เอาล่ะ มีออยตรึมอีกต่างหาก เฮ้อออ หน้าเลยไม่มีสีสันอีกต่อไป
โดย:
cactus_demon
วันที่: 21 กันยายน 2551 เวลา:5:23:32 น.
เจอ BA ที่ไหนบอกว่า น้ำหอมของเราได้มากจากธรรมชาติ จึงปลอดภัยกับผิว ก็เอาส้นสูงตบปากสั่งสอนได้เลย
อ่านแล้วก๊ากเลยค่ะ 555
ถ้าตบจริงสงสัยได้ช้ำเลือดช้ำหนองไปหลายรายแล้ว
โดย:
kisekimeru
วันที่: 21 กันยายน 2551 เวลา:19:46:58 น.
กำลังสงสัยเรื่องพวกนี้อยู่เลย ขอบคุณที่ช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้นะคะ
โดย:
Charming barbie
วันที่: 2 ตุลาคม 2551 เวลา:13:08:23 น.
มีประโยชน์มากมายค่ะ ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆค่ะ
โดย: Benjy IP: 64.214.66.33 วันที่: 3 ตุลาคม 2551 เวลา:9:31:49 น.
ทีนี้จะได้เลือกสกินแคร์เองเป็นซะที ^^"
ขอบคุณมากๆค่ะ...
โดย:
cHoCz
วันที่: 8 พฤศจิกายน 2551 เวลา:22:45:29 น.
น้ำหอมที่ได้มาจากธรรมชาติ อย่างพวก Fragrance Plant Extract, Fragrance Oil หรือ Essential Oil นั้นก่อการระคายเคืองได้มากกว่าและง่ายกว่าน้ำหอมที่ได้มาจากการสังเคราะห์ เจอ BA ที่ไหนบอกว่า น้ำหอมของเราได้มากจากธรรมชาติ จึงปลอดภัยกับผิว ก็เอาส้นสูงตบปากสั่งสอนได้เลย 55555 ชอบๆๆๆๆๆๆ ได้ความรู้จิงๆนะเนี่ย นึกว่าของจากธรรมชาติที่ไม่ผ่านการสังเคราะห์จะดีทุกอย่าง......ส้นสูงตบปาก 555555 มันก็สมควรโดนล่ะค่ะ อิอิ
โดย: Modtanoy (
blackmay
) วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:16:19:12 น.
ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากมาย
ขอบคุณค่ะ^^
โดย: Ploy IP: 58.9.84.24 วันที่: 21 มีนาคม 2552 เวลา:17:11:13 น.
ขอขอบคุณ ก่อนอื่นเรยคร้า
ที่ได้ ค้นพบ เว็ปของคุณ และให้ความรู้ มากกกกเรยจ้า
อันไหนสำคัญก้อจดใส่สมุดไว้ เพราะสมองไม่ค่อยจะมี
หดหายไปตามอายุ ต้องรีบ บอกลูกหลาน เหลน และเพื่อนๆๆรักสวยรักงามกันให้รู้จักคุณ phoebe
ให้มาหา ความรู้ ความงาม ก่อน ใช้ ค.ส.อ กันจะได้ รู้การใช้ เหมาะกับผิว และข้อควรระวัง และอีกฯลฯ
(ทำให้อิชั้น ไม่เป็นอันทำงาน เฝ้าแต่หน้าจอติดลมเรยอ่ะ)
โดย: สาวพันปี IP: 118.173.155.34 วันที่: 13 มิถุนายน 2552 เวลา:8:05:22 น.
ขอบคุณมากๆ ค่ะ
โดย: yuiza IP: 192.168.1.115, 180.180.27.143 วันที่: 27 พฤศจิกายน 2552 เวลา:15:03:04 น.
cocamide mea เป็นสารอะไรและมีอันตรายไหม
แล้วมันต่างจาก cocamide dea ยังไง
โดย: อยากรู้ IP: 58.8.154.152 วันที่: 31 ธันวาคม 2552 เวลา:19:27:56 น.
มันใช้เป็นตัวเพิ่มฟองในสูตร ก็มีโอกาสระคายเคือง
ต่างกันแค่เกี่ยวกับโมเลกุล DEA (diethanolamine ) หรือ MEA (monoethanolamine) เท่านั้น
โดย:
PuPe_so_Sweet
วันที่: 5 มกราคม 2553 เวลา:23:15:22 น.
โอ้ยตาย คนที่มีปัญหาเรื่องภาษา ก็แย่น่ะสิเนี่ยย TT^TT
โดย: Snow IP: 10.0.3.253, 125.27.43.108 วันที่: 14 ตุลาคม 2553 เวลา:23:54:54 น.
ขอบคุณมากๆค่ะมีประโยชน์มากๆเลยค่ะ
โดย: Lin IP: 182.232.166.35 วันที่: 20 ตุลาคม 2553 เวลา:12:57:39 น.
อยากให้รีวิว เครื่องสำอาง เดอมาโลจิกาด้วยคะ
โดย: pueng IP: 115.87.238.121 วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:18:07:47 น.
พี่ปู้เป้คะ ช่วยดูส่วนประกอบของเซรั่มทาหน้าให้หนูหน่อยค่ะ แล้วจะเข้ามาดูคำตอบนะคะ
1.เซรั่มทาหน้า
Ingredients: Mulberry standardized extract 5% , Amla standardized extract 5% , Niacinamide(vitamin B3) 5% , Beta-Arbutin 3% , Kojic dipalmitate 3% , Alpha-bisabolol, Organic serum agent ,food grade preservative
2.กันแดด
Ingredients: Micronized TiO2 , Zinc Oxide , Silicone and silica ,Liposome Q10 10% , High Linoleic acid safflower oil 5% , Niacinamide(vitamin B3) 5% , Gamma Oryzanol powder 3% ,food grade preservative
โดย: tammey IP: 192.168.1.115, 183.89.159.31 วันที่: 17 พฤษภาคม 2554 เวลา:19:05:56 น.
link เปิดดูไม่ได้เลยนะ
โดย: PASSENGERS ON BOARD IP: 125.24.163.30 วันที่: 8 ตุลาคม 2554 เวลา:22:25:21 น.
ความรู้ทั้งนั้น thx kaa
โดย: palm-mii@msn.com IP: 202.28.182.5 วันที่: 23 มีนาคม 2555 เวลา:14:57:05 น.
อยากทราบเรื่องซัลเฟอร์ในการรักษาสิว กลไกลการทำงาน ยี่ห้อที่แนะนำค่ะ ใช้ร่วมกับaha bha diffrin ได้ไหมค่ะ
โดย: กิ่ง IP: 223.206.82.26 วันที่: 8 สิงหาคม 2556 เวลา:20:23:38 น.
Cocamide dea กับ mea ใช้ได้ถึงกี่เปอเซนครับ
โดย: Ch IP: 1.47.68.25 วันที่: 17 กรกฎาคม 2561 เวลา:17:02:39 น.
ชื่อ :
Comment :
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
Pupesosweet.BlogGang.com
PuPe_so_Sweet
Location :
กรุงเทพฯ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
ผู้ติดตามบล็อก : 1829 คน [
?
]
บทความทั้งหมด
[Skincare Basics Special] Understanding SPF in Your Sunscreen
[Skincare Basics Special] How "Whitening - Lightening - Depigment Agent" Works
[Skincare Basics Special] Why our skin color different? Where and how is melanin produced?
Skincare Basics Menu
Skincare Basic #12-1 : Acne 101 Part-I [What is "Acne" and how to treat it]
Skincare Basic #11-4 : How to use Sunscreen / Misleading Claims / Sunscreen FAQs
Skincare Basic #11-3 : 5 'S' For Selecting Sunscreen
Skincare Basic #11-2 : Sunscreen Ingredients - Part2
Skincare Basic #11-2 : Sunscreen Ingredients - Part1
Skincare Basic #11-1 :Sun Survival Tips for Healthy Skin
Skincare Basic #10-2 : Choose The Appropriate Moisturizers For Your Skin Type
Skincare Basic #10-1 : Moisturizers Revealed!!!
Skincare Basic #9-5 : Vitamin E
Skincare Basic #9-4 : Vitamin C
Skincare Basic #9-3 : Vitamin B3
Skincare Basic #9-2 : Vitamin A
Skincare Basic #9-1 : Antioxidants
Skincare Basic #9 : Treat your skin needs
Skincare Basic #8 : All About Exfoliants
Skincare Basic #7 : Is Toner Really Necessary?
Skincare Basic #6-2: Detergent-Base Cleanser & Hybrid Cleanser
Skincare Basic #6-1: Emollients-Base Cleanser
Skincare Basic #6 : How to Cleanse Your Skin Properly
Skincare Basic #5 : Choose the Right Container
Skincare Basic #4 : Reading Ingredients List
Skincare Basic #3 : Know Your Skin Type
Skincare Basic #2 : Understanding Skin Anatomy
Skincare Basic #1 : อย่า คำเตือนสติที่ช่วยให้คุณสวยอย่างฉลาด
Pantip.com
|
PantipMarket.com
|
Pantown.com
| © 2004
BlogGang.com
allrights reserved.
เพราะเพิ่งถามไปเมื่อวันก่อนเหมือนกัน แล้วก็ได้คำตอบแล้ว
มาเจออันนี้ยิ่งละเอียดเข้าไปอีก ชอบนะ