"จะไปอวกาศ ไม่รอแล้วนะ" อย่าช้า! นักศึกษา-สตาร์ทอัพ-นักวิจัย-SME "-->Space Economy Lifting Off 2022
อีก 3 วันเท่านั้น กับการรับสมัคร
นักศึกษา-สตาร์ทอัพ-นักวิจัย-SME หรือนักเรียนที่มีแนวคิดด้านเทคโนโลยีอวกาศที่มีแนวโน้ม นำมาทำจริงได้ ปิดรับสมัครวันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2565
กับ
โครงการ "Space Economy Lifting Off 2022"
โครงการที่จัดโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ: NIA ร่วมกับ Thai Space Consortium (ซึ่งมีหลายหน่วยงานในนี้มากๆ)
--------------------------------------------------------
"ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium)" หรือที่คนในวงการเรียกว่า TSC เป็นการร่วมมือของหน่วยงานหลายหน่วยงาน อาทิ
-สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) : GISTDA
-สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) : NARIT
-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในนาม INSTED (สถาบันเทคโนโลยีอวกาศนานาชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทย)
-สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน)--------------------------------------------------------
Q:-"โครงการ "Space Economy Lifting Off 2022" คืออะไร ? A: นิยามจากทางเรา ซึ่งไม่ได้มีศัพท์คลังแสงวิชาการ ขอให้คำจำกัดความว่า นี่คือโครงการที่จะบ่มเพาะพร้อมทั้งให้คำแนะนำ กับเหล่าสตาร์ทอัพ นักวิจัย SME รวมไปถึงนักศึกษา ที่มีนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งโครงการเปิดรับหลายรูปแบบมาก เทคโนโลยีอวกาศ มันไม่ได้มีแค่ จะทำแต่ดาวเทียม จะสร้างยานอวกาศเท่านั้นนะ ที่จริงแล้วมันกว้างมากๆ ให้นิยามไว้ว่า มี 3 กลุ่มละกัน คือ
Upstream: การทำดาวเทียม สร้างจรวด หรือยิงดาวเทียม
Downstream: หรือการนำข้อมูลจากอวกาศมาใช้ เช่น ด้านข้อมูลดาวเทียม การนำข้อมูลมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ หรือทำนายสภาพอากาศ ฯลฯ อย่างการประเมินพื้นที่เสี่ยงไฟป่า ที่ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จากภาพถ่ายดาวเทียมมาวิเคราะห์แบบนี่้ก็เป็น เทคโนโลยีอวกาศนะ
เทคโนโลยีอื่นๆ: ที่อาจนำมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมอวกาศได้ ก็โลกแห่งนวัตกรรมมันกว้างมากๆ อะไรก็ตามที่มาประยุกต์ใช้ในสภาวะสุดโต่งอย่างอวกาศได่้ ก็เข้าธีมทั้งนั้นละจ้า
Q: แล้วเทคโนโลยีอวกาศที่ว่าเนี่ย ต้องพัฒนาถึงขนาดไหน ถึงจะสมัครได้?A: โครงการเปิดรับตั้งแต่ Idea Stage หรือระยะพัฒนาแนวคิดเริ่มต้นเลยนะ หรืออย่างใครที่ทำระยะ MVP มีผลิตภัณฑ์,นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีตัวต้นแบบแล้ว ก็เปิดรับ สมัครเลยจ้า ยิ่งใครอยู่ในระยะเติบโตแล้ว มาเร็วๆ มาโชว์ศักยภาพหน่อย
--------------------------------------------------------
อย่าช้า สมัครด่วน--->โครงการ "Space Economy Lifting Off 2022"


*ที่มาของโปสเตอร์: NIA
และนี่คือ ตัวอย่างของ ทีมที่ได้เข้ารับการบ่มเพาะปีที่แล้ว (ปี 2564): ข้อมูลจาก NIA
EmOne
Space debris management systemพัฒนาเทคโนโลยีควบคุมความเร็วและเปลี่ยนระดับวงโคจรวัตถุในอวกาศแบบไร้สัมผัส
ลดการใช้งานแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ลดปริมาณขยะอวกาศ ดูแลความหนาแน่นของวัตถุในแต่ละระดับชั้นวงโคจร และนํากลับมาสู่กระบวนการทําลายหรือรีไซเคิล
------------------------
Halogen
High Altitude Balloonพัฒนา High altitude ballooning platform เพื่อใช้ส่ง payload ต่างๆขึ้นสู่ชั้น stratosphere ที่มีสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับอวกาศจริง ด้วย platform นี้จะทำให้ลูกค้าสามารถทำการทดลอง วิจัย พัฒนา หรือตรวจสอบประสิทธิภาพในการทำงานของดาวเทียมก่อนขึ้นสู่อวกาศจริงๆได้ในราคาที่ถูกกว่าการใช้จรวด ทำให้ไม่ว่าจะเป็นระดับโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือบริษัทเอกชน ก็สามารถเข้าถึงนวัตกรรมด้านอวกาศได้
------------------------
iEmtek
สายอากาศและอุปกรณ์เชื่อมต่อสั่งงาน สำหรับระบบสื่อสารบนดาวเทียมขนาดเล็กการใช้สายอากาศแบบแถวลําดับ (Array Antenna) ติดตั้งบนดาวเทียมจะทําให้ระดับสัญญาณที่รับได้สูงขึ้นทําให้ไม่จําเป็นต้องใช้ Transponder ที่มีอัตราขยายสัญญาณ ของภาครับ (Uplink part) สูงและภาคส่ง (Downlink part) ก็เช่นเดียวกัน Power Amplifier ไม่จําเป็นต้องมีกําลังส่งสูง อัตราการสิ้นเปลืองกําลังงาน (Power consumption) ต่ำลง ลดภาระการทํางานของระบบ Electrical Power subsystem รวมทั้งแบตเตอรี่
------------------------
Irissar
Radar and space-related devices and systemsออกแบบและผลิตเรดาร์เซ็นเซอร์ และชิ้นส่วนทางกลสำหรับจรวดขนส่งดาวเทียมที่มีประสิทธิภาพสูงด้วยราคาที่เหมาะสม
------------------------
Krypton
นวัตกรรม โปรเจค คริปโตไนท์ (Project Kryptonite) วิวัฒนาการการพัฒนาดาวเทียมในรูปแบบใหม่พัฒนาดาวเทียมคิวบ์แซท ที่จะถูกใช้ให้เป็นห้องปฏิบัติการขนาดนาโน หรือ NanoLab เพื่อทำการวิจัย การทดลอง และการนำเสนอสินค้าไปแสดงในอวกาศ (Space Experiment & Advertising Platform)
------------------------
NBSPACE
ดาวเทียมขนาดเล็กเพื่อการศึกษารูปแบบ CubeSat พร้อมทั้งจัดส่งเข้าสู่วงโคจรบริการออกแบบและสร้างดาวเทียม โดยมี Platform ดาวเทียมพร้อมให้บริการรวมถึงสามารถออกแบบ Payload ตามความต้องการของลูกค้าได้
------------------------
Plus IT Solution
ระบบวิเคราะห์พื้นที่จากภาพถ่ายดาวเทียม (Automated LULC analysis system)แพลตฟอร์ม Auto – LULC ที่ทางบริษัทพัฒนานั้นใช้เทคโนโลยี image segmentation โดย deep learning algorithm ที่ทางบริษัทพัฒนาขึ้นมาเอง เพื่อจำแนกลักษณะของพื้นที่ต่างๆโดยสามารถแยกพื้นที่ออกเป็น 7 ประเภทได้ ได้แก่ Construction, Road, Bare soil, Agriculture, Forest, Water และ Cloud
------------------------
Space Composites
เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ขั้นสูงที่ใช้ออกแบบและผลิตชิ้นส่วน Composites materialsนำเสนอเทคโนโลยี Composites Overwrap Pressure Vessel ใน 3 ด้านหลักตั้งแต่การออกแบบ ผลิตและทดสอบสำหรับอุปกรณ์และชิ้นส่วนที่จะต้องนำไปใช้กับธุรกิจอวกาศในอนาคต
------------------------
Spacedox
ระบบวิเคราะห์และแจ้งคุณภาพอากาศโดยใช้บอลลูนลอยสูงผ่านเครือข่าย LoRa และข้อมูลการตรวจวัดจากดาวเทียมแพลตฟอร์มการตรวจวัดคุณภาพอากาศ ที่ใช้ทั้งอุปกรณ์ โหนดเซนเซอร์และการวิเคราะห์ข้อมูลจากดาวเทียม(cloud computing) โดยตัวอุปกรณ์ โหนดเซนเซอร์ที่นำเสนอ ได้ถอดแบบมาจากแบบจำลองทางวิศวกรรมดาวเทียมคิวบ์แซท โดยจะผนวกข้อมูลตรวจวัดจากดาวเทียมเข้ากับข้อมูลโหนดเซนเซอร์ภาคพื้นดิน
------------------------
Tripler Adhesive
การพัฒนาสูตรกาวและสารยึดเกาะ (glue & adhesive) เพื่อใช้ในสภาพแวดล้อมสุดโต่ง (extreme environment) ซึ่งรวมไปถึงนอกชั้นบรรยากาศโลกเทคโนโลยีหลักคือการสร้าง programmable adhesive material จาก cellulose, protein และ inorganic materials ให้มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการในการใช้งานที่แตกต่างกันไป