แผงหน้าบันเก่าของวัดมุขราชทาราม (วัดบางยี่ขัน) ฝั่งธนบุรี ใกล้แยกอรุณอัมรินทร์ ซึ่งพระเก็บไว้จากซากที่รื้อออกไปของศาลาการเปรียญ ทุกวันนี้เป็นศาลาสวดศพศิลปะร่วมสมัย (แต่ไร้สมอง) เนื่องด้วยโดนแกะลายไปขายหมดแล้ว เทพนมนรสิงห์ คชสีห์ อะไรต่ออะไรหายหมดเกลี้ยง จึงย้ายมาไว้ด้านหลังแทน
ลวดลายก้านขดแบบนี้หายากมากฮะ มันใกล้เคียงกับศิลปะอยุธยา จนผมคิดว่า น่าจะเกี่ยวข้องกับวังหน้า หรือวังหลัง ซึ่งก็ไม่ไกลกันมากนัก คำว่า มุขราชทาราม ก็สื่อไปถึงคำว่า "วังหน้า" ได้ด้วย
ภาพหน้าบันทางด้านหลังครับ พวกกนกหัวสัตว์หายไปหมดแล้ว เหลือแต่ลาย พระเลยเก็บไว้ด้านหลัง
เทวดากราบก้มพนมกร บนหน้าบันศาลาสวดศพวัดบางยี่ขัน เป็นส่วนหนึ่งของศาลาการเปรียญเดิมที่โดนรื้อไปตั้งแต่ทศวรรษที่ 30 ซึ่งเดิมวัดแห่งนี้ชื่อ มุขราชทาราม แปลว่า วัดของพระราชาผู้อยู่ข้างหน้า คือวังหน้า อันไม่สอดคล้องกับตำแหน่งที่ตั้ง ที่อยู่ใกล้วังหลังมากกว่า แต่จากการแกะสลักแลฝีมืออันอะเคื้ออะคร้าวเช่นนี้ ทำให้เชื่อได้ว่า เป็นฝีมือช่างหลวงรุ่นต้นกรุงเป็นแท้ และน่าจะเป็นฝีมือช่างวังหลังนี่แหละ