รู้หยุดอยู่ที่รู้ คือรู้หยุดอยู่ที่จิตตั้งมั่นชอบ ไม่ใช่รู้หยุดอยู่ที่วิญญาณขันธ์รู้
ตอนตอบกระทู้ธรรมะ มีคนยกข้อธรรมนี้ขึ้นมา
เนื่องจากตอนนั้นภาระเยอะ ไม่มีเวลาตอบ ลองมาดูกัน


รู้ให้หยุด ณ วิญญาณขันธ์รู้
ไม่ใช่รู้ตอนเป็นสังขารขันธ์
แต่รู้ หยุด ณ วิญญาณขันธ์รู้
ก็ยังไม่พอ ยังต้องสาวให้ถึง จิต

รู้ให้ถึง จิต แล้วก็ยังไม่พอ
ยังต้องรู้ ในจังหวะที่ไม่รู้
มันถึงจะรู้ทุกข์ในจิต


รู้ให้หยุด ณ วิญญาณขันธ์รู้
ถ้าเป็นวิญญาณขันธ์ แสดงว่ารู้และยึดอารมณ์ ปรุงแต่งไปตามอารมณ์เรียบร้อยแล้ว

ไม่ใช่รู้ตอนเป็นสังขารขันธ์
พอรู้อารมณ์ปุ๊บ เกิดวิญญาณ เวทนา สัญญา สังขาร ตามมาปั๊บ
มันไม่ทันตั้งแต่แรกแล้ว จิตปรุงอารมณ์ตั้งแต่วิญญาณขันธ์แล้ว


แต่รู้ หยุด ณ วิญญาณขันธ์รู้
ก็ยังไม่พอ ยังต้องสาวให้ถึง จิต

อย่างที่บอกแต่แรก ถ้าเป็นวิญญาณขันธ์เนี่ย ปรุงอารมณ์เรียบร้อยแล้ว
กระบวนการขันธ์ ๕ เกิดต่อเนื่องกันไปแล้ว ไม่ทันแล้ว...
ต้องรู้อยู่ที่รู้ ก่อนจิตจะไปปรุงเป็นวิญญาณขันธ์


รู้ให้ถึง จิต แล้วก็ยังไม่พอ
ยังต้องรู้ ในจังหวะที่ไม่รู้
มันถึงจะรู้ทุกข์ในจิต

ถ้าจิตรู้อยู่ที่รู้ได้ มันจะรู้ชัดเจนเลยว่า
ตอนที่จิตไปรู้อยู่ที่เรื่อง นั่นแหละจิตเป็นทุกข์
แต่พอจิตมารู้อยู่ที่รู้ นั่นแหละจิตไม่ทุกข์


ขออธิบายขยายความดังนี้

วิญญาณขันธ์ เป็นอาการของจิต
เกิดจากจิตรู้และรับอารมณ์ที่เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เมื่อจิตรับรู้อารมณ์นั้นๆแล้ว ก็ปรุงแต่งต่อไป เกิด เวทนา สัญญา สังขาร ตามมาอย่างรวดเร็ว

คงต้องเข้าใจความหมายของคำว่า อารมณ์ กันก่อน
อารมณ์ คือ รูป คือ สิ่งที่ถูกจิตรู้
แจกแจงได้เป็น รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธัมมารมณ์

จิตรับรู้อารมณ์เหล่านี้ โดยอาศัยร่างกายซึ่งมีอายตนะภายใน ๖ คือ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นคู่เรียงตามลำดับ
เป็นรูปารมณ์(อารมณ์คือ รูป), สัททารมณ์(อารมณ์คือเสียง)
คันทารมณ์(อารมณ์คือกลิ่น), รสารมณ์(อารมณ์คือรส)
โผฏฐัพพารมณ์(อารมณ์คือกายสัมผัส), ธัมมารมณ์(อารมณ์คือความนึกคิดในใจ)

ตัวอย่าง
เมื่อ ตา กระทบ รูป
จิตรับรู้อารมณ์(รูปารมณ์)ทางตา เรียก วิญญาณทางตา (จักษุวิญญาณ)
จิตเกิดความชอบใจ-ไม่ชอบใจ-เฉยๆ ต่อรูปารมณ์นั้นๆ เรียกว่า เวทนา
จิตจดจำรูปารมณ์นั้นๆไว้ เรียกว่า สัญญา (รูปสัญญา)
จิตนึกคิดถึงรูปารมณ์นั้นๆ คิดดี-คิดชั่ว-คิดไม่ใช่ดีไม่ใช่ชั่ว เรียกว่า สังขาร

ครบขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


ในวันหนึ่งๆ อารมณ์ หรือ รูป หรือ สิ่งที่ถูกจิตรู้ เข้าสู่จิตตลอดเวลา
ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จึงเกิดขันธ์ ๕ ขึ้นที่จิตตลอดเวลา

พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ หรืออริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง
เพื่อให้รู้อยู่ที่รู้ ไม่ใช่รู้อยู่ที่อารมณ์หรือเรื่องต่างๆทั้งภายนอกและภายในใจ

โดยเริ่มต้นจากอานาปานสติบรรพะแรก
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติ

นั่นคือ ปฏิบัติสัมมาสมาธิ ควบคู่ไปกับสัมมาวายามะ และสัมมาสติ
จนจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ จิตอยู่โดยลำพังตนเอง ไม่ต้องอิงอาศัยอารมณ์
จิตอยู่ส่วนจิต อารมณ์อยู่ส่วนอารมณ์
อารมณ์เหล่านั้นก็คงเป็นแค่ รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธัมมารมณ์
แต่ไม่ใช่อารมณ์ของจิตอีกต่อไป เพราะจิตไม่ได้ปรุงแต่งไปตามอารมณ์แล้ว
ไม่เกิดเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตามมา

นี้คือ รู้สักว่ารู้ เห็นสักว่าเห็น ได้ยินสักว่าได้ยิน
รู้แล้วหยุดด้วยปัญญา (จิตรู้แต่ไม่รับ ไม่ยึด ไม่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์)
ไม่ใช่ รู้ให้หยุด ณ วิญญาณขันธ์ รู้ (จิตรู้แล้วรับ แล้วปรุงแต่งไปตามอารมณ์แล้ว)

จาก...สหายธรรม

************************

ครับ ขอขอบคุณ ท่านสหายธรรม ที่ส่งบทความมาให้ได้ร่วมกันศึกษาครับ

มีพระพุทธพจน์รับรองไว้ใน นกุลปิตาสูตร ว่า

ปุถุชนผู้มิได้สดับ เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ปรวนแปรไป
จิตก็ปรวนแปรตามไปด้วย


ส่วนพระอริยสาวกนั้น เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ปรวนแปรไป
จิตก็หาปรวนแปรไปตามไม่


จากพระพุทธพจน์ที่นำมาแสดงให้อ่านนั้น ก็ชัดเจนในตัวโดยไม่ต้องชี้แจงอะไรเพิ่มเติมอีกเลย

จิตเป็นสภาพธรรมที่ชอบออกไปรู้รับอารมณ์แล้วยึดอารมณ์นั้นๆมาเป็นของๆตน

โดยเฉพาะปุถุชนผู้มิได้สดับจากพระอริยสาวกนั้น
ย่อมเข้าใจผิดว่าขันธ์๕เป็นตน ตนเป็นขันธ์
เมื่อจิตยึดขันธ์๕อย่างเหนียวแน่น มาหยุดรู้อยู่ที่ ณ.วิญญาณขันธ์นั้น
ก็แสดงว่าจิตได้เข้ายึดอารมณ์นั้นเข้าให้เสียแล้ว
พร้อมที่จะปรุงเป็น เวทนา สัญญา สังขารต่อไป


ส่วนพระอริยสาวกนั้น
ท่านได้ฝึกฝนอบรมสัมมาสมาธิอย่างต่อเนื่องเนืองๆอยู่
จนจิตของท่านสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ ที่เข้ามากระทบทางอายตนะทั้ง๖
จิตเกิดปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริง ว่าอารมณ์ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่อารมณ์
เมื่อเป็นเช่นนี้ พอรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณปรวนแปรไป
จิตของท่านหาปรวนแปรไปไม่



เรารู้ได้จากพระพุทธพจน์ ที่พระองค์ทรงสอนในหัวใจพุทธศาสนาไว้ว่า
ให้ชำระจิตบริสุทธิ์หมดจดได้นั้น เป็นวิธีเดียว(สัมมาสมาธิ) เท่านั้น
ที่จะสาวไปหาจิตที่เป็นตัวเหตุแห่งทุกข์(สมุทัย)ของสัตว์โลกทั้งหลาย
เพื่อขจัดมลทินสิ่งสกปรกทั้งหลายที่หมักหมมอยู่ที่จิตของตน ของใครของมันอยู่แล้ว

เมื่อชำระโดยวิธีปฏิบัติสัมมาสมาธิได้สำเร็จ จิตย่อมรู้อยู่ที่รู้ ไม่ไปรู้อยู่ที่เรื่อง
เนื่องจากการไปรู้อยู่ที่เรื่องนั้น รังแต่จะเป็นเครื่องหม้กหมมให้จิตสกปรกเศร้าหมอง
ไปตามเรื่องต่างๆเหล่านั้นครับ.....



เจริญในธรรมทุกๆท่าน
ธรรมภูต





Create Date : 18 กันยายน 2552
Last Update : 19 มกราคม 2558 16:43:33 น.
Counter : 360 Pageviews.

3 comments
: หยดน้ำในมหาสมุทร 35 : กะว่าก๋า
(13 เม.ย. 2567 05:51:40 น.)
Day..10 โฮมสเตย์ริมน้ำ
(11 เม.ย. 2567 08:25:45 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 32 : กะว่าก๋า
(10 เม.ย. 2567 06:04:44 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 31 : กะว่าก๋า
(9 เม.ย. 2567 05:58:44 น.)
  
ตอนที่เราฝึกฝนตามแนวคำสอนของสำนักดูจิตในแบบที่ไม่ต้องทำความสงบของใจเข้ามาก่อน

เราได้แต่ตามรู้ตามดูและเห็นแต่ ความคิด ความทรงจำ ความรู้สึก และความว่าง (ซึ่งเป็นความคิดอีกแบบหนึ่ง)

เราเพิ่งมารู้ความจริงเมื่อไม่นานมานี้เองว่า สิ่งที่เห็นนั้นไม่ใช่จิต และความว่างนั้นก็ไม่ใช่สัมมาสมาธิเลยแม้แต่น้อย

ดังนั้นสิ่งที่ "รู้" จึงไม่มีแก่นสารอะไรเลย เสียเวลาจริงๆ
โดย: ต้นหอม IP: 202.176.92.2 วันที่: 19 กันยายน 2552 เวลา:8:43:08 น.
  
อนุโมทนาครับท่านต้นหอม
การดูจิตที่ท่านเรียนรู้มาแต่กาลก่อนนั้น เป็นได้แค่คนที่ "ติดดีในดีเท่านั้น"

ปัจจุบันท่านมารู้จักวิธีปฏิบัติกรรมฐานภาวนา "พุทโธ"
เพื่อทีจะเข้าถึงสภาพจิตที่แท้จริง
จึงมีข้อเปรียบเทียบว่า ของแท้ต่างจากของเทียมอย่างไร...


ธรรมภูต

โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 20 กันยายน 2552 เวลา:8:15:29 น.
  
อนุโมทนาค่ะ คุณธรรมภูต

เคยไปอ่านกระทู้นึงในพันทิพ...นานแล้ว
เรื่องความเข้าใจเรื่องจิตผิดๆ ทำให้การศึกษาพระพุทธศาสนาผิดตลอดแนว
แล้วให้สะท้อนใจว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ

ฝ่ายที่จิตเกิดดับ จะเข้าใจว่า จิตคือวิญญาณขันธ์
แล้วทำเป็นมองเมิน นกุลปิตาสูตร ที่คุณธรรมภูต ยกมาแสดง
ซึ่งชัดเจนว่า จิตไม่ใช่วิญญาณขันธ์ โดยไม่ต้องตีความใดๆเลย

ปุถุชน เมื่อขันธ์ ๕ ปรวนแปร จิตก็ปรวนแปรตาม
ส่วนพระอริยสาวกนั้น เมื่อขันธ์ ๕ ปรวนแปร จิตหาปรวนแปรตามไม่
โดย: สมาชิกผู้ทรงเกียรติ วันที่: 20 กันยายน 2552 เวลา:20:02:04 น.

Nujoy.BlogGang.com

ในความฝันของใครสักคน
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]