วันเด็กที่ไร้ค่า เมื่อเสียงของเด็กไปไม่ถึงผู้ใหญ่ วันเด็กแห่งชาติ ของประเทศไทย ตรงกับวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมของทุกปี เป็นวันหยุดราชการที่ไม่ได้ชดเชยในวันทำงานถัดไป มีการให้คำขวัญวันเด็กทุกปีโดยนายกรัฐมนตรีไทย เริ่มต้นจัดงานวันเด็กครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 โดยได้กำหนดให้เป็นวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม เป็นวันเด็กแห่งชาติ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2508 ได้มีมติเปลี่ยนแปลงเป็นวันเด็กแห่งชาติมาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม โดยเริ่มจัดงานวันเด็กในปี พ.ศ. 2509 คำขวัญมันก็เริ่มตั้งแต่ปี 2499 โดยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม คำขวัญคือ "จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม" ส่วนในปีนี้ซึ่งเป็นปีที่ 9 แล้วของ ประยุทธ์ จันทร์โอชา คำวัญคือ "รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่ความดี" หลายครั้งที่เด็กและเยาวชนออกมาเรียกร้องเรื่องต่างๆ แล้วผู้ใหญ่ได้ฟังอะไรบ้าง อย่าว่าแต่ฟังเลยไม่มีแม้แต่จะพยายามรับรู้เลยด้วย เราจะมีคำขวัญไปทำไม คุณลองดูสิตั้งแต่ปี 2499 ถ้านับถึงตอนนี้พวกเด็กที่รับคำขวัญเหล่านั้น ก็คือพวกนักการเมืองแก่ๆ ในสภา พวกทหารที่บ้าอำนาจอยู่ทุกวันนี้แหละ เอาง่ายๆ เลยแค่เรื่องทรงผม กฎก็ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองนี้ออกเอง กำหนดตกลงอะไรกันเรียบร้อย ถึงเวลา ครูไม่ทำตามกฎ กูเป็นครูกูจะทำอะไรก็ได้ ไม่พอใจก็เรียกพ่อเรียกแม่มึงมาลาออกไป!! ดูสิ..... นี่คือการให้ความสำคัญกับเด็กของผู้ใหญ่ในประเทศนี้ ประโยชน์ของคำขวัญวันเด็กที่เราสัมผัสก็คือ ถ้าเอาไปท่องในกิจกรรมงานวันเด็กก็จะได้ขนมกับลูกโป่งก็เท่านั้น นอกนั้นไม่ได้มีห่า หรือจับสาระอะไรไม่ได้เลย ผ่านไป 2-3 วันก็ลืมหมดแล้ว ตอนนี้เด็ก เยาวชนสนใจในการเมืองมากขึ้น จะมีประโยชน์กว่าหรือไม่ถ้าคนที่เป็นผู้ใหญ่ในบ้านเมือง จะหันหน้าเข้าหาเยาวชน และรับฟังปัญหา รวมไปถึงข้อเรียกร้องให้มากกว่าที่เป็นอยู่ ดีกว่าไปจัดงานกลวงๆ แล้วอ้างเรื่องทำเพื่อเด็ก (ทำเพื่อเบิกงบมาลงกระเป๋ามากกว่ามั้ง?) อ้างสร้างอนาคตให้คนรุ่นหลัง เราเห็นแต่หนี้มากกว่าที่สร้าง คืออย่างงี้ เราจะอธิบายให้ฟังง่ายๆ การที่คุณบอกว่าทำเพื่อสร้างอนาคตให้คนรุ่นหลัง ถ้าคนรุ่นหลังไม่ได้ต้องการสิ่งที่คุณกำลังทำ แม้มันจะดีแค่ไหน ถึงเวลาของเขา เขาก็ถอนทิ้งทำลายทิ้งหมด แล้วคุณจะทำไปเพื่ออะไร ก็เหมือนเสื้อผ้าคุณซื้อให้ลูก ลูกคุณไม่ชอบไม่ใส่ แม้มันจะดีแค่ไหน ราคาแพงแค่ไหนมันก็เสียเปล่า สุดท้ายก็ทิ้งโดยที่ไม่ใส่ มันก็เหมือนกันน่ะแหละ นอกเสียจากว่า "กูให้มึงชอบ!!" ถ้าเป็นแบบนี้ ก็อีกเรื่อง วันเด็กต้องฟังเสียงเด็กด้วย ไม่ใช่เด็กที่เป็นนักกิจกรรมจะเข้าไปร่วมงานก็เอาตำรวจมากันเขา https://twitter.com/webdevxp/status/1614165175422287872
ผมว่าพิธา ลิ้มเจริญรัตน์พูดถูก คำขวัญวันเด็กเป็นสิ่งที่เด็กอยากได้น้อยที่สุด ไม่รู้จะเอาไปทำไมมันเหมือนแค่ให้โอวาสแล้วสั่งว่า ต้องทำอย่างนี้ๆ พวกคุณที่เป็นผู้ใหญ่แล้วมีงานมีการทำแล้วมีคำขวัญวันเด็กอะไรที่จำได้บ้าง? เด็กควรมีความปลอดภัยในโรงเรียน และที่สาธารณะ นี่ต่างหากที่เด็กต้องการ ไม่ใช่คำขวัญแบบนี้
แล้วก็เลิกถามเด็กได้แล้วว่าอยากเป็นอะไร? พอเด็กไม่รู้ตอบไม่ได้ก็ว่าเด็กว่าทำไมไม่รู้ ก็ยังไม่รู้ก็คือยังไม่รู้ ที่สำคัญนะอยากเป็นพอถึงเวลามันเป็นไม่ได้มันเจ็บปวดนะ ถามตรงๆ ทุกวันนี้มีคนมากน้อยแค่ไหนที่เรียนจบแล้วได้ทำงานตรงสาย? เอาคนรอบๆ ตัวผมนะ แทบไม่มีใครทำงานตามสายที่ตัวเองได้เรียนมาเลย โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 14 มกราคม 2566 เวลา:22:07:11 น.
เขากำลังแก้กฎหมายให้อยู่ต่อไปได้เรื่อยๆหากทำจริงได้คงสนุกสนาน
เซ็งครับ โดย: =[]=!!! (Rain_sk ) วันที่: 15 มกราคม 2566 เวลา:4:38:14 น.
ดู ๆ แล้วเขาทำตามประเพณี อยากให้เด็กอยู่ในโอวาท(มั้ง)
ซ้ายหันขวาหัน ตะเบ๊ะ ปรบมือแบบเกาหลีเหนือ หุ หุ กลัวตบ มือไม่พร้อมก็ให้ ท่าน "ชมเก่ง" กำกับ โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 15 มกราคม 2566 เวลา:6:03:27 น.
สวัสดีค่ะ
คำขวัญ จะมีคนจำได้สักกี่คนเนาะ เราไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องแบบนี้ค่ะ เปื่อยซะหลายวันเลยค่ะ ขอให้สุขกายสบายใจนะคะ โดย: tanjira วันที่: 16 มกราคม 2566 เวลา:14:27:33 น.
|
บทความทั้งหมด
|
พูดไปตัวเองก็ทำไม่ได้