ถึงเวลาล้มระบบเศรษฐกิจโลกแล้วหรือยัง? : 17 ต.ค. 54






ถึงเวลาล้มระบบเศรษฐกิจโลกแล้วหรือยัง?

17 ตุลาคม 2554



ตอนนี้ในหลายประเทศทั่วโลก กำลังมีการประท้วงต่อต้านระบบความไม่ชอบมาพากลในนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลตนเอง เริ่มจากกลุ่มต้านวอลล์สตรีทในอเมริกาที่ไม่พอใจการนำเงินภาษีไปอุ้มบริษัทขนาดยักษ์(คล้ายๆเมืองไทยในสมัยฟองสบู่แตก) แต่กลับลดงบประมาณด้านสวัสดิการสังคม ขณะเดียวกันก็เรียกร้องให้ขึ้นภาษีคนรวยเพื่อลดช่องว่างของคนจนกับคนรวยลงมา นอกจากนี้ยังมีการนัดชุมนุมผ่านเครือข่ายสังคมอินเตอร์เน็ตจนเกิดการประท้วงไปทั่วโลก โดยเฉพาะในยุโรปซึ่งกำลังเกิดวิกฤตการเงินอย่างรุนแรง จนเกิดการจราจลขึ้น

คำถามคือ?? อะไร? คือทางออกของปัญหา อะไรคือการแก้ปัญหาที่เหมาะสม หากขึ้นภาษีคนรวยเพื่อลดช่องว่างทางชนชั้น แล้วแรงจูงใจในการสร้างและพัฒนาตนเองให้ร่ำรวยล่ะ สิ่งเหล่านี้จะหายไป ภาษีมรดกอาจดูสมเหตุสมผลมากกว่า แต่ก็คงไม่สามารถลดความต่างชั้นทางสังคมได้ หรือการให้รัฐบาลลดการช่วยเหลือภาคธุรกิจขนาดยักษ์ในภาวะปัญหาวุ่นวายทางเศรษฐกิจก็คงทำไม่ได้ เพราะหากปล่อยให้ธุรกิจขนาดใหญ่เหล่านี้ล่มลงไป นั่นหมายถึงผู้คนมากมายต้องตกงาน ปัญหาไฟลามทุ่มที่อาจรุกลามยากจะควบคุม และส่งผลให้โครงสร้างสำคัญทางเศรษฐกิจล้มครืนลงมาได้ทั้งระบบ

รัฐบาลของประเทศในยุโรปที่ประสบปัญหาหนี้สาธารณะพุ่งกระฉูดต่างแก้ไขปัญหาด้วยการรัดเข็มขัดเพื่อปรับงบประมาณเข้าสู่สมดุล ทั้งการปลดพนักงานภาครัฐ ลดเงินเดือน ลดงบประมาณด้านสังคมมากมาย สร้างความไม่พอใจให้ประชาชนเป็นจำนวนมาก ในขณะเดียวกันรัฐบาลของประเทศในเอเซียก็ป้องกันปัญหาจากยุโรป ซึ่งจะส่งผลกระทบในเรื่องของการสูญเสียรายได้จากการส่งออก จึงพยายามกระตุ้นตลาดภายในประเทศด้วยการลดภาษีเพิ่มรายได้ สารพัดที่จะให้ประชาชนในประเทศเอาเงินออกมาใช้จ่ายมากๆ เพื่อรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเอาไว้

ถามว่ารัฐบาลประเทศในยุโรปไม่รัดเข็มขัดได้หรือไม่? คำตอบคือเมื่อไม่สามารถจัดเก็บงบประมาณได้เพียงพอกับรายจ่าย ถ้าไม่ลดการใช้เงินลงแล้วจะเอาเงินที่ไหนมาใช้ จะพิมพ์เงินเพิ่มเข้ามาในระบบ เงินก็จะเฟ้อข้าวของจะยิ่งแพงเป็นเท่าทวี

แล้วประเทศในเอเซียล่ะ ไม่กระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายภายในประเทศได้หรือไม่? ก็ถ้าไม่รักษาตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจเอาไว้ ปล่อยให้เศรษฐกิจหดตัว ผู้คนมากมายก็จะตกงาน รายได้ของรัฐบาลก็จะลดลงส่งผลให้ขาดดุลงบประมาณ ท้ายที่สุดก็จะเกิดวิกฤตการเงินเช่นเดียวกับประเทศในยุโรป

ทุกวันนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างแข่งขันกันเพื่อสร้างอำนาจเทคโนโลยีและการเงินให้เหนืออารยะประเทศอื่นๆ มันเป็นสงครามรูปแบบใหม่ที่มาแทนที่การรบราฆ่าฟันเช่นอดีตที่ผ่านมา ใครพ่ายแพ้ในสังเวียนเศรษกิจก็จะตกเป็นเมืองขึ้น การมีอำนาจทางเศรษกิจเหนือประเทศอื่น ก็เหมือนการเป็นเจ้าอาณานิคมกลายๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือประเทศไทยสมัยฟองสบู่แตก สมัยนั้นเกิดการปั่นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้เติบโตเกินกว่าขนาดของตลาด สถาบันการเงินต่างกู้เงินจากต่างประเทศมาปล่อยกู้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศ เกิดจุดอ่อนให้ต่างชาติเข้าโจมตีค่าเงินบาท สุดท้ายระบบเศรษฐกิจไทยตอนนั้นก็ล่ม ต้องกู้เงิน IMF เพื่อนำมาใช้ฟื้นฟูประเทศ และต้องรับสภาพเงื่อนไขต่างๆของ IMF เงื่อนไขของการเปิดประเทศให้ต่างชาติเข้ามาหาประโยชน์ นำมาซึ่งการออกกฏหมายที่รู้จักกันดีในชื่อ กฏหมายขายชาติ 11 ฉบับ กฏหมายที่เป็นหลักฐานว่าประเทศไทยสูญเสียเอกราชไปแล้ว และต่างชาติได้เข้ามาเป็นผู้กำหนดนโยบายของประเทศ

จะเห็นได้ว่า การเติบโตของเศรษฐกิจโลกทุกวันนี้นั้น ขึ้นกับปริมาณการผลิตเพื่อการค้า และขนาดของตลาด องค์ประกอบเหล่านี้ได้ก่อปัญหาใหญ่หลวงให้กับโลก เพราะทุกประเทศทำทุกวิถีทางเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิต นั่นหมายถึงการเผาผลาญทรัพยากรอย่างมหาศาล การเปิดพื้นที่เหมือง การเพิ่มพื้นที่การเพาะปลูก การทำลายป่าไม้ ฯลฯ ทุกสิ่งเพื่อการเพิ่มผลผลิตทางการค้า นำมาซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญคือภาวะโลกร้อนที่ทำให้ภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง ส่วนการขยายขนาดของตลาด คือการเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชากร ที่สำคัญคือการรักษาจำนวนประชากรให้มีจำนวนมาก ยังส่งผลให้เกิดการบริโภคอย่างมหาศาล แต่ก็ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหาร สิ่งแวดล้อม ปัญหาสังคมมากมายตามมา เรียกได้ว่าปัญหาทั้งหลายทั้งมวลที่เกิดขึ้นกับโลก ล้วนเกิดจากความพยายามพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโครงสร้างของระบบทุนนิยมเสรีที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ทั้งสิ้น

ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรีกำลังนำพาโลกเข้าดำดิ่งสู่หุบเหวแห่งหายณะ ปัญหาไม่ใช่อยู่ที่วิธีการจัดการ แต่เป็นที่หลักการของระบบ ฉะนั้นหากเรายังคงจัดระเบียบโลกด้วยระบบเศรษฐกิจระบบนี้ต่อไป คงเหมือนการนับถอยหลังสู่ความมืดมนของมนุษยชาติ ผมยังมองว่าเราจะแก้ไขอะไรได้ด้วยหลักการเดิมๆที่เป็นอยู่ หนทางรอดคงต้องล้มระบบเดิมนี้ลง และสร้างระบบใหม่ที่เหมาะสม

ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมคอมมิวนิส มีลักษณะที่อาจตอบโจทน์นี้ได้บางส่วน แต่ปัญหาของระบบนี้ก็คือการทำลายแรงจูงใจในการสร้างถานะ และไม่ก่อให้เกิดการแข่งขัน และส่งผลต่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบบถดถอย

แต่กรอบที่ขีดเส้นให้เราเดินจนวันนี้ ก็กำลังทำลายตัวเราเอง ทำอย่างไร เราคงต้องคิดนอกกรอบ หาหนทางกันต่อไป ระบบรูปแบบใด ที่ไม่ก่อให้เกิดความพยายามในการเพิ่มการผลิตจนทำลายโลกของเราเอง ไม่ต้องขยายตลาดไม่ต้องการแรงงานการผลิตจนประชากรล้นโลก ไม่ก่อให้เกิดการแข่งขันกันจนลดทอนคุณธรรมจริยธรรมของมนุษย์ ไม่บั่นทอนความฝันสู่อนาคตที่ดีกว่า ไม่ทำลายความพยายามในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่ลดทอนสิทธิเสรีภาพความเป็นคน และไม่ทำให้คุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ถูกตีค่าได้ด้วยเงินตรา ระบบแบบไหนกัน??? ใครกันจะคิดได้และใครกันจะทำให้มันเป็นจริงได้







Create Date : 17 ตุลาคม 2554
Last Update : 17 ตุลาคม 2554 14:01:13 น.
Counter : 743 Pageviews.

7 comments
  
ขอบคุณที่แวะไปเจิมให้
คุณมินยังเหมือนเดิมนะคะ ...
ไม่อยากให้บล็อกนี้หายไปอีก เป็นห่วงนะคะ

โดย: ฟ้าใสวันใหม่ วันที่: 17 ตุลาคม 2554 เวลา:15:51:57 น.
  
สรุปว่าเป็นคนเดียวกัน จะได้ delete ชื่อเดิมออก
ขอ add ชื่อใหม่แทนนะคะ ...

คงไม่ถึงกับต้องเปลี่ยนตัวเองหรอกค่ะ แค่ถนอมตัวเองไว้บ้าง
ดีกว่าเอาหัวไปชนฝา เพราะคนที่เจ็บก็คือตัวเราเอง
โดย: ฟ้าใสวันใหม่ วันที่: 17 ตุลาคม 2554 เวลา:16:26:52 น.
  
ไม่ได้ล้มเศรษฐกิจ
แต่ใช้น้ำล้างต่างหาก
โดย: ดอกฝิ่นในสายลมหนาว วันที่: 18 ตุลาคม 2554 เวลา:6:58:21 น.
  
สวัสดีตอนบ่ายค่ะ..^^

โดย: Lika ka วันที่: 18 ตุลาคม 2554 เวลา:13:38:29 น.
  
หวัดดียามค่ำ

นกขมิ้นเหลืองอ่อน ค่ำนี้จะนอนไหนดี..

ท่านพุทธทาส...ศีลธรรมไม่กลับมาโลกาจะวินาศ

รักษาสุขภาพด้วย
โดย: กาแฟสดกะพรรณไม้งาม วันที่: 18 ตุลาคม 2554 เวลา:19:05:33 น.
  
นกกระแตแต้แว้ด ผมก็เข้าใกล้ไม่ได้ครับ ตอนหลังผมเปลี่ยนกล้องไปใช้ฟูจิ hs20 มันซูมได้ 30x เลยสามารถถ่ายได้ในระยะห่างๆ ครับผม
โดย: bite25 ไม่ได้ล็อกอิน IP: 172.27.246.195, 110.77.225.2 วันที่: 19 ตุลาคม 2554 เวลา:15:35:23 น.
  
เข้ามาดู ฟิ้ววววววววววววว
โดย: โหยหาชนบท IP: 119.63.85.82 วันที่: 20 ตุลาคม 2554 เวลา:16:20:05 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Nainokkamin.BlogGang.com

nainokkamin
Location :
พิษณุโลก  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]