เงินที่ฝากในธนาคาร : ใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ มีผู้สอบถามว่า หากนำเงินไปฝากไว้กับธนาคาร เงินฝากดังกล่าวนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของใคร .................................................................................................. คำตอบจาก legal.bloggang.com กฎหมายกำหนดว่าผู้รับฝากไม่จำเป็นต้องคืนเงินอันเดียวกับที่ฝาก ผู้รับฝากจึงมีสิทธิเอาเงินนั้นออกใช้ได้ผู้รับฝากถูกผูกมัดแต่เพียงต้องคืนให้ครบถ้วนเท่านั้น ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในเงินดังกล่าวตกเป็นของธนาคารครับ ขอธิบายเพิ่มเติมดังนี้ครับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วางวิธีเฉพาะการฝากเงินไว้มีหลักดังนี้ 1. เมื่อมีการฝากเงินกัน กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้รับฝากไม่จำต้องคืนเป็นเงินทอง ตราอันเดียวกับที่ฝาก แต่ถ้าตกลงกันว่าต้องคืนเงินอันเดียวกันที่ฝากไว้ผู้รับฝากต้องทำเช่นนั้น เช่น ฝากธนบัตรเก่า 1 ใบ ตัวเลขของธนบัตรสวยมากเป็นเลข 9 หมดทุกตัว ดังนี้ ผู้รับฝากจะคืนธนบัตร ใบอื่นให้แก่ผู้ฝากไม่ได้ 2. ผู้รับฝากต้องคืนเงินให้ครบตามจำนวนที่ฝาก 3. ผู้รับฝากใช้เงินที่ฝากก็ได้ จากเหตุผลที่ว่ากฎหมายสันนิษฐานว่าผู้รับฝากไม่จำเป็นต้องคืนเงินอันเดียวกับที่ฝาก ผู้รับฝากจึงมีสิทธิเอาเงินนั้นออกใช้ได้ผู้รับฝากถูกผูกมัดแต่เพียงต้องคืนให้ครบถ้วนเท่านั้น 4. เงินที่ฝากสูญหาย แม้เหตุสุดวิสัยผู้รับฝากต้องรับผิดคืนเท่าจำนวนที่ฝาก ตัวอย่างเช่น นาย ก. เป็นพ่อค้าได้นำเงิน 100,000 บาท ไปฝากไว้กับ นาย ข. มีกำหนด 3 วัน ปรากฏว่า หลังจากที่ นาย ก. ได้ส่งมอบเงินจำนวนดังกล่าวให้ นาย ข. ไปแล้วได้เกิดเพลิงไหม้บ้าน นาย ข.และเงิน ดังกล่าวก็ถูกไฟไหม้หมด ดังนี้เมื่อครบ 3 วันแล้ว นาย ก. มาขอเงินคืน นาย ข. จะต้องหาเงินจำนวน 100,000 บาท มาคืน นาย ก. เนื่องจากกรรมสิทธิ์ในเงิน 100,000 บาท ที่ นาย ก.ฝากไว้ตกเป็นของ นาย ข. ไปแล้ว โดย นาย ข. จะต้องรับผิดชอบใน ความสูญหายของดังกล่าวเอง ![]() โดย: ดร. สาโรช Dr. Saroj (mlmboy
![]() โดย: เครื่องพ่นสีแบบพกพา (ตาดวงที่3
![]() |
บทความทั้งหมด
|