ราชาอัมพัต 2 date: 21-30 ธ.ค. 2556 dive: 497-521 boat: Raja Ampat Explorer ไป Raja Ampat รอบที่สอง หยุดหนึ่งสต๊อป แวะที่จาร์การ์ต้าแล้วบินไป Sorong ค่าเครื่องบินแพงกว่ารอบที่แล้วที่หยุดสองสต๊อป อาจจะเป็นเพราะช่วงใกล้เทศกาลปีใหม่ด้วย ![]() เที่ยวนี้ ไม่เสียค่าเข้าอุทยานฯ เพราะที่จ่ายไว้คราวที่แล้ว มันครอบคลุมระยะเวลาไปถึง มค 2014 คราวนี้ไปนานด้วย ดำน้ำ 8 วัน 26 ไดฟ์ แน่ะ เป็นการดำน้ำที่ยาวที่สุดที่เคยไปมา (ถ้าผิวหนังไม่ดี คงเปื่อยไปเลย อิอิอิ) ไปกับเรือ Raja Ampat Explorer เป็นเรือใบสองเสา ใบเรือใช้ได้ด้วยนะ และ design ไว้ดี คนๆเดียวสามารถกางใบ-เก็บใบเรือได้เลย ![]() แผนที่ ราชาอัมพัต และ route ที่เรือวิ่ง (โดยประมาณ) ซึ่งต่างจากรอบที่แล้ว เพราะคราวนี้ลงใต้ไป Misool ด้วย คราวที่แล้ววิ่งรอบเหนืออย่างเดียว ![]() ตัวที่ใครๆมาตามหา ก็คือ ฉลาม wobbegong ก่อนลง ไดฟ์ลีดเตือนอย่างเข้มข้นว่า ถ้าเจอมันนอนอยู่ อย่าไปแหย่มันนะ เพราะเวลามันกัด มันกัดแบบไม่ปล่อย ไม่เหมือนฉลามทั่วไปที่กัดแล้วสะบัดเพื่อฉีกเนื้อ wobbegong มาจากภาษาอะบอริจิน แปลว่า shaggy beard ![]() ![]() video นกแก้วหัวโหนก Hammer-head parrotfish เจอเป็นฝูงเลย ![]() น่าเสียดายที่น้ำขุ่น ถ่ายรูปยาก ![]() ปลานกขุนทองหัวโหนก หรือนโปเลียน Napoleon fish ![]() ฝูงปลาโนรีครีบยาว Banner fish ![]() ปลาหูช้าง Orbicular batfish ![]() ปลาหูช้างเทียร่า Teira batfish มองมาเหมือนยิ้มด้วย (แต่จริงๆ คือมันลอยตัวให้ปลาพยาบาลทำความสะอาดอยู่) ![]() ฉลามพยาบาล Nurse shark นอนอยู่ในถ้ำ เจอมันทีไร นอนทุ๊กที ![]() ปลาจรเข้ Crocodile fish ![]() ตาปลาจรเข้ สวยดีนะ (ตอนถ่ายคิดว่า ใกล้พอแล้วนะ แต่รูปออกมายังใกล้ไม่พอ รูปไม่คม เอาไว้แก้ตัวคราวหน้า) ![]() ปลาจิ้มฟันจรเข้ลายแถบ Banded pipefish ![]() ปลาไหลมอร์เรย์ Morey eel ![]() ตัวนี้ หัวและเกล็ดเหมือน Ribbon pipefish แต่ในหนังสือ ตัวมันเป็นสีน้ำตาล ไม่ใช่สีน้ำเงินนี่นะ ![]() Winged pipefish วัยเด็ก ![]() ฉลามปะการัง Reef shark นอนพุงอืดอยู่ สงสัยอิ่มจัด ![]() ปลาแตงโม Oriental sweetlips พยายามซ่อนตัวอยู่ในกอกัลปังหาบางๆ เค้าคงคิดว่า ซ่อนดีแล้วละ เธอมองไม่เห็นชั้นใช่ม๊ายล่ะ ![]() Oriental sweetlips Dotted sweetlips ![]() ปลาลูกดอกสองสี Two-toned dartfish เป็นครั้งแรกที่เห็นเป็นฝูง ปรกติมักอยู่กันเป็นคู่สองตัว ![]() ดูใกล้ๆ ![]() เหาฉลาม หรือเหาทะเล Slender Suckerfish ถูกสลัดหลุดมาจากแมนต้า จริงๆแล้ว มันตัวใหญ่กว่าที่คิดนะเนี่ยะ ![]() แมนต้าดำ Black Manta ใต้ท้องสีดำสนิท ในทะเลบ้านเราก็มี แต่หายาก ![]() แมนต้าปรกติ ท้องสีขาว ![]() ![]() กุดสลาดจุดฟ้า Coral cod หาวอยู่พอดี ![]() ปลาจิ้มฟันจรเข้ปีศาจ Ghost pipefish ![]() กระเบนจุดฟ้า Blue-spot ray กำลังจะเหิน ![]() ว่าแล้วก็เลี้ยวมาผ่านหน้ากล้องในระยะประชิด แบบไม่ต้องซูม ![]() ฝูงปลาสากหางเหลือง Yellow tail Baracuda ![]() Black-saddled toby ![]() ปลานกขุนทองอกแดง Redbreast wrasse ![]() ปลาสลิดหินแก้มดำ Behn's damsel วัยเด็กน้อย ![]() ปลาสินสมุทรลิปสติก Three-spot angelfish ![]() ปลาสินสมุทรแว่นเหลือง Blue face angelfish ![]() ปลาสินสมุทรจักรพรรดิ Emperor angelfish ![]() ปลาวัวตัวตลก Clown triggerfish ตัวนี้ดุมาก ไม่ว่ายหนีเลย แถมยังพุ่งเข้ามาไล่นักดำน้ำอีก เค้ากำลังเฝ้าไข่อยู่ ![]() ปลากะรังหน้างอน Barramundi cod ![]() Bridled monocle bream ![]() ปลาการ์ตูนสองชนิดอยู่ด้วยกัน มีแถบหลังขาว เป็นปลาการ์ตูนอินเดียน (Skunk anemonefish) แต่ตัวที่มีลายข้างแก้มเส้นเดียว ชื่อะไรมะรุ ในหนังสือ หาเจอแต่แบบมีบั้งขาวสองเส้น ![]() การ์ตูนส้มขาว False clown anemonefish ![]() ปลาการ์ตูนลายปล้อง Clark's anemonefish ![]() ปลาการ์ตูนสองบั้ง Sebae anemonefish ![]() Spine-cheek anemonefish สึแดงจัดมาก ![]() ปลาสลิดหินมะนาว Lemon damselfish ![]() Three-lined monocle bream ![]() ปลาขึ้ตังเบ็ดแว่นเหลือง Yellow-masked surgeonfish ![]() ปลายูนิคอร์นจมูกยาว Long-nose unicornfish ![]() ปลาวัวพาลิด Pallid triggerfish ![]() Masked rabbitfish ![]() Sailfin tang หาจังหวะถ่ายที่กางครีบสวยๆไม่ได้ ชอบหุบครีบว่ายหนีทุกทีเลย ![]() ปลากะรังจิ๋ว Anthias ![]() ปลายูนิคอร์นจมูกโต Bignosed unicornfish ![]() ปลาวัวยักษ์ Titan triggerfish ![]() ปลาสินสมุทรสองสี Bicolor angelfish ![]() ปลาคาร์ดินัลชนิดหนึ่ง Cardinal fish ![]() ปลาสินสมุทรบั้งเหลือง Regal angelfish ![]() ปลาผีเสื้อแพนด้า Panda butterflyfish ![]() ลูกปลาอะไรสักอย่าง ![]() ![]() ![]() ปักเป้าเหลืองจุดดำ Yellow boxfish ![]() ปลาผีเสื้อแรคคูน Raccoon butterflyfish ![]() ปลาสิงโตสีสวย Lionfish ปรกติ เห็นแต่ขาวดำ หรือขาวน้ำตาล ![]() ปักเป้าหนามทุเรียน Porcupine fish ![]() ลูกปลาหิน Stonefish ![]() ปลาผีเสื้อครีบแดง Redfin butterflyfish ![]() ปลาผีเสื้อจุดรูปไข่ Oval-spot butterflyfish ![]() ตุ๊ดตู่ อยู่ในรู Blenny ![]() ![]() ปลาเหยี่ยว Blotched hawkfish ![]() ปลาเหยี่ยวหน้ากระ Freckled hawkfish ![]() ปลาบู่แส้ทะเล Sea-whip goby ตัวแส้ทะเล ขนาดประมาณดินสอ คิดดูก็แล้วกันว่า ปลามันตัวเล้ก.....ขนาดไหน ![]() ? ![]() ปลาสิงโตครีบจุด Spot-fin lionfish ![]() Yellow watchman goby ![]() Black-ray shrimp goby ![]() ปลากะพงลายแถบฟ้า Blue-lined snapper ![]() Two-spot snapper ![]() ปลาลิ้นหมา Flounder ![]() ตาและปากของปลาลิ้นหมา ![]() ปลาผีเสื้อแถบส้ม Orange-banded coralfish ![]() ลูกปลาสิงโต ตัวเท่านูดี้ ตัวเล็กๆๆมากๆๆๆ ![]() ปลาผีเสื้ออานดำ Saddled butterflyfish ![]() Jawfish ปลาอมไข่ ![]() Rock mover ![]() (ตัวขาว แดง) Coris วัยเด็ก ![]() ? ![]() ลูกปลาอะไรสักอย่าง คนชี้ตาดีมาก ที่เห็นว่าเป็นปลา ตอนมองตาเปล่า เห็นแต่จุดเล็กๆสีเหลืองบนสาหร่ายสีแดง น่าจะสัก 1-2 มิลเอง พอเอามาขยายดูในกล้อง ถึงได้เห็นว่า มีนัยน์ตาด้วย ![]() ปักเป้าหน้าหมา ตัวนี้มีลายกากะบาดอยู่บนจมูก ![]() Latticed butterflyfish ![]() Philippine butterflyfish ![]() ปลาจิ้มฟันจรเข้ pipefish ![]() Long-fin rockcod ![]() ฝูงปลากะรังจิ๋ว สีสวยมาก Anthias ดีดตัวออกมาสู้น้ำแรงๆบนยอดกอง เพื่อไม่ให้ถูกพัดปลิวไปที่อื่น ![]() ฝูงนกแก้วหัวโหนก ![]() ฝูงแจ๊ค ![]() ฝูงลูกปลาน้อย ![]() ถึงคราวนูดี้บ้างละ ภาพนูดี้สวยอันดับ 1 ปีนี้ ![]() นูดี 2 ![]() นูดี 3 ![]() นูดี 4 ![]() นูดี้ 5 ![]() นูดี้ 6 ![]() นูดี 7 ![]() นูดี้ 8 ![]() นูดี้ 9 ![]() นูดี้ 10 ![]() นูดี้ 11 ![]() นูดี้ 12 ![]() นูดี้ 13 ![]() นูดี้ 14 ![]() นูดี้ 15 ![]() นูดี้ 16 ![]() นูดี้ 17 ![]() นูดี้ 18 ![]() นูดี้ 19 ![]() นูดี้ 20 ![]() นูดี้ 21 ![]() นูดี้ 22 ![]() นูดี้ 23 ![]() นูดี้ 24 ![]() นูดี้ 25 ![]() หนอนตัวแบน flatworm 1 ![]() flatworm 2 ![]() flatworm 3 ![]() ![]() flatworm 4 ![]() ไข่นูดี้ ![]() ม้าน้ำแคระ Pygmy seahorse เจอหลายตัวเลย ถ่ายรูปได้มั่งไม่ได้มั่ง เพราะมันมองเห็นย๊าก..ยาก.. ![]() ![]() ![]() ![]() กุ้งตัวใสๆ ![]() ![]() ![]() กุ้งบนแส้ทะเล ![]() หมีกกระดองตัวน้อย Cuttle fish ![]() ![]() ปูแต่งตัว Decorated crab เอาดอกไม้ทะเลมาปกคลุมตัวเอง ![]() อีกตัวหนึ่ง ![]() ปากกาทะเล Sea pen ![]() หมึกยักษ์ Octopus อยู่ในถ้ำ ![]() ดาวขนนก สีเขียวสวย feature star ปรกติไม่ค่อยเห็นสีเขียว จะมีสีขาว เหลือง แดง น้ำตาล ซะเป็นส่วนใหญ่ ![]() หอยมือหมี Honeycomb clam กลุ่มนี้สีสวย ![]() หนอนฉัตรทะเล Featherduster Worm, Christmas tree worm เป็นหนอนทะเลชนิดหนึ่ง ฝังตัวอยู่ในปะการัง ตัวนี้สีไม่จัดจ้าน แต่สวย ![]() ![]() ![]() น้องเต่า Turtle ![]() ดาวทะเลตะกร้า Basket star แผ่กิ่งก้านออกหากินตอนกลางคืน ![]() ? ![]() ลูกหมึกยักษ์ Octopus น่าจะเพิ่งออกจากไข่ ตัวยังใสๆอยู่เลย ![]() เพรียงหัวหอม Sea Squirts ![]() ![]() ![]() ปูขน(หรือกุ้งก็ไม่รู้นะเนี่ยะ) อยู่บนฟองน้ำครก ![]() Anemone pipefish อยู่ในกอดอกไม้ทะเล ![]() Hairy shrimp ตัวยาวเซนต์เดียว แต่สีสดมาก ![]() ปู ![]() หอยเขา ตัวลาย ![]() ลายบนตัวปลาดาว บ้านเราไม่ค่อยมีแบบนี้ ![]() หอยมือเสือ Scaly giant clam ลายสวยมาก เหมือนลายริมผ้าเลย ![]() มองเกือบไม่รู้ว่าเป็น ปู นึกว่ากิ่งไม้แห้ง ![]() ปูโกรธ อ้าก้ามเตรียมต่อสู้ ![]() ดาวขนนกสีแดง อยู่ในปะการังเขียว ห่อตัวดูเหมือนหัวใจสีแดงเลย น่ารักดี ![]() กุ้ง อาศัยอยู่บนตัวปลิงทะเล เทียบขนาดกับนิ้วมือของไดฟ์ลีดเดอร์ ![]() หมึกกล้วย squid ![]() น่าจะเป็น กั้ง ![]() ปูแมงมุม Spider crab ![]() ปูเสฉวน Hermit crab ![]() ปลาดาวสวยๆ ![]() ดาวขนนก Feathered star กำลังย้ายที่เกาะใหม่ ![]() ![]() ถ้ามี strobe จะสีสวยกว่านี้ ![]() ปะการัง กัลปังหา sea fan ฟองน้ำ เพรียงหัวหอม ฯลฯ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() divers ![]() ![]() ![]() ทุกไดฟ์ จะต้อง roll back (ลงน้ำโดยวิธีหงายหลัง) ไม่มีการโดดจากท้ายเรือ แซวกันเองว่า เพราะกัปตันปัดท้ายส่งไม่เป็น 555+ ไม่เหมือนเรือบ้านเรา ปัดท้ายส่งลงกองเก่งมาก ไดฟ์วันคริสมาสต์ ทุกคนใส่หมวกแดงลงดำน้ำด้วย ![]() ภาพสะท้อนของเรือ ![]() หินสวยๆ เป็นแนวสไลด์ ![]() ![]() เมฆรูปเต่าอ้วน ![]() นกทะเลพักเหนื่อยบนเศษไม้ลอยน้ำ ![]() โกงกาง และเงาน้ำ ![]() เรือ และ รุ้ง ![]() หลังฝนตก ![]() แวะที่เกาะน้อยๆ เพื่อถ่ายรูปหมู่ ![]() เพราะอยากได้ทรายขาว.. ![]() ..และน้ำทะเลสวย ![]() รูปนี้ ถ่ายออกมาแล้วเหมือนรูปวาดสีน้ำ ชอบมาก ![]() ภายในเรือ ห้องนอน ![]() มีห้องน้ำในตัว ![]() แพนทรีและช่องส่งอาหารจากครัว เป็นหน้าต่างบานสวยขนาดเล็ก เห็นแล้วอยากซื้อมาไว้ที่บ้านมั่ง ![]() โต๊ะสำหรับชาร์ทอุปกรณ์กล้อง ![]() ผนังด้านหนึ่งจะเป็น แพนทรี-ตู้เย็น-น้ำร้อน-ชากาแฟ small library-first aid ![]() บันไดลงไปห้องนอน เดินได้ทีละคน ห้ามสวนกัน ![]() diving deck ![]() sunset ![]() ![]() Sup Per F เพื่อนร่วมแก๊งค์ (ที่ไม่ใช้ nitrox) ถ่ายรูปมาให้รูปนึง ![]() เย่...เย่.. แถมท้ายด้วยสรุป divesite ของราชาอัมพัต ทั้งเหนือ กลาง ใต้ ![]() ![]() ![]() เย่ ...เย่... ชอบลูกหมึกยักษ์มากเลยค่ะ สวยๆๆ
โดย: Kai Vichunee IP: 115.87.43.99 วันที่: 6 มกราคม 2557 เวลา:20:42:44 น.
ลีดเดอร์ ตาดีมากเลย
มองเห็นได้ไงไม่รุ ขาวๆใสๆตัวนิ๊ดเดียว ![]() โดย: *Cookies*
![]() ภาพสวย ๆ เห็นแล้วอยากดำน้ำอีกแล้วและขอบคุณพี่กุ้งที่ส่งภาพมาให้ดู....
โดย: Titan IP: 125.25.61.250 วันที่: 6 มกราคม 2557 เวลา:21:43:12 น.
ดูแล้วจุใจ ภาพสวยมากๆ ธรรมชาติจัดสรรจริงๆ ขออนุญาตินำบางรูปไปประกอบการทำ ppt สอนสถิติหน่อยนะจ้ะ (เพื่อให้นศ.ได้พักสายตา)
ชอบตรงถ่ายรูปและเล่าเรื่องภายในเรือด้วย จะอธิบายถึงอุปกรณ์ที่ใช้ดำน้ำบ้างน่าจะดี เพราะเป็นการให้ความรู้สำหรับคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการดำน้ำค่ะ โดย: พี่ป้า IP: 27.130.77.195 วันที่: 6 มกราคม 2557 เวลา:23:57:52 น.
พี่ป้า
เอาง่ายๆก่อนนะคะ ดูในรูป diving deck ตัวเสื้อแบบแจคเกตที่มัดติดกับถัง เป็นเสื้อที่เราสวมติดกับตัว ข้างในเป็นถุงลม เวลาเราต้องการลอย เราก็เติมลมเข้าไปข้างในโดยกดปุ่ม เวลาเราต้องการจมลง เราก็ไล่ลมออกจากเสื้อตัวนี้ ที่หัวถัง จะมีหัวต่อและมีสายๆออกมาสี่เส้น เส้นหนึ่ง เป็นเรคกูเลเตอร์ ที่เราต้องอมไว้เพื่อใช้หายใจ เส้นสอง เป็นเส้นสำรอง (สีเหลือง) เผื่อคนอื่นอากาศหมด จะได้มาขอใช้อากาศกับเราด้วยได้ เส้นสาม เป็นเส้นที่เอาไว้ต่อกับเครื่องวัดความดันในถัง (ที่เห็นเป็นหน้าปัดกลมๆ) เพื่อเอาไว้ดูว่า อากาศเหลืออยู่เท่าไร เส้นสี่ เป็นเส้นที่ต่อเข้ากับเสื้อแจคเกต เพื่อใช้เติมลมเข้าเสื้อ นอกนั้นก็เป็นอุปกรณ์พื้นฐานประจำตัว เช่น ตีนกบ หน้ากาก ชุดเวทสูทแขนขายาว ไฟฉาย ฯลฯ อุปกรณ์พวกนี้ เราจะซื้อไว้เป็นของใช้ส่วนตัวก็ได้ หรือถ้าไม่ซื้อ ก็ใช้เช่าจากร้านดำน้ำ หรือเรือ ก็ได้ค่ะ โดย: *Cookies*
![]() อุปกรณ์ก็จะมียี่ห้อ รุ่น ราคา ต่างๆกัน
ถูกแพงต่างกันไปตามบริษัทที่ผลิตและคุณสมบัติ อันที่แพงๆ เป็นแสนก็มี อันที่ราคาย่อมเยาว์ก็มี แล้วแต่จะเลือก อุปกรณ์มือสอง ก็มีซื้อขายกันอยู่ แล้วแต่ความเบื่อของเจ้าของ 555+ ![]() โดย: *Cookies*
![]() เห็นภาพแล้วอยากไปด้วยจัง
โดย: chomphrai IP: 1.20.128.110 วันที่: 7 มกราคม 2557 เวลา:10:28:59 น.
ปล. ไปอยู่บนเรือ กิน นอน กาแฟ ว่ายน้ำ แล้วรอดูรูปใต้น้ำจากกล้อง อิ อิ
โดย: chomphrai IP: 1.20.128.110 วันที่: 7 มกราคม 2557 เวลา:10:43:51 น.
สวยมากๆ เยี่ยม!
โดย: ฤดี IP: 202.28.179.5 วันที่: 7 มกราคม 2557 เวลา:10:52:11 น.
ชอบรูป Sunset รูปแรกมาก ๆๆ
โดย: ยุทธ IP: 171.6.180.148 วันที่: 7 มกราคม 2557 เวลา:15:32:16 น.
พี่หนู Chomphrai
ถ้าจะไป แนะนำให้ไปเรือไทย ชื่อ ฐาปนา แล้วออกไปสิมิลันนะ ไปแค่ 4 วัน ยังไม่ทันเบื่อเท่าไร ที่สำคัญ พ่อครัวทำอาหารอร่อยมาก ถูกปากคนไทย ที่นั่งที่นอนสบาย มีบาร์บิคิววันนึง แล้วก็มีอาหารญี่ปุ่นด้วยละ ถ้าไม่มีคลื่นลม ก็นอนอ่านหนังสือ ดูหนัง แล้วมาดูรูปใต้น้ำกัน เค้าจะเอามาฉายบนจอใหญ่ให้ดูกันในห้องนั่งเล่น ![]() โดย: *Cookies*
![]() ฤดี
ขอบคุณมากจ้ะ ![]() คุณยุทธ ถ่ายมาตั้งเยอะ ชอบรูปเดียวเหรอนั่น ![]() พี่หนู Chomphrai ลืมบอกไปว่า Boat master จบสถาปัตย์ด้วยละ ![]() โดย: *Cookies*
![]() ทริปนี้คุ้มจริงๆ ได้ภาพใต้น้ำสวยๆเยอะจัง ชอบมากเลย ขอบคุณกุ้งที่แชร์ให้ได้ดูนะคะ ดูได้เรื่อยๆ ไม่มีเบื่อเลยค่ะ
โดย: Chuanchuen IP: 171.98.69.169 วันที่: 8 มกราคม 2557 เวลา:9:48:52 น.
พี่กุ้งมีภาพสวยๆ มาให้ดูอีกแล้วดีใจจังถึงไม่มีโอกาสได้ไป แต่ก็ได้ชมภาพสวยๆ ทั้งนั้นเลย
ขอบคุณนะค่ะที่แบ่งปันความสุขให้ โดย: เก๋จ้ะ IP: 202.28.179.5 วันที่: 8 มกราคม 2557 เวลา:9:51:21 น.
สวยสุดๆสวยใต้น้ำ
โดย: เด๊ะ IP: 171.4.106.165 วันที่: 10 มกราคม 2557 เวลา:6:10:00 น.
ขอบคุณสำหรับภาพสวยๆค่ะอาจารย์ โลกใต้น้ำมหัศจรรย์มากค่ะเหมือนอยู่ในโลกอีกใบหนึ่งเลย..สิ่งมีชีวิตบางอย่างเพิ่งเคยได้เห็น..ถ้ามีโอกาสอยากไปเรียนตำน้ำมั่งจังค่ะ
โดย: กานต์ IP: 81.152.57.99 วันที่: 14 มกราคม 2557 เวลา:9:28:12 น.
Hello, I think your blog might be having browser compatibility issues. When I look at your blog site in Ie, it looks fine but when opening in Internet Explorer, it has some overlapping. I just wanted to give you a quick heads up! Other then that, terrific blog!
Stivali UGG 7540 //ellisservices.com/bigsale/images/doposci/ugg-italia-online.php โดย: Stivali UGG 7540 IP: 192.99.14.36 วันที่: 22 พฤศจิกายน 2557 เวลา:6:41:46 น.
|
บทความทั้งหมด
|