รีวิวเครื่องปรับอากาศ Daikin inverter รุ่น Ekira [Sponsor Review] (ตอนที่3) มาต่อที่ส่วนของชุดคอยล์ร้อน (Condensing Unit)
ชุดคอยล์ร้อนที่บรรจุอยู่ในกล่องกระดาษ มีน้ำหนักรวมกว่า 37 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าค่อนข้างหนักอยู่ สำหรับแอร์ขนาด 12,000 BTU
แต่แอร์เครื่องนี้ได้มีการแยกฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ออกมาไว้ที่กล่องด้านนอกไม่ได้ติดมาให้แต่อย่างใด ผู้ใช้งานสามารถเลือกที่จะนำไปติดหรือไม่ก็ได้
แกะกล่องออกมาดูก็จะเจอชุดคอยล์ร้อนที่ถูกห่อไว้ด้วยพลาสติก
![]()
ด้านข้างและด้านหลังของชุดคอยล์ร้อน
ด้านขวาของชุดคอยล์ร้อน จะมีฝาครอบที่ครอบปิดในส่วนของเซอร์วิสวาล์ว และเทอร์มินอลสำหรับเชื่อมต่อสายไฟฟ้า
ที่วาล์วตัวล่างของชุดเซอร์วิสวาล์วจะเป็นวาล์วของท่อ Suction หรือท่อทางดูดวาล์วนี้จะต่อกับท่อที่มีขนาดใหญ่กว่า เป็นท่อที่น้ำยาแอร์ที่มีแรงดันต่ำกว่า เพราะเป็นท่อทางเดินของน้ำยาที่ถูกดูดกลับเข้ามาโดยคอมเพรสเซอร์เพื่อเริ่มกระบวนการอัดใหม่
ในภาพด้านบนก็จะเห็นสองส่วนหลักๆ ซึ่งก็คือบอร์ดวงจรหลัก และขดลวดรีแอคเตอร์ โดยทั้งหมดนี้เป็นส่วนที่ใช้ควบคุมรอบการทำงานของคอมเพรสเซอร์ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเรื่องประสิทธิภาพของระบบอินเวอร์เตอร์ในแอร์ ผมไม่ขอลงลึกในรายละเอียดมาก เพราะหลายๆท่านก็คงทราบกันดีว่าไดกิ้นเป็นเจ้าแรกๆเลย ที่ริเริ่มนำแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์เข้ามาทำตลาดในบ้านเรา นับตั้งแต่เริ่มเข้ามาทำตลาดเมื่อหลายปีก่อน มาจนถึงปัจจุบันนี้ ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงประสิทธิภาพ ในเรื่องเทคโนโลยีระบบอินเวอร์เตอร์ของไดกิ้น ให้ได้เป็นที่ประจักษ์กันแล้ว
ภาพรวมของชุดคอยล์ร้อนเมื่อนำฝาครอบด้านบน และฝาปิดด้านหน้าออก
ใบพัดของพัดลมระบายความร้อน ผลิตจากพลาสติกที่แข็งและมีความยืดหยุ่น ไม่แตกหักง่าย
มอเตอร์ที่ขับเคลื่อนใบพัดของพัดลมระบายความร้อน เป็นมอเตอร์แบบปิดสนิท ออกแบบให้สามารถทำงานได้ในความเร็วรอบที่หลากหลายเพื่อช่วยลดเสียงรบกวน แผงควบแน่น (Condenser) ที่อยู่ในชุดคอยล์ร้อนของแอร์เครื่องนี้ทางผู้ผลิตยังคงเลือกใช้แผงควบแน่นแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นแผงแบบท่อและครีบ ที่ประกอบไปด้วยท่อทองแดงและครีบอลูมิเนียม
ครีบอลูมิเนียมที่อยู่ในชุดคอยล์ร้อน ก็ได้รับการป้องกันการกัดกร่อนโดยมีการเคลือบสารป้องกันการกัดกร่อนสีเขียวเอาไว้ด้วย
เหตุผลหลักที่ทำให้คอมเพรสเซอร์ของไดกิ้นมีขนาดที่เล็กกว่าชาวบ้านอย่างเห็นได้ชัด นั่นก็เป็นผลมาจากประสิทธิภาพที่มีนั่นเอง เพราะว่าที่ผ่านมาทางไดกิ้นได้มีการพัฒนาประสิทธิภาพของคอมเพรสเซอร์ที่ใช้กับแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์มาโดยตลอด และถือได้ว่าไดกิ้นเป็นเจ้าแรกๆที่บุกเบิกเทคโนโลยีระบบอินเวอร์เตอร์ที่ใช้ในแอร์เลยก็ว่าได้ อ่านรีวิวต่อ ตอนที่ 4 (ตอนจบ) >>>CLICK<<< กลับไปอ่านรีวิว ตอนที่ 2 >>>CLICK<<< |
บทความทั้งหมด
|