กุยช่าย ![]() "กุยช่าย" หรือที่เราชอบเรียกกันว่า "ผักไม้กวาด" นั้น แม้จะมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย แต่ก็ถือเป็นดอกไม้กินได้อีกอย่างหนึ่งที่คนเรานิยมนำมาประกอบอาหาร โดยส่วนมากที่เห็นก็จะนำมาผัดน้ำมันหอยใส่เนื้อสัตว์เล็กน้อย เป็นเมนูโปรดอีกอย่างหนึ่ง "108 เคล็ดกิน" เลยทีเดียว นอกจากจะเป็นอาหารจานอร่อยแล้ว ดอกกุยช่ายนี้ก็ยังมีประโยชน์ไม่น้อย เพราะสามารถช่วยให้คนที่อ่อนเปลี้ยเพลียแรงง่าย เหนื่อยง่าย คนป่วย คนอายุมาก หรือคนที่มีอาการกามตายด้าน ให้กลับคืนสู่สภาพปกติได้ เพราะผักกุยช่ายนี้มีแร่ธาตุและสารปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค แต่ถ้ากินเข้าไปครั้งเดียวในปริมาณมากๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะได้ แต่ก็มีวิธีการแก้โดยนำผักกุยช่ายไปปรุงกับตับ หรือกุ้งหรือหมู ![]() และยังมีสรรพคุณช่วยบำรุงน้ำนมในคุณแม่ที่เพิ่งคลอดบุตรใหม่ๆ แถมยังมีเบต้าแคโรทีน ที่ร่างการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ช่วยป้องกันมะเร็ง มีธาตุเหล็กที่ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และมีวิตามินสูง อีกทั้งมีกากใยช่วยในการย่อยอาหาร ลดโอกาส เกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้ ถ้ากินดอกกุยช่ายอย่างสม่ำเสมอ ร่างกายจะแข็งแรง มีกำลังวังชา ร่างกายขับเหงื่อได้ดี ช่วยบำรุงไตได้อีกด้วย และสำหรับคุณผู้ชาย ผักไม้กวาดก็จะช่วยเสริมพลังทางเพศ ลดอาการหลั่งเร็วของผู้ชายได้ด้วย ![]() กุยช่าย (จีน: ??, อังกฤษ: Garlic chives; ชื่อวิทยาศาสตร์: Allium tuberosum Rottl. ex Spreng) อยู่ในวงศ์ Amaryllidaceae วงศ์ย่อย Allioideae เป็นไม้ล้มลุก สูง 30-45 ซม. มีเหง้าเล็กและแตกกอ ใบแบน เรียงสลับ รูปขอบขนาน ยาว 30-40 ซม. โคนเป็นกาบบางซ้อนสลับกัน ช่อดอกแบบซี่ร่ม ก้านช่อดอกกลมตันยาว 40-45 ซม. โดยปรกติจะยาวกว่าใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ออกในระดับเดียวกันที่ปลายก้านช่อดอก ก้านดอกยาวเท่ากัน มีใบประดับหุ้มช่อดอก เมื่อดอกเจริญขึ้นจะแตกออกเป็นริ้วสีขาว กลีบดอก 6 กลีบ สีขาว ยาวประมาณ 5 มม. โคนติดกัน ปลายแยก กลางกลีบดอกด้านนอกมีสันหรือเส้นสีเขียวอ่อนจากโคนกลีบไปหาปลาย ดอกบานกว้างประมาณ 1 ซม. เกสรเพศผู้ 6 อัน อยู่ตรงข้ามกับกลีบดอก เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ผลกลม กว้างยาวประมาณ 4 มม. ภายในมี 3 ช่อง มีผนังกั้นตื้นๆ เมื่อแก่แตกตามตะเข็บ มีเมล็ดช่องละ 1-2 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลแบน ขรุขระ เอเชียตะวันออกแถบภูเขาหิมาลัย อินเดีย จีน และญี่ปุ่น ในไต้หวันมีปลูก 2 พันธุ์ คือ พันธุ์สีเขียวที่ปลูกทั่วไป และพันธุ์ใบใหญ่สีขาวซึ่งเกิดจากการบังร่ม การใช้ประโยชน์ กุยช่ายใช้รับประทานเป็นอาหารได้ ดอก ผักกับตับหมู ใบรับประทานสดกับลาบ หรือผัดไทยก็ได้ และนอกจากนั้นยังใช้ใบทำเป็นไส้ของขนมกุยช่ายอีกด้วย และมีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพร ใบ มีฟอสฟอรัสสูง เป็นยาแก้หวัด บำรุงกระดูก แก้ลมพิษ ทาท้องเด็กแก้ท้องอืด บำรุงไต บำรุงกำหนัด จะกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ตำผสมเหล้าเล็กน้อยรับประทานจะช่วยกระจายเลือดไม่ให้คั่ง แก้ช้ำในได้ น้ำมันสกัดจากต้นกุยช่ายที่ความเข้มข้น 80 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรยับยั้งการเจริญของ Flavobacterium columnaris ในอาหารเลี้ยงเชื้อได้ ถ้านำน้ำมันนี้ไปผสมกับอาหารเลี้ยงปลา 800 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทำให้ปลานิลตายจากการติดเชื้อ F. columnaris น้อยลง คุณค่าทางอาหาร : กุยช่ายเขียว มีแร่ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งทำงานสัมพันธ์กันในการสร้างกระดูกให้แข็งแรง มีอยู่ในใบกุยช่ายเขียวมากกว่ากุยช่ายขาวหลายเท่าตัว อีกทั้งยังมีธาตุเหล็กและวิตามินบี และวิตามินซีสูงกว่าด้วย กุยช่ายขาว มีสารให้พลังงานต่ำ เหมาะแล้วที่เอามาผัดรวมกับของมัน ๆ เช่น หมูกรอบ ดอกกุยช่ายนั้น มีฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินบี 1 และเบต้า-แคโรทีน สูงกว่าใบกุยช่าย และ็ให้คาร์โบไฮเดรตสูงกว่ากุยช่ายขาวเกือบเท่าตัวด้วย สมุนไพรกุยช่ายทั้งต้นและดอกให้กากใยอาหาร ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างสมดุมแก่ระบบย่อยอาหาร ช่วยให้ถ่ายคล่องท้องไม่ผูก อีกทั้งยังช่วยดักจับสารพิษ และของที่ร่างกายไม่พึงประสงค์ ซึ่งตกค้างในลำไส้ออกมาทิ้งเสียโดยเร็ว ทำให้สุขภาพแข็งแรง ผิวพรรณผุดผ่อง และลดโอกาสการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อย่างมาก นอกจากนี้ ยังมีวิตามินซีและสารที่ร่างกายจะนำมาสร้างเป็นวิตามิน เอ คือ เบต้า-แคโรทีน และเบต้า-แคโรทีนจะเกิดประโยชน์ต่อร่างกายเราเต็มที่เมื่อกินพร้อมไขมันในรูปต่าง ๆ ![]() อยากกินขนมกุยช่ายทอด + จิ้มน้ำจิ้มสีดำ ๆ จังเลยค่ะ
โดย: tummydeday
![]() กุยช่ายผัดตับ อร่อยเริด สวัสดีวันแรงงานนะคะ
โดย: 1 ในผู้ใช้แรงงาน (ประกายพรึก
![]() |