พิพิธภัณฑ์หอยกรุงเทพฯ(Bangkok Seashell Museum)




เราไปตัดแว่นกับร้านเพื่อนที่ตั้งอยู่บนนถนนเจริญกรุงมาค่ะ พอลงทางด่วนสีลมก็เห็นพิพิธภัณฑ์หอยกรุงเทพฯ ตั้งตระหง่านอยู่ค่ะ และพอดีกันกับที่ปีนี้คุณแม่กำลังวางแผนให้ลูก ๆ โดยเฉพาะลูกคนโตในวัยสิบสองปีเรียนรู้เรื่องภูมิศาสตร์ ในส่วนของธรณีวิทยา ไม่ว่าจะเป็น ดิน หิน หรือแร่ธาตุ ก็เลยได้โอกาสพาลูก ๆ แวะเข้าไปชมกันค่ะ พิพิธภัณฑ์หอยกรุงเทพฯ นั้นตั้งอยู่ปากซอยสีลม 23 ค่าบัตรเข้าชมคนไทย ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท ค่ะ ส่วน 1-4 ขวบฟรีค่ะ เปิดทำการทุกวัน จันทร์ – อาทิตย์ (ไม่หยุดนักขัตฤกษ์) เวลาทำการคือ 10.00 น. - 19.00 น. ค่ะ และมีที่จอดรถให้ด้านข้างอาคารค่ะ
(ท่านสามารถเข้าไปชมรายละเอียดที่มาที่ไปของพิพิธภัณฑ์หอยฯ รวมทั้งรายละเอียดของหอยที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ ได้ที่พิพิธภัณฑ์หอยกรุงเทพฯ ค่ะ)









“หอย” เป็นสัตว์โบราณที่สุดอีกกลุ่มหนึ่ง เกิดขึ้นบนผืนโลกครั้งแรกอย่างน้อยที่สุดเมื่อกว่า 550 ล้านปีก่อนในยุคแคมเบรียน โดยมีการปรับตัวผ่านการวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง และในปัจจุบันเราสามารถพบหอยอาศัยอยู่ได้ตั้งแต่ก้นมหาสมุทร ภายใต้ผืนทราย ริมชายหาด ในลำธาร ตามแนวไม้ในป่าดิบ ไปจนถึงยอดเขาสูงที่มีหิมะปกคลุมแทบทั้งปี รวมถึงในทะเลทรายที่ร้อนระอุ สภาพแหล่งอาศัยอันหลากหลายเหล่านี้ หอย สามารถปรับรูปทรง และการดำรงชีวิต ตามการเปลี่ยนแปลงของธรณีวิทยา และสิ่งแวดล้อมจนมีความแตกต่างของขนาด และรูปทรงที่สวยงาม น่าตื่นเต้น เช่น เราอาจพบปลาหมึกกล้วยยักษ์ขนาดยาวกว่า 20 เมตร หอยกาบมือเสือยักษ์น้ำหนักหลายร้อยกิโลกรัม ไปจนถึงหอยจิ๋ว ทั้งบนบกและในทะเลที่มีขนาดโตเต็มวัยเล็กกว่าเสี้ยวของมิลลิเมตร

หอยและเปลือกหอยนั้นมีความเกี่ยวพันกับชีวิตมนุษย์ ทั้งในแง่มุมแห่งศิลปะ เป็นสัญลักษณ์แทนการค้าขายแลกเปลี่ยนในประวัติศาสตร์ เป็นอัญมณีและเครื่องประดับจากธรรมชาติ เป็นแหล่งอาหารสำคัญ เป็นที่มาของแหล่งพลังงานปิโตรเลียม เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา เป็นสัตว์เลี้ยง และเป็นแหล่งสกัดยารักษาโรคที่มนุษย์ยังไม่สามารถคิดค้นได้เองอีกมากมาย รอการค้นพบจากนักวิทยาศาตร์ โดยยังมีพื้นที่ทั้งบนบกและภายใต้ผืนน้ำที่มนุษย์ยังสำรวจไม่ทั่วถึงอีกมากมาย จึงมีการคาดคะเนกันว่าเราอาจค้นพบชนิดของหอยได้รวมกันมากถึง 200,000 ชนิดในวันข้างหน้า วิชาการศึกษาเปลือกหอย และวงจรชีวิตของหอยจึงนับเป็นเรื่องที่สำคัญต่อมนุษย์ และวิวัฒนาการของโลก





พิพิธภัณฑ์แบ่งเป็นสามชั้นด้วยกันค่ะ ขอนำภาพแบบรวม ๆ มาให้ชมกันนะคะ






ด้านหน้ามีมุมขายของที่ระลึกจากเปลือกหอยค่ะ
เด็ก ๆ ซื้อเปลือกหอยมาเล่นกับกระบะทรายที่บ้านคนละอันค่ะ






ชั้น ที่ 1 ทำความรู้จักกับวิธีการสร้างเปลือกของหอย “เปลือกหอยเกิดขึ้นได้อย่างไร” ท่านจะได้พบกับเปลือกหอยที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมาก เช่น หอยมือเสือยักษ์ ซึ่งเป็นหอยสองฝาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีน้ำหนักถึง 300 กิโลกรัม รวมไปถึง เปลือกหอยโข่งที่มีผิวด้านในเป็นผิวมุกสวยงาม หอยเท้าช้างชนิดต่างๆ ที่ล่าเม่นเพื่อเป็นอาหารรวมไปถึง หอยกระต่าย หอยเปลือกบางขนาดเล็ก ที่มีพิษรุนแรงทำให้ได้ชื่อว่า เพชรฆาตทางเรียบ































หอยมือเสือยักษ์ ซึ่งเป็นหอยสองฝาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก







ชั้นที่ 2 ตื่นตากับสีสันของเปลือกหอยที่สวยงามจนได้ชื่อว่า อัญมณีแห่งท้องทะเล ไฮไลท์ ของชั้นนี้อยู่เปลือกหอยสองฝาที่มีสีสันสวยงาม เช่น หอยเชลล์จักรพรรดิ หอยเชลล์โซมาเลีย ที่เด่นที่สุดของหอยสองฝาชั้นนี้ คือ หอยแครงที่มีลักษณะเป็นรูปหัวใจ รวมไปถึงหอยฝาเดี่ยวที่น่าสนใจในชั้นนี้คือ กลุ่มหอยแต่งตัวมีลักษณะการสร้างและตกแต่งเปลือกเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สำหรับกลุ่มหมึก จัดแสดงฟอสซิลแอมโมไนต์ อายุ 160 ล้านปี และหมึกที่เป็นที่รู้จักกันในนามหอยงวงช้าง ด้วยโครงสร้างของเปลือกที่ซับซ้อนจึงเป็นต้นกำเนิดของเรือดำน้ำในปัจจุบัน

































สังข์หลายชนิด












ซากฟอสซิลแอมโมไนต์






ชั้นที่ 3 ศึกษาพฤติกรรมการล่าเหยื่อ และการเอาตัวรอด ของหอยชนิดต่างๆ รวมไปถึงหอยทากต้นไม้ ที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน หอยเต้าปูน ซึ่งเรารู้จักกันในนามของหอยมรณะ ไม่เพียงแต่มีอันตรายต่อหอย หรือปลาเท่านั้น ยังสามารถฆ่าชีวิตมนุษย์ได้ภายในเวลา 5 นาที เท่านั้น สำหรับหอยน้ำจืด เช่น หอยกาบแม่น้ำน้อยคนนักจะรู้ว่าภายในเปลือกดำๆ สีน้ำตาลสกปรกนั้นภายในจะอุดมไปด้วยสารเคลือบมุก มีผิวมุกที่สวยงามไม่แพ้มุกจากทะเล สุดท้ายที่หอยทากหากท่านมาพบหอยทากที่จัดแสดงที่นี่ท่านจะหลงรักในสีสัน และลวดลายที่น่ารัก ซึ่งการแพร่ขยายพันธ์ของหอยทากนี้สามารถเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าป่านั้นยังสมบูรณ์อยู่หรือไม่






















หอยนมสาว
เปลือกหอยทากมรกต จากเกาะมานัส ซึ่งสูญพันธ์ไปแล้วในปัจจุบัน
เปลือกหอยทากชมพู และหอยทากเหลือกปากชมพู จากเกาะปาปัว ซึ่งสูญพันธ์ไปแล้วในปัจจุบัน






เป็นอีกหนึ่งความรู้ทางธรณีวิทยา และวิวัฒนาการของโลก โดยคุณแม่ก็มีความคิดว่าจะพาลูก ๆ ไปชมพิพิธภัณฑ์ดิน พิพิธภัณฑ์หิน และพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา รวมทั้งภูเขาหินปูน เป็นลำดับต่อไป เพื่อให้เด็ก ๆ ได้สัมผัสและรวบรวมความรู้ ความเข้าใจทางธรณีวิทยา แล้วบูรณาการให้เห็นภาพอย่างลึกซึ้งของวิวัฒนาการของโลก ของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม มิได้เพียงท่องจำจากหนังสือเท่านั้น







ขอขอบคุณ bg สวย ๆ จากคุณ ลักกี้ค่ะ
และขอขอบคุณรายละเอียดคำบรรยาย รวมทั้งภาพอาคารพิพิธภัณฑ์หอย จากเวป //www.bkkseashellmuseum.co.th/



Create Date : 28 มิถุนายน 2556
Last Update : 7 เมษายน 2557 15:25:49 น.
Counter : 1448 Pageviews.

2 comments
ทริปอเมริกา #2 - ต่อเครื่องที่มะนิลา+ผ่านตม.แบบ fast trackที่นิวยอร์ค ฟ้าใสทะเลคราม
(18 เม.ย. 2567 18:15:13 น.)
กงสุลใหญ่สมใจ ตะเภาพงษ์“ร่วมฉลองสงกรานต์ปีใหม่ไทยในไทม์สแควร์” newyorknurse
(17 เม.ย. 2567 02:18:24 น.)
++ พระมหาธาตุเจดีย์โฆสปัญโญศรีพนม ++ wicsir
(13 เม.ย. 2567 10:29:52 น.)
ตลาดน้ำกวางโจว ดาวริมทะเล
(12 เม.ย. 2567 18:42:45 น.)
  
thx u crab
โดย: Kavanich96 วันที่: 29 มิถุนายน 2556 เวลา:7:48:28 น.
  
ยินดีค่ะ คุณ Kavanich96
โดย: chinging วันที่: 29 มิถุนายน 2556 เวลา:10:11:23 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

In-outdoor-fun.BlogGang.com

chinging
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 22 คน [?]

บทความทั้งหมด