3dsmax modeling H&K MP7 นี่เป็นโมเดลตัวแรกของผมเลยที่ทำใน 3dsmax ทั้งหมด จากก่อนหน้านั้นเคยใช้แต่ Maya พอมาอยู่ออฟฟิศปัจจุบันเลยจำเป็นต้องหัดใช้ 3dsmax แทน เก็บดีเทลซีเรียสพอสมควรเพราะอยากจะเอาไว้ใช้ในมุมมอง first person หวังจะทำ animation มุมมองแบบ Kill Zone 2 มั่ง หรือไม่ก็เก็บเป็นพอร์ตงาน ![]() ใช้ mentalray renderer กับ Arch&Design material ครับ คลิปวิดิโอหมุนๆๆ คลิกเพื่อดาวน์โหลดได้ครับ (5.78 MB) ขอเกริ่นถึงความเป็นมาแบบย่อๆก่อนนะครับ ปืน MP7 นี้ถูกพัฒนาขึ้นมาตามวัตถุประสงค์ของ NATO ในช่วงปี 90's ว่า "ต้องการปืนขนาดกะทัดรัดสำหรับทหารที่ประจำการในยุทธยานยนต์ต่างๆไว้ใช้ในเชิงป้องกันตัว อานุภาพกระสุนต้องสามารถเจาะเกราะอ่อนประจำกายทหารราบได้" ในปัจจุบันมีปืนจากสองผู้ผลิตรายใหญ่ที่สามารถตอบโจทย์นี้ได้ คือ P90 ของ FN และ MP7 ของ H&K ทั้งสองเจ้าใช้หลักการเดียวกัน อธิบายแบบง่ายๆคือ ออกแบบกระสุนปืนขึ้นมาใหม่ซะ กะให้ขนาดใกล้เคียงกระสุนปืนพกที่ใช้ในเชิงป้องกันตัวอยู่เดิมและใช้ปริมาณดินปืนใกล้เคียงของเดิม **แต่ทำปลอกกระสุนเป็นทรงคอขวดแบบกระสุนปืนไรเฟิลเพื่อบีบหน้าตัดหัวกระสุนให้เล็กลง เมื่อปริมาณดินปืนคงเดิมแต่หน้าตัดหัวกระสุนเล็กลง ผลที่ได้คือหัวกระสุนมีความเร็วสูงขึ้น บวกกับการเลือกเฟ้นวัสดุและการออกแบบทรงหัวกระสุนใหม่ ในที่สุดก็ได้กระสุนปืนขนาดเล็กใกล้เคียงกับกระสุนปืนพกประจำกายที่ใช้กันอยู่เดิม แต่มีอานุภาพทะลุทะลวงสูงพอจะเจาะเกราะอ่อนได้ขึ้นมา หลังจากนั้นก็ออกแบบปืนใหม่ไซส์คอมแพคไว้ยิงกระสุนใหม่นี้ออกขายคู่กันไปเลย เป็นที่มาของเจ้าปืนโครงโพลิเมอร์กระบอกนี้เอง link ที่น่าสนใจ : เวบคนรักปืน H&K //www.hkpro.com/index.php?option=com_content&view=article&id=88:mp7&catid=9:the-submachine-guns&Itemid=5 H&K MP7 on Discovery Channel https://www.youtube.com/watch?v=YjY0Us7NOns ![]() Optionที่ทำไว้มี - แม็กสั้นจุ 20 นัด - แม็กยาวจุ 40 นัด - Aimpoint Red Dot Sight - กระบอกเก็บเสียง ขั้นตอนที่ผมใช้ขึ้นโมเดลปืนกระบอกนี้ คร่าวๆ ![]() - เคลียร์แบบ หารูป reference อ้างอิงเยอะๆ ตอนไล่เซฟรูปทำให้รู้ว่ามันมี variation เยอะเหลือเกิน ที่บ้านผมก็ไม่มีของจริงหรือปืน BB ไว้ดูซะด้วย ก็เลยมีมั่วอยู่บ้าง แต่พยายามอิงตามโมเดล MP7A1 เพราะผมถนัดลากเส้นด้วยโปรแกรม Illustrator ก็เลยใช้ทาบแบบลากเส้นเข้าสเกลซะ อย่างขนาดแม็กกาซีนและกระสุน, รางติดอุปกรณ์, ตำแหน่งคันบังคับและลวดลายต่างๆ คล้ายงานเขียนแบบ technical drawing สำหรับการผลิตเชิงอุตสาหกรรม แต่ว่าเอาแค่ภายนอกและไม่ได้แม่นยำขนาดนั้น ทั้งหมดนี้เพื่อเตรียมไว้สำหรับขั้นตอนการขึ้นโมเดลและการทำ texture ต่อไป ![]() - Import เส้นอ้างอิงเข้า 3dsmax เมื่อเคลียร์แบบและทำความเข้าใจแต่ละชิ้นส่วนเรียบร้อยแล้ว ได้เส้นอ้างอิงมาอย่างดี คราวนี้ก็ง่ายหละ เส้นพวกนี้นอกจากจะไว้อ้างอิงแล้วยังใช้ extrude ขึ้นโมเดลได้ด้วย ช่วยให้ทำงานง่ายขึ้นเยอะ...แต่จะไปเสียเวลาตอนลากเส้นนี่แหละ ถ้าหากไม่ได้ซีเรียสจะเอาโมเดลแม่นๆเป๊ะ ใช้ขึ้นโมเดลทาบเอาตามรูปใน viewport ไปเลย แบบที่คนทั่วไปเขาทำกันท่าจะฉลาดกว่า... ![]() - กาง UV ทำ Texture ผมวาง UV ตามภาพ เฉพาะส่วนโครงปืนที่มีสัญลักษณ์หรือจุดที่ต้องการทำtextureหลอกต่างๆจะวางแผ่ไว้ ส่วนอื่นที่เหลือก็กองซ้อนกันไปเพราะสีเดียวกันทั้งชิ้นอยู่แล้ว ไม่มีปัญหา ![]() ทำแบบนี้อาจจะเก็บดีเทลรอยขีดข่วนตามจุดต่างๆไม่ได้ แต่ผมก็คิดอยู่แล้วว่าจะขึ้นตัว low poly แล้ว bake normals แบบโมเดลเกม next-gen ไปเลย ถ้าเป็นตัวโลวจะกาง UV ง่ายกว่ามาก ลายกันลื่นตรงด้ามจับ ผมใช้ภาพขาวดำมาแปลงเป็น normal ด้วย nvidia normal map filter ใน Photoshop ![]() ![]() หาโหลดได้ที่นี่ครับ //developer.nvidia.com/object/photoshop_dds_plugins.html ปัจจุบันผมถนัด3dsmaxมากกว่าMayaแล้ว ย้ายฐานการผลิตมา3dsmaxหมด ลืมวิธีใช้ Maya ไปหลาย พอได้ลอง XSI ด้วย ก็ทำให้รู้สึกว่า Maya นี่แหละเป็นอะไรที่ใช้ยากสุดแล้ว...ฮ่วย ก็แล้วแต่คนชอบน้อ ปุบปับ จบentryแล้วครับ...สวัสดี |
บทความทั้งหมด
|