การเรียนรู้จากประสบการณ์สองทาง ทารกใช้เวลานับเดือนเพื่อให้สามารถแบมือได้..ใช้เวลาหลายเดือนเพื่อให้สามารถจับและกำวัตถุไว้ในมือ...ส่วนเวลาที่จะเรียนรู้ว่าวัตถุใดนิ่ม แข็ง ขรุขระ ก็ไม่รู้ว่าต้องใช้เวลานานเท่าใด.... สิ่งเหล่านี้ เป็นการเรียนรู้ และการเรียนรู้ก็ทำให้เกิดพัฒนาการ..คือการเพิ่มขึ้นของความรู้ ทักษะ และความสามารถที่มนุษย์คนหนึ่งได้มีปฎิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมภายนอก... การปฎิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมภายนอกจนทำให้เกิดพัฒนาการด้านต่างๆนี่แหละ....ที่เราเรียกว่าประสบการณ์ตรง...ซึ่งก็คือการลงมือปฎิบัติด้วยตนเอง นั่นเอง ส่วนการเพิ่มพูนความรู้ จากการที่ผู้อื่นพูดให้ฟังก็ดี จากการอ่านก็ดี จากการเห็นผู้อื่นกระทำเป็นแบบอย่างก็ดี...ล้วนเป็นประสบการณ์ทางอ้อม... ที่มาของความรู้ ความเข้าใจบางประเภท...ไม่อาจได้มาด้วยประสบการณ์ทางอ้อมด้วยการแนะนำหรือบอกเล่าของผู้อื่น...แต่ได้มาจากการปฎิบัติที่เป็นจริงของคน คนหนึ่งเท่านั้น...มักจะเป็นความรู้ประเภทที่เรียกว่า ทักษะ และ ความรู้สึก... เราไม่สามารถ ว่ายน้ำ ปั่นจักยาน พิมพ์ดีด เล่นดนตรี ได้ด้วยการอ่านหรือการบรรยายของบุคคลอื่น...เราจะมีพัฒนาการต่อเรื่องนั้นๆได้ก็ต่อเมื่อได้ลงมือปฎิบัติเองเท่านั้น....เช่นเดียวกับ ความรู้สึกรัก เหงา ผิดหวัง...ก็ไม่อาจเรียนรู้จากการบอกเล่าเช่นกัน..เราจะรู้จักว่าความรู้สึกเช่นนั้นเป็นอย่างไรก้ต่อเมื่อเราได้ผ่านประสบการณ์นั้นด้วยตัวเราเองด้วย.... การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ทางอ้อม...มีประโยชน์ในแง่การเรียนรู้เกี่ยวกับ Concept แนวคิด แนวทาง ในเรื่องราวต่างๆที่รวบรวมไว้อย่างเป็นระบบแล้ว...อีกนัยหนึ่งก็คือเมื่อมันถูกพัฒนาเป็นองค์ความรู้แล้ว...ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาที่จะทำความเข้าใจ..และหลายเรื่อง เป็นประสบการณ์ทางอ้อม ที่เราไม่มีโอกาสไปสัมผัสโดยการลงมือปฎิบัติจริง..ด้วยเหตุผลนานับประการ..... ประสบการณ์ทางอ้อมทีถูกพัฒนาเป็นองค์ความรู้..และถูกบันทึกในสื่อการเรียนการสอนประเภทต่างๆ...หรืออยู่ในความทรงจำของบุคคลต่างๆ...เป็นแหล่งความรู้ที่ ใช้อายตานะเพียง สองส่วนคือ การฟังด้วยหูและการเห็นด้วยตา...และมีการประมวลผลแห่งการรับรู้ด้วย สมองและสติปัญญาของมนุษย์... ประสบการทางตรง..ไม่ว่าเรื่องใด มักเป็นแหล่งความรู้ที่ต้องใช้อายตนะมากกว่า สองส่วน ซึ่งอาจต้องใช้การสัมผัสทางกาย ทางลิ้น ทางจมูก..อาจเผชิญกับปัญหาและมีกระบวนการแก้ไขปัญหา จนได้ข้อสรุปที่ผู้เรียนรู้พอใจ..และมีพัฒนาการแห่งการเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ.... หากเราให้คุณค่ากับนักวิชาการที่จดจำและเข้าใจประสบการณ์ทางอ้อม ซึ่งคือตำราวิชาการมากเกินไป..เราก็มีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับประสบการณ์ทางอ้อมมากเกินไป...ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของ สังคม เทคโนโลยี และสถานการ์ต่างๆ อีกนัยหนึ่งก็คือ ยึดตำราจนลืมรับรู้ความเป็นจริงนั่นเอง.... หากเราเชื่อมั่นในประสบการณ์ตรงของตนเองจนถือว่านั่นคือความรู้ทั้งหมด และดูแคลนความรู้จากประสบการณ์ทางอ้อมของบุคคลอื่นๆ ก็เท่ากับกักขังตนเองให้อยู่ในกรงของประสบการณ์ชีวิตของตัวเองเท่านั้น...แต่เราไม่มีวันรู้ว่าโลกใบนั้นของเราเล็กและแคบปานใด...ความเชื่อมั่นต่อประสบการณ์ของตนเองอย่างลืมหูลืมตามีโอกาสผิดพลาด ไม่แพ้การยึดมั่นตำราเช่นเดียวกัน สมองก้อนน้อยๆที่อยู่ในโพลงกะโหลกของคนเรา..ไม่เคบหยุดทำงานทั้งเวลาหลับและเวลาตื่น...แต่ทัศนะคติต่อการเรียนรู้ของคนเรา..จะมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้สมองทำงานแบบเดินเครื่องเปล่าๆ..หรือ มีวัตถุดิบป้อนเข้าไปให้ย่อยและแปรรูปไปด้วย.... สวัสดีน๊าาา ทักทายจ้า
![]() โดย: สมาชิกหมายเลข 6161573
![]() |