" มิตรและมายาภาพ บนโลกออนไลน์ บันทึกคำให้การจากปากหมอ " ....นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ๑ เมย ๒๕๕๓ หน้า ๓๐
ผมได้รับการติดต่อ จากคุณ บุษกร ภู่แส จาก นสพ. กรุงเทพธุรกิจ หมวด new media เป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับ โลกออนไลน์ ก็เลยนำมาฝากกัน .. ตัดออกมาจากหนังสือพิมพ์ เลย จะได้รู้ว่า ของจริง


































มีเนื้อหาอีกเยอะ ที่ไม่ได้ลง เพราะ ถ้าเอาลงหมด ก็คงหลายหน้า .. ได้ครึ่งหน้า ก็ดีแล้วละ



แถม ด้วย เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง .....


หนังสือ " รู้เท่าทัน ป้องกันโรคกระดูก " คู่มือต่อกรโรคกระดูกตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า



//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-06-2009&group=2&gblog=6


บทสัมภาษณ์ ผม ที่ลงใน เว็บไซต์เด็กดีดอทคอม

กว่าจะเป็นหมอ ตอนที่ ๑


//www.dek-d.com/content/admissions/18748/%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-1.htm







Create Date : 03 เมษายน 2553
Last Update : 3 เมษายน 2553 14:45:46 น.
Counter : 2336 Pageviews.

23 comments
  
โดย: นู๋จ๋ากะตัวน้อย วันที่: 3 เมษายน 2553 เวลา:15:55:16 น.
  
โดย: thanitsita วันที่: 3 เมษายน 2553 เวลา:16:31:32 น.
  
อ่านแล้วยิ้ม ชื่นใจไปด้วยกับมิตรภาพออนไลน์

ที่คุณหมอสมควรได้รับมิตรภาพดี ดี นี้จริง ๆ ด้วยแหละ
โดย: ริวคิ-mawin-maji-minic วันที่: 3 เมษายน 2553 เวลา:20:07:41 น.
  
โดย: NuHring วันที่: 3 เมษายน 2553 เวลา:20:59:22 น.
  
ดีจังคนทำดีแล้วมีคนเห็นol-wior.swimwears.us/">
โดย: ว่าจะไม่แล้วนะ วันที่: 4 เมษายน 2553 เวลา:12:09:24 น.
  
กาลเวลาพิสูจน์คน นับถือครับ
โดย: ต่อตระกูล วันที่: 4 เมษายน 2553 เวลา:17:37:49 น.
  
เด๋วต้องไปหามาอ่านแล้วครับ คุณหมอ เป็นกำลังใจให้ครับ
-gown.dresses-top.us/">-mitzvah.dresses-top.us/">
โดย: Moneyjr วันที่: 10 เมษายน 2553 เวลา:0:43:31 น.
  
อานะไม่ใช่หน้าม้าของหมอนะค่ะ ถ้าไม่ได้หมอในวันนั้น ฮานะคงไม่สามารถเจิดจรัสใส่ส้นสูงได้ในวันนี้ ต้องขอขอบคุณทั้ง หมอหมูและอาจารย์หมอ

ตอนนี้ข้อเท้าที่อาจารย์หมอเคยบอกว่า หลวม ฮานะทำกายภาพบำบัดท่าต่างๆที่คุณหมอแนะนำ จนวันนี้ อาการปวดเหล่านั้นไม่ได้มาเยี่ยมนู๋อีกเลยค่ะ และฮานะยังคงตามอ่านลิ้งต่างๆที่หมอให้มาอยู่เรื่อยๆ มีสาระความรู้ต่างๆ

อยากจะไปกราบงามๆในวันสงกรานต์นี้จังเลย --/\\-- ขอบคุณมากค่ะหมอ ขอบุญกุศลที่หมอช่วยลูกนกลูกกาไว้ ทำให้หมอมีแต่สิ่งดีๆในชีวิตยิ่งๆขึ้นไปค่ะ

ถ้ามีอะไรให้ฮานะช่วยได้ PM มาเลยนะค่ะ หมอ นู่ยินดีช่วยเหลือตามกำลังและความสามารถ

ขอเป็น 1 ในกำลังใจให้หมอค่ะ ^^V สู้ๆๆค่ะ หมอหมู
โดย: ฮานะจังแห่งPWC วันที่: 16 เมษายน 2553 เวลา:16:48:52 น.
  
โห้ หมอหมูได้ลงนสพ.ด้วย ดีจังๆ ต้องขอบคุณคุณหมอหมูมากๆเลย เวลาป่วยทีไรก็ได้คำแนะนำของคุีณหมอหมูนี่แหละ

รักหมอหมูค่า
โดย: ประธานสมามTakahiroแห่งExile (ประธานสมาคมTakahiroแห่งExile ) วันที่: 18 เมษายน 2553 เวลา:12:53:43 น.
  
นับถือมากๆ ค่ะ
แอบเข้ามาอ่านตลอดเวลา
เพราะรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนที่กระดูกไม่ค่อยดี แต่ไม่ได้ไปหาหมอสักที
มาปีนี้ รู้สึกปวดเข่ามาก(ปวดมาเป็นสิบปีแล้ว)
สงสัยว่าจะเข่าเสื่อม

เครียดค่ะ

ดีใจด้วยนะคะที่มีคนมองเห็นความดีของหมอหมู
(แอบอ่านในพันทิบห้องสวนลุมด้วยค่ะ)
โดย: ทาสบอย วันที่: 19 เมษายน 2553 เวลา:12:52:49 น.
  
แวะมาทักทาย






โดย: kimori วันที่: 2 พฤษภาคม 2553 เวลา:18:02:03 น.
  
แวะมาทักทายค่า^^คนบ้านเกิดเดียวกัน.....
โดย: rakwahnron วันที่: 6 พฤษภาคม 2553 เวลา:8:59:01 น.
  
เข้ามาอ่านชีวิตของหมอคนดัง คุณหมอหมูด้วยคนนะครับ

ขอให้บุญรักษาคุณหมอใ ห้เจริญก้าวหน้า สุขภาพแข็งแรง มีคนรักทั่วเมืองไทย และมีความสุขสงบสบายใจนะครับ

ผมเองทำบล็อกรุ่นหลังคุณหมอ ยังไม่เก่งพวกไฮเทคครับ

แต่ชักจะติดบล็อก

พอเล่นนานนับปี ที่เคยว่ายน้ำบ่อย ก็ลดน้อยลง

พอน้อยลงมาก ก็ชักจะขี้เกียจไปเลย

คราวนี้ซิ เส้นที่ไหล่ขวาเริ่มจะตึง โฮะ โฮะ คนแก่ เส้นตึง ว่ายน้ำชักจะยาก

ว่ายระยะทางสั้นลงๆ จะหยุดบล็อกไปว่ายบ่อยๆก็ไม่ได้ เพราะติดบล็อก

รักพี่ รักน้องไปซะแล้ว ยังแก้ปัญหาชีวิตตัวเองไม่ตกเลยครับคุณหมอ....

โดย: yyswim วันที่: 14 พฤษภาคม 2553 เวลา:14:15:34 น.
  
ขอบพระคุณค่ะคุณหมอ


จาก....มีอาการชาปลายมือ ขอคำแนะนำด้วยค่ะ

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L9238208/L9238208.html#9


และคุณหมอกรุณาให้คำแนะนำใน คห. 8



วันนี้ไปหาหมอที่โรงพยาบาลเลิดสินแล้วค่ะ


หมอเช็คหลายจุด ถามว่าเจ็บไหม เสียวไหม ก็ไม่มีอะไร จึงไม่น่าจะเกี่ยวกับการกดทับ หรือผังผืด เข้าใจว่าคงปลายประสาทอักเสบปกติ จึงให้ยามาทานและนัดไปดูอาการอีกครั้งค่ะ


ก็กะว่าจะทานยา และบริหารข้อมือ ตามวิธีที่คุณหมอให้ลิงค์ไว้ด้วย


ขอบพระคุณคุณหมออีกครั้งค่ะ
โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 14 พฤษภาคม 2553 เวลา:18:56:10 น.
  


หลงทางเข้ามาครับ คุณหมอ
โดย: veerar วันที่: 11 กรกฎาคม 2553 เวลา:22:41:04 น.
  
ไปโหวตมาครับ เลยมาอ่านบล้อกด้วย
การให้ข้อมูลในเน็ตเป็นเรื่องที่ต้องระวังจริงๆ ด้วยนะครับ
คุณหมอ
โดย: กลิ่นดอย วันที่: 31 กรกฎาคม 2553 เวลา:14:53:16 น.
  
ไปโหวตมา
....................
สวัสดีครับ
โดย: panwat วันที่: 5 สิงหาคม 2553 เวลา:23:27:26 น.
  
มาทักทายพี่หมอหมูทางนี้บ้างค่ะ
ดีใจด้วยนะคะ
บล็อคแก๊งค์ของเราอบอุ่นขึ้นมากตั้งแต่มีบล็อคอวอด์
แพทชอบบรรยากาศนี้จริงๆไค่
กดโหวตกันมันไปเลย อิอิ..

ครั้งหน้ามีโปรแกรมอะไรอีก
แจ้งทางfbก็ได้ค่ะ


ยินดีด้วยอีกครั้งค่ะ
โดย: ตัวp_box วันที่: 25 สิงหาคม 2553 เวลา:18:20:05 น.
  
ขอบคุณหมอหมูมาก ๆ ครับ
โดย: Ultraman_42 (Ultraman_42 ) วันที่: 30 สิงหาคม 2553 เวลา:11:15:37 น.
  

แสดงความยินดี จากใจค่ะ.... เกศสุริยง
สร้างกริตเตอร์

แวะเอาช่อดอกไม้มาแสดงความยินดีค่ะคุณหมอ
โดย: เกศสุริยง วันที่: 12 มกราคม 2554 เวลา:21:08:40 น.
  
แสดงความยินดีกับคุณหมอครับ
หนึ่งเดียวในสาขาBest Health Blog

โดย: น้ำ-ฟ้า-ป่า-เขา วันที่: 12 มกราคม 2554 เวลา:22:10:24 น.
  

//www.bangkokbiznews.com/2010/04/01/news_30618414.php?news_id=30618414


มิตรภาพและมายาภาพบนโลกออนไลน์ บันทึกคำให้การจากปากหมอ

ถ้าคนที่มีความรู้ ไม่เข้ามาแบ่งปัน ไม่เข้ามาตอบคำถามจะให้คนที่มีไม่ค่อยรู้ มาตอบอย่างนั้นหรือ

นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ หรือ หมอหมู เป็นชื่อที่คุ้นตากันดีบนเว็บบอร์ดห้องลุมพินีของเว็บพันทิปดอทคอม และไทยคลินิกดอทคอม (www.thaiclinic.com)

เขาใช้ความรู้ทางการแพทย์ช่วยเหลือสังคมในอีกรูปแบบหนึ่งผ่านช่องทางที่ผู้ป่วย และไม่ป่วยสามารถเข้าถึง พูดคุยกับหมอโดยตรง

เรื่องมันเริ่มมาจากหมอหมูเห็นกระทู้ถามปัญหาสุขภาพประเภทถามแล้วถามกันอีก ความคิดก็เลยแวบเข้ามาในสมองว่า ทำไมไม่ทำเว็บเพื่อให้ความรู้เรื่องโรคต่างๆ และตอบปัญหาเดิมทำนองเดียวกับ FAQs (Frequencly Aseked Questions) ไปเสียเลยเล่า

ความตั้งใจทำเว็บไซต์พับไปเพราะมันหมูอย่างที่คิด ไหนจะต้องไปจดชื่อทำโฮสติ้งเช่าเซิร์ฟเวอร์ ยุ่งขิงเสียเหลือเกิน แล้วยังต้องมาบริหารดูแลเว็บด้วย ประจวบเหมาะกับกระแสเว็บบล็อกตูมตามกันขึ้นมา หมอหมูก็เลยหวานหมู บล็อกสำเร็จรูปนี่แหละง่ายสะดวก และสำคัญที่สุดก็คือ ฟรี

บล็อกของหมอพนมกร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกระดูก หรือที่เรียกกันว่า ออร์โธปิดิกส์ จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับแสวงหาความรู้ของผู้ป่วย

หากฟื้นฝอยหาตะเข็บกันจริงๆ แล้ว ชีวิตหมอออนไลน์เริ่มเมื่อปี 2544 หลังจากได้ลาออกจากงานด้านบริหารกลับมาทำหน้าที่ของแพทย์ออร์โธปิดิกส์เพียงอย่างเดียว พอปี 2548 หมอหมูตัดสินใจลาออกจากราชการ มาเปิดคลินิกส่วนตัวที่จังหวัดกำแพงเพชร บ้านเกิดของหมอ

"ช่วงนี้แหละที่ออนไลน์ตลอดเวลา พอมีเวลาว่าง ไม่มีคนไข้ ผมก็จะเข้าไปดูตามเว็บต่างๆ แต่ที่เป็นหลักคือเว็บพันทิปห้องสวนลุมพินี กับ เว็บไทยคลินิก ห้องพักแพทย์ เข้าไปตอบกระทู้ถามปัญหาสุขภาพ และพูดคุยกับสมาชิกในห้องพักแพทย์ ก็จะได้รู้จักคนโน้นคนนี้ ผ่านตัวอักษร ผ่านจอคอมพิวเตอร์ "

ร่ำเรียนมาทางด้านกระดูกและเป็นเรื่องที่ถนัด คำปรึกษาและเนื้อหาบนเว็บบล็อก //cmu2807.bloggang.com จึงเน้นเรื่องที่เกี่ยวกับ โรคกระดูกและข้อเป็นหลัก เขียนไปเขียนมาตอนนี้มีทั้งหมด 13 กลุ่ม รวม 506 บทความ มีผู้เยี่ยมชม 118,054 ครั้ง และได้รับรางวัล Best Health Blog

นอกจากมี บทความ โรคทั่วไป โรคกระดูกและข้อ ความคิดเห็นด้านสุขภาพ แล้วหมอยังแนะนำร้านอาหารรสอร่อยของจังหวัดกำแพงเพชรด้วยเผื่อใครผ่านมาก็จะได้มีข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว

ในมุมมองของหมอหมู การเข้ามาในสังคมออนไลน์สามารถช่วยเหลือสังคมได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการตอบปัญหา หรือเขียนบทความก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเหลือผู้อื่นได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงเล็กน้อย แต่ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย

"เคยมีคนเตือนเหมือนกันว่าไม่ควรตอบปัญหาในเน็ตเพราะอาจทำให้เข้าใจผิดได้ แต่ผมมองว่า ถ้าคนที่มีความรู้ไม่เข้ามาแบ่งปัน ไม่เข้ามาตอบคำถามจะให้คนที่ไม่ค่อยรู้มาตอบอย่างนั้นหรือ"

กระนั้น ข้อพึงระวังประการหนึ่ง สำหรับการให้ข้อมูล หรือคำแนะนำผ่านสื่อออนไลน์คือ แพทย์ต้องคำนึงอยู่เสมอว่าไม่ได้ตรวจผู้ป่วยโดยตรง ข้อมูลตัวอักษรที่ได้รับมาอาจไม่ครบถ้วน หรือ อาจเข้าใจคลาดเคลื่อน ทำให้ไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัยโรค ดังนั้น แพทย์ออนไลน์ไม่ควรสรุปฟันธง ควรตอบแบบกลางแล้วให้ความรู้ให้แหล่งข้อมูลว่า จะไปหาเพิ่มเติมที่ไหนได้บ้าง หรือในกรณีที่ไม่แน่ใจก็ควรแนะนำไปตรวจกับแพทย์

เขายอมรับข้อจำกัดว่า ข้อมูลอาการผ่านตัวอักษรจากเว็บไซต์คงไม่สามารถบอกได้อย่างแม่นยำว่า เจ็บป่วยเป็นโรคอะไร และต้องรักษาด้วยวิธีไหน หมอหมูมองว่า ข้อมูลบนเว็บไซต์เป็นการให้ความรู้เบื้องต้นสำหรับผู้ป่วย (ญาติ) หรือประชาชนทั่วไปก่อนพบแพทย์ เพื่อพูดคุยปรึกษาสอบถามกันสะดวกรวดเร็วขึ้น

มิตรภาพที่หาได้จากออนไลน์

" 9 ปีที่ผ่านมา ผมได้รับมิตรภาพจากคนที่ไม่เคยพบหน้า บางคนก็ส่งขนม สคส. บัตรอวยพร หนังสือ มีหลายคนขับรถผ่านจังหวัดกำแพงเพชร ก็มาแวะหาผมเพื่อขอบคุณ เอาหนังสือที่ผมเขียนเกี่ยวกับโรคกระดูกมาให้เซ็นชื่อ เอาขนมผลไม้มาฝาก" หมอออนไลน์ ยิ้มกริ่ม

บางรายถึงขั้นเชิญชวนให้ไปเที่ยวไปพักที่บ้านมีทั้งในประเทศ และต่างประเทศ มิตรภาพความรู้สึกดีๆ แบบนี้ ก็เกิดขึ้นได้ผ่านโลกออนไลน์ แต่สิ่งที่นพ.พนมกร ได้รับคือความสบายใจที่เขาบอกว่า "เหมือนได้ทำบุญ ช่วยเหลือคนอื่น "

บางครั้งมีเหมือนกันที่พานพบกับคำถามที่ทำให้จุกอก อย่างกระทู้ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะปฏิบัติตามคำแนะนำแล้วไม่หาย

"อ่านแล้วอึ้ง ให้คำแนะนำฟรี ตามหลักวิชาการ ยังจะมาฟ้องเราอีก แต่ก็มีแค่ครั้งเดียวที่เจอ"

แต่ที่พบบ่อยกว่า คือ กรณีผู้ป่วยมีประสบการณ์ไม่ดีกับแพทย์ แล้วก็มาตั้งกระทู้ด่าทอแพทย์แผนปัจจุบัน รักษาไม่หาย เห็นแก่เงิน ฯลฯ พอมีหมอคนไหนเข้าไปชี้แจงก็จะถูกตอบโต้ด้วยคำรุนแรง จนกลายเป็นการทะเลาะผ่านทางหน้าจอ ถ้าเจอคนแบบนี้เขาจะไม่เข้าไปร่วมด้วย เพราะมองว่าไม่มีประโยชน์อะไรที่จะเข้าไปชี้แจงแสดงความคิดเห็น

ในมุมมองของหมอหมู สังคมในโลกออนไลน์ก็ไม่แตกต่างอะไรกับชีวิตจริงที่มีทั้งคนดีและคนไม่ดี มีความจริงและมีสิ่งลวงปะปนกันอยู่ ต่างกันก็คือ สังคมออนไลน์ ไม่ได้เห็นหน้า ไม่ได้พูดคุยกันโดยตรงเท่านั้นเอง ทำให้พฤติกรรมของบางคนในโลกออนไลน์กับโลกจริงต่างกันราวฟ้ากับเหว

"บางคนในเน็ตกล้ามาก ตอบโต้ชวนทะเลาะไปทั่ว แต่พอเจอตัวจริงกลับขี้อายมาก เป็นแค่นักเลงตัวอักษรเท่านั้น อินเทอร์เน็ตจึงมีความเห็นที่ไม่เหมาะสมอยู่เยอะมาก บางครั้งก็เลยเถิดกลายเป็นคดีความฟ้องร้องกัน เจ้าของเว็บก็ต้องคอยดูแล ไม่เช่นนั้นอาจต้องกลายเป็นจำเลยขึ้นศาลโดยไม่รู้ตัว "

การสื่อสารโดยไม่เห็นหน้าทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแสดงลักษณะนิสัยออกมาชัดเจน ทำให้คนกล้าแสดงความคิดเห็น และเป็นช่องทางระบายความไม่พอใจ รวมไปถึงการชี้ให้เห็นความผิดปกติหรือกลโกงต่างๆ ให้กับสังคมในวงกว้างได้รับรู้

เขาเชื่อว่า อีกไม่นานโลกออนไลน์จะเป็นชีวิตประจำวันของคนรุ่นหลัง สังเกตได้จากเด็กเล่นคอมพิวเตอร์และเข้าอินเทอร์เน็ตดูการ์ตูน ฟังเพลง ตั้งแต่ยังเขียนหนังสือไม่ได้

"เราคงไม่สามารถไปต้านทานอะไรได้ สิ่งที่ทำได้ก็คือ การสอนให้คิดเป็นเพื่อจะได้คิดวิเคราะห์พิจารณา ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็น โลกออนไลน์ หรือ ชีวิตจริง "

ฟังหู-ไว้หู ตามหลักกาลามสูตร

จากประสบการณ์ออนไลน์มาเกือบทศวรรษ หมอหมูแนะนำว่า ผู้ป่วย ญาติ หรือ ประชาชนทั่วไปที่ได้รับข้อมูลผ่านเน็ตไม่ควรเชื่ออะไรง่ายๆ และควรท่องให้ขึ้นใจอยู่เสมอว่า "จริงหรือ ?” เนื่องจากข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตถูก "ประดิษฐ์" ได้ง่ายมาก จึงมีโอกาสสูงมากที่ผู้บริโภคจะได้รับข้อมูลที่ผิด ดังนั้น ควรตรวจสอบความน่าเชื่อถือก่อนเสมอ

"ผมเคยพบอ้างชื่อเป็นแพทย์ แต่พอเข้าไปตรวจสอบรายชื่อของแพทยสภา กลับไม่มีชื่อที่อ้างถึง เนื้อหาน่าเชื่อถือหรือไม่ อาจลองหาข้อมูลจากเว็บอื่น ว่าตรงกันใกล้เคียงกันหรือไม่ เดี๋ยวนี้มีการนำมาอ้างอิงแก้ไขบางตอน อ้างสถาบัน อ้างคนที่มีชื่อเสียง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้มากขึ้น"

คำกล่าวอ้างที่พบเห็นบ่อยที่สุดคือ บรรดาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อ้างว่าผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทำให้ประชาชนสำคัญผิดว่าได้ผลจริงตามที่โฆษณา ความเป็นจริงคือ อย. แค่รับรองว่าส่วนผสม และขั้นตอนการผลิตไม่เป็นอันตราย ไม่ได้รับรองว่าจะได้ผลจริง ตามโฆษณา สินค้า

"บางรายเล่นเล่ห์ตอนส่งไปขออนุญาตตีพิมพ์โฆษณาจากอย. ส่งไปอย่างหนึ่ง แต่พอตอนโฆษณาจริง กลับเป็นอีกอย่าง ที่หนักสุดเลยก็คือ อ้าง อย. มีเลขที่ อย. แต่เป็นของปลอมทั้งหมด สรุป ก็คือ อย่าเชื่อ อะไร ง่ายๆ ให้ยึดหลักกาลามสูตร 10 ประการ ไว้เสมอ ไม่เช่นนั้นนอกจาก เสียเงิน เสียสุขภาพแล้ว ยังจะเจ็บใจที่ถูกหลอกอีกต่างหาก" หมอเตือนชาวเน็ต

หมอหมูยังฝากแง่คิดถึงเพื่อนร่วมวิชาชีพว่า ปัจจุบันมีข้อมูลเกี่ยวกับโรค การรักษา รวมไปถึงการให้คำปรึกษาแนะนำอยู่ในเน็ตมากมาย ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้ง่ายมาก เขาจึงอยากให้หมอรับฟังคำถาม รับฟังสิ่งที่ผู้ป่วย (ญาติ) เล่าให้ฟัง อย่าพึ่งตัดบทว่า อย่าไปเชื่อ ไม่จริง หรือ อย่าพึ่งรำคาญว่า เรื่องมาก รู้มาก

"เมื่อฟังแล้ว เห็นว่า อะไรไม่ถูกต้องก็แนะนำ แก้ไขให้เข้าใจถูกต้อง" หมอหมูชวนเปิดใจ

บุษกร ภู่แส

copyright © NKT NEWS CO.,LTD.All Right Reserved. Thailand Web Stat
Contact us :ktwebeditor@nationgroup.com
โดย: หมอหมู วันที่: 19 กันยายน 2554 เวลา:21:37:53 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]

บทความทั้งหมด