Structure of the skin (2)
ตอนที่ 2 ครับ

ตอนที่ 2 ครับ หวังว่าคงยังไม่หลับกันนะครับ เดี๋ยวหมอจะพยายามหารูปมาอัพให้ดูง่ายขึ้น แต่ไม่รู้ว่าจะอัพเป็นรึเปล่าอิอิ Smiley



SKIN
APPENDAGES


SEBACEOUS GLAND


มีหน้าที่ส้รางสกัด LIPID
เกิดจาก EPITHELIAL BUD จาก OUTER ROOT
SHEATH บริเวณรอยต่อระหว่าง
INFUNDIBULUM และ ISTHMUS ของ HAIR
FOLLICLE พบทั่วไป ยกเว้นบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า
พบมากที่สสุดบริเวณหนังศีรษะ ,หน้าผาก , ใบหน้า และบริเวณอวัยวะเพศถึงประมาณ
400-900
ต่อม / 1 ตร.ซม.
โดยที่ทั่วไปต่อมไขมันจะเปิดเข้าสู่
HAIR FOLLICLE แต่ก็มมีต่อมไขมันบางบริเวณที่ไม่เกี่ยวข้องกับ
HAIR เลย เช่นที่ BUCCAL MUCOSA และ VERMILLION
(FORDYCE’S SPOTS) AREOLAS ในผู้หญิง (MONTGOMERY’S
TUBERCLES) , PREPUCE (TYSON’S GLANDS) และที่ ELELID (MEIBOMIAN GLANDS)


ต่อมไขมันจัดเป็น HOLOCRINE GLAND เพราะเซลล์ของต่อมไขมันจะมี
DIFFERENTIATION ในลักษณะเดียวกับ KERATINIZATION และมี END PRODUCT คือ SEBUM นั่นเอง
การทำงานของ
SEBACEOUS GLAND อยู่ใต้การควบคุมโดย ANDROGENS
ดังนั้นต่อมไขมันจะทำงานมากขึ้นในวัยรุ่น วึ่งได้รับ ANDROGEN
จาก TESTIS , OVARIES AND ADRENAL GLANDS ทำให้ต่อมไขมันมีขนาดใหญ่ขึ้น
MITOTIC RATE เพิ่มและ SEBUM PRODUCTION มากขึ้น และในผู้ชายก็จะมีการทำงานมากกว่าผู้หญิง SEBUM ประกอบด้วย TRIGLYCERIDE 41% , FREE FATTY ACID 16 % , WAX ESTER
25 % , SQUALENE 12 % DIGLYCERIDE 2 % CHOLESTEROL ESTER 3 % AND CHOLESTEROL 1.5
%


HAIR FOLLICLE


มนุษย์เรามีขนหรือผมอยู่ทั่วร่างกาย
ยกเว้นฝ่ามือ ฝ่าเท้า
ถึงแม้ผมหรือขนเหล่านี้จะไม่ได้มีหน้าที่ในการป้องกันการสูญเสียความร้อนจากร่างกาย
แต่ก็เป็น
SEXUAL ATTRACTION ที่สำคัญอย่างหนึ่ง HAIR
FOLLICLE แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ


1. INFUNDIBULUM คือ
ส่วนบนสุด ตั้งแต่รูเปิดของขุมขน จนถึงส่วนของ
FOLLICLE ที่มีต่อมไขมันมาเปิด
ส่วนนี้มี
EPITHELIUM คล้ายกับ EPIDERMIS และเป็นที่อยู่ของ MICROORGNISM เช่น P-ACNE
, PITYROSPORUM , STAPHYLOCOCCI AND DEMODEX


2. ISTHMUS เป็นส่วนกลาง
อยู่ระหว่างคอเปิดต่อมไขมัน ข้างบนและ
INSERTION ของ ARRECTOR
PILI MUSCLE


3. INFERIOR SEGMENT นับจาก
INSERTION ของ ARRECTOR PILI MUSCLE จนถึง
BASE OF FOLLICLE ที่ BASE จะมี HAIR
BULB และ HAIR PAPILLAE โดยพบ MELANOCYTE
GERMINATIVE CELL ที่ HAIR BULBS , ที่ INFERIOR SEGMENT ก็ยังแบ่งเป็น OUTER ROOT SHEATH และ INNER ROOT SHEATH ส่วน HAIR SHAFT จะอยู่ตรงกลาง INFERIOR
SEGMENT นี้จะหายไปใน INVOLUTIONAL STAGE และจะ
REFORM ใหม่ใน GROWTH PHASE ต่างจาก INFUNDIBULUM และ ISTHMUS
ซึ่งจะคงอยู่ตลอดไปไม่ว่า PHASE ไหน


สีของผมขึ้นกับจำนวนและการกระจายของ MELANIN ใน HAIR
SHAFT เช่น ในคนผมสีทอง MELANOCYTE ที่ HAIR
BULBS จะสร้าง MELANOSOME น้อยกว่า
ส่วนในคนผมหงอกจะเกิดจากการที่ไม่มี
MELANOCYTE เหลือแล้ว


GROWTH CYCLE ของ HAIR
แบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ


1. ANAGEN (GROWING
) PHASE


2. CATAGEN (INVOLUTING) PHASE ; INFERIOR SEGMENT จะค่อยๆหดตัวเป็น THIN
CORD ของ EPITHELIAL CELL HAIR PAPILLAR ก็จะเคลื่อนที่สูงตามขึ้นไป


3. TELOGEN (RESTING) PHASE ; HAIR BULB จะอยู่ที่ระดับ ARRECTOR
PILLI MUSCLE


สำหรับ SCALP HAIR จะมี GROWING PHASE นาน 3-10 ปี , CATAGEN PHASE 3 wk และ RESTING อีก 3 เดือน
โดยปกติจะพบ
TELOGEN เพียง 10 % ของ SCALP
HAIR เท่านั้น และจะมี ANAGEN ประมาณ 1
แสนเส้น ปกติผมจะยาววันละ 0.35 mm หรือ
เดือนละ
1 cm


APOCRINE GLAND


พบที่ AXILLA , AREOLA , MON PUBIS , LABIA MINORA, PREPUCE ,
SCROTUM , PERIUMBILICAL , CIRCUMANAL AREA , EXTERNAL EAR CANAL และ
EYELIDS และพบที่หน้า หนังศีรษะ และ EPITHELIAL HAMARTOMA
บางอย่างเช่น NEVUS SEBACEOUS , SYRINGOCY STANDENOMA
PAPILLIFERUM , APOCRINE GLAND สร้างสารบางอย่างออกมา
แต่ไม่ทราบหน้าที่แน่ชัดในมนุษย์ ในสัตว์จะสร้าง
PHEROMONE


APOCRINE
GLAND แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนล่างจะเป็น COLIED
SECRETORY GLAND อยู่ใน RETICULAR DERMIS หรือ
SUBCUTANEOUS FAT และส่วนบนจะเป็น STRAIGHT EXCRETORY
DUCT ซึ่งเปิดเข้าที่ INFUNDIBULAR PART ของ HAIR
FOLLICLE


APOCRINE
SECRETION มีจำนวนน้อย ลักษณะเป็น MILKY COLOR ซึ่งประกอบด้วย PROTEINS , CARBOHYDRATES , FATTY ACIDS ในท่อต่อม SECRETION จะ STERILE และไม่มีกลิ่น แต่เมื่อขับออกมาที่ผิวหนัง BACTERIA จะทำการย่อยสลาย
SECRETION ทำให้เกิดกลิ่น ซึ่งเฉพาะตัวในแต่ละคน


ECCRINE SWEAT GLAND


พบทั่วไป ยกเว้นที่ MUCOCUTANEOUS JUNCION พบมากที่สุดที่
PALMS , SOLES , FOREHEAD , AXILLA และน้อยที่สุดที่ ARMS
และ LEGS ต่อมเหงื่อจะขับเหงื่อซึ่งเป็น HYPOTONIC SOLUTION ออกมาที่ผิวหนัง
เพื่อลดความร้อนในร่างกาย เมื่อมี
EVAPORATION ออกไป


SWEAT GLAND UNIT แบ่งเป็น
4 ส่วนดังนี้


1. COILED SECREATORY GLAND ซึ่งอยู่ระหว่างชั้น DERMIS และ SUBCUTANEOUS
FAT


2. COILED DERMAL DUCT


3. STRAIGHT DERMAL DUCT


4. SPIRALED INTRAEPIDERMAL DUCT (ACROSYRINGIUM) ในชั้น EPIDERMIS โดยจะเปิดสู่ผิวหนังโดยตรง


เหงื่อจะประกอบด้วยน้ำ 99 % ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
ประกอบด้วยเกลือแร่ต่างๆ เช่น
SODIUM, POTASSIUM , CHLORIDE , UREA ,
CALCIUM , PHOSPHATE , PROTEINS AND LIPIDS มี Ph 4.5 – 5.5
SWEAT GLAND รวมกับ CUTANEOUS BLOOD VESSELS มีหน้าที่สำคัญใน
THERMAL HOMEOSTASIS ของร่างกาย


NAIL UNIT


ประกอบด้วย NAIL
PLATE และ SOFT TISSUE รอบๆ NAIL จะหนา 0.5 – 0.75 MM คลุม DORSAL DISTAL
PHALANGES , NAIL แบ่งเป็น DISTAL
FREE EDGE , ส่วนที่เป็น FIXED PORTION กับ NAIL
BED และ PROXIMAL EDGE ที่อยู่ใต้ PROXIMAL
NAIL FOLD


FINGERNAILS จะยาวประมาณ
0.1 MM/ DAY ยาวเร็วกว่าเล็บเท้ามาก
หนาร้อนยาวเร็วกว่าหน้าหนาวและในเด็กจะยาวเร็วกว่าผู้ใหญ่


GENERAL FEATURES OF THE
SKIN


สีของผิวหนังขึ้นกับ
BIOCHROME 4 ชนิดอันได้แก่


- MELANIN
ซึ่งมีสีน้ำตาลและสามารถ ABSORB ได้ทั้ง ULTRAVIOLET
และ VISIBLE LIGHT อยู่ใน EPIDERMIS


- CAROTENOIDS
ให้สีเหลือง และอยู่ใน EPIDERMIS เช่นกัน


- OXYHEMOGLOBIN
สี BLUISH RED อยู่ในชั้น SUBPAPILLARY
VENOUS PLEXUS


ดังนั้นเส้นเลือดที่ผิวหนังจึงมีบทบาทสำคัญที่ทำให้สีผิวแตกต่างกันไป
ทั้งนี้ก็ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างเช่น เส้นเลือดขยายตัวหรือหดตัว สัดส่วนของ
OXYHEMOGLOBIN และ REDUCED
HEMOGLOBIN และจำนวนของ HEMOGLOBIN ทั้งหมด
ซึ่งจะเห็นได้ชัดในบริเวณที่ชั้น
STRATUM CORNEUM บางหรือไม่มี
เช่นที่ริมฝีปาก หรือ
MUCOUS MEMBRANE ถ้าที่ไหนมี ARTERIAL
BLOOD FLOW สูงก็จะดูผิวหนังสีแดงเช่น ฝ่ามือ ที่หน้า
แต่ถ้าบริเวณใดมี
VENOUS PLEXUSหนาแน่น ก็จะดูสีคล้ำลงไม่แดง
เช่นที่ลำตัวส่วนล่าง และหลังเท้า ถ้าในเลือดมี
REDUCED HEMOGLOBIN มากกว่า 5g/dL ก็จะเห็นผิวหนังสีม่วงคล้ำเกิดภาวะ CYANOSIS
ขึ้นและถ้าระดับ HEMOGLOBIN ลดลงก็จะเกิดอาการซีด
ซึ่งเห็นได้ชัดบริเวณใบหน้า
NAIL BED เช่นในคนไข้ ANEMIA


สำหรับ CAROTENOIDS
ในผิวหนังนั้นมาจากผักผลไม้ที่รับประทานเข้าไป CAROTENOIDS จะอยู่ในชั้น STRATUM CORNEUM และใน SEBACEOUS
GLAND และ SUBCUTANEOUS FAT ปกติ CAROTENOID
จะมีบทบาทน้อยต่อสีของผิวหนังแต่ในบางภาวะเช่น
มีการรับประทานอาหารบางชนิดมากเกินไป เช่น แครอท มะเขือเทศ มะละกอ
จะเห็นผิวหนังมีสีเหลืองชัดขึ้น โดยเฉพาะบริเวณที่มีชั้น
STRATUM CORNEUM หนา เช่นฝ่ามือ ฝ่าเท้า


MOISTURE ปกติผิวหนังจะมีความชุ่มชื้นพอสมควร
แต่บางงกรณีก็พบผิวแห้งได้ เช่นในคนสูงอายุ ในฤดูหนาว หรือในสถานที่ที่มี
LOW
HUMIDITY นอกจากนี้อาการผิวแห้งยังเกี่ยวกับโรคทาง SYSTEMIC ได้ เช่น MYXEDEMA , ICHTHYOSIS , CHRONIC NEPHRITIS , LARGE DOSE ของ NIACIN , RETINOIDS , ATROPINE – LIKE DRUGS บางคนอาจมีผิวชื้นตลอดเวลาได้
โดยเฉพาะบางบริเวณเช่น ฝ่ามือ ฝ่าเท้าและ
AXILLA ในคนปกติ
หรือในขณะที่มีไข้ หรือภาวะ
THYROTOXICOSIS


TURGOR เป็นการดู SKIN
หรือ TISSUE HYDRATION โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือจับผิวหนังยกขึ้นแล้วปล่อยให้ผิวหนังที่ถุกยืดตัวขึ้นกลับสู่ภาวะปกติ
ถ้าผิวหนังไม่สามารถกลับสู่ภาวะปกติได้เร็วแสดงว่ามี
HYDRATION ลดลง แต่ในบางภาวะก็มีการบวมได้ ถ้ามี GENERALIZED EDEMA ควรคิดถึง SYSTEMIC DISEASE ที่ทำให้มี HYPOPROTEINEMIA
เช่น SEVERE LIVER และ RENAL DISEASE หรือ อาจมีภาวะ CONGESTIVE HEART FAILURE


TEXTURE เป็นการบรรยายลักษณะของผิวหนังที่รู้สึกได้ด้วยการสัมผัส
(
TACTILE SENSE) เช่น SOFT HARD , INDURATED เช่นใน SCLERODERMA , LICHENIFICATION , MYXEDEMA การบอก
TEXTURE ของผิวหนังมักบ่งบอกถึงลักษณะของ CONNECTIVE
TISSUE หรือภาวะที่มี METABOLIC DEPOSIT ในผิวหนังเป็นต้น


TEMPERATURE เนื่องจากผิวหนังมีหน้าที่ ควบคุม BODY
TEMPERATURE ดังนั้น
อุณหภูมิของผิวหนังจึงเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะของร่างกาย เช่น
ขณะมีไข้ผิวหนังก็จะร้อนไปด้วย ถ้ามี
VASCULAR INSUFFICIENCY ผิวหนังบริเวณนั้นก็จะเย็นลงด้วยเช่นกัน







Free TextEditor



Create Date : 01 กรกฎาคม 2552
Last Update : 1 กรกฎาคม 2552 16:30:13 น.
Counter : 2427 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Beautyforever.BlogGang.com

หมอกอล์ฟ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]

บทความทั้งหมด