การเล่น พัฒนาสมองของลูกน้อย ได้จริงหรือ ?
จริงหรือที่มีผู้กล่าวว่า
เด็กที่ได้รับการส่งเสริมให้เล่นและจะฉลาดและเก่งกว่าเด็กที่ถูกห้ามและไม่ได้รับการสนับสนุนให้เล่น
เด็กกับการเล่นเป็นสิ่งคู่กันมาตามธรรมชาติ ตามจริงแล้วเด็กเจริญเติบโตขึ้นมาพร้อมกับการพัฒนาการเกี่ยวกับ การเล่น นั่นคือ เด็กสามารถเล่นได้โดยไม่ต้องมีใครสอน ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าเด็กสามารถเล่นของเล่นที่วาง อยู่ตรงหน้าของเขาได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องมีใครบอกหรือชี้แนะวิธีเกี่ยวกับการเล่น และเด็กแต่ละคนมีวิธีการ เล่นของเล่นแตกต่างกัน มีหลักฐานยืนยันว่าการเล่นมีส่วนสำคัญอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของ สมอง โดยการเล่นจะกระตุ้นให้มีการเพิ่มขึ้นของการส่งสัญญาณประสาทและเพิ่มการประสานงานระหว่าง เซลล์สมอง
การเปลี่ยนแปลงนี้ได้รับการยืนยันจากหลายสถาบัน จากการศึกษาในสัตว์ทดลองก็พบว่า สมองของสัตว์ที่ถูก กระตุ้นให้มีกิจกรรมนั้น การเพิ่มการส่งสัญญาณประสาทระหว่างเซลล์สมองมากกว่าสัตว์ที่ไม่ได้มีกิจกรรมถึง 25 % นอกจากนี้ยังพบอีกว่าสัตว์ที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมหรือไม่ถูกกระตุ้นเซลล์สมองใหญ่จะเหี่ยวลีบ
ดอกเตอร์นิโคลัส แห่งมหาวิทยาลัยแซนดีเอโก ในแคลิฟอร์เนีย ได้รายงานว่า เซลล์สมองของเด็กวัย 3 ขวบ ปีแรกที่เติบโตมาในสิ่งแวดล้อมมีชีวิตชีวา มีการเล่นและมีการกระตุ้นอย่างสร้างสรรค์ จะมีการเพิ่ม การส่งสัญญาณประสาทหรือคลื่นไฟฟ้าในสมอง และการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท
การเพิ่มในส่วนนี้ ส่งผลสำคัญต่อการพัฒนาการของสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความฉลียวฉลาด ทั้งนี้การเล่นสามารถ ช่วยพัฒนา หรือสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในเด็กได้ ซึ่งประโยชน์ของการเล่นนี้มี ความสำคัญต่อการพัฒนาและส่งเสริมระดับความคิดและเขาว์ปัญญา
การเล่นยังช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จักกฎ ระเบียบ และกติกาของการเล่น ฝึกให้เป็นคนมีวินัย รวมทั้งฝึกในเรื่อง ความจำ ทักษะ และไหวพริบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเล่นนี้ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 นอกจากนี้ การเล่นบางประเภทยังช่วยกระตุ้นพัฒนาการพัฒนาการทางกาย อันได้แก่ พัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อ ด้านภาษาและด้านสังคม ดังนั้น การเล่นจึงนับว่ามีประโยชน์อย่างมากและควรให้ความสนับสนุน
การเล่นมีหลายประเภท ดังนั้น การเลือกประเภทของการเล่นให้เหมาะสมกับอายุของผู้เล่นนับว่าเป็นสิ่งจำเป็น ในการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของผู้เล่นเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่าง ๆ จากการเล่นสูงสุด ดังที่ได้กล่าว ไปแล้ว การเล่นชนิดที่กระตุ้นหรือส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเรา อันได้แก่ การได้ยิน ได้เห็น ได้สัมผัส ได้รู้สึก และได้รู้รสชาติ จะช่วยให้เซลล์สมองมีการส่งสัญญาณประสาทและประสานงานระหว่างเซลล์ เป็นไปด้วยดี
ดอกเตอร์กู๊ดวิน แห่งสถาบันสุขภาพจิตได้กล่าวว่า เด็กที่ได้รับการกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะมีพัฒนาการ ทางสติปัญญาสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้รับการกระตุ้น มาถึงตรงนี้ เราท่านคงเห็นแล้วว่า การเล่นมีประโยชน์อย่าง มหาศาลในการพัฒนาสมอง สติปัญญา และไหวพริบ ตลอดจนพัฒนาการด้านต่าง ๆ
ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่เราควรหันมาส่งเสริมและสนับสนุนให้บุตรของเราได้รู้จักและได้เล่น การเล่นที่พัฒนา สติปัญญา ตลอดจนพัฒนาการทางกายด้านอื่น ๆ อย่างจริงจัง
ที่มา : sanook.com
Create Date : 03 มิถุนายน 2552
Last Update : 27 มิถุนายน 2552 6:14:57 น.
Counter : 391 Pageviews.
0 comments
Share
Tweet
2 มี.ค. 68 มี้วิ่งล้อมเมือง
kae+aoe
(10 มี.ค. 2568 05:53:08 น.)
1 มี.ค. 68 ดาว้อง เยาวราช
kae+aoe
(7 มี.ค. 2568 06:21:08 น.)
23 ก.พ. 68 ฉีดวัคซีนไขัหวัดใหญ่
kae+aoe
(6 มี.ค. 2568 05:31:32 น.)
กีฬาสี 2567
โฮมสเตย์ริมน้ำ
(28 ก.พ. 2568 09:56:22 น.)
Babymommy.BlogGang.com
เจ้าแม่แฟชั่น
Location :
Maldives
[ดู Profile ทั้งหมด]
ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [
?
]
บทความทั้งหมด
W-sitting in children: A habit worth breaking?
งานของหนูคือการเล่น
การเล่นดีอย่างนี้เอง
สนุกกับกล้ามเนื้อมัดเล็ก
เด็กพูดช้า
อะไร...อะไร...หนูก็เอาเข้าปาก
ชวนรู้จัก พัฒนาการการเล่นของลูกน้อย
การเล่น พัฒนาสมองของลูกน้อย ได้จริงหรือ ?
เล่นอย่างไรดี
ให้ลูกหลับสนิท เสริมพัฒนาการสมวัย
อ่านนิทาน ให้เด็กๆฟัง
6 เดือนแห่งการปรับตัว
สัมผัสลูกน้อยถูกวิธี ช่วยให้ฉลาดพัฒนาการดี
ฝึกภาษาลูกผ่านเสียงสารพัดสัตว์เลี้ยง
กระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยด้วยเสียงดนตรี
จังหวะดนตรีดีกับลูกอย่างไร
Pantip.com
|
PantipMarket.com
|
Pantown.com
| © 2004
BlogGang.com
allrights reserved.