โรคหินปูนเกาะกระดูกหู (Otosclerosis) ช่วงที่ผ่านมาอยู่ดีๆ ก็มีเสียงเกิดขึ้นในหู เป็นอาการของเสียงลมพรึ่บๆ ตามจังหวะการเต้นของหัวใจ ซักพักก็จะได้ยินเสียงวี้ดสูงแบบอยู่ห้องเล็กๆ แคบๆ เลยนอย เริ่มไปหาหมอ ..... เริ่มหาหมอที่โรงพยาบาลหู ตา คอ จมูก ตรงตลิ่งชัน ด้วยเห็นว่าเป็นเฉพาะทาง แต่ก็ไม่รู้จะหาหมออะไรดีก็เลยไม่ได้เลือกหมอ ..... หาหมอครั้งแรกหมอบอกประสาทหูเสื่อม นอยหนักมาก อายุยังไม่ได้มากขนาดนั้น หมอให้กินยา 1 อาทิตย์ แล้วกลับมาใหม่ ..... อาทิตย์นี้ระดับการฟังของหูลดต่ำลงกว่าเดิม หมอที่ตรวจหู แจ้งว่า หมอคราวที่แล้ว กะหมอคราวนี้ที่ตรวจคิดว่าน่าจะผิดปกติที่กระดูกหู แต่หมอที่วินิจฉัย ยังคงยืนยันว่าเป็นที่ประสาทหู แล้วก็พูดแต่กว่า ให้กินยาอีก 2 อาทิตย์ ถ้าไม่หาย ให้ยอมแพ้ *** ไม่ชอบเลย ไม่ชอบที่หมอพูดแบบนี้เลย ขนาดพยายามเน้นแล้วนะว่าหมอที่ตรวจการได้ยินแจ้งว่า น่าจะเป็นที่กระดูกหู ..... นอยหนักกว่าเดิม จนต้องถามเพื่อนๆ พี่ๆ ที่รู้จักว่ามีหมอที่ไหนแนะนำบ้าง ไม่รู้โลกกลมหรือไร มีเพื่อนๆ พี่ๆ 4 คน แนะนำหมอคนเดียวกัน เป็นหมอที่บำรุงราษฎร์ ก็เลยรีบทำนัด แต่กว่าจะได้สิ้นเดือน เพื่อนที่เคยหา เลยทำการนัดด่วนให้ ได้หาวันรุ่งขึ้นเลย ..... ความกลัวบังเกิด ไปถึงโรงบาลตั้งแต่ยังไม่ 7 โมงเช้า เพื่อไปรอคิว หลังจากเล่าอาการให้หมอฟัง หมอบอกว่า ไม่น่าจะเป็นที่ประสาทหู ขอทำ CT scan และ ฉีดสี ..... ฟังผลอีกที่ 3 วัน สรุป เริ่มมีหินปูนเกาะที่กระดูกหูชั้นกลาง หมอบอกว่า ไม่หาย แค่รอมันเป็นเยอะๆ แล้วผ่าตัดเอา ..... แค่นี้แหละ ที่คนไข้อยากฟัง แค่อยากได้ความกระจ่างจากหมอ เพราะเราไม่ได้เรียนเก่งและมีความรู้เท่าหมอ การที่หมอพูดว่าให้ยอมแพ้ มันเหมือนอารมณ์ให้เรารอความตายอ่ะ ![]() โรคหินปูนเกาะกระดูกหู (Otosclerosis) โดยปกติการได้ยินของมนุษย์เรา เกิดจากเสียงผ่านใบหู,ช่องหูชั้นนอก,เยื่อบุแก้วหู,กระดูกค้อน, กระดูกทั่ง, กระดูกโกลน แล้วไปยังหูชั้นใน ซึ่งต่อกับประสาทหู และไปยังสมอง โรคหินปูนเกาะกระดูกหู เกิดจากหินปูนที่เจริญผิดปกติในหูชั้นกลาง เกาะระหว่างฐานของกระดูกโกลน (stapes) กับช่องรูปไข่ (oval window) ซึ่งเป็นช่องทางติดต่อระหว่างหูชั้นกลาง และหูชั้นใน ทำให้เสียงไม่สามารถผ่านจากหูชั้นกลาง เข้าไปในหูชั้นในได้ตามปกติ ทำให้หูอื้อหรือหูตึง นอกจากนั้นอาจเกิดหินปูนเจริญผิดที่ในหูชั้นใน หรือหินปูนที่ผิดปกติในหูชั้นกลางปล่อยเอนไซม์บางชนิดเข้าไปในหูชั้นใน ทำให้มีเสียงดังในหู หรือเวียนศีรษะ บ้านหมุนได้ (cochlear otosclerosis) อาการของโรคนี้ที่พบได้บ่อยที่สุด คือ อาการหูอื้อ ซึ่งมักจะมีอาการหูอื้อมากขึ้นเรื่อยๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป ผู้ป่วยบางรายอาจให้ประวัติว่าไม่สามารถได้ยินเสียงกระซิบ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการวิงเวียนศีรษะ หรือมีเสียงดังในหูได้ ซึ่งเสียงดังในหูมักจะดังขึ้นเรื่อยๆ เมื่อหูอื้อมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะเป็นข้างเดียวก่อน และต่อมามักจะเป็นกับหูอีกข้าง การสูญเสียการได้ยินมักเป็นแบบการนำเสียงเสีย (conductive hearing loss) บางรายอาจมีการสูญเสียการได้ยินแบบประสาทเสียงเสีย โดยมักเสียที่ความถี่ต่ำก่อน ในเวลาต่อมาจะเสียที่ความถี่สูง การวินิจฉัยโรคนี้ แพทย์จะซักประวัติอาการทางหู และระยะเวลาที่เป็น และทำการตรวจหู เพื่อวินิจฉัยแยกโรคต่างๆ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการทางหูที่คล้ายกันได้ และส่งตรวจการได้ยิน (audiogram) ซึ่งเป็นกราฟที่บอกความสามารถในการได้ยิน เสียงที่ระดับความถี่ต่างๆ และตรวจการทำงานของหูชั้นกลาง การรักษา อาการหูอื้อที่เกิดจากโรคนี้ประกอบด้วยวิธีที่ไม่ผ่าตัดและวิธีผ่าตัด ในรายที่หูอื้อไม่มาก และเป็น2 ข้าง หรือหูอื้อมากแต่เป็นข้างเดียวอีกข้างยังปกติ อาจยังไม่ต้องรักษาก็ได้ เมื่อมีปัญหาหูอื้อมากจนมีปัญหาในการสื่อสาร และรบกวนคุณภาพชีวิตประจำวันจึงให้การรักษา 1. วิธีที่ไม่ผ่าตัด คือการใช้เครื่องช่วยฟัง (hearing aid) เหมาะในผู้ป่วยที่มีการสูญเสียการได้ยินไม่มาก เครื่องช่วยฟังจะช่วยขยายเสียงที่ได้รับ ทำให้ผู้ป่วยได้ยินดีขึ้นได้ ซึ่งแพทย์ และ/หรือ ผู้เชี่ยวชาญด้านโสตวิทยา จะแนะนำเครื่องช่วยฟังชนิดต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นราย ๆ ไป 2. วิธีผ่าตัด แพทย์จะทำการเอากระดูกหูส่วนที่เป็นโรคออก (มักจะเป็นกระดูกโกลน) และใส่วัสดุเทียมเข้าไป เพื่อทำหน้าที่ในการส่งผ่านเสียงแทนกระดูกที่มีหินปูนยึดติด ทำให้การนำเสียงกลับมาเป็นปกติ ทำให้การสูญเสียการได้ยินดีขึ้น นอกจากนั้นประมาณร้อย 50 ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด เสียงดังในหูจะหายไป การผ่าตัดมักจะทำเพียงข้างใดข้างหนึ่งก่อน โดยแพทย์มักจะทำการผ่าตัดในหูข้างที่เสียมากกว่าก่อน รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เราจะเป็นหูให้เธอเอง 5555
โดย: bggolf IP: 182.232.169.128 วันที่: 30 ตุลาคม 2560 เวลา:16:05:03 น.
|
บทความทั้งหมด |