EP1 : คำถามของคน อยากไปล่าแสงเหนือ เชื่อว่าการได้เห็นแสงเหนือเป็นความฝันของใครหลายๆ คน เราเองก็เช่นกัน เก็บหอมรอมริบ เพื่อจะมีทริปนี้ และเพิ่งกลับจากดูแสงเหนือที่นอร์เวย์มา (1 - 14 พ.ย.67) เลยนำข้อมูลมาแชร์ให้ผู้สนใจอ่านกันนะคะ คำถามนี้เป็นคำถามที่เราเคยสงสัย ตั้งแต่ก่อนไป และได้คำตอบจากการไปดูแสงเหนือจริงๆ ถาม 1 : แสงเหนือคืออะไรช่วงที่เราไปเป็นช่วงที่ฟ้าค่อนข้างปิด ฝนตกทุกวัน โดยเฉพาะตอนกลางคืน อยู่นอร์เวย์ 12 วัน ได้เห็นแสงแค่ 3 วัน แบบไม่แจ่มนัก ![]() แสงเหนือ ความฝันของใครหลายคน รวมทั้งเราด้วย ตอบ : แสงเหนือมีลักษณะเป็นแนวสว่างสีต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นสีเขียว เห็นได้ในเวลากลางคืน มักเห็นในพื้นที่ที่อยู่เหนือละติจูด 66 ½ องศาเหนือ (Arctic Circle) หรือขั้วโลกเหนือ และ ใต้ละติจูด 66 ½ องศาใต้ (Antarctic Circle) หรือขั้วโลกใต้ ถาม 2 : มีแสงเหนือ แล้วมีแสงใต้ไหม ตอบ : มี เพราะขั้วโลกใต้ ก็มีสภาพแวดล้อมเช่นเดียวกับขั้วโลกเหนือ แต่ไม่ค่อยมีคนพูดถึง เพราะไม่มีคน หรือประเทศใดอยู่บริเวณขั้วโลกใต้ เพราะมีอากาศหนาวจัด จึงไม่มีแหล่งท่องเที่ยว มีแต่สถานีทดลองของบางประเทศอยู่เท่านั้น เกาะใต้ของนิวซีแลนด์ และเกาแทสมาเนียของออสเตรเลียก็เป็นพื้นที่ที่สามารถเห็นแสงใต้ได้ ถาม 3 : แล้วแสงเหนือกิดจากอะไร ตอบ : ตอบแบบบ้านๆ ให้เข้าใจง่ายๆ คือ เกิดจากพลังงานที่ปล่อยมาจากดวงอาทิตย์ ชนกับก๊าซในชั้นบรรยากาศ บริเวณขั้วโลก ซึ่งมีสนามแม่เหล็กโลก ทำให้เกิดปฏิกิริยาเป็นแสงสีต่างๆ ขึ้นกับว่าไปกระทบกับก๊าซชนิดใด ส่วนใหญ่จะเป็นสีเขียว คือกระทบกับออกซิเจน ถาม 4 : แสงพวกนี้มีให้เห็นทุกวันไหม ตอบ : ไม่ได้มีทุกวัน แม้วันที่มีก็ไม่สามารถเห็นได้ทุกครั้ง การจะเห็นแสงเหนือแสงใต้ได้ จะต้องมีสถานการณ์ประกอบคือ ความสว่างของแสง ซึ่งแต่ละวันมากน้อยไม่เท่ากัน ขึ้นกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนดวงอาทติย์ สถานที่นั้นควรมีแสงสว่างน้อย ช่วงกลางคืนยาวโอกาสเห็นจะมากขึ้น และที่สำคัญท้องฟ้าต้องเปิด ซึ่งหมายถึงไม่มีเมฆหมอก หรือพูดง่ายๆ คือ “ดวง” นั่นเอง ถาม 5 : ไปดูแสงเหนือได้ที่ไหนบ้าง ตอบ : ประเทศแถบขั้วโลกเหนือ (อยู่เหนือเส้น Arctic Circle) เช่น นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ กรีนแลนด์ ตอนเหนือของคานาดา ตอนเหนือของรัสเซีย รัฐอลาสกา ของสหรัฐอเมริกา หรือถ้าซีกโลกใต้ ก็เป็นเกาะใต้ของนิวซีแลนด์ และเกาะแทสมาเนียของออสเตรเลีย ถาม 6 : มีตั้งหลายที่แล้วที่ไหนสวยที่สุด ตอบ : ความสวยของแสงเหนือไม่ได้ขึ้นกับสถานที่ แต่ขึ้นกับความแรงของแสงในแต่ละวันมากกว่า ดังนั้นถ้าจะเลือกไปดูที่ไหน ก็เลือกจากปัจจัยอื่นได้เลย เช่น วิวสวย ค่าใช้จ่ายต่ำ ความสะดวกในการเดินทาง ภูมิอากาศ ฯลฯ ถาม 7 : แล้วต้องไปดูช่วงไหน ตอบ : ช่วงที่กลางคืนยาวจะเหมาะที่สุดเพราะมีโอกาสเห็นแสงเหนือมากขึ้น ถ้าซีกโลกหนือช่วงที่คนนิยมไปคือเดือน ต.ค. - พ.ย. และ ก.พ. - มี.ค. เพราะอากาศหนาวพอทนไหว ช่วง ธ.ค.-ม.ค. กลางคืนยาวจริง แต่อากาศเย็นจัด ถาม 8 : แล้วจะรู้ได้ไงว่าวันไหนแสงเหนือจะสวย ตอบ : การพยากรณ์ความแรงของแสงเหนือ ถ้าจะให้แม่น จะพยากรณ์ล่วงหน้าได้เพียง 3 วัน เท่ากับระยะเวลาที่แสงจากดวงอาทิตย์เดินทางมาถึงโลก นั่นคือเมื่อเกิดเหตุการณ์บนดวงอาทิตย์อีก 3 วันจะมาถึงโลก และถ้าจะให้แม่นสุดๆ ก็จะได้แค่ 1 ชั่วโมงล่วงหน้าเท่านั้น ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด app “Aurora” เพื่อดูค่า “KP” (Planetary K-index) แบบพยากรณ์ล่วงหน้ารายวัน หรือรายชั่วโมงได้ (จะมาเล่าในตอนต่อๆ ไป) ถาม 9 : ค่า KP มีความหมายอย่างไร ตอบ : ค่า KP เป็นค่าวัดระดับของคลื่นแม่เหล็ก ที่จะมาทำปฏิกิริยาทำให้เกิดความสว่างของแสงเหนือ มีระดับตั้งแต่ 0 - 9 คือ 1 ไม่เกิดแสงเหนือ หรือเกิดก็ไม่สามารถเห็นด้วยตาเปล่าได้ เช่น ช่วงกลางวัน เพราะปฏิกริยาที่เกิดไม่รุนแรง 2 ดูเหมือนเมฆ ดูเผินๆ นึกว่าเมฆจริงๆ นะ เพราะเป็นปื้นขาวๆ ขมุกขมัว แทบไม่เชื่อว่าใช่ ถ้ารู้จักสักพักจะแยกได้ ว่าปื้นขาวๆ เหมือนเมฆนั้น มีลักษณะเป็นริ้วเป็นเส้น และเปลี่ยนรูปร่างเร็ว 3 เริ่มแยกออกว่าไม่ใช่เมฆ เพราะมีแสงเขียวๆ ปนกับไอ้กลุ่มเมฆ ในระดับ 2 ถ่ายรูปได้ 4 เห็นเป็นสีด้วยตาเปล่าเป็นแผง อาจไม่เข้มข้นนัก 5 ตั้งแต่ KP 5 ขึ้นไป คือระดับอลังการงานสร้าง เหมือนกับที่เห็นในหนังสารคดีเลย ![]() ภาพนี้ ที่ KP 2.7 มองด้วยตาเปล่านึกว่าเมฆ ไอ้สีเขียวข้างบน กับเมฆข้างล่างแทบแยกด้วยตาเปล่าไม่ออกเลย ถาม 10 : แล้วรู้ได้ไงว่าไอ้ปื้นๆ เมฆนั้นเป็นแสงเหนือหรือไม่ ตอบ : ไอ้ปื้นๆ นั่น มันมีแสงเรืองๆ มีสง่าราศีกว่าเมฆทั่วไป และเคลื่อนตัวเป็นริ้ว ในขณะที่เมฆมีลักษณะเป็นก้อนๆ ลอยไปทั้งก้อน ![]() ภาพนี้เมฆจริงๆ ค่ะ จะให้ดูว่าถ้า KP ต่ำๆ มองด้วยตาเปล่าจะประมาณนี้เลย ถาม 11 : แสงเหนือที่เห็นด้วยตาเปล่า เหมือนกับในรูปไหม ตอบ : ถ้า KP 2 – 3 ไม่เลย ดูยังไง ก็เมฆดีๆ นี่แหละ แค่มีสง่าราศีกว่าเมฆทั่วไปนิดหน่อย ต้องใช้กล้องถ่ายรูป จึงจะออกมาเป็นสีเขียวๆ ถาม 12 : ใช้กล้องมือถือถ่ายรูปแสงเหนือได้มั๊ย ตอบ : ได้สิ รูปที่เอามาลงทุกรูป ใช้กล้องมือถือล้วนๆ ที่ KP 2 – 3 ล้วนๆ ด้วย เพราะวันที่ KP 5 ฟ้าไม่เปิด (Galaxy S22 Ultra) ถ้าอยากได้รูปสวยกว่านี้ คงต้องไปซ้ำ ส่วนถ่ายยังไง ค่อยว่าใน ep ต่อๆ ไป ![]() ภาพนี้ KP 4 เห็นด้วยตาเปล่า แต่เมฆมาก ก็เลยทะลุเมฆออกมาแบบนี้ รูปแสงเหนือที่ได้มีไม่เยอะ เพราะฟ้าปิด ช่วงที่เปิดก็เปิดไม่นาน พยายามเลือกรูปที่คิดว่าดูดีมาแล้วค่ะ แต่วิวสวยๆ เยอะนะคะ ไว้จะทยอยมาโพสให้ดูกัน คำถามพวกนี้เป็นคำถามที่เราเคยสงสัย ใครที่สงสัยเหมือนเรา คงได้คำตอบกันไปบ้างนะคะ โปรดติดตามตอนต่อไป หรือติดตามเราได้ในเพจ "หลากหลาย by Artima" https://www.facebook.com/profile.php?id=100064724916964
|
🔵 [2.22] ผู้ทรงทำแผ่นดิน ให้เป็นพื้นสำหรับสูเจ้า และชั้นฟ้าเป็นหลังคา และทรงส่งน้ำมาจากฟากฟ้า และทรงให้ผลไม้ต่าง ๆ งอกเงยออกมา เพราะเหตุนั้น เพื่อเป็นเครื่องยังชีพสำหรับสูเจ้า ดังนั้นเมื่อสูเจ้ารู้ดีอยู่แล้ว ก็จงอย่าตั้งสิ่งใดเคียงคู่กับอัลลอฮ์
🔴 [2.23] และถ้าหากสูเจ้า ยังคงคลางแคลงสงสัย ในสิ่งที่เราได้ส่งมาแก่บ่าวของเรา ก็ขอให้สูเจ้า จงแต่งขึ้นมาสักซูเราะฮ์หนึ่ง ที่เหมือนกับสิ่งนี้ สูเจ้าอาจจะเรียกใครอื่น นอกจากอัลลอฮ์มาช่วยเหลือสูเจ้าก็ได้ ถ้าหากสูเจ้าแน่จริง (ในความสงสัยก็จงทำ)
🔵 [2.24] แต่ถ้าหากสูเจ้าไม่ทำ และสูเจ้าก็ไม่มีทางที่จะทำได้ด้วย ดังนั้น จงระวังไฟ ที่ถูกเตรียมไว้สำหรับบรรดาผู้ปฏิเสธ ซึ่งจะมีมนุษย์และหินเป็นเชื้อเพลิง
🔴 [2.25] และ (มุฮัมมัด) จงแจ้งข่าวดี แก่บรรดาผู้ศรัทธา และประกอบการดีทั้งหลายว่า สำหรับพวกเขา คือสวนสวรรค์หลากหลาย ที่เบื้องล่าง มีลำน้ำหลายสายไหลผ่าน คราวใดที่พวกเขา ได้รับผลไม้จากที่นั่นเป็นปัจจัยยังชีพ พวกเขาจะกล่าวว่า นี่เป็นสิ่งที่เราได้ถูกประทานมาก่อน และพวกเขา จะถูกประทานให้เยี่ยงนั้น และจะมีคู่ครองที่บริสุทธิ์ สำหรับพวกเขาในนั้น และพวกเขาทั้งหลาย จะพักอยู่ในนั้นตลอดไป}
❤ ประโยชน์บางประการของศาสนาอิสลาม 💙
https://justpaste.it/b790p