พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

จาก //www.kingofthailand.net/





พระราชบิดา สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
(สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์)

พระราชมารดา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
(สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์)

พระนามเต็ม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร

พระนามเดิม พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช

พุทธศักราช ๒๔๗๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช

พระราชสมภพ
วันจันทร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๘๙ รัตนโกสินทร์ศก ๑๔๖ ตรงกับวันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐ ณ โรงพยาบาลเมานท์ ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาซูเซทท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓

มีพระเชษฐภคินี ๑ พระองค์ และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ๑ พระองค์ ตามพระยศดังต่อไปนี้

๑. สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา (พระเชษฐภคินี)
พระนาม หม่อมเจ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา ทรงได้รับการสถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงได้รับการสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ พุทธศักราช ๒๔๗๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ต่อมาปีพุทธศักราช ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาทรงมีพระยศทรงกรมว่า กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ประสูติ วันที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๖ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ


๒.พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (พระบรมเชษฐาธิราช)
พระนาม หม่อมเจ้าอานันทมหิดล ทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประสูติ วันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมันนี เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ รัฐบาลจึงได้ทูลเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จฯ ขึ้นครองราชย์ สืบสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๘ แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘ ทรงพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

พระราชเถลิงถวัลยราชสมบัติ วันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙
สวรรคต วันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน
พระบรมมหาราชวัง



พุทธศักราช ๒๔๗๑ ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระชนมายุ ๑ พรรษา สมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชินี ทรงสำเร็จการศึกษาและเสด็จฯ กลับประเทศไทย ประทับที่วังสระปทุม

พุทธศักราช ๒๔๗๒ ในเดือนพฤษภาคม สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงพระประชวร และสิ้นพระชนม์ เมื่อ วันที่ ๒๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๒ ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุไม่ถึง ๒ พรรษา

พุทธศักราช ๒๔๗๕ พระชนมายุ ๕ พรรษา ทรงเข้าศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร เป็นเวลา ๑ ปี ทรงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ เมื่อจบชั้นประถมศึกษาแล้ว ทรงศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนเอกอล นูแวล เดอ ลา ซืออิส โรมองด์ เมืองแชลลี ซูร โลซานน์

พุทธศักราช ๒๔๗๗ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล (พระบรมเชษฐาธิราช) เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๘ แห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงสถาปนา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช เป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ในปีพุทธศักราช ๒๕๗๘

พุทธศักราช ๒๔๘๑ เสด็จพระราชดำเนินนิวัตประเทศไทยชั่วคราว ครั้งที่ ๑ โดยประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต

พุทธศักราช ๒๔๘๘ ทรงจบการศึกษาจากโรงเรียนยินนาส คลาสสิค กังโตนาล แห่งเมืองโลซานน์ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ ทรงได้รับประกาศนียบัตรทองอักษรศาสตร์ แล้วทรงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ ทรงเลือกศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์

วันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ เสด็จพระราชดำเนินนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่ ๒ โดยประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง

พุทธศักราช ๒๔๘๙ วันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เสด็จสวรรคตโดยกระทันหัน คณะรัฐบาลในขณะนั้นกราบบังคมทูลอัญเชิญ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชในวันเดียวกัน

วันที่ ๑๙ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เนื่องจากยังมีพระราชภารกิจในการศึกษาต่อ ในการทรงศึกษาต่อครั้งนี้ ทรงเลือกเรียนวิชาฐศาสตร์และนิติศาสตร์แทนวิชาวิทยาศาสตร์ที่ทรงศึกษาอยู่เดิม

พุทธศักราช ๒๔๙๑ ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์นั้น เนื่องจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์กับฝรั่งเศสตั้งอยู่ในภาคพื้นเดียวกันมีทางหลวงเชื่อมติดต่อกัน ระยะทางห่างกัน ๓๕๐ ไมล์เศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงขับรถยนต์พระที่นั่งใช้เวลาเพียง ๓ ชั่วโมง เพื่อทอดพระเนตรโรงงานทำรถยนต์ และทอดพระเนตรการแสดงดนตรีของคณะที่มีชื่อเสียง และขณะเสด็จพระราชดำเนินไปยังกรุงปารีส ทรงโปรดประทับที่สถานทูตไทยประจำประเทศฝรั่งเศส เช่นเดียวกับนักเรียนไทยคนอื่นๆ และสังสรรค์กับหมู่นักเรียนไทยอย่างใกล้ชิดโดยมิได้ถือพระองค์ว่าเป็นกษัตริย์ ในเดือนเมษายน หม่อมเจ้านักขัตมงคล กิติยากร และครอบครัวได้มีโอกาสเฝ้ารับเสด็จ พระองค์ทรงพบหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดการดนตรีเป็นพิเศษ และหม่อมราชวงศ์หญิง สิริกิติ์ กิติยากร ก็สนใจและเข้าใจศิลปการดนตรีอย่างซาบซึ้ง และรอบรู้ความเป็นมาของเพลงเอก ตลอดชีวประวัติของผู้ประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียง จึงเป็นจุดแรกที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยใน หม่อมราชวงศ์หญิง สิริกิติ์ กิติยากร แต่ทว่าหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร นิยมเพลงแบบบีบ๊อบ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงโปรดเพลงบีบ๊อบ ด้วยเหตุนี้จึงมีการโต้แย้งกันอยู่ตลอดเวลา สุดท้ายพระองค์ต้องทรงขออนุญาตหม่อมเจ้านักขัตมงคล กิติยากร พาไปฟังออเครสต้า เพื่อให้หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร เข้าใจว่าการที่พระองค์ทรงไม่ชอบเพลงบีบ๊อบ เหตุการณ์นี้นับเป็นจุดเริ่มแห่งการพบและมีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับครอบครัวราชสกุล “กิติยากร”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ณ ริมทะเลสาบเยนีนา เมืองบอนเน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เนื่องจากรถพระที่นั่งชนกับรถยนต์บรรทุก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับบาดเจ็บสาหัส บริเวณพระพักตร์และพระเศียร แต่ไม่มีพระอัฐิส่วนใดแตกหรือเดาะ พระโลหิตตกมาก ทรงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลที่ตำบลมอร์เซส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีนายแพทย์ ดร.มาเลียว เกรกซ์ เป็นผู้ถวายการรักษาพยาบาล ทรงประทับรักษาพระองค์อยู่ ณ โรงพยาบาล ช่วงแรกประมาณ ๓ สัปดาห์เศษ โดยทำการตรวจรักษาพระเนตรข้างขวาเป็นประจำ ทุกวัน และนำเศษแก้วออกมาได้ ๒ ชิ้น วันที่ ๒๙ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๑ เสด็จกลับสู่พระตำหนักวิลลาวัฒนาที่ประทับ

วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๑ ได้เสด็จกลับเข้าโรงพยาบาลอีกครั้ง เพื่อให้นายแพทย์ถวายการผ่าตัดพระเนตรข้างขวา ผลของการผ่าตัดเป็นที่น่าพอใจของนายแพทย์ ส่วนผ้าปิดพระเนตร กำหนดถอดประมาณต้นเดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ ในวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกจากโรงพยาบาลกลับสู่พระตำหนักวิลลาวัฒนาที่ประทับ

พุทธศักราช ๒๔๙๒ เดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสสั่งให้ราชเลขานุการในพระองค์ โทรเลขเชิญหม่อมเจ้านักขัตมงคล กิติยากร พระบิดาของหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร ไปเข้าเฝ้าฯ ณ นครโลซานน์ ทรงพักอยู่ที่วินเซอร์ เป็นโฮเต็ลชั้นหนึ่งในนครโลซานน์

วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จไปพบหม่อมเจ้านักขัตมงคล กิติยากร ที่โฮเต็ล พร้อมกับสมเด็จพระราชชนนี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับสั่งถึงเรื่องหมั้นกับหม่อมนักขัตมงคล กิติยากร

วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำพระธำมรงค์เพชร ซึ่งทำหนามเตยเป็นรูปหัวใจไปมอบให้หม่อมเจ้านักขัตมงคล เป็นการหมั้นหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
*** พระธำมรงค์วงนี้ เป็นพระธำมรงค์ที่สมเด็จพระราชบิดาทรงหมั้นสมเด็จพระราชชนนีในอดีต ***

วันที่ ๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๙๒ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้แถลงรายงานเรื่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร กรุงโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

พุทธศักราช ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินนิวัตประเทศไทย ประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลในเดือนมีนาคม

วันที่ ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และทรงเป็นประธาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฏหมาย โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร และจอมพล ป. พิบูลสงคราม ร่วมลงนามเป็นราชสักขีท่ามกลางพระบรมวงศานุวงศ์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ผู้แทนรัฐบาลไทย และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้มาร่วมในพระราชพิธี จากนั้นเสด็จฯ ขึ้นประทับยังห้องพระราชพิธีบนตำหนัก เพื่อรับพระราชทานน้ำพระพุทธมนต์เทพมนต์ จากสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าตามโบราณราชประเพณี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานของที่ระลึกเป็นหีบเงินขนาดเล็กที่มีพระปรมาภิไธยย่อ ภอ. และ สก. ให้แก่พระประยูรญาติที่ใกล้ชัดและราชสักขี และโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชทานเลี้ยงเป็นการภายในระหว่างพระญาติสนิท และข้าราชบริพารที่ใกล้ชิด

วันที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปประทับพักผ่อนพระราชอิริยาบถ ณ วังไกลวังวลหัวหิน เป็นเวลา ๓ วัน

วันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ขึ้นครองราชย์อย่างเป็นทางการ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เฉลิมพระปรมาภิไธย ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ในวันรุ่งขี้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ พระอัครมเหสี ขึ้นดำรงพระอิสริยศักดิ์เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี พร้อมพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตน์ราชวราภรณ์และเครื่องอิสริยราชูปโภค

วันที่ ๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงรักษาพระองค์และทรงศึกษาต่อ

พุทธศักราช ๒๔๙๔ วันที่ ๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๔ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีมีพระประสูติกาลพระธิดาองค์แรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม ๔ พระองค์ ตามลำดับดังนี้

๑. ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
ประสูติ วันพฤหัสบดีที่ ๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๔ ณ สถานพยาบาล มองซัวซี กรุงโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

๒. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
ประสูติ วันจันทร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน

๓. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ประสูติ วันเสาร์ที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๘ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน

๔. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
ประสูติ วันพฤหัสบดีที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน

พุทธศักราช ๒๔๙๙ วันที่ ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง และประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงผนวช ๑๕ วัน พระองค์ทรงได้รับพระฉายาว่า “ภูมิพโลภิกขุ” พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระจริยาวัตรเยี่ยงพระภิกษุทั้งหลายทุกประการ โดยเฉพาะการเสด็จออกรับบิณฑบาตจากประชาชนทั่วไป

วันที่ ๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลาพระผนวช และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยศักดิ์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องจากทรงปฏิบัติราชการในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นที่เรียบร้อย

พุทธศักราช ๒๕๐๒ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๒ เริ่มเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ ทั้งในเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา เป็นการเจริญพระราชสัมพันธไมตรี

พุทธศักราช ๒๕๓๘ วันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๘ เริ่มจัดพิธีกาญจนาภิเษกเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ ๕๐ ปี



ที่มา
: สารานุกรมไทยฉบับกาญจนาภิเษก. กรุงเทพฯ, ๒๕๔๒
: ๕ ธันวามหาราช มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗๘ พรรษา. กรุงเทพฯ, ๒๕๔๘
: วารี อัมไพวรรณ, พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด อักษรบัณฑิต, ๒๕๒๕.
: วารี อัมไพรวรรณ. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จแม่ของ แผ่นดิน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ภัทรินทร์, ๒๕๓๗.









Create Date : 06 ตุลาคม 2552
Last Update : 9 กันยายน 2553 16:05:49 น.
Counter : 1675 Pageviews.

12 comments
สรุปวิชาสังคมไทยสังคมโลกในศตวรรษที่ 21 เรื่องปราชญ์ท้องถิ่น นายแว่นขยันเที่ยว
(10 เม.ย. 2567 03:05:45 น.)
สุริยุปราคา อเมริกา /นิวยอร์ก อินเดียน่า เทกซัส newyorknurse
(9 เม.ย. 2567 04:13:31 น.)
แคดเมียม Cadmium ความอันตรายของมัน สมาชิกหมายเลข 4149951
(8 เม.ย. 2567 07:11:22 น.)
ถนนสายนี้ ... ... มีตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 348 "ฉุกละหุก" toor36
(24 มี.ค. 2567 10:27:24 น.)
  
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ขอบคุณคุณปุยฝ้ายที่ค้นคว้าเรียบเรียงมาฝากกันครับ
โดย: คุณพีทคุง (ลายปากกา ) วันที่: 7 ตุลาคม 2552 เวลา:18:31:22 น.
  
คนกำแพงหรอค่ะ ยินดีที่ได้รู้จักนะค่ะ
โดย: สาวพิษณุโลก** วันที่: 12 ตุลาคม 2552 เวลา:23:29:07 น.
  
ช่วยเร่งท่านประธานที ยังงมแพทอยู่เลยจ้า
โดย: แซลลี่ (lazypiggy ) วันที่: 26 ตุลาคม 2552 เวลา:16:22:10 น.
  
ขอให้พระองค์ท่าน อยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร ของ
ชาวไทย นาน ๆ
โดย: ส.อ.จักร IP: 58.147.59.238 วันที่: 29 ตุลาคม 2552 เวลา:5:28:58 น.
  
ขอให้พระองค์มีพระวรกายแข็งแรง
ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
โดย: ส.อ.เบส IP: 58.147.59.238 วันที่: 29 ตุลาคม 2552 เวลา:5:32:07 น.
  
มาขอบคุณที่ไปโหวดให้ค่ะ ขอบคุณนะคะ
โดย: ซองขาวเบอร์ 9 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2552 เวลา:20:53:01 น.
  
พอเลือกเสร็จแล้ว ก็จะลุ้นจับฉลากกันจ้ะ พอรู้ว่าใครได้ของใครก็จะติดต่อกันอีกทีจ้า
โดย: แซลลี่ (lazypiggy ) วันที่: 6 พฤศจิกายน 2552 เวลา:23:51:00 น.
  
มาเดินสายขอบคุณกันก่อน

แซลลี่พาน้องเต็มดวงมาขอบคุณคะแนนโหวตจ้า

Image Hosted by ImageShack.us
โดย: แซลลี่ (lazypiggy ) วันที่: 7 พฤศจิกายน 2552 เวลา:2:59:05 น.
  
กำลังลองดูนะคะ แต่หาแพทเทินไม่ได้เลยนะคะ



โดย: ooyporn วันที่: 12 พฤศจิกายน 2552 เวลา:16:14:23 น.
  
ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานค่ะ
โดย: ขอเป็นข้าพระบาททุกชาติไป (แม่น้องกะบูน ) วันที่: 23 พฤศจิกายน 2552 เวลา:20:05:53 น.
  
สวัสดีค่ะ

สบายดีมั้ยค่ะ

พี่ตามหาจอยหรือเปล่าเอ่ย?

^___^
โดย: Joy*~Joystick~* วันที่: 1 ธันวาคม 2552 เวลา:21:28:20 น.
  
whenever you felt that your heart is going to breakdown
feel it with the love of God ask for his and then you will
find out what is the truth love in Your life as he does for me!

GOD always forgive your mistake
the one that you cant even forget,
he always does it and always being with us
to help and blesss us for us whose heart is full of him
โดย: DA IP: 124.122.247.144 วันที่: 18 เมษายน 2553 เวลา:18:28:52 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

108idea.BlogGang.com

puifaikpp
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 123 คน [?]

บทความทั้งหมด