"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
3 ธันวาคม 2552
 
All Blogs
 
การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง


อยุธยายศล่มแล้ว







การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เป็นสงครามครั้งสุดท้ายระหว่างอาณาจักรพม่ากับอาณาจักรอยุธยา ในการทัพคราวนี้ กรุงศรีอยุธยาเสียแก่กองทัพพม่าเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน คือ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310

ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศแห่งอาณาจักรอยุธยา และพระเจ้ามังระของอาณาจักรพม่า

แผนปฏิบัติการของกองทัพพม่าเริ่มจากการเข้าตีหัวเมืองทางเหนือ ทางตะวันตกและทางใต้ของอาณาจักรอยุธยา ก่อนจะเข้าปิดล้อมพระนครในขั้นสุดท้าย ส่วนผู้ปกครองอยุธยาเลือกที่จะใช้ยุทธวิธีตั้งรับอยู่ในกรุงในฤดูน้ำหลาก

แต่เนื่องจากกองทัพพม่าได้เปลี่ยนยุทธวิธีของตนใหม่ จึงทำให้ยุทธวิธีของ อยุธยาไม่ได้ผลอย่างในอดีต จนนำไปสู่การเสียกรุงศรีอยุธยา หลังจากการปิดล้อมนาน 14 เดือน

อย่างไรก็ตาม นอกจากความพ่ายแพ้ในด้านยุทธวิธีทางทหารแล้ว สาเหตุซึ่งอันไปสู่ความพ่ายแพ้ในการทัพก็ยังมีผู้พยายามอธิบายด้วยเหตุผลอื่นอีกมาก

จากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองนี้ นอกจากจะส่งผลให้อาณาจักรอยุธยา ซึ่งเป็นราชธานีของคนไทยมาเป็นเวลากว่า 400 ปี ล่มสลายลงแล้ว ยังส่งผลให้เกิดความขัดแย้งอย่างล้ำลึกขึ้นในกลุ่มการเมืองระดับต่าง ๆ

จนแทบจะนำไปสู่การล่มสลายของรัฐไทยได้เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ได้มีพระราชกรณียกิจในการสร้างความเป็นปึกแผ่นและฟื้นฟูความเจริญรุ่งเรืองของชาติขึ้นอีกครั้งในรัชสมัยของพระองค์


เบื้องหลัง
สภาพบ้านเมืองรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศ

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2301 เป็นต้นมา สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ (พระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าเอกทัศ) ทรงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งแต่เดิมนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ดำริที่จะแต่งตั้งพระอนุชาของเจ้าฟ้าเอกทัศ เจ้าฟ้าอุทุมพร ให้เป็นรัชทายาท

เนื่องจากทรงเห็นว่าเจ้าฟ้าเอกทัศไม่เหมาะสมที่จะขึ้นเป็นกษัตริย์

สภาพบ้านเมืองในรัชสมัยของพระเจ้าเอกทัศมีความแตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งออกได้เป็นฝ่ายที่เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ไม่ดี และฝ่ายที่เห็นว่าพระองค์ไม่ทรงเป็นกษัตริย์ที่ไม่ดี

แต่หากยึดถือตามพงศาวดารไทยในสมัยหลังส่วนใหญ่แล้ว มักจะกล่าวถึงไปในทำนองอย่างแรกมากกว่า ทั้งนี้ มักจะถือว่าพระองค์เป็นสาเหตุสำคัญอันนำไปสู่การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

ฝ่ายหนึ่งก็บอกว่า พระองค์ทรงมีพระราชประวัติความประพฤติไม่ดีอยู่มาก ราษฎรไม่เลื่อมใสศรัทธา บ้านเมืองเกิดความระส่ำระสาย มีข้าราชการลาออกจากราชการอยู่บ้าง

สังคมสมัยนั้นมีการกดขี่รีดไถ ข่มเหงรังแกราษฎรอย่างไม่เป็นธรรม

เมื่อขุนนางชั้นผู้น้อยเห็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ทำก็เลียนแบบ ราษฎรและข้าราช การทั้งหลายหมดที่พึ่งจึงแตกความสามัคคี ดังที่บาทหลวงฝรั่งเศสได้เขียนจดหมายเหตุบันทึกไว้ว่า:

"... บ้านเมืองแปรปรวน เพราะฝ่ายใน [พระราชชายา] ได้มีอำนาจเท่ากับพระเจ้าแผ่นดินผู้มีความผิดฐานกบฏ ฆ่าคนตายเอาไฟเผาบ้านเรือนจะต้องได้รับโทษถึงประหารชีวิต

แต่ความโลภของฝ่ายในให้เปลี่ยนเป็นริบทรัพย์สิน ริบได้ก็ตกเป็นของฝ่ายในทั้งสิ้น พวกข้าราชการเห็นความโลภของฝ่ายใน ก็แสวงหาผลประโยชน์กับผู้ต้องหาคดีให้ได้มากที่สุดที่จะหาได้ จะได้แบ่งเอาบ้าง ความเดือดร้อนลำเค็ญก็ยิ่งทับถมราษฎรมากขึ้น..."

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าพระองค์จะมีแต่การกล่าวถึงพระองค์ในแง่ที่ไม่ดีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น มีบ้างที่กล่าวถึงพระราชกรณียกิจของพระองค์ที่ปรากฏ เช่น

"[กษัตริย์พระองค์นี้] ทรงพระกรุณากับอาณาประชาราษฎร์ทั้งปวง แผ่เมตตาไปทั่วสารพัดสัตว์ทั้งปวง"

"ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา บ้านเมืองสงบ การค้าขายเจริญ ทรงบริจาคทรัพย์ให้แก่คนยากจนจำนวนมาก" เป็นต้น

ในแง่เศรษฐกิจ เศรษฐกิจของอาณาจักรอยุธยามีความตกต่ำลง เนื่องจากของป่า ซึ่งเคยเป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่สร้างรายได้ให้กับรัฐบาลมานานนับศตวรรษ กลับส่งออกขายต่างประเทศได้น้อยลง

อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านนโยบายทางการเมืองในประ เทศ ซึ่งไม่เป็นมิตรกับชาวต่างชาติ และความต้องการของตลาดต่างประเทศที่ลดลง โดยทั้งพ่อค้าจากมหาสุมทรอินเดีย จีน ญี่ปุ่น และชาติตะวันตกต่างก็ลดปริมาณซื้อขายลง

มีต่อตอนที่ 2 ค่ะ


ขอขอบคุณวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ธีววารสิริสวัสดิ์ มานมนัสรมณีย์ ที่มาอ่านค่ะ



Create Date : 03 ธันวาคม 2552
Last Update : 3 ธันวาคม 2552 9:30:36 น. 0 comments
Counter : 4648 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.