"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
18 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
จิตรกรรมประวัติศาสตร์ (History painting)






“วันสุดท้ายของปอมเปอี” (ค.ศ. 1833) เป็นตัวอย่างที่ดีของภาพเขียนประวัติศาสตร์





“ความตายของนายพลวูลฟ” โดย เบนจามิน เวสต์




“คำสาบานของโฮราติอิ” โดย ฌาคส์-ลุยส์ ดาวิด (ค.ศ. 1784) สร้างนาฏกรรมในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์





จิตรกรรมประวัติศาสตร์ (History painting) เริ่มเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ ค.ศ. 1667 โดยอันเดร เฟลิเบียน (André Félibien) จิตกรประวัติศาสตร์ สถาปนิก นักทฤษฎีคลาสสิคซิสม์ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นลักษณะที่ระบบ “การจัดลำดับคุณค่าของศิลปะ” (Hierarchy of genres)

ถือว่าเป็นประเภทการเขียนภาพที่มีคุณค่าสูงที่สุดในบรรดาการเขียนภาพประเภทต่างๆ


คำอธิบาย

“จิตรกรรมประวัติศาสตร์” เป็นจิตรกรรมที่แสดงฉากบรรยายเนื้อหาจากประวัติศาสตร์กรีกโรมัน ประวัติศาสตร์คริสต์ศาสนา และตำนานเทพปรัมปราวิทยา และรวมทั้งเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานก่อนที่จะเขียน

ภาพเขียนชนิดนี้รวมทั้งภาพเขียนที่ในหัวเรื่องที่เกี่ยวกับ ศาสนา ประวัติศาสตร์ วรรณคดี หรืออุปมานิทัศน์ ที่ตีความหมายของชีวิตหรือสื่อความหมายทางจริยธรรม

เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่เลือกเขียนจะเป็นสัญลักษณ์ที่ไม่แต่เพียงจะแสดงเหตุการณ์แต่เป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญต่อสังคมของผู้เขียนภาพ เช่นการเขียนภาพการประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา

หรือบางครั้งอาจจะไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงแต่จิตรกรต้องการเขียนภาพที่สื่อความหมายที่ต้องการ

เทพหรือเทพีจากปรัมปราวิทยาก็ใช้เป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิทยาต่างๆ ของมนุษย์ และบุคคลจากศาสนาต่างก็เป็นตัวแทนของความคิดต่างๆ และเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสที่การเขียนภาพประวัติศาสตร์มักจะเน้นการเขียนภาพวีรบุรุษชายเปลือย แต่ลดถอยลงไปในคริสต์ศตวรรที่


“ความตายของนายพลวูลฟ” โดย เบนจามิน เวสต์เครื่องแต่งตัวในภาพบางครั้งก็จะเป็นการแต่งอย่างกรีกโรมันไม่ว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นเมื่อใด ในปี ค.ศ. 1770 เบนจามิน เวสต์ เสนอว่าการวาดภาพ “ความตายของนายพลวูลฟ” ควรจะใช้เครื่องแต่งกายร่วมสมัย

แต่ก็มีผู้คัดค้านหลายคนว่า ควรจะแต่งตัวอย่างคลาสสิค ในที่สุดเวสต์ก็เขียนโดยใช้เครื่องแต่งกายร่วมสมัย แต่พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งอังกฤษไม่ทรงยอมซื้อภาพ

แต่อย่างไรก็ตาม เวสต์ก็ได้รับชัยชนะต่อผู้ต่อต้าน และริเริ่มการเขียนภาพประวัติศาสตร์ ที่ตรงตามความเป็นจริงแทนที่จะเป็นภาพอุดมคติ

ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการริเริ่มลักษณะการเขียนที่เรียกว่าประวัติศาสตร์นิยม ซึ่งเป็นการเขียนแบบการเลียนแบบการเขียนภาพประวัติศาสตร์ หรือจิตรกรประวัติศาสตร์

การวิวัฒนาการอีกอย่างหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 คือการผสานการเขียนภาพประวัติศาสตร์กับการภาพชีวิตประจำวัน (Genrepainting) ที่แสดงให้เห็นฉากชีวิตประจำวัน

เป็นการเขียนเหตุการณ์สำคัญที่มีรายละเอียดที่เป็นเหตุการณ์ที่เป็นส่วนตัว หรือเหตุการณ์ประจำวันของเหตุการณ์หรือบุคคลในภาพ จิตรกรที่เขียนภาพบางทีก็จะพยายามสื่อความหมายทางจริยธรรม ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

จิตรกรประวัติศาสตร์

“คำสาบานของโฮราติอิ” โดย ฌาคส์-ลุยส์ ดาวิด (ค.ศ. 1784) สร้างนาฏกรรมในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์“จิตรกรประวัติศาสตร์” มิใช่เป็นแต่เพียงจิตรกรที่วาดภาพที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์แต่วาดอย่างใหญ่โตและเป็นนาฏกรรม

โดยเฉพาะจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์หรือตำนานกรีกโรมัน ฉากจากวรรณคดีสำคัญ หรือเหตุการณ์สำคัญของบุคคลสำคัญๆ ในสมัยบาโรก หัวเรื่องก็มักจะเป็นจุดสูงสุดของเหตุการณ์ โดยมีผู้ร่วมเหตุการณ์แต่งตัวแบบคลาสสิค

“จิตรกรรมประวัติศาสตร์” เป็นการเขียนที่ไม่แต่มีความสำคัญเป็นลำดับหนึ่งของศิลปะสถาบัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ในสมัยหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสด้วย

ฉะนั้นจิตรกรรมประวัติศาสตร์จึงเป็นกระบวนการเขียนที่ เป้าในการถูกโจมตีเมื่อขบวนการเขียนแบบใหม่ๆ เริ่มขึ้น เช่นเมื่อขบวนการอิมเพรส ชันนิสม์หันหลังให้การเขียนของจิตรกรรมประวัติศาสตร์ หรือกลุ่มพรีราฟาเอลไลท์ในอังกฤษ

ที่เน้นเฉพาะหัวเรื่องเขียนที่มาจากวรรณคดี หรือเรื่องลึกลับแทนที่จะเขียนภาพแบบคลาสสิค ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 วิธีการเขียนภาพประวัติศาสตร์ก็เปลี่ยนแปลงไป จากเขียนแบบนาฏกรรมไปเป็นการเขียนนอกสถานที่และหัวข้อที่เล็กลง


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ศุกรวารสิริสวัสดิ์ ปรีดิ์มนัสรมณีย์ค่ะ


Create Date : 18 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 19 กุมภาพันธ์ 2553 12:16:55 น. 0 comments
Counter : 2885 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.