แมลงศัตรูพืช IV
ตั๊กแตน



ตั๊กแตน เป็นแมลงที่อยู่ในอันดับ Orthoptera มีลักษณะสำคัญคือ มีปากแบบกัดกิน (Chewing Type) พบตั้งแต่ในระยะตัวอ่อนจนถึงตัวเต็มวัย  มีตารวมขนาดใหญ่  มีหนวดเป็นแบบเส้นด้าย  (filiform) ปีกคู่หน้าเป็นคล้ายหนัง (tegmina) ปีกคู่หลังแบบบางใส (membrane) ซึ่งพับอยู่ใต้ปีกคู่หน้า ขา 2 คู่แรกเป็นขาเดิน  ( walking legs) ขาคู่หลังเป็นแบบกระโดด (jumping legs)  tarsi มี 3 – 5 ปล้อง  ตั๊กแตนมีอวัยวะพิเศษคือ อวัยวะทำเสียง และอวัยวะฟังเสียง เพื่อใช้ในการสื่อสาร หาคู่ และไล่ศัตรู อวัยวะทั้งสองอย่างสามารถช่วยแยกกลุ่มของแมลงได้ การเจริญและการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นแบบ Paurometabola เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า gradual metamorphosis เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทีละน้อย ระยะตัวอ่อนเรียกว่า Nymph  ตัวอ่อนจะมีขนาดเล็กกว่าตัวเต็มวัยแต่ยังไม่มีปีก และจะลอกคราบและเจริญเติบโตไปจนเป็นตัวเต็มวัยเมื่อมีการลอกคราบครั้งสุดท้าย  การวางไข่  มีลักษณะแตกต่างกัน อาจเป็นไข่เดี่ยวหรือไข่กลุ่ม มีทั้งวางในดินและวางไข่ในพืชอาหาร 

ตั๊กแตนส่วนใหญ่ที่พบ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ ตั๊กแตนหนวดสั้น (short-horn grasshoppers) ตั๊กแตนหวดยาว  (long-horn grasshoppers) และตั๊กแตนแคราะ (pygmy grasshoppers

เพลี้ยจักจั่นมะม่วง



เพลี้ยจักจั่นที่พบระบาดอยู่มี 2 ชนิด ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้ มีรูปร่างคล้ายกันมาก ลำตัวมีสีเทาปนดำ หรือน้ำตาลปนเทา ส่วนหัวโตและป้าน ลำตัวเรียวแหลมมาทางด้านหาง ทำให้เห็นส่วนท้องเรียวเล็ก มองดูด้านบนเหมือนรูปลิ่ม ขนาดความยาวลำตัว 5.5 - 6.5 มม. และที่แผ่นตรงเหนือริมฝีปากบนเป็นสีดำ มักอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม แมลงชนิดนี้ใช้ขาหลังดีดตัวกระโดดไปมา ทำให้ได้ยินเสียงชัดเจน ตัวอ่อนมีลักษณะเหมือนตัวเต็มวัยทุกประการ การเคลื่อนไหวว่องไวแต่ไม่เท่าตัวเต็มวัย ตัวอ่อนนี้มักพบอยู่เป็นกลุ่มตามช่อดอกและใบ โดยเฉพาะบริเวณโคนของก้านช่อดอกและก้านใบ เนื่องจากบริเวณโคนจะมีเยื่อบาง ๆ สีน้ำตาลหุ้มไว้ เมื่อแดดร้อนจัดจะหลบซ่อนอยู่ตามหลังใบเพลี้ยจักจั่นช่อมะม่วงเพศเมียจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ รูปร่างยาวรีสีเหลืองอ่อน จะวางไข่ตามแกนกลางใบอ่อนหรือก้านช่อดอก ปรากฏเป็นแผลเล็ก ๆ คล้ายมีดกรีด หลังจากวางไข่แล้วประมาณ 1 - 2 วัน จะมียางสีขาวของมะม่วงไหลหยดเห็นได้ชัด ระยะฟักไข่ 7 - 10 วัน เมื่อออกเป็นตัวอ่อนจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอกและใบ ตัวอ่อนเจริญเติบโตโดยการลอกคราบ 4 ครั้ง จึงเป็นตัวเต็มวัย ระยะตัวอ่อน 17 - 19 วัน

เพลี้ยจักจั่นที่พบระบาดมีอยู่ 2 ชนิด พบแพร่ระบาดทั่วไปในประเทศไทย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะทำลายใบอ่อน ช่อดอก ก้านดอก และยอดอ่อน แต่ระยะที่ทำความเสียหายมากที่สุดคือ ระยะที่มะม่วงกำลังออกดอก โดยจะดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอกทำให้แห้งและดอกร่วง ติดผลน้อยหรือไม่ติดเลย ระหว่างที่เพลี้ยจักจั่นดูดกินน้ำเลี้ยง จะถ่ายมูลมีลักษณะเป็นน้ำเหนียว ๆ คล้ายน้ำหวานติดตามใบ ช่อดอก ผล และรอบ ๆ ทรงพุ่ม ทำให้มะม่วงเปียกเยิ้ม ต่อมาตามใบ ช่อดอก จะถูกปกคลุมโดยเชื้อราดำ ถ้าปกคลุมมากก็จะกระทบกระเทือนต่อการสังเคราะห์แสง ใบที่ถูกดูดน้ำเลี้ยงในระยะเพสลาด ใบจะบิดงอโค้งลงด้านใต้ใบ ตามขอบใบจะมีอาการปลายใบแห้ง

แมลงชนิดนี้พบระบาดทั่วไปทุกแห่งที่ปลูกมะม่วง พบได้ตลอดทั้งปีแต่ปริมาณประชากรของเพลี้ยจักจั่นจะเพิ่มอย่างรวดเร็วในช่วงออกดอก คือระหว่างธันวาคม - มกราคม เมื่อมะม่วงเริ่มแทงช่อดอก จำนวนเพลี้ยจักจั่นจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนระยะดอกตูม มีปริมาณสูงสุดเมื่อดอกใกล้บาน และจะลดลงเมื่อมะม่วงเริ่มติดผล ซึ่งจะไม่พบบนผลเมื่อมะม่วงมีขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือ (1.5 - 2 ซม. หรือช่วง 40 วัน)

ศัตรูธรรมชาติ
- ผีเสื้อตัวเบียน Epipyropid (Epipyrous fuliginosatams) แมลงวันตาโต Pipunculid แตนเบียน Aphelined
- แมลงห้ำ มวนตาโต Geoeori sp. เชื้อรา Beauveria bassiana



Create Date : 13 เมษายน 2557
Last Update : 13 เมษายน 2557 15:52:45 น.
Counter : 1742 Pageviews.

0 comments

Vancin
Location :
นนทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



จากวันที่เริ่มต้น สิ่งต่างๆ ไม่เคยจะเป็นไปได้ดั่งใจคิด แต่จนถึงวันนี้ยังคงต้องเดินหน้าต่อไป
เมษายน 2557

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
  •  Bloggang.com