เพลงประกอบ Chanukah Song By Adam Sandler

Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
19 พฤศจิกายน 2549
 
All Blogs
 
แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ ดินแดนแห่งพันธะสัญญา (1)

คำว่า ปาเลสไตน์ (Palestine) ว่ากันอย่างกว้างที่สุดก็หมายถึง อาณาบริเวณส่วนหนึ่งทางด้านตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทว่าความหมายในทางภูมิศาสตร์และสถานภาพทางรัฐศาสตร์ของพื้นที่แถบนี้ ก็มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดระยะเวลา 3 สหัสวรรษ

อาณาบริเวณที่ว่านี้ หรือบางส่วนของบริเวณนี้ ถือกันว่าเป็น แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ (Holy Land) ทั้งในหมู่ชาวยิว ชาวคริสต์ และชาวมุสลิม

ตลอดศตวรรษที่ 20 พื้นที่นี้มีแต่การแย่งชิงกรรมสิทธิ์ระหว่างชาวยิว กับขบวนการชาตินิยมชาวอาหรับ ความขัดแย้งได้จุดชนวนเหตุรุนแรงขึ้นนับครั้งไม่ถ้วน และหลายกรณีก็บานปลายเป็นสงครามเต็มรูปแบบ

คำว่าปาเลสไตน์มีรากศัพท์มาจากคำว่า ฟิลิสเตีย (Philistia) ซึ่งเป็นคำที่นักเขียนชาวกรีกใช้เรียกดินแดนของพวกฟิลิสเตีย (Philistines) อันเป็นผู้ครอบครองแว่นแคว้นย่อม ๆ ในศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสต์ศักราช บนชายฝั่งทางใต้ ระหว่างเมืองเทลอาวีฟ-ยาโฟ กับกาซาในปัจจุบัน

ชาวโรมันนำชื่อนี้มาใช้อีกครั้งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 2 ในนาม “ซีเรีย ปาเลสตินา” (“Syria Palestina”) โดยหมายถึงบริเวณตอนใต้ของแคว้นซีเรีย ภายหลังยุคโรมัน ชื่อนี้ไม่มีสถานะที่เป็นทางการอีกเลย จวบจนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และสิ้นสุดการปกครองของอาณาจักรออตโตมาน โดยถือเป็นดินแดนในอาณัติของอังกฤษ

คำว่าปาเลสไตน์ ใช้กันกว้างขวางมานานเมื่อหมายถึงแว่นแคว้นโบราณ แต่คำคำนี้ก็ไม่ได้บ่งชี้ถึงขอบเขตดินแดนที่แน่นอน ยิ่งเขตแดนทางด้านตะวันออกยิ่งไม่ตายตัวเข้าไปใหญ่ บางทีก็กินแดนไปจนถึงทะเลทรายอาหรับ (Arabian Desert)

อย่างไรก็ดี ตามความเข้าใจในปัจจุบันนั้น ดินแดน ปาเลสไตน์มีทิศตะวันออกจรดแม่น้ำจอร์แดน ทิศเหนือจรดพรมแดนอิสราเอล กับเลบานอน ทิศตะวันตกจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (รวมถึงชายฝั่งเมืองกาซาด้วย) และทางใต้จรดทะเลทรายเนเกฟ โดยเขตปลายสุดทางใต้กินแดนไป ถึงอ่าวอะกาบา (Gulf of Aqaba)







พื้นที่แถบนี้คือจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เพราะเป็นทางผ่านจากอียิปต์ไปยังซีเรีย และจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปยังเขตภูเขาอีกฟากของแม่ น้ำจอร์แดน

การตั้งถิ่นฐานต้องพึ่งพาน้ำเป็นปัจจัยหลัก ซึ่งเป็นของหายาก เขตที่ฝนตกจะมีมาในช่วงครึ่งปีที่มีอากาศเย็น จะไล่จากปริมาณมากไปหาน้อยตามแนวทิศเหนือสู่ใต้ และจากด้านชายฝั่งเข้าไปทางแผ่นดิน มีแม่น้ำเพียงไม่กี่สายที่มีน้ำไหลตลอดปี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินปูนที่มีความพรุน จึงไม่อุ้มน้ำ

ผู้คนในปาเลสไตน์ช่วงศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนได้รับผลกระทบจากความผันผวนทางการเมือง และสงครามอย่างใหญ่หลวง ทำให้อาณาบริเวณเล็ก ๆ แถบนี้เป็นจุดสนใจของชาวโลก

ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ชาวยิวมีสัดส่วนกว่า 4 ใน 5 ของประชากรในฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน ชาวมุสลิมมี 1 ใน 7 ที่เหลือเป็นชาวคริสต์ และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ

ยิ่งนานวัน ชาวยิวที่เกิดในประเทศอิสราเอลก็ยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้น แม้จะมีชาวยิวนับแสนที่เพิ่งเข้าไปตั้งรกรากภายหลังการก่อตั้งประเทศอิสราเอลในปี 1948 ส่วนชนส่วนน้อยซึ่งเป็นชาวอาหรับนั้น สืบเชื้อสายมาจากชาวอาหรับที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ระหว่างช่วงที่อยู่ใต้อาณัติของอังกฤษ และจำนวนมากมายก็อยู่มาก่อนสมัยนั้นเป็นร้อย ๆ ปีแล้ว

ปัจจุบัน ทั้งชาวยิวและชาวอาหรับส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตเมืองทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจอร์แดนนั้น เกือบทั้งหมดเป็นชาวอาหรับ

พวกชาตินิยมชาวยิว หรือไซออนนิสต์ (Zionists) ถือว่า ศาสนายูดาย (Judaism) เป็นทั้งเอกลักษณ์ทางศาสนาและเชื้อชาติ ในขณะที่เหล่านักชาตินิยมปาเลสไตน์ก็ถือว่า ความเป็นชนชาติอาหรับนั้นอยู่เหนือความหลากหลายทางศาสนา ไม่ว่าจะนับถือศาสนาไหนก็เป็นชาวอาหรับ

ฉะนั้น ทั้งอาหรับมุสลิม ซึ่งมีราว 14% ของประชากร อิสราเอล และอาหรับคริสเตียน ซึ่งมีราว 3% ล้วนถือว่าตัวเองเป็นชาวอาหรับทั้งสิ้น

ชาวอาหรับส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตเวสต์แบงก์ (West Bank) หรือเขตฟากตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน กับฉนวนกาซา (Gaza Strip) ซึ่งทอดไปตามฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และชาวปาเลสไตน์อาหรับยังอาศัยอยู่นอกพื้นที่ดังกล่าวในจำนวนที่มากกว่านั้นอีก (อาทิในประเทศข้างเคียงอย่างเลบานอน)

คนเหล่านี้ต่อต้านการควบคุมของอิสราเอลอย่างแข็งขัน และเกรงกันว่าอิสราเอลจะผนวกเขตเวสต์แบงก์และกาซาเป็นของตัวในท้ายที่สุด

ข้างฝ่ายผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยิวอิสราเอลที่อาศัยอยู่ในเขตยึดครองทั้งสองก็อยากให้อิสราเอลฮุบดินแดนเหล่านี้เสียให้หมดเรื่องหมดราวไป (แต่ขืนทำอย่างนั้น เรื่องมันจะไม่จบมากกว่า)

ทั้งพวกไซออนนิสต์และอาหรับปาเลสไตน์ ต่างก็อ้างความชอบธรรมเหนือดินแดนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน เมื่อต่างฝ่ายต่างอ้างกรรมสิทธิ์ เรื่องมันก็หนีไปพ้นสงคราม ถึงจะมีคนกลางไกล่เกลี่ยให้หยุดยิงกันได้ วิกฤตการณ์ก็ยังคงคุกรุ่นเหมือนภูเขาไฟที่รอวันปะทุอยู่แทบทุกเมื่อเชื่อวัน

ภายในฝ่ายอิสราเอลกับฝ่ายปาเลสไตน์ ต่างก็มี “ปีกขวา” กับ “ปีกซ้าย” มี “สายเหยี่ยว” กับ “สายพิราบ” อยู่ด้วยกันทั้งคู่

ทางอิสราเอลนั้น พวกหนึ่งก็กระเหี้ยนกระหือรือ อยากบุกเข้าผนวกเขตยึดครองให้เรียบร้อยโรงเรียนยิวไปเลย แต่อีกพวกหนึ่งก็รักสันติมากกว่า อยากให้หาทางรอมชอมกันด้วยดี

ส่วนทางปาเลสไตน์ พวกหนึ่งก็อยากขับไล่ทำลายประเทศอิสราเอล แล้วก่อตั้งรัฐอิสลามขึ้นในปาเลสไตน์ มีการเรียกร้องให้ทำ สงครามศักดิ์สิทธิ์ บางครั้งก็ใช้วิธีการก่อการร้าย แต่อีกพวกหนึ่งก็ยอมรับใน สิทธิการดำรงคงอยู่ของประเทศอิสราเอล




Create Date : 19 พฤศจิกายน 2549
Last Update : 18 มีนาคม 2550 14:34:36 น. 1 comments
Counter : 3225 Pageviews.

 
.. มาอ่านเอาความรู้ค่ะ ขอบคุณที่เอามาฝาก


โดย: hayashimali วันที่: 19 พฤศจิกายน 2549 เวลา:7:34:28 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

vad
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add vad's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.