วิชาบัญชี

หลักการบัญชี


ประโยชน์ของการบัญชี
1.ชวยให้การวางแผน/การควบคุม/การปฏิบัติงานและการตัดสินใจเปนไปอยางมีประสิทธิภาพและเกิดผล (การบริหารจัดการ)อีกทั้งยังสามารถประเมินประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและการหารายได้ขององค์กรได
2.แสดงสถานการณ์จริงทางการเงินของกิจการเพื่อให้ทั้งผู้ประกอบการและผู้อื่นทราบ
หน้าที่ทางการบัญชี
1.บันทึก (recording) ตามวิธีการลงบันทึกรายการประจําวันเชนคาวัสดุคาจางแรงงาน
2.จัดหมวดหมู่ข้อมูลที่บันทึก (classifying) เพื่อให้เข้าใจง่ายเช่นกลุ่มรายจ่ายค่าวัสดุกลุ่มรายจ่ายค่าบํารุงรักษากลุ่มรายรับจากบริการเงินบริจาค
3.สรุปผล (summarizing)เป็นขั้นตอนต่อมาเพื่อแสดงสถานการณ์จริงทางการเงินที่สําคัญเช่นจัดทําเป็นบัญชีกําไรขาดทุน (บัญชีแสดงผลการดําเนินงาน)จัดทํางบดุล (บัญชีแสดงฐานะทางการเงินของกิจการ)
4.วิเคราะห์แปลผล (interpreting)โดยเปรียบเทียบรายการสําคัญที่เกิดขึ้นในรอบ 1ปและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปีต่อไป
ลักษณะของการบัญชี
1. การบัญชีบริหาร(managerial accounting) ประกอบดวยข้อมูล 2 ลักษณะ
1.1แสดงจุดที่ควรสนใจในรูปข้อมูลที่วิเคราะห์แปลผลในส่วนที่เป็นปัญหาของปฏิบัติการและการขาดประสิทธิภาพการทํางาน
1.2แสดงการแก้ปัญหาเป็นการแสดงปัญหาใหม่พร้อมเสนอแนวทางแก้ปัญหา
2.การบัญชีการเงิน (financial accounting) มุงแสดงให้บุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบริหารใช้ประเมินฐานะทางการเงินขององค์กรทั่วไปคืองบการเงิน (financial statement) ซึ่งจำแนกได้ 3 ประเภท
ประเภทของงบการเงินข้อมูลที่แสดง
งบดุล (balance sheet or statement of financial position)ข้อมูลที่แสดงสินทรัพย์หนี้สินและส่วนของเจ้าของกิจการ
งบกําไรขาดทุน (income or profit and loss statement)แสดงผลการดําเนินงานของกิจการ
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงิน (statement ofchangesin financial position) แสดงการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรในระยะนวลาหนึ่ง

ประโยชน์ของงบการเงินต่อบุคคลที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ
ผู้ลงทุน (investor) = ช่วยในการตัดสินใจในการเลือกลงทุนหรือถอนตัว
หน่วยงานรัฐ :กระทรวงการคลัง, สตง.= ตรวจสอบการเสียภาษีหรือการปฏิบัติตาม/ผิดกฎหมายอื่น
ลูกค้า (customers) = พิจารณาว่าการกําหนดราคาขององค์กรว่าสมเหตุผลหรือไม่
ผู้จัดจําหน่าย (supplier) = ประมาณความต้องการสินค้าที่ตนจัดจําหน่ายขององค์กร
สหภาพแรงงาน/ลูกจ้าง = พิจารณาการกําหนดค่าแรง สวัสดิการ หรือความมั่นคงขององค์การ
เจ้าหนี้ (creditor) = พิจารณาการให้สินเชื่อเพิ่มเติมแก่องค์กร
เจ้าของ (owner) = พิจารณาการลงทุนเพิ่มหรือตัดสินใจในเรื่องอื่นๆ

งบดุลเปนรายงานทางการเงินแสดงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ เวลาหนึ่ง มักเปน ณ วันใดวันหนึ่ง อาจอยูในรูปของรายงาน (Report form) หรือบัญชี (account form) โดยแสดงข้อมูลทรัพยากรที่องค์กรมีอยู่ หนี้สินที่ผูกพันและส่วนของเจ้าของกิจการ

สินทรัพย (Assets) หมายถึงทรัพยากรทางเศรษฐกิจทั้งที่มีและไม่มีตัวตนแตต้องสามารถประมาณค่าได้องค์กรเป็นเจ้าของสินทรัพย์เพื่อก่อประโยชนตอกิจการขององค์กร
หนี้สิน (Liabilities) หมายถึง หนี้ที่องค์กรมีพันธะต้องชดใช้แก่บุคคลภายนอกในรูปเงินสดสินค้า/บริการ หรือสิ่งอื่นๆ ภายในเวลาที่กําหนดตกลงกัน
ส่วนของเจ้าของ (Owners’ equity)หมายถึง ส่วนของผู้เป็นเจ้าของกิจการคำนวณโดยนําหนี้สินหักออกจากสิทรัพย์
ทั้ง 3 องค์ประกอบมีความสัมพันธ์ดังสมการที่ 1 และแบ่งเป็นรายการย่อย ดังตารางที่ 3

สินทรัพย = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ .............. สมการที่ 1

งบกําไรขาดทุน

งบกําไรขาดทุนเป็นงบแสดงผลการดําเนินงานของกิจการภายในรอบระยะเวลาบัญชี (ซึ่งมักเป็น 1 ป) ว่ามีรายได (revenue) และค่าใชจ่าย (expense) และกําไรสุทธิ (net profit) /ขาดทุนสุทธิ (net loss)เท่าใดหรือกล่าวได้ว่าเป็นการเปรียบเทียบความสําเร็จ (รายไดหรือยอดขาย)
รายได = สินทรัพยซึ่งองค์กรได้รับจากการขายสินค้า/บริการให้กับลูกค้ารวมถึงผลตอบแทนจากการลงทุน (เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผลค่าเช่า) โดยการรับสินทรัพย์นั้นต้องมีผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น (ดูสมการที่ 1) ดังนั้นการที่ลูกหนี้ชําระหนี้ด้วยเงินสดจึงไม่เป็นรายได้เพราะทําให้สินทรัพย์ลูกหนี้ลดลงโดยส่วนของเจ้าของไม่เปลี่ยนแปลง
ค่าใช้จ่าย = ต้นทุนของสินค้า/บริการที่ใช้ไปเพื่อก่อให้เกิดรายได้อาจเป็นการจ่ายในรูปเงินสดหรือเงินเชื่อก็ได้แต่ต้องมีผลให้ส่วนของเจ้าของลดลงดังนั้นการที่องค์กรชําระหนี้ด้วยเงินสดจึงไม่เป็นค่าใช้จ่ายเพราะทําใหหนี้สินขององค์กรลดลงโดยส่วนของเจ้าของไม่เปลี่ยนแปลง
กําไรสุทธิ = ส่วนของรายได้ทั้งหมดที่สูงกว่าค่าใช้จ่ายทั้งหมดในระหว่างงวดบัญชีเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างงบดุลและงบกําไรขาดทุนจะเห็นได้ว่างบกําไรขาดทุนเป็นตัวเชื่อมระหว่างงบดุลของของ 2 ปีต่อกันดังภาพที่ 2 และเขียนความสัมพันธ์ได้ดังสมการที่ 2-4

งบดุล งบกําไรขาดทุน
ณ วันที่ 30 กันยายน 2543 ประจําป สิ้นสุด 30 กันยายน 2544
สินทรัพยxxx   รายได xxx
หนี้สิน xxx   ขายบริการ xxx
ส่วนของเจ้าของ xxx รายได้อื่นๆ xxx
รวมหนี้สินและส่วนของเจ้าของ xxx ค่าใช้จ่าย
ค่าแรง xxx
ต้นทุน xxx
กําไรสุทธิ xxx

สินทรัพย์ =หนี้สิน+ส่วนของเจ้าของ+กำไร/ขาดทุนสุทธิ.... สมการที่ 2
(กรณีกำไร) = หนี้สิน+ส่วนของเจ้าของ+(รายได้ >ค่าใช่จ่าย) ... สมการที่ 3
(กรณีขาดทุน) = หนี้สิน+ส่วนของเจ้าของ - (รายได้ < ค่าใช้จ่าย)... สมการที่ 4


วิธีการบันทึกรายการค้าทางการบัญชี
1.บัญชีประเภทสินทรัพย์รายการค้าที่ทําให้สินทรัพย์เพิ่มขึ้นให้ลงบัญชีทรัพย์สินทางด้านเดบิตหากทําให้สินทรัพย์ลดลงให้ลงบัญชีด้านเครดิตเช่นบัญชีลูกหนี้เป็นบัญชีประเภทสินทรัพย์ถ้าองค์กรมีลูกหนี้เพิ่มให้เดบิตบัญชีลูกหนี้ถ้าลูกหนี้นํามาเงินมาชําระให้เครดิตบัญชีลูกหนี้
2.บัญชีประเภทหนี้สินเป็นการลงบัญชีตรงข้ามกับบัญชีประเภทสินทรัพย์ถ้ารายการค้าทําให้หนี้สินเพิ่มขึ้นให้ลงบัญชีทรัพย์สินทางด้านเครดิตถ้าทําให้หนี้สินลดลงให้เดบิตบัญชีเช่นบัญชีเจ้าหนี้การค้าถ้าองค์กรซื้อสินค้าเงินเชื่อก็เครดิตบัญชีเจ้าหนี้เมื่อชําระค่าสินค้าแล้วหนี้ลดลงก็เดบิตบัญชีเจ้าหนี้กาค้า
3.บัญชีประเภทส่วนของเจ้าของเป็นการลงบัญชีประเภทเดียวกับบัญชีประเภทหนี้สินเช่นบัญชีทุนถ้าองค์กรนําเงินมาลงทุนให้เครดิตบัญชีเมื่อลดทุนให้เดบิต
4.บัญชีประเภทรายได้เมื่อรายได้เพิ่มให้เครดิตบัญชีรายได้หากรายได้ลดลงให้เดบิตบัญชีเช่นบัญชีรายได้ค่าเช่าถ้าองค์กรได้รับรายได้จากการให้เช่าอาคารก็เครดิตบัญชีรายได้ค่าเช่า
5.บัญชีประเภทค่าใช้จ่ายเป็นการลงบัญชีตรงข้ามกับบัญชีประเภทรายได้ เนื่องจากค่าใช้จ่ายทําให้ส่วนของเจ้าของลดลงเมื่อมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจึงลงรายการทางด้านเดบิตหากมีรายการที่ทําให้ค่าใช้จ่ายลดลงให้เครดิตบัญชีค่าใช้จ่ายประเภทนั้นๆเช่นบัญชีคาโฆษณา



การบัญชีสําหรับการผลิต



การบัญชีต้นทุนเป็นวิธีการบัญชีที่นําข้อมูลที่บันทึกไว้จากบัญชีการเงินมาคํานวณต้นทุนการผลิตสินค้า/บริการ ซึ่งมีเหตุผล 3 ประการที่ต้องการทราบต้นทุนการผลิตดังนี้
1.ต้ทุนสินค้/บริการเป็นข้มูลสําคัญต่การตัดสินใจทางการตลาดดังนี้
1.1 ตั้งราคาขาย
1.2 ตัดสินใจว่าจะซื้อหรือผลิตเอง
1.3 ตัดสินใจขยายสายผลิตภัณฑ
1.4 ตัดสินใจยกเลิกสายผลิตภัณฑ
2.ต้นทุนสินค้า/บริการเป็นข้อมูลสําคัญในการควบคุมต้นทุนไม่ว่าจะเป็นองค์กรหวังผลกําไรหรือไม่ก็ตาม
3.ต้นทุนสินค้า/บริการเป็นข้อมูลสําคัญในการตีราคาสินค้าคงเหลือจึงเป็นข้อมูลที่สําคัญต่อการจัดทํางบการเงินสินค้าคงเหลือของการผลิตซึ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนที่แสดงอยู่ในงบดุล มี 3 รายการคือ
1.วัตถุดิบ (raw material) แสดงในราคาทุน
2.งานระหว่างทํา (work in process) ประกอบด้วยต้นทุนวัตถุดิบและต้นทุนในการแปลงสภาพ(conversion cost)
3.สินค้าสําเร็จรูปแสดงด้วยราคาทุนในการผลิตต้นทุนสินค้า/บริการประกอบด้ย
1.สินค้าสำร็จรูปแสดงด้ยราคาทุนในการผลิตต้นทุนสินค้า/บริการประกอบด้วย
2.ต้นทุนแปลงสภาพค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อแปลงวัตถุดิบให้เป็นสินค้าประกอบด้วย
2.1ค่าเรงทางตรง = ค่าแรงที่ติดตามได้ว่าเกิดขึ้นในการผลิตขั้นตอนใดในกระบวนการผลิต
2.2 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ = ส่วนที่ไม่สามารถจัดอยู่ในข้อ 1 หรือ 2.1 ได เช่นวัตถุดิบทางอ้อม2 ค่าแรงทางอ้อม3 ค่าเสื่อมราคาโรงงานและอุปกรณ์ต้นทุนสินค้า/บริการในงบกําไรขาดทุนมักแสดงเป็นรายการต้นทุนสินค้า/บริการที่ขายเพียงรายการเดียวแล้วขยายความเพิ่มเติมในรูปของงบประกอบเพื่อไมให้กินเนื้อที่จนเป็นงบการเงินที่ยาวมากโดยมีทางเดินของต้นทุน

บัญชีแยกประเภทที่ใช้ในระบบบัญชีต้นทุนมีอย่างน้อยที่สุด 5 บัญชีคือ
1. บัญชีวัตถุดิบ
เนื่องจากการผลิตสินค้า หมายถึง กระบวนการในการนำวัตถุดิบมาทำการแปรสภาพให้กลายเป็นสินค้าสำเร็จรูป ดังนั้น วัตถุดิบจึงถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการผลิตสินค้า และเป็นต้นทุนส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับต้นทุนอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ ฝ่ายบริหารขอกกิจการจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ความสนใจในการควบคุมวัตถุดิบ เริ่มตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบ การเก็บรักษา ตลอดจนการเบิกจ่ายวัตถุดิบ ทั้งนี้เพื่อมิให้ต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้นเนื่องจากขาดประสิทธิภาพในการจัดการเกี่ยวกับวัตถุดิบ
ในปัจจุบัน เป้าหมายสำคัญของธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตประการหนึ่ง คือ พยายามใช้ต้นทุนของวัตถุดิบให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงได้มีการนำเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ เข้ามาใช้ในการบริหารวัตถุดิบ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการวางแผนและควบคุมการจัดซื้อ การเบิกใช้ ตลอดจนการคำนวณต้นทุนวัตถุดิบ นอกจากนี้ยังได้มีการใช้หลักการเกี่ยวกับการจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อให้เกิดความประหยัดมากที่สุด (Economic order quantity) เป็นต้น ซึ่งการอธิบายในบทนี้ จะขอแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ในการของการจัดการด้านบัญชีและการคำนวณต้นทุนของวัตถุดิบ และอีกส่วนหนึ่งคือ การวางแผนและการควบคุมวัตถุดิบ

ความหมายและประเภทของวัตถุดิบ

• วัตถุดิบทางตรง (Direct Materials) คือ วัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญในการผลิตสินค้า สามารถชี้ได้ชัดว่าใช้ผลิตสินค้าชนิดใด เป็นจำนวนเท่าไหร่ และสามารถคำนวณมูลค่าต่อการผลิตสินค้าหนึ่งหน่วยได้โดยง่าย เช่น ไม้ที่นำมาใช้เป็นเฟอร์นิเจอร์ กระดาษที่ใช้ในการพิมพ์หนังสือ ผ้าที่นำมาตัดเสื้อ เป็นต้น
• วัตถุดิบทางอ้อม (Indirect Materials) คือ วัตถุดิบที่ใช้เป็นเพียงส่วนประกอบ หรืออาจเป็นส่วนสำคัญแต่ใช้ในปริมาณที่น้อย มีมูลค่าต่ำ ยากแก่การคำนวณเข้าสู่สินค้าโดยตรง ดังนั้น ค่าวัตถุดิบทางอ้อม จึงถือเป็นค่าใช้จ่ายการผลิต ซึ่งได้แก่ กาว ตะปู สี ด้าย หรือวัสดุสิ้นเปลืองอื่นๆ

2. บัญชีค่าแรง
แรงงาน หมายถึง ค่าจ้าง (Wages) และ เงินเดือน (Salaries) ที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือพนักงานของกิจการ โดยทั่วไป ค่าจ้างมักหมายถึง การจ่ายค่าแรงให้แก่ลูกจ้างชั่วคราว หรือพนักงานที่ได้รับค่าตอบแทนรายวัน รายชั่วโมง หรือต่อหน่วยของการผลิตสินค้า ส่วนเงินเดือนมักเป็นการจ่ายแก่พนักงานประจำ โดยค่าแรงสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
ค่าแรงงานทางตรง หมายถึง ต้นทุนของค่าแรงงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรง และสามารถคิดคำนวณมูลค่าได้โดยง่าย
ค่าแรงงานทางอ้อม หมายถึง ต้นทุนของค่าแรงงานที่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น ค่าแรงงานของพนักงานคุมเครื่องจักร หัวหน้าคนงาน ผู้จัดการโรงงาน เป็นต้น โดยค่าแรงงานทางอ้อมเหล่านี้ จัดเป็นค่าใช้จ่ายทางการผลิต

3. บัญชีค่าใช้จ่ายโรงงาน
4. บัญชีงานระหว่างทํา
5. บัญชีสินค่าสําเร็จรูป
2 รายการย่อยที่ไม่อาจระบุเข้าผลิตภัณฑ์ได้หรือไม่ประหยัดที่จะทําเช่นกระดาษทรายสีในการผลิตเฟอร์นิเจอร
3 ค่าแรงที่ไม่ได้เกิดโดยตรงในการผลิตผลิตภัณฑเช่นเงินเดือนผู้จัดการเพราะไม่ได้เป็นผู้ผลิตโดยตรงแต่ควบคุมดูแลให้การผลิตดําเนินไปได้



แนวข้อสอบกลางภาค

ใครทำแบบฝึกหัดได้ก็ทำข้อสอบได้นะ
1. ให้แบ่งประเภทของค่าใช้จ่ายว่าแต่ละค่าใช่จ่ายเป็นต้นทุนประเภทไหน เช่น
เงินเดือนผู้จัดการ เป็นต้นทุนคงที่,เป็นเป็นต้นใรการบริหาร
2. ดูแบบฝึกหัดจะเป็นเรื่องการหา POHR จะให้งานมาแล้วหาต้นทุนของแต่ละงานแล้วจะถามว่างานที่ทำเสร็จมีต้นทุนเท่าไรจะขายได้กำไรเท่าไรงานที่ทำไมเสร็จคืนงานอะไรต้นทุนเท่าไร (ดูแบบฝึกหัดข้อ 3-45 หน้า 121)
3. เป็นเรื่องหนวบเทียบสำเร็จรูปดูแบบฝึดหัดข้อ( 4-28หน่า 161,4-31หน้า163)
4. ต้นทุนตามฐานกิจกรรม ABC เหมือนแบบฝึกหัดเช่นกัน
สรุปดูแบบฝึกหัดให้ดีๆๆก็จะทำได้นะ

การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน

จุดคุ้มทุน หมายถึง จุดการดำเนินงานที่กิจการไม่มีกำไร และไม่ขาดทุน การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนสามารถวิเคราะห์ได้ 3 วิธี คือ
1.วิธีการใช้สมการ (The equation approach)
2.วิธีกำไรส่วนเกิน (The contribution approach)
3.วิธีแผนภาพ (The graphical approach)

เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจของกิจการประเภทต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ก็จะขออธิบายและยกตัวอย่างประกอบในแต่ละวิธีดังต่อไปนี้
1.วิธีการใช้สมการ (The Equation Approach) เป็นการใช้สมการขั้นพื้นฐานของการคำนวณต้นทุนมาทำการประยุกต์ กล่าวคือ
ยอดขาย = ต้นทุนผันแปร + ต้นทุนคงที่ + กำไรสุทธิ
หรือเขียนเป็นสัญลักษณ์
S = VC + FC + NI

ดังนั้น ณ จุดคุ้มทุนก็คือ :

S = VC + FC + o
ถ้ากำหนดให้ X = ปริมาณหน่วยที่ผลิตและจำหน่ายเราก็สามารถเขียนสมการได้ในอีกลักษณะหนึ่ง คือ
PX = VX – FC

ด้วยเหตุนี้การหาจุดคุ้มทุนในลักษณะที่เป็นจำนวนเงินก็คือค่า S แต่ถ้าต้องการหาจุดคุ้มทุนในลักษณะของการคำนวณหน่วยก็คือค่า X

ตัวอย่างของบริษัท ABC จำกัดขายสินค้าราคาขายต่อหน่วย (P) = 25 บาท ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย (V) = 10 บาท และต้นทุนคงที่ (FC) = 15,000 บาท ดังนั้น เราสามารถแทนค่าในสมการได้โดย

PX = VX – FC
25x = 10x + 15,000
25x – 10x = 15,000
(25 - 10)x = 15,000
15x= 15,000
x= 15,000 / 15
x = 1,000 หน่วย

ดังนั้นจุดคุ้มทุนของบริษัท ABC จำกัด ก็จะเท่ากับ 1,000 หน่วย

2. วิธีการกำไรส่วนเกิน (The Contribution Margin Approach)
การใช้แนวคิดเกี่ยวกับกำไรส่วนเกิน ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เราสามารถนำมาทำการคำนวณจุดคุ้มทุนได้โดยง่าย และเป็นวิธีที่นิยมใช้กันค่อนข้างมาก ดังสูตรต่อไปนี้

จุดคุ้มทุน (หน่วย)=ต้นทุนคงที่
กำไรส่วนเกินต่อหน่วย

หรือเขียนเป็นสัญลักษณ์
X(BE)=FC
UCM

ถ้าต้องการที่จะได้คำตอบจากการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนในรูปของจำนวนเงิน ก็สามารถที่จะคำนวณได้จาก
จุดคุ้มทุน (บาท) = จุดคุ้มทุน (หน่วย) x ราคาขายต่อหน่วย

หรือ จุดคุ้มทุน(บาท) = ต้นทุนคงที่
อัตรากำไรส่วนเกิน
เขียนเป็นสัญลักษณ์

S(BE) = FC
CMR

จากตัวอย่างเดิมกำไรส่วนเกินต่อหน่วยก็จะเท่ากับ 15 บาท (25 - 10) และอัตรากำไรส่วนเกิน 60% ดังนั้น เราสามารถวิเคราะห์จุดคุ้มทุนได้จาก

จุดคุ้มทุน(หน่วย)= 15,000 / 15
= 1,000 หน่วย

จุดคุ้มทุน(บาท)= 1,000 x 25
= 25,000 บาท

หรือ จุดคุ้มทุน(บาท) = 15,000
.60
= 25,000 บาท
3. วิธีแผนภาพ (The Graphical Approach) เป็นวิธีการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนด้วยแผนภาพหรือแผนภูมิ ซึ่งบางครั้งเราก็จะเรียกว่าแผนภาพจุดคุ้มทุน (Break – even chat) ดังแสดงในรูปที่ 4 – 1 ข้อมูลเกี่ยวกับยอดขาย ต้นทุนผันแปร ต้นทุนคงที่ ก็จะถูกกำหนดบนแกนตั้ง ในขณะที่ปริมาณหรือจำนวนหน่วยจะถูกกำหนดลงบนแกนนอน จุดคุ้มทุน ก็คือ จุดที่เส้นของยอดขายและเส้นของต้นทุนรวมตัดกัน นอกจากนี้ในการวิเคราะห์เกี่ยวกับกำไร ซึ่งเราเรียกว่า แผนภาพกำไร (The profit – volume chart) ดังแสดงในรูปที่ 4 – 2 ได้แสดงเน้นลงไปในเรื่องของกำไรของกิจการว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ไปตามปริมาณได้อย่างไร โดยกำหนดให้แกนตั้งเป็นตัวเลขของกำไร ในขณะที่แกนนอนจะเป็นตัวเลขของปริมาณ ให้สังเกตว่า ความชัน (slope) ของเส้นในแผนภาพ ก็คือ กำไรส่วนเกินต่อหน่วยนั้นเอง





ที่มา //www.geocities.com/mppm6055

ต้นทุนมาตรฐานและการวิเคราะห์ผลต่าง

ประเด็นสำคัญประการหนึ่งของการใช้ระบบบัญชีตามความรับผิดชอบก็คือ การกำหนดต้นทุนมาตรฐาน และการประเมินผลงานโดยนำต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงมาทำการเปรียบเทียบกับต้นทุนมาตรฐาน ซึ่งผลแตกต่างระหว่างต้นทุนจริงและต้นทุนมาตรฐานนั้น เรียกว่า “ผลต่าง” (Variance) โดยสามารถวิเคราะห์ได้จากศูนย์ต้นทุนต่าง ๆ และผลต่างที่วิเคราะห์ได้นี้เองก็กลายเป็นเครื่องมือของผู้บริหารในการ ใช้ประเมินผลงานของศูนย์ต้นทุนนั้น ๆ
ต้นทุนมาตรฐาน (Standard Cost) จะถูกกำหนดขึ้นภายใต้หลักเกณฑ์ทางกายภาพ (Physical) และ จำนวนเงิน โดยในการกำหนดต้นทุนมาตรฐานก็จะนำปริมาณมาตรฐาน (Standard quantity) ที่จะใช้ในการผลิต คูณกับราคามาตรฐาน (Standard price) และโดยทั่วไปในการวิเคราะห์ผลต่างก็จะได้ผลต่าง อยู่ 2 ชนิดคือ ผลต่างทางด้านราคา (Price Variance) และผลต่างทางด้านปริมาณ (Quantity) การคำนวณหาผลต่างดังกล่าวสามารถกำหนดได้จากสูตรดังนี้
ก)
ผลต่างทางด้านราคา = ปริมาณจริง x (ราคาจริง - ราคามาตรฐาน)
หรือ Price variance = Actual Quantity x (Actual price - Standard price)
= AQ x (AP - SP)
= (AQ x AP) - (AQ x SP)

ข)
ผลต่างทางด้านปริมาณ = (ปริมาณจริง - ปริมาณมาตรฐาน) x ราคามาตรฐาน
หรือ Quantity variance = (Actual quantity - Standard quantity) x Standard price
= (AQ - SQ) x SP
= (AQ x SP) - (SQ x SP)

รูปที่ 2 ได้แสดงรูปแบบทั่วไปสำหรับการวิเคราะห์ผลต่างของศูนย์ต้นทุนในกิจการต่าง ๆ และมีข้อสังเกตที่สำคัญ 3 ประการดังนี้
1. ผลต่างทางด้านราคา และผลต่างทางด้านปริมาณนี้สามารถใช้ในการวิเคราะห์ต้นทุนผันแปรทั้ง 3 ชนิดได้คือ วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรงและค่าใช้จ่ายโรงงานส่วนที่ผันแปรเพียงแต่ชื่อที่ใช้เรียกผลต่างนั้น ๆ ก็จะมีความแตกต่างกันออกไปบ้างเช่น ถ้าเป็นผลต่างทางด้านราคาก็จะเรียกได้เป็น ผลต่างทางด้านราคาวัตถุดิบ ผลต่างทางด้านอัตราค่าจ้างแรงงานและผลต่างทางด้านการใช้จ่ายค่าใช้จ่ายโรงงานผันแปร (Variable Overhead spending Variance) เป็นต้น
2. ผลต่างที่วิเคราะห์ได้จะถือว่า “ไม่น่าพอใจ” (Unfavorable = U) ก็ต่อเมื่อราคาจริง (AP) หรือปริมาณจริง (AQ) สูงกว่าราคามาตรฐาน (SP) หรือปริมาณมาตรฐาน (SQ) แต่ถ้าผลต่างที่วิเคราะห์ได้เกิดจาก ราคาจริง (AP) หรือปริมาณจริง (AQ)ต่ำกว่าราคามาตรฐาน (SP) หรือปริมาณมาตรฐาน (SQ) ก็จะถือเป็นผลต่างที่ “น่าพอใจ” (Favorable = F)
3. ปริมาณมาตรฐานที่ควรจะเป็นตามผลผลิตจริง (The standard quantity allowed for output) จะเป็นแนวคิดหลักสำหรับการวิเคราะห์ผลต่าง


รูปที่ 2 แสดงรูปแบบของการวิเคราะห์ผลต่างของศูนย์ต้นทุน

ผลต่างทางด้านวัตถุดิบ (Materials variances)
ผลต่างทางด้านราคาวัตถุดิบที่ซื้อ จะเกิดขึ้นเมื่อกิจการได้ทำการซื้อวัตถุดิบ ในการคำนวณก็จะใช้ ราคาวัตถุดิบที่ซื้อจริงและปริมาณวัตถุดิบที่ซื้อจริงเป็นเกณฑ์ โดยปกติแผนกจัดซื้อ ก็จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ เกี่ยวกับผลต่างทางด้านราคาวัตถุดิบที่เกิดขึ้น ส่วนการคำนวณผลต่างทางด้านปริมาณการใช้วัตถุดิบที่ใช้จริง ซึ่งแผนกผลิตก็จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับผลต่างทางด้านปริมาณการใช้วัตถุดิบที่เกิดขึ้น

ตัวอย่างที่ 1
บริษัท อินทรา จำกัด ได้ใช้ระบบต้นทุนมาตรฐานโดย มีต้นทุนผันแปรมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์ A ดังต่อไปนี้
วัตถุดิบ : 2 ปอนด์ ๆ ละ 3 บาท
ค่าแรงงาน : 1 ชั่วโมง ๆ ละ 5 บาท
ค่าใช้จ่ายโรงงานผันแปร : 3 บาทต่อชั่วโมงแรงงาน
ในระหว่างเดือนมีนาคม บริษัทได้ทำการซื้อวัตถุดิบทั้งสิ้น 25,000 ปอนด์เป็นเงิน 74,750 บาท และวัตถุดิบได้ถูกใช้ในการผลิต 20,750 ปอนด์สำหรับการผลิตสินค้า A จำนวน 10,000 หน่วย ค่าแรงงานทางตรงเกิดขึ้นทั้งสิ้นเท่ากับ 49,896 บาท (10,080 ชั่วโมง) และส่วนค่าใช้จ่ายโรงงานผันแปรเกิดขึ้นเท่ากับ 34,776 บาท จงวิเคราะห์ผลต่างของวัตถุดิบที่เกิดขึ้นในระหว่างเดือนมีนาคมของบริษัท อินทรา จำกัด
ผลต่างทางด้านราคาวัตถุดิบที่ซื้อ = AQ(AP - SP) = (AQx AP) – (AQ x SP)
Materials purchase price variance)
= 25,000 ปอนด์ (2.99 บาท - 3.00 บาท)
= 74,750 บาท - 75,000 บาท
= 250 บาท (F) [F = Favorable พอใจ เพราะราคาต่ำกว่าที่ตั้งไว้]


ผลต่างทางด้านปริมาณการใช้วัตถุดิบ
(Materials quantity (usage) variance) = (AQ – SQ) SP=(AQ xSP)–(SQ x SP)
=(20,750ปอนด์–20,000*ปอนด์)(3.00 บาท)
= 62,250 บาท - 60,000 บาท
= 2,250 บาท (U) [ U = Unfavorable ไม่ พอใจ เพราะใช้วัตถุดิบสูงกว่าที่ตั้งไว้ ]
* สินค้าที่ผลิตได้ 10,000 หน่วย โดยการผลิตสินค้าสำเร็จรูป 1 หน่วยต้องใช้วัตถุดิบ 2 ปอนด์
จากการคำนวณผลต่างดังกล่าว เราจะสังเกตได้ว่าปริมาณการซื้อและการใช้วัตถุดิบในที่นี้มีจำนวนไม่เท่ากัน ดังนั้นการหาผลต่างรวมของวัตถุดิบด้วยแผนภาพต่อไปนี้ (รูปที่ 3) จึงไม่สามารถที่จะแสดงได้ด้วยการนำ (AQ x AP) – (SQ x SP)



รูปที่ 3 แสดงการวิเคราะห์ผลต่างทางด้านวัตถุดิบ
ผลต่างทางด้านแรงงานแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ผลต่างทางด้านอัตราค่าจ้างแรงงาน และ ผลต่างทางด้านประสิทธิภาพแรงงาน ซึ่งผลต่างทั้ง 2 ประเภทนี้จะเกิดขึ้นพร้อมกันทันที่ที่กิจการมีการใช้ แรงงานในการผลิต โดยฝ่ายผลิตจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อการเกิดผลต่างทั้ง 2 ประเภท เพื่อจะได้ ทราบแนวทางใน การวิเคราะห์หาสาเหตุความบกพร่องในการใช้แรงงานเพื่อการผลิตต่อไป
ตัวอย่างที่ 2
จากข้อมูลเดิมในตัวอย่างที่ 1 การวิเคราะห์ผลต่างทางด้านแรงงานสามารถทำการวิเคราะห์ได้ด้วยการคำนวณ และแผนภาพดังต่อไปนี้ข้อ
ผลต่างทางด้านอัตราค่าจ้างแรงงาน = AH(AR - SR)
(Labor rate variance) = (AH x AR) – (AH x SR)
= (10,080 ชั่วโมง) (4.95 บาท – 5.00 บาท)
= 49,896 บาท - 50,400 บาท
= 504 บาท (F)[F = Favorable พอใจ เพราะ ค่าแรงจริงต่ำกว่าที่ตั้งไว้]
ผลต่างทางด้านประสิทธิภาพแรงงาน = (AH - SH)SR
(Labor efficiency variance)
=(10,080 ชั่วโมง – 10,000*ชั่วโมง)x 5.00 บาท
= 50,400 บาท - 50,000 บาท
= 400 บาท (U)[ U = Unfavorable ไม่พอใจ เพราะ ทำงานนานกว่าที่ตั้งไว้]
* ในการผลิตสินค้าสำเร็จรูป 1 หน่วยต้องใช้เวลา 1 ชั่วโมง ดังนั้นในเดือนมีนาคมนี้กิจการทำ การผลิต 10,000 หน่วยก็ควรจะใช้เวลา 10,000 ชั่วโมงตามมาตรฐาน
หมายเหตุ : AH = จำนวนชั่วโมงแรงงานจริง SH = จำนวนชั่วโมงแรงงานมาตรฐาน
AR = อัตราค่าจ้างแรงงานจริง SR = อัตราค่าจ้างแรงงานมาตรฐาน



รูปที่ 4 แสดงวิเคราะห์ผลต่างทางด้านแรงงาน
ผลต่างทางด้านค่าใช้จ่ายโรงงานผันแปร (Variable factory overhead variances)
ผลต่างทางด้านค่าใช้จ่ายโรงงานผันแปร สามารถที่จะทำการคำนวณได้ง่าย ๆ เช่น เดียวกับการหา ผลต่างทางด้านแรงงาน โดยทั่วไปแล้วแผนกผลิตก็จะเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับผลต่างชนิดนี้ที่เกิดขึ้น สำหรับผลต่างทางด้านค่าใช้จ่ายโรงงานคงที่ก็สามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการควบคุมให้เกิดประสิทธิภาพได้ แต่ตามปกติแล้วผลต่างประเภทนี้ก็มักจะอยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของฝ่ายผลิต

ตัวอย่างที่ 3
จากข้อมูลในตัวอย่างที่ 1 เราสามารถนำมาทำการวิเคราะห์ปาผลต่างทางด้านค่าใช้จ่ายโรงงานผันแปรได้ดังนี้
ผลต่างทางด้านการใช้จ่ายค่าใช้จ่ายโรงงานผันแปร
(Variable overhead spending variance)
= AH(AR - SR) = (AH x AR) - (AH x SR)
= (10,080 ชั่วโมง) (3.45 บาท - 3.00 บาท)
= 34,776 บาท - 30,240 บาท
= 4,536 บาท(U)

ผลต่างทางด้านประสิทธิภาพค่าใช้จ่ายโรงงานผันแปร = (AH - SH)SR
(Variable Overhead efficiency variance)
= (10,080 ชั่วโมง – 10,000*ชั่วโมง) (3.00 บาท)
= 30,240 บาท - 30,000 บาท
= 240 บาท(U)

* เมื่อกิจการทำการผลิต 10,000 หน่วยและมีชั่วโมงการผลิตมาตรฐาน 1 หน่วยต่อ 1 ชั่วโมงดังนั้นเวลาที่ใช้ในการผลิตตามมาตรฐานจึงเท่ากับ 10,000 ชั่วโมง
หมายเหตุ :
AH = จำนวนชั่วโมงแรงงานจริง SH = จำนวนชั่วโมงแรงงานมาตรฐาน
AR = อัตราค่าใช้จ่ายโรงงานผันแปรจริง SR = อัตราค่าใช้จ่ายโรงงานผันแปรมาตรฐาน
หรือ สามารถวิเคราะห์ผลต่างในลักษณะแผนภาพก็ได้เช่นเดียวกัน ดังในรูปที่ 5



รูปที่ 5 แสดงการวิเคราะห์ผลต่างทางด้านค่าใช้จ่ายโรงงานผันแปร

เอกสารเพิ่มเติม
ต้นทุนมาตรฐานและการวิเคราะห์ผลต่าง( โดย.. ธนิดา ภู่แดง )
   คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี


แนวข้อสอบปลายภาค
1. จุดคุ้มทันจะเป็นธุรกิจบริการซึ่งที่ผ่านมาอาจารย์จะให้ทำแบบฝึกหัดเป็นการผลิตสินค้าโดยอาจารย์จะให้ข้อมูลเกียวกับโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ซึ่งเปิดให้บริการ 60 เตียงนอน โดยจะมีถึงต้นทุนคงที่(ต่อเตียงนอน)และต้นทุนผันแปร(ต่อวันนอน) และก็จำบอกว่าโดยต้นทุนดังกล่าวยังไม่รวมเงินเดือนหมด,พยาบาลและผู้ช่วยพยายาลแต่จำนวนหมด,พยายาลและผู้ช่วยพยาบาลขึ้นอยู่กับจำนวนวันนอนซึ่งอาจารย์จะให้ ช่วงของวันนอนว่า
0-20,001จะมีหมอ..2คน....มีพยาบาล ....3คน...มีผู้ช่วย....3คน
แล้วก็บอกต่อว่าโรงพยาบาลเปิดให้บริการ 365 วันต่อปี โดยมีรายได้ปีที่ผ่ามา 12,000,000 บาท ซึ่งเฉลี่ยแล้วจะมีรายได้วันละ 600 บาท
1. ให้หาจำนวนวันนอน
2. ให้หาจุดคุ้มทุนเป็นวันนอนและเป็นบาท
3. ให้ห้ส่วนเกินปลอดภัย


2. ให้หาผลต่างของ DM,DL (ดูแบบฝึกหัด)
3. ให้หาผลต่างของ V.MOH,F.MOH (ดูแบบฝึกหัด)
4. ให้โจทย์มาจะมีอัตราดอกเบี้ยมูลค่าตลาดของหุ้นราคาตามบัญชีของหุ้นและอัตราการจ่ายเงินปันผล อัตราภาษีให้คำนวนหา WACC,EVA
5. ให้โจทย์มาจะบอกราคาขาย,ต้นทุนผันแปรและจะบอกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้นจะมีต้นทุนคงที่ .... บาทต่อชัวโมง
ให้หากำไรส่วนเกินต่อหน่วย,จะผลิตสินค้าตัวไหนก่อน,และผลิดได้เท่าไรต้องซื้อเท่าไร





Create Date : 04 ตุลาคม 2550
Last Update : 20 มกราคม 2551 17:25:32 น. 8 comments
Counter : 5793 Pageviews.

 
คนชื่อน้องเกตุใครส่งเข้าประกวดนะ


โดย: ม๋อมแม๋ม IP: 203.146.63.182 วันที่: 1 พฤศจิกายน 2550 เวลา:22:52:04 น.  

 
ขอบคุณพี่มากนะค่ะ
ได้ความรู้เยอะเลย
ถ้ามีไรเกี่ยวกะบช.
เอาความรู้มาฝากเยอะๆนะค่ะ


โดย: aomaun111+++!*!* IP: 203.172.61.180 วันที่: 15 พฤศจิกายน 2550 เวลา:13:38:42 น.  

 


เก่งจริงเลย Ultra แวะมาชื่นชม!


โดย: DKDC(Tarpae_Mit@Hotmail.com) วันที่: 11 ธันวาคม 2550 เวลา:20:42:37 น.  

 
พี่อธิบายได้ดีมากเลยค่ะสรุปได้ใจความดีว่างๆพี่ก็เอาความรู้มาฝากอีกนะค่ะ ขอบคุณค่ะ


โดย: aung IP: 58.9.35.20 วันที่: 16 ธันวาคม 2550 เวลา:19:19:35 น.  

 
เฉลยขอ้สอบปลายภาคให้หน่อยครับ งงเป็นที่สุด ทำไม่ได้เลย


โดย: เฉลยข้อสอบปลายภาคให้หน่อย IP: 203.144.230.211 วันที่: 21 มกราคม 2551 เวลา:10:51:47 น.  

 
ยากดีนะค่ะ


โดย: *-* IP: 125.25.77.199 วันที่: 13 มีนาคม 2551 เวลา:20:31:22 น.  

 
เก่งจังนะ ถ้าไม่รบกวนขอข้อมูล ระบบ WIP ใน Standard Cost System เพิ่มเติมด้วยนะครับ

แต่ยังงัยก็ขอบคุณครับ



โดย: หลงเอ๋อ IP: 202.91.18.204 วันที่: 19 กรกฎาคม 2551 เวลา:23:37:07 น.  

 
ขอบคุณครับ ชอบมากๆ ให้ความรู้คนโง่อย่างผมเยอะเลย


โดย: เต้ย IP: 58.8.58.183 วันที่: 8 กันยายน 2551 เวลา:1:36:29 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

น้ำพริกหมูหวาน
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




น้องเกตุ

คนสวย


วิภาดา นนทโชติ


Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
4 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add น้ำพริกหมูหวาน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.