Group Blog
 
 
มิถุนายน 2551
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
20 มิถุนายน 2551
 
All Blogs
 
ผลกระทบของการมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ต่อสุขภาพ



การบริโภคอาหาร-เครื่องดื่ม ที่มีปริมาณไขมัน-น้ำตาลสูงเกินไป กำลังแพร่ขยายเพิ่มขึ้น ทำให้ปัญหาเรื่องการ มีน้ำหนักตัวมากเกินไป มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และอาจก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ ที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เนื่องจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆมากมาย เช่น


การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
ผู้มีน้ำหนักตัวมากเกินไปมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตสูงกว่าปกติิมากขึ้นเรื่อยๆ ตามน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น
คนอ้วนมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรสูงกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวปกติ ~50-100%
โรคระบบหัวใจ
ผู้มีน้ำหนักตัวมากเกินไปมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจหลายโรคได้แก่ โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจวาย และ การเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันจากโรคหัวใจ
คนอ้วนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าคนปกติ 2 เท่า
ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบหัวใจจะยิ่งมากขึ้นถ้าพบร่วมกับความเสี่ยงอื่นๆได้แก่
สูบบุหรี่
ความดันโลหิตสูง
ไขมันในเลือดสูง
อายุมากกว่า 45 ปี
โรคเบาหวาน
น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 5-10 กิโลกรัม มีความเสี่ยงต่อ การเกิดโรคเบาหวานมากกว่าเดิม 2 เท่า
มากกว่า 80% ของผู้ป่วยเบาหวานจะมีน้ำหนักตัวมากเกินปกติ
โรคมะเร็ง
ผู้มีน้ำหนักตัวมากเกินไปมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งหลายโรคได้แก่
โรคมะเร็งของเยื่อบุมดลูก
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
โรคมะเร็งของถุงน้ำดี
โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
โรคมะเร็งไต
โรคมะเร็งเต้านม
ผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม 10 กิโลกรัมนับตั้งแต่วัยรุ่น มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านมมากกว่าเดิม 2 เท่า
โรคระบบหายใจ
คนอ้วนมักนอนกรน และเกิดอาการหยุดหายใจระหว่างนอนหลับเป็นพักๆ
คนอ้วนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหอบหืดสูงมากกว่าคนปกติ
โรคระบบทางเดินอาหาร
ตับอักเสบจากไขมัน
หูรูดระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะบีบตัวไม่ดี กรดในกระเพาะจึงท้นขึ้นในหลอดอาหารและลำคอ เกิดความรู้สึกเรอเปรี้ยว
โรคข้อ
น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 1 กิโลกรัม มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อมากกว่าเดิม 10%
อาการของโรคข้อจะดีขึ้นเมื่อลดน้ำหนักลง
โรคในเด็ก
เด็กที่มีน้ำหนักเกิน หรืออ้วน หรืออ้วนมาก ร่างกายจะหลั่งสาร Growth Hormone ลดลง อีกทั้งภาวะน้ำหนักเกิน ยังเร่งให้กระดูกแก่เร็วขึ้น ทั้งสองสาเหตุนี้ทำให้เด็กตัวแคระแกร็น
เด็กที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบหัวใจ และ ระบบหายใจมากกว่าเด็กปกติ
70% ของเด็กที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป จะโตเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วน
โรคในสตรี
ผู้หญิงที่อ้วนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์สูงมากกว่า ผู้หญิงปกติ 10 เท่า
ผู้หญิงที่อ้วนมีความเสี่ยงต่อการมีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ และมีบุตรยากมากกว่าผู้หญิงปกติ
เส้นเลือดขอด
อื่นๆ
ผู้มีน้ำหนักตัวมากเกินไปมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคของถุงน้ำดี ปัสสาวะเล็ด โรคแทรกซ้อนในการผ่าตัด
ลักษณะช่องคอของคนอ้วนจะตีบลงเมื่อเขานอนราบ ทำให้หายใจไม่สะดวก(นอนกรน) ซึ่งหมายคามว่าเขาจะ*หยุดหายใจ*เป็นพักๆ ทำให้ร่างกายต้องตื่นเป็นระยะๆตลอดคืน เพื่อขยับตัวหายใจ คนอ้วนจึงมักนอนไม่เพียงพอและหลับกลางวัน
ความอ้วนไม่เพียงแต่มีผลกระทบต่อสุขภาพเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อคุณภาพในด้านการเรียน การทำงาน
ข่าวดี
ความเสี่ยงต่อโรคที่น่ากลัวเหล่านี้จะเริ่มลดลง
เมื่อน้ำหนักตัวเริ่มลดลงตั้งแต่ 5% ขึ้นไป

เอกสารอ้างอิง

Yanovski SZ, Yanovski JA. Obesity. N Engl J Med 2002;346:591-602
Flier JS: Obesity. In Braunwald E, et al (ed): Harrison’s principles of internal medicine-15th edition. McGraw-Hill
Peeters A, et al. Obesity in adulthood and its consequences for life expectancy: a life-table analysis. Ann Inter Med. 2003; 138:24-32.



Create Date : 20 มิถุนายน 2551
Last Update : 20 มิถุนายน 2551 9:51:33 น. 1 comments
Counter : 3046 Pageviews.

 
โรคอ้วนน่ากลัว ๆๆ ต้องผอมให้ได้ อิอิ

แต่ระยะทางยังอีกไกล เหลืออีกเป็นสิบโล เลยคร้า...


โดย: Madame Kp วันที่: 20 มิถุนายน 2551 เวลา:14:44:29 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

twins
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




จากผู้หญิงรักสวยรักงามมากมายคนหนึ่ง... ที่ต้องเปลี่ยนชีวิตมากเพื่อเป็นแม่ของเด็กแฝดจอมซน <
Friends' blogs
[Add twins's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.