สิ่งที่สำคัญกว่า "จินตนาการ" โดยท่าน ว.วชิรเมธี
ปุจฉา
สิ่งที่สำคัญกว่า “จินตนาการ”


วิสัชนา

ไอน์สไตน์เคยกล่าววรรคทองทางประวัติศาสตร์ไว้ประโยคหนึ่งว่า

“จินตนาการ สำคัญกว่าความรู้”

แต่ผู้เขียนเห็นว่า ควรจะกล่าวเพิ่มเติมให้ข้อความข้างต้นนั้นสมบูรณ์อีกสักประโยคหนึ่งว่า

“แรงบันดาลใจ ยิ่งใหญ่กว่าจินตนาการ”

เพราะก่อนที่คนจะเกิดจินตนาการ ว่ากันว่า อย่างน้อยที่สุด จะต้องมี “บางสิ่งบางอย่าง” มา “กระทบ” ก่อนเสมอ

เมื่อมีบางสิ่งบางอย่างมา “กระทบ” แล้ว จินตนาการซึ่งฝังตัวอยู่ในจิตของเราทุกคนจึงจะ “กระเทือน” และ “แสดงตัว” ออกมาอย่างโดดเด่น

กลับไปดูชีวิตของผู้กล่าวประโยคนี้กันก่อน

ว่ากันว่า ก่อนที่ไอน์สไตน์จะค้นพบทฤษฎีสำคัญๆ อย่างทฤษฎีสัมพัทธภาพเป็นต้นนั้น เมื่อวัยเด็กตอนอายุ ๑๖ ปี วันหนึ่ง เขานอนเล่นอยู่บนสนามหญ้าหลังโรงเรียน ทอดตามองขึ้นสู่ท้องฟ้ากว้างไกลสุดลูกหูลูกตา แล้วเกิดจินตนาการขึ้นมาว่า

“แสงเดินทางด้วยความเร็วสูงสุด ๓๐๐,๐๐๐ กิโลเมตรต่อวินาที ถ้าตัวเราหรือวัตถุต่างๆ เดินทางด้วยความเร็วเคียงคู่ไปกับแสง จะเกิดอะไรขึ้น

อีก ๑๐ ปีต่อมา จินตนาการนี้ ถูกพัฒนากลายเป็นทฤษฎีสัมพัทธภาพอันเลื่องชื่อ และทำให้เจ้าของทฤษฎีกลายเป็น “คนระดับโลก” ไปอย่างไม่น่าเชื่อ



ในทางพุทธศาสนา การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าก็ก่อรูปขึ้นมาจากการได้รับแรงบันดาลใจ แล้วจึงตามมาด้วยจินตนาการเช่นกัน

ย้อนหลังไปไหลจนสุดคณานับ วันหนึ่งอนาคตพุทธของเราซึ่งตอนนั้นมีนามว่า “สุเมธดาบส”ได้ทอดตามองเห็น ชาวเมืองกำลังจัดเตรียมการต้อนรับเสด็จใครสักคนหนึ่งซึ่งคงเป็นคนสำคัญมาก เมื่อตรงเข้าไปถามจึงได้รับคำตอบว่า ในอีกไม่นานนี้ พระทีปังกรพุทธเจ้าจะเสด็จมาโปรดชาวเมือง สุเมธดาบสได้ยินคำว่า “พระพุทธเจ้า” แล้วเกิดความสนใจขึ้นมาทันที ขอมีส่วนร่วมในการรับเสด็จด้วย ชาวเมืองจึงมอบหมายให้ช่วยปรับถนนหนทางให้ราบเรียบ ระหว่างที่สุเมธดาบสปรับถนนอยู่นั้นเอง ขบวนเสด็จของพระพุทธเจ้าทีปังกรก็มาถึง แตทางเสด็จในส่วนของสุเมธดาบสยังไม่เรียบร้อย ท่านจึงตัดสินใจนอนลงแล้วอุทิศแผ่นหลังต่างสะพาน เมื่อพระทีปังกรพุทธเจ้าเสด็จมาถึงและประทับยืนอยู่ใกล้ๆ ตัวท่าน สุเมธดาบสรับรู้ได้ถึง “พุทธบารมี” ที่แผ่พุทธรังสีออกมา จึงเกิดจินตนาการขึ้นมาว่า “ในอนาคต ข้าพเจ้าควรจะได้เป็นพระพุทธเจ้าสักพระองค์หนึ่ง” และนับแต่นั้นเป็นต้นมา หน่ออ่อนแห่งความเป็นสัมมาสัมพุทธะก็เติบโตขึ้นในใจของสุเมธดาบส ทุกภพทุกชาติ ท่านเฝ้าติดตามจินตนาการอันยิ่งใหญ่นี้ และเพียรบำเพ็ญบารมีจนในที่สุดก็สมปรารถนาเมื่อมาเสด็จอุบัติเป็นพระสิทธัตถะโพธิสัตว์ซึ่งต่อมาก็คือ พระโคตมพุทธะผู้เป็นศาสดาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลายในวันนี้นั่นเอง

“แรงบันดาลใจ” ไม่ได้มีอิทธิพลต่อ พระพุทธเจ้าเฉพาะในอดีตชาติเท่านั้น ทว่าแม้แต่ในปัจจุบันชาติ เส้นทางที่ทอดสู่ความเป็นสัมมาสัมพุทธะของพระพุทธองค์ก็เริ่มต้นจากแรงบันดาลใจนี้ด้วยเช่นกัน

ตามพุทธประวัติกล่าวกันว่า วันหนึ่งขณะทรงอยู่ระหว่างการท่องไปยังตรอกซอกซอยถนนน้อยใหญ่ในกรุงกบิลพัสดุ์นั่นเอง ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ จากนั้นทรงจินตนาการว่า “ทำไมคนเราต้องแก่ เจ็บ ตาย และหนีออกไปบวชเป็นสมณะ” ผลของการเพียรหาคำตอบทำให้พระองค์ตัดสินพระทัยออกบวช เพื่อแสวงหาคำตอบที่สมบูรณ์แบบที่สุดสำหรับคำถามแห่งชีวิตนั้น และในที่สุด ปลายทางของการแสวงหาคำตอบก็ทำให้พระองค์สำเร็จเป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า

“จินตนาการสำคัญกว่าความรู้”

ข้อนี้เป็นความจริง แต่นับว่า ยังเป็นประโยคที่ไม่สมบูรณ์นัก ควรเพิ่มเติมอีกประโยคหนึ่งให้สอดคล้องกับสัจธรรมอันนำไปสู่การค้นพบของประดายอดคนของโลกและคนเล็กๆ อย่างเราๆ ทั้งหลายว่า

“แรงบันดาลใจ ยิ่งใหญ่กว่าจินตนาการ”

----------------------------------------------------------------------


ที่มา : //www.dhammajak.net/book-vachiramethi/8.html



Create Date : 07 มกราคม 2552
Last Update : 7 มกราคม 2552 9:58:22 น.
Counter : 513 Pageviews.

4 comments
  
สาธุค่ะ
โดย: ผู้หญิงธรรมดา (damaryllis ) วันที่: 7 มกราคม 2552 เวลา:10:08:08 น.
  
ถูกต้อง

การกระทำสำคัญที่สุด ไม่มีสิ่งใดสำเร็จได้ด้วยไม่ได้ลงมือกระทำ

กรรม นั้นเอง

เสียงเค้าว่ากันพรรณนั้น จ๊ะ
โดย: บ้าได้ถ้วย วันที่: 7 มกราคม 2552 เวลา:10:31:21 น.
  


ขอคุณสำหรับบทความธรรมะนะคะ
เมื่อทบทวนดูแล้ว เห็นว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆค่ะ
โดย: ~นั่งเล่นริมระเบียง~ วันที่: 7 มกราคม 2552 เวลา:11:32:25 น.
  
ชอบประโยคนี้มากเลยค่ะ “แรงบันดาลใจ ยิ่งใหญ่กว่าจินตนาการ” ฟังดูสวยงาม มีพลังดีนะคะ

ขอบคุณที่เอามาแชร์กันค่ะ
โดย: mannequin วันที่: 7 มกราคม 2552 เวลา:12:44:39 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Mr.Thaimufc
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



มกราคม 2552

 
 
 
 
1
2
3
4
5
8
9
10
11
12
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog