ศิลปะสมัยอยุธยา ชั้ นงาน ป.5
สวัสดีค่ะส้มจีนเองค่ะ วันนี้ครูมีชิ้นงานมาให้ทำเกี๋ยวกับเรื่องศิลปะในสมัยอยุธยา ไล่ไปจนถึงเจดีย์แบบต่างๆ จะค่อยทะยอยลงเรื่อยๆนะคะ ช่วงนี้หนูทำรายงานแม่ลงบล๊อคให้ค่ะ

ศิลปะสมัยอยุธยา


ศิลปะแบบอยุธยาที่เกิดขึ้นเมื่ออาณาจักรอยุธยาก่อตั้งขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๔ ในช่วงเวลาอันยาวนานดังกล่าวอยุธยาได้สร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะมากมายหลายแขนงเป็นแบบแผนและเป็นมรดกตกทอดมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์จวบจนทุกวันนี้ศิลปะอยุธยาสามารถแบ่งออกเป็น ๓ ระยะ ดังนี้



ศิลปะอยุธยาตอนต้น (พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๒๐๓๑) เป็นยุคต้นของกรุงศรีอยุธยาการสร้างวัดนิยมสร้างปรางค์เป็นประธานของวัด
ปรางค์ที่สร้างขึ้นนี้เอาแบบอย่างมาจากปรางค์ขอม แต่ดัดแปลงให้ทรงชะลูดกว่าทำย่อมุมมากขึ้นและยกฐานขึ้นสูงจนเกือบเท่าองค์ปรางค์ เช่น ปรางค์วัดพุทไธสวรรย์วัดพระรามและวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา



รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(พ.ศ.1991-2031)นิยมสร้างเจดีย์ทรงลังกาแบบมีบัลลังก์เหลี่ยมเหนือองค์ระฆังกลม เช่น เจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์ สำหรับโบสถ์และวิหารสมัยอยุธยาตอนต้นเป็นอาคารขนาดใหญ่จึงต้องมีเสารับเครื่องบนหลังคาภายในสองแถวและมีเสารับชายคาปีกนกภายนอกด้วย เช่น พระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุเป็นต้น



สมัยอยุธยาตอนต้น


วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณเชิงสะพานป่าถ่าน ติดกับวัดมหาธาตุทางบริเวณทิศตะวันออก ห่างจากพระราชวังโบราณ เพียงเล็กน้อย จัดเป็นหนึ่งในวัดที่ใหญ่และมีความเก่าแก่มากที่สุดในพระนครศรีอยุธยา สร้างโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา ในปี พ.ศ. 1967 วัดราชบูรณะมีชื่อเสียงและความโด่งดังมากในเรื่องการถูกกลุ่มคนร้ายจำนวนหนึ่ง ลักลอบขุดกรุภายในพระปรางค์ประธาน ในปี พ.ศ. 2499และช่วงชิงทรัพย์สมบัติจำนวนมากมายมหาศาลหลบหนีไป ต่อมากรมศิลปากรเข้าทำการบูรณะขุดแต่งต่อภายหลัง พบทรัพย์สมบัติที่หลงเหลือและเครื่องทองจำนวนมากมาย ปัจจุบันทรัพย์สมบัติภายในกรุถูกเก็บรักษาไว้ที่ห้องราชบูรณะ ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา







ศิลปะอยุธยาตอนกลาง  (พ.ศ. ๒๐๓๒ - ๒๑๗๒) ยุคกลางสมัยนี้มักสร้างสถูปและเจดีย์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ นิยมสร้างเจดีย์แบบลังกาเช่นเดียวกับที่เคยสร้างในสมัยสุโขทัย เช่น เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดอยุธยา


สำหรับโบสถ์และวิหารในสมัยอยุธยาตอนกลางนั้น มีขนาดเล็กลง ก่อผนังทึบไม่มีเสารับน้ำหนักภายในอาคาร แต่ใช้ผนังรับน้ำหนักหลังคาแทน เลิกใช้เสาด้านข้าง แต่ใช้ทวยรับน้ำหนักชายคาปีกนก ตัวอย่างเช่นพระอุโบสถวัดสระบัว จังหวัดเพชรบุรีเป็นต้น



สมัยอยุธยาตอนกลาง


 เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล 


วัดใหญ่ชัยมงคล (วัดเจ้าพระยาไท หรือวัดป่าแก้ว) ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสักถ้ามาจากตัวเมืองข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวร-มหาราช แล้วจะเห็นพระเจดีย์วัดสามปลื้มอยู่กลางสี่แยก เลี้ยวขวาไปไม่ไกลก็จะเห็นป้าย มีทางแยกซ้ายมือหรือหากมาทางถนนสายเอเซียเลี้ยวเข้าแยกอยุธยา แล้วพบพระเจดีย์ใหญ่กลางถนนก็เลี้ยวซ้ายวัดนี้ตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเมื่อพ.ศ. 1900 พระเจ้าอู่ทองทรงสร้าง "วัดป่าแก้ว" ขึ้นตรงที่พระราชทานเพลิงพระศพ "เจ้าแก้วเจ้าไท"ในการสร้างวัดป่าแก้วครั้งนี้ ได้ทรงสร้างพระเจดีย์ขึ้นคู่กับ พระวิหารด้วย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2135สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเสริมพระเจดีย์ให้ ใหญ่และสูงขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างเจดีย์ยุทธหัตถีที่ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเฉลิมพระ เกียรติเมื่อคราวทรงชนะศึกยุทธหัตถี พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดชัยมงคล" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดใหญ่ ชัยมงคล วัดนี้ร้างไปเมื่อคราวเสียกรุงครั้งสุดท้ายแล้วเพิ่งจะตั้งขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาเมื่อไม่ นานมานี้



ศิลปะอยุธยาตอนปลาย  (พ.ศ. ๒๑๗๓ - ๒๓๒๐) ยุคปลายเป็นยุคที่ช่างฝีมือต่างๆเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีการติดต่อค้าขายกับชาวตะวันตกและชาวจีนมากขึ้นทำให้ได้รับวิทยาการใหม่ๆมาปรับปรุงช่างฝีมือไทยให้ดีขึ้น มีการนำเอารูปแบบของศิลปะยุโรปเข้ามาผสมเช่นการเจาะหน้าต่างอาคารโค้งแหลมแบบศิลปะกอธิก และเริ่มสร้างอาคารสองชั้นได้แก่ ตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธสวรรค์ จังหวัดอยุธยาเป็นต้น



สมัยอยุธยาตอนปลาย


ตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธสวรรค์


วัดพุทไธสวรรย์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ในตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยาในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดพุทไธสวรรย์เป็นพระอารามหลวงที่ใหญ่โตและมีชื่อเสียงวัดหนึ่ง ปรากฏตามตำนานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างขึ้นในบริเวณที่ซึ่งเป็นที่ตั้งพลับพลาที่ประทับเมื่อทรงอพยพมาตั้งอยู่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ที่ตรงนี้มีชื่อปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า "ตำบลเวียงเล็กหรือเวียงเหล็ก" ครั้นเมื่อสถาปนากรุงศรีอยุธยาแล้ว ถึง พ.ศ. 1896 จึงโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเป็นพระราชอนุสรณ์ ณ ตำบลซึ่งพระองค์เสด็จมาตั้งมั่นอยู่แต่เดิม และพระมหากษัตริย์องค์ต่อ ๆ มาก็คงจะได้โปรดให้สร้างถาวรวัตถุ เพิ่มเติมขึ้นอีกหลายอย่าง อนึ่ง เมื่อเสียกรุงฯ ในปี พ.ศ. 2310 วัดพุทไธสวรรย์ก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่มิได้ถูกพม่าทำลายเหมือนวัดอื่น ๆ ทุกวันนี้จึงยังมีโบราณสถานไว้ชมอีกมากมาย


ผลงานศิลปะแบบอยุธยาส่วนมากเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ กล่าวคือ ด้านสถาปัตยกรรม มีทั้งเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์และความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไป


สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา
ในสมัยอยุธยาตอนต้นนิยมสร้างปรางค์เป็นประธานของวัด ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนกลางนิยมสร้างเจดีย์ทรงลังกาและมีการพัฒนาการสร้างเจดีย์ทรงกรวยสี่เหลี่ยมย่อมุมตรงเหลี่ยมทั้ง ๔ มุม
ซึ่งเรียกว่า
เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองนับเป็นแบบอย่างเฉพาะของสถาปัตยกรรมอยุธยาที่มีอิทธิพลต่อการสร้างเจดีย์ในสมัยต่อมา นอกจากนี้ยังมีการสร้างวิหาร โบสถ์ โดยในสมัยอยุธยาตอนต้นจะนิยมก่อฐานของตัวอาคารเสา และฝาผนังด้วยอิฐอย่างมิดชิด ผนังอาคารเจาะเป็นช่องแคบๆ
คล้ายซี่กรงหรือที่เรียกว่า ลูกฟัก ด้านในก่ออิฐเป็นฐานชุกชีมีบัลลังก์ประดิษฐานพระพุทธปฏิมาพระประธาน ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนปลาย ฐานอาคารนิยมทำเป็นรูปโค้งคล้ายท้องเรือสำเภา มีการเจาะหน้าต่างที่ผนังอาคารมากขึ้นตกแต่งประดับซุ้มประตูหน้าต่างอย่างประณีตและใช้กระเบื้องเคลือบมุงหลังคา



สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ได้แก่ พระราชวังและพระตำหนักต่างๆ มีแบบแผนซึ่งได้รับอิทธิพลงความเชื่อจากเขมร เช่น พระที่นั่งนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี ตำหนักพระนครหลวง พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น


ในส่วนเจดีย์ทรงต่างๆจะเล่าต่อในตอนหน้าคะ

















Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2554 2:37:13 น.
Counter : 19755 Pageviews.

8 comments
  
อย่าลืมเม้นนะ
โดย: sjleo วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:0:10:25 น.
  
มีศิลปกรรมสมัยอยุธยาที่อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราชบ้างมั้ยคะ
โดย: Zaza IP: 223.207.51.46 วันที่: 7 มกราคม 2555 เวลา:15:14:23 น.
  
คือว่าต้องเอาไปทำการบ้านน่ะค่ะ
โดย: Zaza IP: 223.207.51.46 วันที่: 7 มกราคม 2555 เวลา:15:15:49 น.
  
มีศิลปกรรมสมัยอยุธยาที่อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราชบ้างมั้ยคะ คือว่าต้องเอาไปทำการบ้านน่ะค่ะ
โดย: Zaza IP: 223.207.51.46 วันที่: 7 มกราคม 2555 เวลา:15:17:00 น.
  
งานนี้ม่ายดีเลย
โดย: ก้องเกีรติ IP: 110.77.233.191 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:12:18:03 น.
  
งานนี้ดีมากกกกกกกกกก
โดย: เอกราช IP: 110.77.233.191 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:12:20:31 น.
  
งานนี้มีเนื้อหาไม่ครบ และไม่ชัดเจนเลย
โดย: mine IP: 171.5.179.37 วันที่: 23 สิงหาคม 2556 เวลา:22:26:25 น.
  
งานนี้มีเนื้อหาไม่ครบ และไม่ชัดเจนเลย
โดย: mine IP: 171.5.179.37 วันที่: 23 สิงหาคม 2556 เวลา:22:26:52 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sjleo
Location :
สมุทรปราการ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



รวมมิตรเรื่องราวของเราสามคน
กุมภาพันธ์ 2554

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
28