|
 |
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
 |
29 พฤษภาคม 2556
|
|
|
|
อุปกรณ์กำจัดวัชพืชอนุรักษ์น้ำ ผลงานเยาวชนภูมิซรอลวิทยา จ.ศรีสะเกษ
เด็กไทยผลงานเด็ด เจ้าของผลงานอุปกรณ์กำจัดวัชพืชอนุรักษ์น้ำ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์ โครงการยุวชนไทยร่วมใจรักษ์น้ำ ประจำปี 2555 โดยบริษัทน้ำประปาไทย จำกัด (มหาชน) จัดร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในโรงเรียน ครั้งที่ 21 (วทร. 21) ที่ศูนย์การประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ เมื่อไม่นานมานี้
ศรีสะเกษเป็นพื้นที่หนึ่งที่เกษตรกรหันมายึดอาชีพปลูกยางพารากันเป็นจำนวนมาก ป๊อก ปราง และขวัญ นักประดิษฐ์น้อย 3 วัยโจ๋ จากโรงเรียนภูมิซรอลวิทยา จ.ศรีสะเกษ ได้เห็นปัญหาหลายอย่างเกี่ยวกับการปลูกยางพาราในชุมชน เช่น ยางพาราเติบโตช้าเนื่องจากถูกวัชพืชแย่งน้ำ แร่ธาตุ และสารอาหาร ยางพาราในระยะเริ่มปลูกมีอัตราการตายสูงเนื่องจากการขาดน้ำในช่วงฤดูแล้ง และมีการใช้ยาฆ่าหญ้ากำจัดวัชพืช เด็กๆ จึงต้องการประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ขึ้นมา โดยมีอาจารย์วิชัย ทองมาก คุณครูวิทยาศาสตร์ของโรงเรียน และ ดร. นันทวัน นันทวนิช จาก สสวท. เป็นที่ปรึกษา


แรงบันดาลใจในการสร้างผลงานนี้ เนื่องจากผมไม่อยากให้แม่ใช้สารเคมีเพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผมเองก็ได้เคยใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืชในสวนยางพารา ทำให้ทราบว่ามีอันตรายและส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก นายอภิชาติ อุนัยบรรณ ( ป๊อก) ชั้น ม.5 กล่าว

สำหรับอุปกรณ์กำจัดวัชพืชอนุรักษ์น้ำ ประกอบด้วยส่วนสำคัญสามส่วน ได้แก่ ส่วนแรก อุปกรณ์ส่วนคลุมหญ้าวัชพืช ทำหน้าที่กำจัดวัชพืชภายใต้บริเวณที่อุปกรณ์คลุมถึง ประดิษฐ์จากกล่องนมยูเอชที ซึ่งผลิตจากกระดาษอลูมิเนียมฟอยล์และพลาสติกประเภทโพลีเอทิลีน มีคุณสมบัติทนต่อสภาพความชื้นและแสงแดด

ส่วนที่สอง อุปกรณ์ส่วนกดทับ ผลิตจากปูนปลาสเตอร์ ซึ่งผลิตและขึ้นรูปได้ง่าย ปูนปลาสเตอร์ นี้ทำหน้าที่กดทับอุปกรณ์ส่วนคลุมหญ้าวัชพืชไม่ให้ปลิว และยังช่วยให้ดินบริเวณโคนต้นยางพาราภายใต้อุปกรณ์มีความเย็นในช่วงฤดูแล้ง

ส่วนที่สาม อุปกรณ์ส่วนกักเก็บน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์จากขวดน้ำอัดลมพลาสติกขนาด 1.25 ลิตร และเศษผ้าซับน้ำ อุปกรณ์ส่วนนี้ ใช้หลักการเก็บกักน้ำไว้ในขวด เพื่อใช้ในช่วงฤดูร้อนหรือฝนทิ้งช่วง ซึ่งมีเศษผ้าซับน้ำช่วยซึมซับน้ำจากในขวดออกสู่นอกขวดไปหล่อเลี้ยงรากของต้นยางพาราอย่างช้าๆ ทำให้ต้นยางพารามีน้ำสำหรับหล่อเลี้ยงต้น เพื่อป้องกันการตายจากการขาดน้ำในช่วงฤดูร้อน ช่วยลดภาระเกษตรกรในการรดน้ำ ช่วยประหยัดน้ำ ประหยัดงบประมาณในการซื้อกล้าพันธุ์ยางพาราในการปลูกซ่อมต้นที่ตาย

นางสาวปรางวลัย จำปาลี ( ปราง) ชั้น ม.4 เล่าถึงความสนุกในการสร้างผลงานนี้ว่า เรามีความอยากรู้อยากเห็นในการทดลอง เมื่อเราได้เห็นผลที่เกิดขึ้นก็ตื่นเต้น คิดว่าวิทยาศาสตร์ ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ด้วยกระบวนการที่มีระบบ หากสิ่งที่ทำยังไม่ได้ผล ก็ไม่ต้องท้อ คิดหาวิธีใหม่ๆ ขึ้นมาแทน
เด็กหญิงขวัญทิวา ตั้งมั่น (ขวัญ) ชั้น ม.2 บอกว่า อยากนำความรู้ที่ได้จากการทำโครงงาน มาเผยแพร่ สำหรับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปได้ทราบและนำไปใช้ประโยชน์ โครงการนี้เป็นการฝึกประสบการณ์และเปิดโอกาสให้เยาวชนแสดงความสามารถนำความรู้ไปใช้ในชั้นเรียนได้
สำหรับเยาวชนที่สนใจเข้าร่วมนำเสนอผลงานเข้าประกวดในโครงการยุวชนไทยร่วมใจรักษ์น้ำ ประจำปี 2556 ขยายเวลาเปิดรับสมัครแล้วจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2556
ดูรายละเอียดและดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่เว็บไซต์ //www.thaitap.com หรือสอบถามที่แผนกชุมชนสัมพันธ์ บริษัทน้ำประปาไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 028117526, 028117528, 028118369 ต่อ 1507 และ1509

อ่านเพิ่มเติมในเว็บไซต์คมชัดลึก
Create Date : 29 พฤษภาคม 2556 |
Last Update : 29 พฤษภาคม 2556 9:59:59 น. |
|
0 comments
|
Counter : 2832 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
|
 |
Wit Thabungkan |
|
 |
|
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]

|
บทความและสกู๊ปข่าวที่เผยแพร่ในบล็อกนี้ทั้งหมดเป็นผลงานเขียนของ "สินีนาฎ ทาบึงกาฬ" ส่วนประชาสัมพันธ์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
|
|
|