|
|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
31 พฤษภาคม 2556
|
|
|
|
ครูสุพัตรา ทองเนื้อห้า : ครูฟิสิกส์คนเก่ง กับสื่อการเรียนรู้จากเซิร์น
องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป หรือ เซิร์น (The European Organization for Nuclear Research (CERN) ซึ่งมีบทบาทหลักในการจัดเตรียมเครื่องเร่งอนุภาคและโครงสร้างอื่นที่จำเป็นต่อการวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาค และเป็นสถานที่ทำการทดลองมากมายที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้เปิดโอกาสให้ประเทศไทยจัดส่งครูสอนฟิสิกส์เข้าร่วมโครงการครูสอนฟิสิกส์ภาคฤดูร้อนเซิร์น ตามโครงการความร่วมมือไทย-เซิร์น ณ สมาพันธรัฐสวิส เพื่อสนองแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพด้านฟิสิกส์ให้แก่เด็ก เยาวชน ครู และนักวิจัยไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ในช่วงที่ผ่านมาได้มีครูฟิสิกส์คนเก่งจากโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการนี้ อาทิ ครูสุพัตรา ทองเนื้อห้า โรงเรียนทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช และ ครูพิมพร ผาพรม โรงเรียนท่าคันโทวิทยาคาร จ.กาฬสินธุ์ เข้าร่วมโครงการรุ่นที่ 1 ในปี 2553 ครูสุรศักดิ์ ศรีสุวงศ์ โรงเรียนเกษมสีมาวิทยาคาร จ. อุบลราชธานี เข้าร่วมโครงการรุ่นที่ 3 ในปี 2555
และล่าสุด คือ ครูปิยะมาศ บุญประกอบ โรงเรียนวัดบวรนิเวศ กรุงเทพมหานคร และครูบุษกร การอรชัย โรงเรียนสุราษฎร์ธานี 2 จ. สุราษฏร์ธานี เข้าร่วมโครงการรุ่นที่ 4 ในปี 2556 เป็นต้น
หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว ครูสุพัตรา ทองเนื้อห้า หรือครูจ๋า ได้นำความรู้ที่ได้จากเซิร์น โดยเฉพาะ เครื่องตรวจจับอนุภาคอย่างง่าย หรือ Cloud Chamber สื่อการเรียนรู้ฟิสิกส์จากเซิร์นมาขยายผลต่อในชั้นเรียนและเพื่อนครูท่านอื่น ๆ โดยแรกเริ่มนั้น Charles T.R. Wilson เป็นผู้ประดิษฐ์ Cloud Chamber เป็นคนแรก และในปี ค.ศ.1927 (พ.ศ. 2470) Wilson ได้รับรางวัล Nobel สาขาฟิสิกส์จากผลงานที่เกี่ยวกับ Cloud Chamber ด้วย
สำหรับการสาธิตการทดลองโดยใช้สื่อ Cloud Chamber ครูสามารถนำไปใช้นำเข้าสู่บทเรียนหรือสรุปบทเรียนเรื่องฟิสิกส์อะตอมและฟิสิกส์นิวเคลียร์ สามารถขยายความรู้ให้กับนักเรียนเกี่ยวกับฟิสิกส์อนุภาค เครื่องเร่งอนุภาค และองค์การเซิร์นได้ สื่อการเรียนรู้นี้ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ง่าย เช่น ถ้วยอลูมิเนียมทาสีดำ แก้วพลาสติกใส ผ้าฟองน้ำ น้ำแข็งแห้ง ไฟฉาย Isopropyl Alcohol ลวดเส้นเล็ก บทบาทของครูคือเตรียมอุปกรณ์และบรรยากาศห้องให้พร้อม หลังจากนั้นเพียงไม่กี่นาทีหลังทำกิจกรรม ก็จะมีคำถามที่น่าสนใจจากเด็ก ๆ เกิดขึ้นมากมายในชั้นเรียน บางคำถามของนักเรียนอาจนำไปสู่การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจ
ครูสุพัตรา กล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับการเตรียมพร้อมสำหรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนนั้น ภาษาอังกฤษเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับครูฟิสิกส์ด้วยแล้วเป็นเรื่องสำคัญ เพราะองค์ความรู้ทางฟิสิกส์ส่วนใหญ่ได้จากต่างประเทศ ซึ่งตอนนี้มีนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้านฟิสิกส์ที่ครูสามารถค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม แล้วนำมาถ่ายทอดให้แก่นักเรียน จะได้ประโยชน์อีกมาก
อ่านต่อในเว็บไซต์เดลินวิส์ คลิกที่นี่
Create Date : 31 พฤษภาคม 2556 |
|
0 comments |
Last Update : 31 พฤษภาคม 2556 14:20:08 น. |
Counter : 2177 Pageviews. |
|
|
|
| |
|
|
Wit Thabungkan |
|
|
|
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]
|
บทความและสกู๊ปข่าวที่เผยแพร่ในบล็อกนี้ทั้งหมดเป็นผลงานเขียนของ "สินีนาฎ ทาบึงกาฬ" ส่วนประชาสัมพันธ์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
|
|
|