ผ้าชีมัคแห่งปาเลสไตน์ : สัญลักษณ์ของความเด็ดเดี่ยว

ภาพการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ร่วมเดินขบวนต่อต้านอิสราเอลในการโจมปาเลสไตน์ หลายคนอาจสังเกตเห็นผ้าลายตาราง สีขาว-ดำ ที่ถูกพันโพกปกคลุม ศีรษะ และไหล่ของผู้ร่วมเดินขบวนเหล่านั้น ซึ่งได้ปรากฏให้เห็นได้อย่างชินตาผ้าเหล่านั้นคือ ผ้าชีมัค แห่งปาเลสไตน์ (Palestine kaffiyeh) ซึ่งเป็นอาภรณ์ สำหรับโพกพันศีรษะตามวัฒนธรรมของชายชาวปาเลสไตน์

บทบาทของผ้าชีมัคในประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อความยุติธรรมในปาเลสไตน์จะช่วยอธิบายได้ว่าเหตุใดมันจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของปวงชนผู้ต้อสู้ดิ้นรนอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว เพื่อต่อต้านการรุกรานยึดครองอาณานิคม และ การกดขี่ข่มเหงต่างๆทั่วทั้งโลก

ในช่วงต้นทศวรรษ ปี 1900 อังกฤษได้ครอบครองประเทศ ต่างๆในอาณานิคม ในเขตตะวันออกกลางอยู่มากมาย ซึ่งรวมถึงปาเลสไตน์ ด้วยเช่นกัน ชาวปาเลสไตน์จำนวนมากได้รวมตัวกันอย่างเข้มแข็งเพื่อต่อสู้กับการรุกรานของอังกฤษด้วยทุกวิถีทางอันแสดงออกซึ่งการต่อต้านจนกระทั่งอังกฤษตระหนักได้ว่าไม่มีทางที่จะปกครองดินแดนในอาณานิคมแห่งนี้ได้โดยปราศจากการเคลื่อนไหวต่อต้านทางการอังกฤษ จึงพยามใช้วิธีเจรจาเพื่อหลอกล่อชาวปาเลสไตน์ โดยสัญญาที่จะมอบเสรีภาพให้กับปาเลสไตน์ขณะที่ในเวลาเดียวกัน อังกฤษก็ปกป้องกลุ่มลัทธิไซออนนิสต์ (Zionist) ชาวยิว ที่ขยายตัวเข้ามาซึ่งบรรดากลุ่มชาวยิวผู้ถือลัทธิ ไซออนนิสต์ นั้น ส่วนใหญ่อพยพมาจากเขตยุโรปเข้ามาตั้งรกรากและยึดครองดินแดน รวมถึงทรัพยากรต่าง จากพลเมืองท้องถิ่นชาวปาเลสไตน์ที่ไร้ซึ่งอาวุธ

ผ้าชีมัค เริ่มเข้ามาเป็นส่วนสำคัญ และแพร่หลายในการเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ และต่อต้านในปาเลสไตน์ ในช่วงทศวรรษ ปี 1930 เมื่อกลุ่มองค์กรติดอาวุธได้เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน เพื่อต่อต้าน การขโมยและยึดครองดินแดนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักสู้เพื่อการต่อต้านเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นชาวชนบทที่โพกผ้าชีมัคตามวิถีพื้นเมือง และอาศัยอยู่ในเขตภูเขา หรือหมู่บ้านเล็กๆ ขณะที่การประดับศีรษะแบบทันสมัยด้วยหมวกเฟซ (Fez – หมวกแขก ทำด้วยผ้าสักลาด มียอดแบน) จะถูกสวมใส่โดยชาวชุมชนเมือง และ ผู้อาศัยในเขตตัวเมือง

เพื่อหลีกเลี่ยงจากการถูกจับกุมโดยทางการอังกฤษ บรรดากลุ่มนักสู้ฝ่ายต่อต้านจึงต้องเข้าไปแฝงตัวในเขตตัวเมือง หรือชุมชนแต่ก็ยังคงพันโพกผ้าชีมัคอยู่ ซึ่งทำให้เป็นที่สังเกตได้ง่าย ทางการอังกฤษตัดสินใจใช้มาตรการ ที่จะจับกุมทุกคนที่โพกผ้าชีมัคบนศีรษะ เพื่อต้องการกวาดล้างขบวนการต่อต้านให้หมดสิ้นไปแต่ผลตอบรับกลับหาเป็นเช่นนั้นไม่ ... กระแสตอบกลับต่อนโยบายนี้กลับตรงกันข้าม เมื่อ ผู้ชายชาวปาเลสไตน์ทุกคนไม่ว่าจะเป็นชาวเมือง หรือชาวหมู่บ้าน ต่างพร้อมใจกันใช้ผ้าชีมัคแบบปาเลสไตน์ท้องถิ่นพันโพกศีรษะรวมถึง หยุดการพกบัตรประจำตัวประชาชน ทำให้เหล่านักสู้ฝ่ายต่อต้านที่แฝงตัวปะปนอยู่ ไม่สามารถถูกค้นหาเจอการปฏิบัติเช่นนี้อย่างพร้อมเพรียงกันในทุกพื้นที่ของปาเลสไตน์ แสดงออกอย่างชัดเจนถึงการสนับสนุนอย่างท่วมท้น ต่อกลุ่มผู้ต่อต้าน


จวบจนช่วงทศวรรษ ปี1960 ผ้าชีมัคก็ถูกนำกลับมาเป็นสัญลักษณ์แห่งการร่วมต่อต้านอีกครั้งเมื่อกองกำลังติดอาวุธของฝ่ายต่อต้านในปาเลสไตน์ ได้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการที่ประเทศอิสราเอลเข้ารุกราน และยึดครองดินแดนอย่างมหาศาลในเขตดินแดน เวสต์ แบงก์ (West Bank) และฉนวนกาซา (Gaza) ในปี 1967ฝ่ายต่อต้านกลายเป็นที่สนใจจากคนทั้งโลก เมื่อ ไลลา คาห์ล (Leila Khaled) และ สมาชิกฝ่ายซ้ายคนอื่นๆของ องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นกลุ่มลัทธิการปกครองแบบ มาร์คซิสต์ (Marxist) ได้พันโพกผ้าชีมัค ในการก่อเหตุ จี้เครื่องบินของสายการบินนานาชาติ ถึง 5 สายการบิน....ปฎิบัติการดังกล่าวส่งผลให้ทั้งโลกหันมาให้ความสนใจ และจับตามองการต่อสู้ดิ้นรนของชาวปาเลสไตน์

เมื่อเข้าสู่ช่วงเวลาของ ท่านผู้นำ เยสเซอร์ อาราฟัต กระแสความนิยมในผ้าชีมัคก็เฟื่องฟูอย่างสูงสุดเขาได้ใช้ผ้าชีมัคนี้ คลุมประดับศีรษะตามรูปแบบดั้งเดิม ของชนชาวปาเลสไตน์ ในตลอดระยะเวลาหลายปี ตั้งแต่เข้าร่วมกลุ่มต่อต้าน จนกระทั่งถึงวันที่ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง ผู้นำแห่งรัฐอิสระปาเลสไตน์ ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่โหดร้าย ที่ชาวปาเลสไตน์ ต้องอดทน กับการถูกรุกราน และขับไล่จากดินแดนของตนการต่อสู้เยี่ยงวีรบุรุษของพวกเขา ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนทั่วโลก ไม่ว่าชาย หรือหญิง ทั้งวัยรุ่น และวัยชราผู้คนจำนวนนับหลายพันคน ต่างเริ่มพันโพก ผ้าชีมัค อย่างภาคภูมิใจในความหมายของมัน ที่เป็นสัญลักษณ์ แห่งการต่อสู้ของชนชาวปาเลสไตน์เพื่อต่อต้านการรุกราน อย่างเด็ดเดี่ยวและมั่นคง ตลอดมา

ที่มา : //variety.mcot.net/inside.php?docid=2981

ภาพที่เห็นล้วนเป็นผู้นำทางโลกอาหรับที่แสดงออกถึงการต่อต้านยิว-อิสราเอลต่อกรณีปาเลสไตน์

sheikh Nasser bin Isa Al Kalifah (Bahrain) /นำสิ่งของบรรเทาทุกข์ไปช่วยปาเลสไตน์



sheikh Mohammed bin Rashid Al Maktoum (Dubai)


ผู้นำสตรีโลกอาหรับ นำโดย Queen Rania (Jordan) ผู้มีเลือดปาเลสไตน์เต็มขั้น และ Sheikha Mozah (Qatar)




Create Date : 23 มกราคม 2552
Last Update : 26 มกราคม 2552 12:42:19 น. 4 comments
Counter : 888 Pageviews.

 
หวัดดีค่ะ..
อ่านแล้วได้ความรู้ดีค่ะ..
อยากให้คนไทยสามัคคีกันแบบนี้บ้างจัง


โดย: ข้าวกับดิน วันที่: 26 มกราคม 2552 เวลา:12:28:07 น.  

 
คนไทยก็สามัคคีค่ะ แต่ต้องในสถานการณ์ที่คับขันเท่านั้น เช่น ชาวบ้านบางระจันไงคะ และเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็ซึนามิปี 2547 แต่เราก็อยู่ดีมีสุขกันจนลืมนึกถึงความเป็นชาติและความเจ็บปวดก่อนจะรวมกันเป็นชาติ---เราลืมกันแล้วจริง ๆ ---

แดนเดียวในดวงใจรักประเทศไทยที่รัก


โดย: salama (salama_rashid ) วันที่: 26 มกราคม 2552 เวลา:12:36:38 น.  

 
ลืมไป---ยินดีต้อนรับคุณข้าวกับดินนะคะ


โดย: salama (salama_rashid ) วันที่: 26 มกราคม 2552 เวลา:12:38:01 น.  

 
ขอบคุณนะคะคุณ salama สำหรับข้อมูลที่ไม่เคยรู้มาก่อน ^_^


โดย: juneza IP: 202.176.133.148 วันที่: 27 มกราคม 2552 เวลา:2:05:27 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

salama_rashid
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Oh I come from a land, from a faraway place Where the caravan camels roam Where they cut off your ear If they don't like your face It's barbaric,but hey,it's home
Group Blog
 
 
มกราคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
23 มกราคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add salama_rashid's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.