|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
SavinG DaY
เก็บตังค์กันเหอะ !!!
7 กลยุทธ์การออมให้รวย (อ่านช้าๆ แล้วคิดตาม เผื่อว่าเราจามีเงินตามมากขึ้น โหะ โหะ)
เรื่องเก่าที่อยากเอามาเล่าใหม่ เล่าทีไรใช้เตือนสติเรื่องการใช้เงินให้เพลาลงได้ทุกที คือวิธีออมเงิน แต่ไม่ว่าจะเป็นสูตรของกูรูท่านไหน มักไม่ค่อยแตกต่างกันในหลักใหญ่ใจความถ้ามีวินัย ทำได้สม่ำเสมอ ไม่ต้องลุ้นเปิดฝาชาเขียวก็มีเงินล้านได้ เราจึงมีกลยุทธ์เกี่ยวกับการออมเงินมาบอก
1. การออมแบบ ลบ 10 เพิ่ม 10 คือ ถ้าเป็นการออมแบบลบ 10 หมายความว่า หาเงินได้เท่าไหร่ ให้หักเอาไว้เป้นเงินออม 10% ก่อนใช้จ่ายเสมอ เช่นได้เงินเดือน 20,000 บาท ให้หักไว้เป็นเงินออม 2,000 บาท แต่ถ้าเป็นการออมแบบเพิ่ม 10 คือ ใช้เงินไปเท่าไหร่ ต้องหาเงินเก็บให้ได้ 10% ของเงินที่จ่ายไป เช่น บินไปไต้หวัน 20,000 บาท (โหะ โหะ) ต้องออมเงินไว้ 2,000 บาทไปพร้อมกัน วิธีนี้เป็นการเตือนสติให้คุณไม่ลืมหน้าที่ในการออมเงินสม่ำเสมอ จะทำๆหยุดๆไม่ได้ หัดมีวินัยในการออมเงินเสียแต่วันนี้ เพื่อความสุขสบายในวันหน้า (ทยอยเก็บเล็กผสมน้อย เหมือนเก็บไว้เลย 10% ของเงินเดือน ค่อยๆเก็บไป แล้วเอามาถอยพรีเมี่ยม อาคุ อาคุ)
2. ออมแบบแบ่งเงินเป็น 3 ส่วน วิธีนี้ทำง่าย พอได้เงินมา ต้องแบ่งออกเป็น 3 ส่วนเสมอ ส่วนแรกเอาไว้ใช้จ่ายประจำวัน ส่วนที่สองเอาไว้เก็บออมให้เป็นเงินก้อน และส่วนสุดท้ายเก็บเงินไว้สำหรับลงทุนระยะยาว ที่สำคัญ จำไว้ให้ขึ้นใจ "ใช้ให้น้อยกว่าหา" แล้วเงินก็จะรับใช้คุณเอง (อันนี้ก็ดูโอน๊าา...เอาส่วนที่สองที่จาออมนั่นแหละ ออม ออม ออม ไว้แป๊ะนึง แล้วก็เอาไปเที่ยวกานเตร๊อะ อุ๊อุ๊)
3. จัดสรรบัญชีเงินฝาก คนที่รู้ตัวว่าเก็บเงินไม่อยู่ ขอแนะนำให้มีบัญชีเงินฝากหลายเล่ม เล่มแรกเป็นบัญชีสำหรับใช้จ่ายทั่วไป โดยเอาเงินเดือนหรือรายได้ทั้งหมดเก็ยไว้ในบัญชีนี้ และต้องมีสติว่าจะนำเงินนี้ไปใช้อะไรบ้าง ไม่อย่างนั้น เดี๋ยวใช้เพลินเกินฐานะแล้วจะลำบาก บัญชีที่สองแนะนำให้เปิดแบบฝากประจำระยะยาวเป็นบัญชีสำหรับอนาคต โดยหักเงิน 10% ของเงินเดือนหรือมากกว่านั้น มาเก็บไว้ในบัญชี และสัญญากับตัวเองว่าจะไม่ถอนออกมาใช้ก่อนเวลาสมควร ส่วนบัญชีสุดท้ายควรเป็นบัญชีเพื่อการลงทุน คือฝากเงินไปเรื่อยๆจนได้เงินก้อนหนึ่ง แล้วค่อยถอนออกมาเพื่อนำไปลงทุนแบบต่างๆภายใต้ความเสี่ยงที่เรารับได้ (น่ากัวโคดอันนี้ ฝากแล้วถอนไม่ได้ โฮฮฮฮฮ)
4. มีเงินฉุกเฉินเท่าไหร่ถึงจะพอดี เงินก้อนนี้เป็นเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน มีผู้รู้ประมาณการว่า ควรมีเป็นหกเท่าของรายจ่ายประจำเดือน เช่น ถ้าเดือนหนึ่งมีค่าใช้จ่าย 10,000 บาท ควรกันเงินเผื่อไว้ใช้ยามฉุกเฉินสัก 60,000 บาท ฝากไว้ในธนาคารแบบออมทรัพย์ จะได้เบิกง่ายใช้คล่อง (เหอ เหอ ก้อนนี้คาดว่าไม่เหลือ ยิ่งเบิกง่าย ยิ่งดี ช๊อบ ชอบ ^^")
5. จ่ายหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยที่แพงที่สุดก่อน หรือหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตเป็นอย่างแรก
6. ทำประกันชีวิต เพื่อประกันความเสี่ยงให้กับตัวคุณและครอบครัว
7. ออมทรัพย์กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่างๆ หรือทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
ปล....ข้อมูลจาก กบข.
Create Date : 01 สิงหาคม 2548 |
|
5 comments |
Last Update : 10 สิงหาคม 2548 22:30:12 น. |
Counter : 734 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
โดย: Z-re IP: 61.91.141.217 2 สิงหาคม 2548 20:03:48 น. |
|
|
|
| |
โดย: เรียวโก๊ะ IP: 61.91.109.16 6 สิงหาคม 2548 20:22:48 น. |
|
|
|
| |
โดย: S and K 14 สิงหาคม 2548 1:16:25 น. |
|
|
|
| |
|
|