Group Blog
 
 
มีนาคม 2559
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
27 มีนาคม 2559
 
All Blogs
 
เตรียมตัวตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ากองประจำการ ประจำปี 2559

เตรียมตัวตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ากองประจำการ                                   .

ขั้นตอนและวิธีการตรวจเลือก ทหารกองเกินเข้ากองประจำการ(การเกณฑ์ทหาร)

ขั้นตอนและวิธีการตรวจเลือก ฯ ของทหารกองเกิน (ขั้นปฏิบัติ) ในวันตรวจเลือกทหารกองเกิน(วันเกณฑ์ทหาร) เวลา ๐๗.๐๐ น. ทหารกองเกินที่ได้รับหมายเรียก  (แบบ สด.๓๕) แล้วทุกคนเข้าแถวตามตำบล เคารพธงชาติ ประธานกรรมการตรวจเลือกทหาร ชี้แจงความจำเป็นถึงการตรวจเลือกทหาร เมื่อประธานกรรมการชี้แจงเสร็จ กรรมการสัสดีจะชี้แจงถึงขั้นตอนการปฏิบัติในการตรวจเลือกทหาร รวมทั้งสิทธิต่าง ๆ ของผู้ถูกเข้ารับราชการทหารกองประจำการ คือผู้ที่สมัครหรือผู้ที่จับสลากแดงได้ ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
๑.  เตรียมหลักฐานใช้ในวันตรวจเลือก ฯ
บัตรประจำตัวประชาชน
            -  หมายเรียก ฯ (แบบ สด.๓๕)
            -  ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
            -  วุฒิการศึกษา (ถ้ามี)
๒.  การตรวจเลือก ฯจะเริ่มวิธีการพร้อมกันทั่วประเทศ เวลา ๐๗.๐๐ น.
      -  มีการเข้าแถวแบ่งเป็นตำบล
             -  ทำพิธีเคารพธงชาติเสร็จจะมีการกล่าวแนะนำตัวคณะกรรมการตรวจเลือกและวิธีการคราว ๆ
            -  ให้ทหารกองเกินถอดเสื้อ ถอดรองเท้า ถลกขากางเกงขึ้นเหนือหัวเข่ารอการเรียกชื่อเข้ารับ
การตรวจเลือก ฯ ต่อไป
๓.  การเรียกชื่อ (โต๊ะที่ ๑)
กรรมการจะเรียกชื่อทหารกองเกินเข้ารับการตรวจเลือก
  -   คณะกรรมการตรวจเลือกฯ ประจำโต๊ะที่ ๑ จะทำการเรียกชื่อทหารกองเกิน โดยทีละตำบล
            -   การเรียกชื่อทหารกองเกินจะเรียกชื่อ  ๒ รอบ
            -   เมื่อเรียกชื่อแล้ว จะทำการตรวจหลักฐานและเขียนหมายเลขกำกับบริเวณแขนทหารกองเกิน
เสร็จไปทำการตรวจร่างกาย (โต๊ะที่ ๒)
๔. ตรวจร่างกาย (โต๊ะที่ ๒)
กรรมการแพทย์จะตรวจร่างกายว่าสมบูรณ์ดีหรือไม่
 -  การตรวจร่างกายจะมีนายแพทย์สาขาเวชกรรมเป็นผู้ตรวจร่างกายจะมีการแบ่งออกได้ ๔ จำพวก ดังนี้
            - จำพวกที่ ๑ คือผู้ที่มีร่างกายสมบูรณ์ดี และจะต้องไปวัดขนาดต่อไป (โต๊ะที่๓)
            - จำพวกที่ ๒  คือผู้ที่มีร่างกายที่เห็นได้ชัดว่าไม่สมบูรณ์ดีเหมือนคนจำพวกที่ ๑ แต่ไม่ถึง
ทุพพลภาพ เช่น ใบหูผิดรูป, ช่องหูมีหนองเรื้อรังและทั้งแก้วหูทะลุ, จมูกผิดรูปจนดูน่าเกลียด,
ช่องปากผิดรูปดูน่าเกลียด ฯลฯ
            - จำพวกที่ ๓  คือผู้ที่มีร่างกายยังไม่แข็งแรงพอที่จะรับราชการทหารในขณะนั้นได้ เพราะป่วย
ซึ่งจะบำบัดให้หายภายในกำหนด ๓๐ วันไม่ได้
            - จำพวกที่ ๔ คือผู้ที่ร่างกายพิการทุพพลภาพ หรือมีโรคที่ไม่สามารถจะรับราชการได้
            * คนจำพวกที่ ๑ ไปวัดขนาดต่อ สำหรับคนจำพวกที่ ๒, ๓และ ๔ แยกไปที่โต๊ะประธานกรรมการ เพื่อรอการปล่อยตัว *
๕. วัดขนาด (โต๊ะที่ ๓)
กรรมการจะวัดขนาดสูงและขนาดรอบตัวของร่างกาย

  -   บุคคลซึ่งจะเข้ารับราชการทหารกองประจำการนั้นต้องมีขนาดรอตัวตั้งแต่เจ็ดสิบหกเซนิเมตรขึ้นไปในเวลาหายใจออก
และสูงตั้งแต่หนึ่งเมตรสี่สิบหกเซนติเมตรขึ้นไป
          * วิธีวัดขนาด - ขนาดสูงให้ยืนตัสตรงส้นเท้าชิดกัน ขนาดสูงให้วัดตั้งแต่ส้นเท้าจนสุดศีรษะ
                        - ขนาดรอบตัว ให้คล้องแถบเมตรรอบตัวให้ริมล่างของแถบได้ระดับราวนมโดย
รอบ วัดเมื่อหายใจออกเต็มที่หนึ่งครั้งและหายใจเข้าเต็มที่หนึ่งครั้ง
          * การวัดขนาดสูงจะคัดเลือกผู้ที่มีขนาดสูง ๑๖๐ ซม.ขึ้นไปก่อน หากไม่เพียงพอกับจำนวนคน
ที่ต้องการจึงจะเรียกคนที่มีขนาด ๑๕๙ซม.ลงมาจนครบตามจำนวนที่ต้องการ *
          -   บุคคลที่วัดขนาดได้ตามที่ต้องการเจ้าหน้าที่จะบอกให้ทหารกองเกินรอจับสลากหากไม่ได้
ขนาดหรือขนาดสูงไม่ถึงจะให้ไปที่รอการปล่อยตัวที่โต๊ะประธานกรรมการ
๖. การปล่อยตัวทหารกองเกิน (โต๊ะประธานกรรมการ)
         -   ประธานกรรมการเพื่อพิจารณาตรวจสอบตัวบุคคลและปล่อยตัว ดังนี้
๑. การตรวจสอบและปล่อยตัวให้กระทำตามลำดับคนจำพวกที่ ๔,๓ คนไม่ได้ขนาด
คนผ่อนผัน คนจำพวกที่ ๒ คนจำพวกที่ ๑ ขนาดถัดรอง (ถ้าคนได้ขนาดพอ)
และคนจำพวกที่ ๑ ที่ได้ขนาด(ถ้าไม่มีการจับสลากเพราะมีคนร้องขอเข้ากองประจำการ)
๒. โดยเป็นหน้าที่ของประธานกรรมการตรวจสอบใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ
และบัญชีเรียก ฯ ของจังหวัดให้ถูกต้องตรงกัน รวมทั้งการพิจารณาและตรวจร่างกาย
ของทหารกองเกินเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนมอบใบบรับรองผลการตรวจเลือก ฯ ท่อนที่๓
ให้ตัวรับไป
๗. การจับสลาก
๑. การที่จะกำหนดให้ตำบลใดจับสลากดำ – แดง ก่อนหลังให้กระทำโดยวิธีให้ผู้แทนของ
แต่ละตำบล ซึ่งอาจจะเป็นกำนันผู้ใหญ่บ้าน เทศมนตรีหรือผู้แทนทหารกองเกินของตำบลนั้น ๆ
มาจับสลากโดยจะทำการเรียกชื่อเรียงตามตำบลที่ให้ผู้แทนจับสลากเรียงตาามลำดับก่อนหลัง
๒. กรรมการนายทหารสัญญาบัตรเรียกชื่อคนที่จะต้องจับสลากทั้งสิ้นทุกตำบลมารวมกัน
เพื่อตรวจสอบตัวคนกับบัญชีเรียก ฯและบัญชียอดให้ถูกต้องตรงกันก่อนจะเริ่มเรียกเข้าจับสลาก
๓.  กรรมการสัสดีจังหวัดนำภาชนะสำหรับบรรจุสลากเปิดแสดงโดยเปิดเผยต่อหน้าผู้ถูกเรียก
และต่อหน้าคณะกรรมการตรวจเลือกว่าในภาชนะนั้นไม่มีสลากบรรจุอยู่ก่อนแล้วจึงเป็นหน้าที่ของ
นายทหารสัญญาบัตร (คนที่ ๒)นำสลากซึ่งได้เตรียมไว้ใส่ในภาชนะแล้วคลุกเคล้าต่อหน้าคณะกรรมการ
ตรวจเลือก และผู้ถูกเรียกที่จะต้องจับสลาก
๔. ก่อนที่จะเริ่มให้ประธานกรรมการตรวจเลือกชี้แจงให้ผู้ที่จะต้องจับสลากทราบดังนี้
              -  มีผู้ต้องจับสลากทั้งหมดเท่าใด จะต้องส่งเข้ากองประจำการแผนกใดเท่าใด
แต่ละแผนกแบ่งออกเป็นกี่ผลัดแผนกใดผลัดใดกำหนดให้เข้ารับราชการกองประจำการ
วัน เดือน ปีใด
             -  สลากมี ๒ ชนิด คือ สลากสีแดงสำหรับผู้ที่จะส่งเข้ากองประจำการ
ส่วนผู้ที่จะปล่อยตัวไปเป็นสลากสีดำ
๕. การจับสลาก ให้คณะกรรมการตรวจเลือกปฏิบัติ ดังนี้
             -  กรรมการสัสดีจังหวัด นำบัญชีเรียก ฯ มาให้เจ้าหน้าที่ ฯทำการเรียกชื่อจับสลาก
             -  เมื่อทหารกองเกินเข้ามาเตรียมจับสลาก
             -  ให้ทหารกองเกินบอกชื่อตัวชื่อสกุลและชูมือแสดงความบริสุทธิ์แล้วจับสลาก
             -  กรรมการนายทหารสัญญาบัตร (คนที่ ๒)รับสลากจากทหารกองเกินมาคลี่อ่านพร้อมกับ
แสดงให้ผู้จับและกรรมการอื่น ๆ ดูด้วย
             - นำผู้ที่จับสลากสีดำไปยังโต๊ะประธานกรรมการตรวจเลือกเพื่อตรวจสอบปล่อยตัว
             - สำหรับผู้ที่จับสลากสีแดง ให้มอบใบรับรองผลการตรวจเลือก ฯ (แบบ สด.๔๓)
และนำตัวไปดำเนินการออกหมายนัดหรือขึ้นทะเบียนกองประจำการต่อไป




Create Date : 27 มีนาคม 2559
Last Update : 27 มีนาคม 2559 14:48:47 น. 0 comments
Counter : 486 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3081643
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 3081643's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.