พระบรมศพ และพระศพที่เคยประดิษฐานบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท



พระบรมศพ และพระศพที่เคยประดิษฐานบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท


เป็นที่ทราบกันดีว่า “พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท” เป็นสถานที่สำหรับประดิษฐานพระบรมศพพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชชนนี และสมเด็จพระอัครมเหสี หรือพระศพพระบรมราชวงศ์ชั้นสูงที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระเกียรติยศเป็นพิเศษ ซึ่งเท่าที่ปรากฏหลักฐานรอยใบลานรวบรวมมาได้ ดังนี้


พระองค์ที่ ๑ พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒


พระองค์ที่ ๒ พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๗


พระองค์ที่ ๓ พระบรมศพสมเด็จกรมพระอมรินทรามาตย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๙


พระองค์ที่ ๔ พระบรมศพสมเด็จกรมพระศรีสุลาไลย พระบรมราชนนีพันปีหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐


พระองค์ที่ ๕ พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔


พระองค์ที่ ๖ พระศพสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี บรมอรรคราชเทวี ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕


พระองค์ที่ ๗ พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๑
  
พระองค์ที่ ๘ พระบรมศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๘
 
พระองค์ที่ ๙ พระศพพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๐ (ในรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้ออกพระนามใหม่ว่า “สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร”)


พระองค์ที่  ๑๐  พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๓ – ๑๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๔


พระองค์ที่ ๑๑  พระบรมศพสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๖๒ – ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๓


พระองค์ที่ ๑๒ พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ – ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๔๖๙


พระองค์ที่ ๑๓  พระศพสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี  พระอัครราชเทวี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐


พระองค์ที่ ๑๔ พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๑
  
พระองค์ที่ ๑๕ พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระประเมนทรมหาอานันทมหิดล เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ – ๒๔๙๓
  
พระองค์ที่ ๑๖ พระบรมศพสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๘ – ๒๔๙๙


พระองค์ที่ ๑๗ พระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗ เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๗ – ๒๕๒๘


พระองค์ที่  ๑๘ พระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเมื่อ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๘ – ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๙


พระองค์ที่ ๑๙ พระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๑ –  ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑


พระองค์ที่ ๒๐  พระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๕๔ – ปัจจุบัน




หมายเหตุ



 ๑. กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จสวรรคตในรัชกาลที่ ๓ ขณะนั้นทรงอยู่ในฐานะ “สมเด็จพระพันวสา” และประทับอยู่กับพระราชโอรส ณ พระราชวังเดิม ฝั่งธนบุรี เมื่อเสด็จสวรรคตจึงเชิญพระบรมศพประดิษฐานไว้ยังท้องพระโรง เมื่อถึงคราวถวายพระเพลิงจึงเชิญพระบรมศพมายังพระเมรุมาศท้องสนามหลวง พระบรมศพของพระองค์จึงไม่ได้ประดิษฐานบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท



 ๒. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียวที่พระบรมศพไม่ได้ประดิษฐานบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เนื่องจากเสด็จสวรรคตที่ประเทศอังกฤษ



 ๓. เจ้านายฝ่ายในที่ประดิษฐานพระบรมศพบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท จะเห็นว่าในระยะแรกล้วนแต่เป็นพระบรมวงศ์ที่ทรงศักดิ์เป็น “สมเด็จพระพันปีหลวง” หรือ “สมเด็จพระพันวสา” ทั้งสิ้น จะมีพระอัครมเหสีพระองค์แรก ก็คือ สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี บรมอรรคราชเทวี ในรัชกาลที่ ๔  ทั้งนี้เนื่องจากในเวลานั้น “หอธรรมสังเวช” ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งพระศพของเจ้านายฝ่ายในยังซ่อมไม่แล้วเสร็จ จึงได้เชิญพระศพขึ้นประดิษฐานยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท  ต่อมาเมื่อสมเด็จพระนางเธอรำเพยภมราภิรมย์ สิ้นพระชนม์ ก็โปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานพระศพที่หอธรรมสังเวชเช่นเดิม ต่อมาในรัชกาลปัจจุบันพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี พระอัครมเหสีในรัชกาลที่ ๗ จึงได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานพระบรมศพบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทอีกวาระหนึ่ง



 ๔. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นเจ้านายฝ่ายหน้าเพียงพระองค์เดียวที่เคยได้ประดิษฐานพระบรมศพบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในฐานะที่ทรงรับรัชทายาทสืบสันตติวงศ์ และดำรงพระเกียรติยศเสมอด้วยสมเด็จพระมหาอุปราชฝ่ายหน้า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล



 ๕. พระศพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ก็เป็นเจ้านายอีกพระองค์หนึ่งที่พระราชทานพระเกียรติยศเป็นพิเศษ ด้วยทรงอุปถัมภ์คำชูพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงเคารพเสมอด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว จึงโปรดให้เจ้าพนักงานจัดพระเศวตรฉัตร ๗ ชั้น กางกั้นเหนือพระโกศ และในหมายของทางราชการนั้นโปรดให้ใช้คำว่า “สวรรคต” เหมือนอย่างงานพระบรมศพสมเด็จพระบรมราชชนนี อย่างไรก็ดี ในหมายของทางราชการก็ยังคงใช้คำว่า “พระศพ” มิได้ใช้คำว่า “พระบรมศพ”



 ๖. นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๗ เป็นต้นมา พระบรมวงศ์ฝ่ายในบางพระองค์ที่ดำรงพระอิสริยยศสูง และเป็นที่เคารพแห่งพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานพระศพบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเป็นกรณีพิเศษ เช่น สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรีฯ และในรัชกาลที่ ๘ สมเด็จเจ้าฟ้าฝ่ายในพระองค์แรก คือ สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรนธร


ข้อมูลทั้งหมดมิได้เป็นข้อยุติ หากท่านใดต้องการแลกเปลี่ยนทรรศนะกันเชิญเลยนะครับ






Free TextEditor



Create Date : 05 สิงหาคม 2554
Last Update : 5 สิงหาคม 2554 14:06:55 น.
Counter : 4028 Pageviews.

1 comments
  
แวะผ่านเข้ามา เลยได้รับความรู้ที่ดีมาก สนใจค่ะ
โดย: nathanon วันที่: 25 สิงหาคม 2554 เวลา:7:16:31 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

รอยใบลาน
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 35 คน [?]



สโมสรของอัศวินแห่งอินทรนคร
สิงหาคม 2554

 
1
2
3
4
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31