นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง

<<
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
26 พฤศจิกายน 2553
 

การส่องกล้องรักษาข้อเข่า ,ข้อไหล่ ,ข้อศอก

การส่องกล้องรักษาข้อเข่า ,ข้อไหล่ ,ข้อศอก

ในปัจจุบันการรักษาการบาดเจ็บซึ่งเกิดภายในข้อ รวมทั้งการรักษาข้อที่เกิดภาวะข้อเสื่อม ได้ก้าวหน้าและพัฒนาไปมาก โดยอาศัยเทคโนโลยีของกล้อง และเลนส์ถ่ายภาพ ซึ่งจะสามารถลดความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด ลดระยะเวลานอนโรงพยาบาล และแผลผ่าตัดจะมีขนาดเพียง 0.5 ซ.ม. เท่านั้น

การส่องกล้องในข้อ คืออะไร ?

เป็นการผ่าตัดโดยใช้กล้อง ซึ่งจะเป็นแท่งเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 ม.ม. โดยส่วนปลายเป็นเลนส์ขยายและมีอุปกรณ์ส่องสว่างโดยอักปลายของเลนส์จะมีกล้องซึ่งจะปรากฎเป็นภาพในจอโทรทัศน์ซึ่งสามารถมองเห็นได้ทั้งผู้ป่วยและแพทย์

ข้อใดบ้างที่สามารถรักษาโดยการส่องกล้อง

ในปัจจุบัน สามารถใช้กล้องส่องเพื่อตรวจดูสภาพในข้อ และรักษาโดยใช้อุปกรณ์ผ่านกล้อง ในเกือบทุกข้อ เช่น เข่า ,ข้อไหล่ ,ข้อศอกและข้อเท้า

โรคใดบ้างที่สามารถรักษาได้โดยการส่องกล้อง

โดยทั่วไปแล้ว มักจะแบ่งภาวะผิดปกติในข้อออกเป็น 3 ส่วน ใหญ่ๆ ที่นิยมรักษาโดยการส่องกล้อง คือ

1) ภาวะการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เช่น ข้อเข่าพลิก บิด ,บวม หลังจากอุบัติเหตุ หรือจากการเล่นกีฬา มีการฉีกขาดของเอ็น หรือหมอนรองกระดูก ข้อเข่า ,ข้อไหล่หลุดซ้ำ ,หลวม หรือเอ็นภายในข้อไหล่ฉีกขาด หรือข้อเท้าที่บวมปวดหลังข้อพลิกซึ่งเป็นมาเป็นระยะเวลานานหรือเรื้อรัง

2) ภาวะที่เกิดจากความเสื่อมของข้อ เช่น ข้อเข่าเสื่อม มีอาการปวด,บวม ขัดหรือเสียวขณะเดินโดยเฉพาะขึ้นลงบันได ,นั่งพับขาหรือข้อไหล่ ซึ่งมีการปวด ขยับไม่สุด(ข้อติด)นอนทับหัวไหล่ข้างที่ปวดไม่ได้ หรือมีอาการปวดมากเวลากลางคืน

3) ภาวะที่เกิดการอักเสบของเยื่อบุข้อ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ซึ่งมีเยื่อบุข้อที่อักเสบมาก และควบคุมด้วยยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น

ข้อดี ของการผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องข้อ

เนื่องจากในปัจจุบัน กล้องสามารถช่วยศัลยแพทย์ ให้เห็นสภาพการบาดเจ็บหรือปัญหาที่เกิดภายในข้อ ได้โดยละเอียดและแม่นยำ จึงทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมาก โดยเฉพาะสามารถรักษาผ่านกล้องโดยขั้นตอนเดียวกัน จึงเป็นข้อได้เปรียบของการรักษาโดยใช้กล้องส่องข้อ ซึ่งจะลดอาการเจ็บปวดหลังผ่าตัด ลดระยะเวลาของการอยู่โรงพยาบาล และสามารถทำกายภาพบำบัดได้เร็วขึ้น อันจะส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ข้อนั้นๆ ได้เร็วขึ้นมาก

ข้อไหล่ติดยึด (Frogen Shoulder)

ข้อไหล่ติดยึด คือ อะไร ?

คือภาวะที่มีการขยับข้อไหล่ได้น้อย โดยมักจะเริ่มจากน้อยๆ เช่น ไม่สามารถ ยกไหล่ได้สุดหรือไขว่หลังได้สุด ต่อมาถ้าไม่ได้รับการรักษา จะเป็นมากขึ้นจนขยับได้น้อย หรือไม่ได้เลย

สาเหตุของข้อไหล่ติดยึดคืออะไร ?

สาเหตุหลักของข้อไหล่ยึดติด การอักเสบของเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆ ข้อไหล่ ซึ่งเรียกว่า เยื่อหุ้มข้อไหล่ (Capsule) ปกติเยื่อหุ้มข้อไหล่จะค่อนข้าง ยืดหยุ่นและสามารถขยายตัวหรือหดตัว ตามการขยับของข้อไหล่ได้ แต่เมื่อเกิดภาวะข้อไหล่ติดยึดขึ้น เยื่อหุ้มข้อไหล่ดังกล่าวจะมีการอักเสบและหดตัว จนไม่สามารถยืดหยุ่นได้เหมือนเดิม ทำให้ขยับข้อไหล่ได้ลดน้อยลง และมีอาการปวดร่วมด้วยเสมอ

การกระแทกของข้อไหล่ ,การที่ขยับข้อไหล่เป็นเวลานาน ,การอักเสบของกล้ามเนื้อ ,เอ็นโดยรอบข้อไหล่ สามารถนำไปสู่การอักเสบของเยื่อหุ้มข้อไหล่ได้ทั้งสิ้นเมื่อเกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อไหล่ดังกล่าว ก็ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะข้อไหล่ติดยึดในที่สุด

การวินิจฉัยภาวะข้อไหล่ติดยึด

ต้องอาศัยการตรวจ การเคลื่อนไหวของข้อไหล่ แต่ที่สำคัญที่สุดคือการค้นหาสาเหตุของข้อไหล่ติดยึด เช่น มีการอักเสบ ,ฉีกขาดของเอ็นภายในข้อไหล่ มีหินปูนเกาะภายในข้อไหล่ ฯลฯ อีกสาเหตุหนึ่งที่มักทำให้ผู้ป่วยมีภาวะข้อไหล่ติดยึดได้มากขึ้น และรักษายากขึ้น คือ โรคเบาหวาน ที่ขาดการควบคุมที่ดี

การรักษาภาวะข้อไหล่ติดยึด

จุดประสงค์ของการรักษามี 2 ข้อด้วยกัน คือ ต้องทำให้ข้อไหล่ขยับได้มากขึ้นและลดอาการเจ็บปวด โดยเฉพาะอาการปวดเวลานอนโดยการทำกายภาพบำบัด เพื่อให้การติดยึดของข้อไหล่ น้อยลง ,ขยับได้มากขึ้น โดยอาจใช้ร่วมกับการใช้ความร้อน เย็น หรือ อัลตราซาวน์(Ultrasound) ฯลฯ ส่วนอาการปวด ซึ่งเกิดเนื่องมาจากการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อ เอ็นในข้อไหล่ ฯลฯ ต้องรับการตรวจหาสาเหตุซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้ยากัน ยาฉีด เข้าข้อหรือการผ่าตัดส่องกล้อง หรือร่วมกันทั้งนี้ต้องเป็นไปตามสาเหตุของแต่โรคที่เกิดขึ้น

ข้อไหล่ติดแข็ง-ผ่าตัดทางกล้องรักษาหายได้
ข้อไหล่ติดยึดแข็งเป็นโรคของข้ออย่างหนึ่งซึ่งจะปวดทรมานมาก จะมีอาการเริ่มแรกด้วยปวดบวมที่ข้อไหล่ก่อน เวลาเคลื่อนไหวใช้แขนในชีวิตประจำวันจะปวดมากขึ้น ทำให้ไม่อยากจะขยับเขยื้อน ลงท้ายนานเข้าข้อไม่ได้ใช้งานจะยึดติดแข็งไปเลย

สาเหตุ ส่วนใหญ่ที่พบมากมักเป็นกับหญิงวัยกลางคน มีโรคเบาหวานร่วมด้วยเป็น ๆ หายๆ ไม่หายขาด อีกแบบหนึ่งสาเหตุจากมีภยันตรายต่อข้ออาจจากอุบัติเหตุ และสุดท้ายกับผู้สูงอายุจากความเสื่อมของเอ็นรอบข้อ และปลายกระดูกไหปลาร้าที่อยู่ติดกับข้อมีหินปูนเกาะไปขูดเอ็นรอบข้อเวลาข้อเคลื่อนไหวจะทำให้อักเสบได้

ข้อที่อักเสบปวด หากไม่ได้เคลื่อนไหว ทิ้งไว้นานก็จะติดแข็ง กระทบต่อปัญหาในชีวิตประจำวันอย่างมากคือจะใช้แขนไม่ถนัด โดยเฉพาะท่าที่ยกแขนขึ้นเหนือศรีษะและท่าไพล่หลังจะทำไม่ได้เลย

การรักษา แบบเดิมๆ ที่หมอกลางบ้านชอบรักษาคือการดัดข้อ ซึ่งหากเป็นสาเหตุจากแบบแรกโรคก็จะหายเองได้อยู่แล้ว แต่จะหายไม่ขาด ดัดมากไปอาจที่ให้กระดูกหักหรือเอ็นรอบข้อฉีกขาดเพิ่มอีกได้ ยากินแก้ปวด แก้อักเสบ กายภาพบำบัด ยังคงเป็นวิธีการที่รักษากันทั่วไป

แบบที่เกิดจากอุบัติเหตุ และความเสื่อมหากรักษาแล้วไม่ดีขึ้น คงจะต้องเปิดผ่าตัดข้อ เข้าไปเย็บซ่อมเอ็นรอบข้อที่ฉีกขาดตัดกระดูกที่มีหินปูนออก จะช่วยทำให้ข้อกลับคืนเคลื่อนไหวได้ดังเดิมเป็นปกติดี





Create Date : 26 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 26 พฤศจิกายน 2553 11:33:14 น. 1 comments
Counter : 1387 Pageviews.  
 
 
 
 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
 
 

โดย: สมาชิกหมายเลข 3762148 วันที่: 24 มีนาคม 2560 เวลา:16:01:18 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com