space
space
space
<<
กันยายน 2563
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
space
space
29 กันยายน 2563
space
space
space

การแบ่งความเสี่ยงในการแพร่กระจายของมะเร็งต่อมลูกหมาก
นอกจากจะมีการแบ่งระยะของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากแล้ว ยังมีการแบ่งโดยใช้เกณฑ์ความเสี่ยงในการลุกลาม หรือกระจายของเซลล์มะเร็ง เพื่อประกอบในการตัดสินใจการรักษาของแพทย์ต่อไป ซึ่งจะใช้ข้อมูลจากค่าผลเลือด PSA Gleason score (มาตรฐานการอ่านผลชิ้นเนื้อมะเร็งต่อมลูกหมากว่ามีความรุนแรงแค่ไหน) และ TNM staging (ระบบในการพิจารณาว่ามะเร็งอยู่ในขั้นไหน)

แบ่งโดยใช้เกณฑ์ความเสี่ยงในการลุกลาม
Prostatic Specific Antigen หรือ PSA เป็นสารที่ถูกสร้างและหลั่งมาจากต่อมลูกหมาก ดังนั้นหากพบว่ามีค่า PSA ที่สูงกว่าค่าปกติ (ค่าปกติ 4 ng/mL) แสดงว่าต่อมลูกหมากอาจมีความผิดปกติ
Gleason score เป็นคะแนนที่แพทย์เป็นผู้ประเมินจากชิ้นเนื้อที่ได้มาจากต่อมลูกหมาก
Gleason score (GS) เท่ากับ 6 แสดงว่าเซลล์ต่อมลูกหมากมีแนวโน้มที่เพิ่มจำเซลล์ที่ต่ำ
Gleason score (GS) เท่ากับ 7 แสดงว่าเซลล์ต่อมลูกหมากมีแนวโน้มที่เพิ่มจำเซลล์ที่ปานกลาง
Gleason score (GS) มากกว่า 7 แสดงว่าเซลล์ต่อมลูกหมากมีแนวโน้มที่เพิ่มจำเซลล์ที่สูง
TNM staging เป็นการประเมินจาก T (Tumor) ขนาดก้อนมะเร็ง N (Lymph nodes) มะเร็งลุกลาม ไปที่ต่อมน้ำเหลือง M (Metastasis)  การแพร่กระจายของโรคไปที่อวัยวะ ซึ่งการประเมิน TNM staging ในโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มีดังนี้
 
Tumor (T) ขนาดก้อนมะเร็ง 
T1 ก้อนมะเร็งมีขนาดที่เล็กมาก สามารถแบ่งย่อยได้ ดังนี้
T1a คือ ก้อนมะเร็งน้อยกว่า 5% ของชิ้นเนื้อทั้งหมดที่ตัดออกมา
T1b คือ ก้อนมะเร็งมากกว่า 5% ของชิ้นเนื้อทั้งหมดที่ตัดออกมา
T1c คือ ตรวจพบชิ้นเนื้อมะเร็งจากการตัดชิ้นเนื้อ อันเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ เช่นการเพิ่มขึ้นสูงของ PSA
T2 ก้อนมะเร็งมีขนาดจำกัดอยู่ภายในต่อมลูกหมาก สามารถแบ่งย่อยได้ ดังนี้
T2a คือ ก้อนมะเร็งมีขนาดเป็นครึ่งหนึ่งของต่อมลูกหมาก 1 ซีก และอยู่ในข้างใดข้างหนึ่งของต่อมลูกหมาก
T2b คือ ก้อนมะเร็งมีขนาดมากกว่าครึ่งหนึ่งของต่อมลูกหมาก 1 ซีก และอยู่ในข้างใดข้างหนึ่งของต่อมลูกหมาก
T2c คือ ก้อนมะเร็งอยู่ทั้งสองข้างของต่อมลูกหมาก
T3 ก้อนมะเร็งลุกลามผ่านชั้นเยื่อหุ้มต่อมลูกหมาก (capsule) แบ่งย่อยได้ดังนี้
T3a คือ ก้อนมะเร็งอยู่ในเยื่อหุ้มต่อมลูกหมาก
T3b คือ ก้อนมะเร็งลุกลามไปในท่อนำอสุจิ (seminal vesicles)
T4 ก้อนมะเร็งแพร่กระจายไปอวัยวะที่ใกล้เคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

Node (N) มะเร็งลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลือง 
N0 คือ มะเร็งยังไม่ลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง
N1 คือ มะเร็งยังไม่ลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ใกล้เคียงต่อมลูกหมาก
 
Metastasis (M) การแพร่กระจายของโรคไปที่อวัยวะอื่น
M0 มะเร็งยังไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น
M1 มะเร็งแพร่กระจายออกนอกต่อมลูกหมาก สามารถแบ่งย่อยได้ดังนี้
M1a คือ มะเร็งแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณนอกอุ้งเชิงกราน
M1b คือ มะเร็งแพร่กระจายไปที่กระดูก
M1c คือ มะเร็งแพร่กระจายไปที่ส่วนหรืออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย


ขอบคุณที่มา https://thaiprostatecancer.com

อ่าน การแบ่งความเสี่ยงในการแพร่กระจายของมะเร็ง เพิ่มเติม >>
https://thaiprostatecancer.com/risk-of-cancer/


Create Date : 29 กันยายน 2563
Last Update : 29 กันยายน 2563 22:52:54 น. 0 comments
Counter : 301 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 5734629
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 5734629's blog to your web]
space
space
space
space
space