space
space
space
<<
สิงหาคม 2563
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
space
space
16 สิงหาคม 2563
space
space
space

วิธีรักษา โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ขั้นตอนการรักษานั้นมีหลากหลายวิธี โดยจะมีแนวทางการรักษาไปตามระยะของโรค ประกอบกับดูในเรื่องของสุขภาพร่างกายของผู้ป่วยด้วย ซึ่งอาจใช้หลายวิธีการรักษาควบคู่กัน โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ วิธีการรักษาหลักๆมีดังนี้

การเฝ้าระวังเชิงรุก (active surveillance)
หากผู้ป่วยตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก และแพทย์คาดการณ์ว่าความเสี่ยงในการแพร่กระจายของมะเร็งต่ำ เซลล์มะเร็งมีการเติบโตอย่างช้าๆ (low risk) กรณีนี้อาจไม่จำเป็นต้องรักษาโดยทันที สามารถใช้วิธีการเฝ้าระวังเชิงรุกได้  โดยแพทย์จะเฝ้าติดตามมะเร็งและการเติบโตของมะเร็งอย่างใกล้ชิด และอาจจะมีการตัดชิ้นเนื้อมาตรวจร่วมกับการตรวจระดับ PSA ในเลือดเป็นระยะ ๆ มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการรักษาหากมีสัญญาณการลุกลามของโรค ฉะนั้นจึงควรเข้ารับการตรวจค่า PSA และการตรวจด้วยวิธีอื่นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอประมาณ 3-4 ครั้ง/ปี และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด  

การผ่าตัด (Surgery)
เป็นตัวเลือกหนึ่งสำหรับคนที่มีความแข็งแรงและพร้อมในการผ่าตัด และมะเร็งยังไม่ออกนอกต่อมลูกหมากหรือมีออกนอกต่อมลูกหมากไปในระดับหนึ่ง ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ เป้าหมายของการผ่าตัดต่อมลูกหมากคือผ่าเอาต่อมลูกหมากที่มีก้อนมะเร็งและผ่าเอาเนื้อเยื่อบริเวณรอบเซลล์มะเร็งและต่อมน้ำเหลืองออก  ข้อควรคำนึงในการผ่าตัด คือ มีการดมยาสลบ หลังผ่าตัดต้องใช้สายสวนปัสสาวะประมาณ 1-2 สัปดาห์ อาจมีปัญหาเรื่องการกลั้นปัสสาวะหรือสมรรถภาพทางเพศ ผู้ป่วยบางรายอาจต้องมีการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานร่วมด้วย วิธีการผ่าตัดมีหลายวิธี ขึ้นกับความเหมาะสมของผู้ป่วยและการพิจารณาของแพทย์ การผ่าตัดมีดังนี้

การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง (Open radical prostatectomy : ORP)
การผ่าตัดวิธีนี้แผลผ่าตัดจะใหญ่กว่าวิธีอื่นและใช้เวลานานในการฟื้นตัว

วิธีแรกเริ่มของการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก มีข้อดีคือสามารถเลาะต่อมน้ำเหลืองออกได้ง่ายกว่า แพทย์ทั่วไปที่มีความชำนาญสามารถทำการผ่าตัดได้ง่ายกว่า แต่ผู้ป่วย แผลจะใหญ่กว่าวิธีการผ่าตัดอื่นและใช้เวลานานในการฟื้นตัว

การผ่าตัดเเบบส่องกล้อง (Laparoscopic radical prostatectomy : LRP)
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางทำการผ่าตัดเจาะรูขนาดเล็กบริเวณใต้สะดือ ใส่เครื่องมือผ่าตัดและส่องกล้องเข้าไป ดูผ่านจอมอนิเตอร์ที่มีความละเอียดสูงขณะทำการผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก การผ่าตัดวิธีนี้แผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็ก ผู้ป่วยจะไม่เจ็บตัวมากนัก เสียเลือดน้อยกว่า ฟื้นตัวและใช้เวลารักษาตัวที่โรงพยาบาลสั้นลง

การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด(Robotic-assisted laparoscopic prostatectomy : RALP)
เป็นวิธีที่พัฒนาเพิ่มเติมขึ้นมาจากการผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้อง โดยเปลี่ยนเป็นการผ่าตัดโดยใช้แขนกลหุ่นยนต์ที่ควบคุมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ วิธีนี้มีความแม่นยำสูงกว่า ผู้ป่วยเจ็บตัวน้อย และระยะเวลาพักฟื้นค่อนข้างรวดเร็ว

การรักษาโดยการฉายรังสีหรือรังสีบำบัด (Radiation therapy)
รังสีรักษาจะแตกต่างจากวิธีการผ่าตัดที่นำเอาต่อมลูกหมากที่มีเซลล์มะเร็งออก แต่จะมุ่งเน้นที่การใช้รังสีพลังงานสูงเพื่อทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่บริเวณต่อมลูกหมากโดยตรง วิธีนี้จะเหมาะกับผู้ป่วยอายุมาก ร่างกายไม่แข็งแรงซึ่งอาจใช้ทดแทนการผ่าตัด หรือสำหรับผู้ที่ผ่านการผ่าตัดมาแล้ว อาจฉายแสงในกรณีที่อาจมีเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่เพื่อให้การควบคุมโรคดียิ่งขึ้น หรืออาจมีการใช้วิธีรังสีรักษาในระยะเเพร่กระจายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาอาการ เช่น อาการปวดกระดูกสืบเนื่องมาจากมะเร็งต่อมลูกหมากมีการกระจายไปที่กระดูก การฉายรังสีหรือรังสีบำบัด แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ

การฉายรังสีจากภายนอก
เป็นวิธีที่ได้รับความนิยม โดยทางแพทย์ผู้ช่วยเชี่ยวชาญจะใช้การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมด้วย เพื่อช่วยกำหนดตำแหน่งของมะเร็งต่อมลูกหมาก ให้การฉายรังสีมีความแม่นยำและตรงจุดมากยิ่งขึ้น เพื่อลดผลกระทบในการถูกอวัยวะข้างเคียง โดยการฉายรังสีจะใช้รังสีที่มีพลังงานสูงจากเครื่องผลิตรังสี ฉายเพื่อทำลายสารพันธุกรรมสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งหรือหยุดการเกิดเซลล์มะเร็งใหม่ๆ ทั้งนี้การฉายรังสียังสามารถทำลายเซลล์ปกติของร่างกายได้อีกด้วย  โดยปกติการฉายรังสีจะทำการฉายติดต่อกันหลายครั้ง เช่น ฉายรังสีติดต่อกันห้าวันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลาหกถึงแปดสัปดาห์ ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์

การฝังแร่รังสี (Brachytherapy)
เป้าหมายของการฝังแร่รังสีจะคล้ายกับการฉายรังสีจากภายนอก คือ ต้องการทำลายเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก แต่ว่าจะแตกต่างกันตรงที่ จะใช้วิธีการฝังเข็มแร่หรือต้นกำเนิดรังสีเข้าไปภายในเนื้อต่อมลูกหมากเพื่อให้รังสีแผ่ออกมาทำลายเซลล์มะเร็ง โดยวิธีนี้มีความนิยมน้อยกว่าการฉายรังสีจากภายนอก

ผลข้างเคียงไม่ได้เกิดกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาทุกราย ข้อควรคำนึงในการใช้รังสีบำบัดที่อาจเกดิขึ้นได้ คือ การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะคั่ง กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปวดแสบเวลาปัสสาวะ เป็นต้น


ขอบคุณที่มา https://thaiprostatecancer.com

อ่าน วิธีรักษา โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เพิ่มเติม >>


Create Date : 16 สิงหาคม 2563
Last Update : 16 สิงหาคม 2563 9:40:50 น. 0 comments
Counter : 735 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 5734629
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 5734629's blog to your web]
space
space
space
space
space