space
space
space
<<
พฤษภาคม 2563
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
20 พฤษภาคม 2563
space
space
space

วิธีตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากเบื้องต้น

วิธีการตรวจหา มะเร็งต่อมลูกหมาก
โรคมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย แม้จะสามารถตรวจพบได้ในการตรวจสุขภาพทั่วไป แต่คุณผู้ชายส่วนใหญ่ก็มักจะมองข้ามไป เนื่องจากระยะเริ่มต้นมักไม่แสดงอาการ ดังนั้นหากชะล่าใจและไปตรวจพบเมื่อโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเข้าสู่ระยะลุกลามแล้ว ก็อาจจะสายเกินไปที่จะรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งแตกต่างกับระยะเริ่มต้น ดังนั้น การตรวจคัดกรองเบื้องต้น จึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากรู้ตัวเร็วและสามารถเข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างทันท่วงที โดยหลังจากในบทความก่อนหน้านี้ได้เล่าถึงอาการที่สามารถบ่งบอกได้เบื้องต้นกันไปแล้ว หากมีอาการเหล่านั้นข้างต้นก็ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจคัดกรองเฉพาะทาง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งการคัดกรองเบื้องต้นทำได้หลากหลายวิธี

การตรวจคัดกรองเบื้องต้น ได้แก่
การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากทางทวารหนัก Digital rectal examination (DRE)
เป็นวิธีเบื้องต้นที่ทำได้ง่ายที่สุด และมีราคาการตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากถูกที่สุด วิธีการคือ แพทย์จะใช้นิ้วมือสอดเข้าทางทวารหนัก เพื่อคลำหาต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก และคลำสัมผัสดูลักษณะผิดปกติของต่อมลูกหมาก ไม่ว่าจะเป็นขนาด รูปร่าง พื้นผิว และความยืดหยุ่นของต่อมลูกหมาก ซึ่งหากมีแนวโน้มเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง มีรอยขรุขระ ผิวไม่เรียบ

การเจาะเลือดเพื่อตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostatic Specific Antigen : PSA)
เป็นการตรวจ มะเร็งต่อมลูกหมากที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย โดย PSA เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ผลิตขึ้นจากเซลล์ของต่อมลูกหมาก มีหน้าที่ทำให้อสุจิมีลักษณะเป็นน้ำ ป้องกันการจับเป็นก้อน  และยังเป็นส่วนหนึ่งของต่อมอสุจิ การตรวจคัดกรองเบื้องต้นสำหรับโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก นิยมใช้วิธีเจาะเลือดเพื่อหาค่า PSA ซึ่งระดับค่าPSAที่สูงอาจบ่งบอกได้ถึงความผิดปกติของต่อมลูกหมาก เช่น การอักเสบ การติดเชื้อ ต่อมลูกหมากโต และมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยค่า PSA ในระดับปกติจะอยู่ในช่วง 0-4 ng/mL หากผล PSA มีค่ามากกว่า 4 ng/mL ก็มีโอกาสเป็นได้ทั้งโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือโรคอื่นเกี่ยวกับต่อมลูกหมากด้วย ดังนั้นการดูระดับค่า PSA อย่างเดียวจึงไม่สามารถสรุปว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ต้องมีการพิจารณาตรวจเพิ่มเติมในขั้นต่อไป โดยการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง

การตรวจอัลตราซาวนด์ต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก (Transrectal Ultrasound : TRUS)
แพทย์จะใช้เครื่องมือขนาดเท่านิ้วมือ สอดหัวตรวจเข้าทางทวารหนักไปที่ต่อมลูกหมาก ซึ่งวิธีนี้เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ไปกระทบกับต่อมลูกหมาก และสะท้อนออกมาเป็นภาพด้วยคอมพิวเตอร์ การตรวจอัลตราซาวนด์ลักษณะนี้จะสามารถใช้ช่วยในการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากด้วยเข็มขนาดเล็กออกมาเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยชิ้นเนื้อต่อได้ด้วย โดยไม่ต้องวางยาสลบ แต่หลังการตัดชิ้นเนื้ออาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้ เช่น ไข้ขึ้นสูง, ปัสสาวะปนเลือด, เลือดออกทวารหนัก, ปัสสาวะไม่ออก เป็นต้น

ขอบคุณที่มา https://thaiprostatecancer.com

อ่าน วิธีตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากเบื้องต้น เพิ่มเติม >>




 

Create Date : 20 พฤษภาคม 2563
0 comments
Last Update : 20 พฤษภาคม 2563 11:09:14 น.
Counter : 339 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 5734629
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 5734629's blog to your web]
space
space
space
space
space