เลี้ยงลูกให้ทะเล้นท์ พี่ปูนปั้นกะน้องปั้นแป้ง (Poonpun & Punpang)
space
space
space
 
พฤษภาคม 2559
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
11 พฤษภาคม 2559
space
space
space

โรงเรียนแรกของฉัน ความฝันของเรา



เขียนโดย ปะป๊าเอก

คัดลอกเนื้อหามาจาก
//www.amarinbabyandkids.com/family/family-blogger/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9D/


วันแรกในโรงเรียนของลูก

ปัจจุบันการเลือกโรงเรียนให้กับลูก ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญจุดหนึ่งในชีวิตทีเดียว โรงเรียนสำหรับเจ้าตัวเล็กตอนนี้แบ่งเป็น 2 แนวทางหลักๆ คือ โรงเรียนที่เน้นวิชาการ กับ โรงเรียนทางเลือก ซึ่งแนวที่เน้นวิชาการก็จะเป็นโรงเรียนที่เราเห็นทั่วไปและมีมาแต่เดิม ส่วนโรงเรียนทางเลือกมาแพร่หลาย มีหลากหลายแนวคิดให้เลือกในช่วงประมาณ 10 ปีหลัง เช่น มอนเตสเซอร์รี่ วอลดอล์ฟ วิถีพุทธ เป็นต้น นอกจากนั้นก็จะมีแนวโฮมสคูลที่คุณพ่อคุณแม่เป็นคุณครูสอนลูกเองเต็มเวลา สำหรับครอบครัวเราไม่หนักไปขั้วใดขั้วหนึ่ง เราก็เลยเลือกโรงเรียนแนวกลางๆ ซึ่งก็มีให้เลือกไม่น้อย

TRICK
1) ผู้ปกครองเลือกแนวทางและแนวคิดโรงเรียน แต่ให้ลูกเลือกโรงเรียน (ถ้าผ่านไปเรียนแล้วลูกไม่มีความสุข ต้องมาพิจารณาว่าปัญหาอยู่ที่ตัวแนวคิดหรือตัวโรงเรียน)
2) เตรียมความพร้อมพื้นฐานให้ลูกรู้จักช่วยตัวเอง
3) สร้างแรงจูงใจลูกให้รู้จักการไปโรงเรียนและไม่กลัว
4) พูดคุยกับลูกทุกวันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำที่โรงเรียน

ทำความรู้จักโรงเรียน

หลังจากเราเลือกแนวโรงเรียนได้แล้ว เราก็พาเจ้าปูนปั้นไปดูบรรยากาศโรงเรียนต่างๆ ที่เราคัดออกมา แล้วเราก็เฝ้าสังเกตพฤติกรรมว่า เจ้าปูนปั้นชอบที่ไหน โดยสังเกตดูความตื่นเต้นต่อสถานที่ เช่น ห้องเรียน สนามเด็กเล่น รวมถึงให้เขารู้จักกับคุณครูที่ต้องอยู่ด้วยกันทุกวันก่อน แล้วสังเกตว่าเขาเข้ากับคุณครูและสถานที่ได้ไหม

คำนึงการรับ-ส่ง

สำหรับครอบครัวเดี่ยวที่เลือกโรงเรียนใกล้ที่ทำงานของคุณพ่อหรือคุณแม่ที่พร้อมไปรับส่งในเส้นทางที่ต้องไปทำงานอยู่แล้ว มีข้อดีก็คือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินคุณก็จะไปถึงตัวลูกได้เร็ว แต่ข้อเสียคือเด็กจะต้องใช้ชีวิตอยู่บนรถตอนเช้ามากเกินไปหรือเปล่า? ทั้งกินข้าวและเปลี่ยนชุดนักเรียน และส่วนครอบครัวใหญ่ ก็อาจเลือกโรงเรียนใกล้บ้านโดยให้คุณปู่คุณย่า หรือญาติช่วยไปรับส่งได้ ช่วยทำให้ลูกไม่เหนื่อยกับการเดินทาง

ฝึกช่วยเหลือตัวเองเตรียมพร้อมก่อนเข้าเรียน

เราควรสอนให้เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองขั้นพื้นฐานให้ได้มากที่สุด คือ ตักข้าวกินเองได้ หัดให้บอกได้ว่า หิวน้ำ ต้องการไปห้องน้ำ ใส่เสื้อผ้าถอดเสื้อผ้า เป็นต้น ส่วนเรื่อง ก.ไก่ ข.ไข่ ปล่อยให้คุณครูสอนที่โรงเรียนก็ได้ครับ ที่บ้านเราใช้วิธีนำชุดนักเรียนมาให้เขาลองใส่เพื่อสร้างบรรยากาศให้เขาอยากไปโรงเรียน และฝึกให้เข้านอนแต่หัวค่ำ ตื่นมาจะได้สดใส

ใช้เวลาปรับตัว

เด็กบางคนสนุกในช่วง 2-3 วันแรก และงอแงมากเป็นเทอมเลยก็มี เพราะแม้โรงเรียนจะเป็นสถานที่ใหม่แสนสนุก แต่พอเขารู้ว่าต้องมาทุกวัน อดเล่นกับคุณพ่อคุณแม่ที่บ้านเท่านั้นแหละความดราม่าก็บังเกิด เพราะฉะนั้นในทุกๆ วัน คุณอย่าลืมถามลูกว่า “วันนี้ที่โรงเรียนเป็นอย่างไรบ้าง” “เพื่อนชื่ออะไร? คนไหนเป็นอย่างไร?” “คุณครูชื่ออะไร?” เพราะเรื่องราวที่ประทับใจลูก เขาจะเรียบเรียงเล่าออกมาได้ ยกตัวอย่างเช่น หากเป็นการเรียนเต้นรำหรือร้องเพลง เราก็มักให้ปูนปั้นนำแล้วเราก็ทำตามเขา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำให้ปูนปั้นภูมิใจและเพิ่มความมั่นใจในตัวเองเข้าไป

บทความโดย

พ่อเอก จิรัฏฐ์ สิริเฉลิมพงศ์
Blogger เจ้าของนามปากกา บรรทัดที่สิบเอ็ด
คุณพ่อของน้องปูนปั้น ด.ช.ปัญญธัช สิริเฉลิมพงศ์

ภาพ

Shutterstock




Create Date : 11 พฤษภาคม 2559
Last Update : 22 กรกฎาคม 2559 12:09:58 น. 0 comments
Counter : 328 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 3087443
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 3087443's blog to your web]
space
space
space
space
space