 |
 |
 |
 |
 |
|
 |
 |
|
| 1 | 2 | 3 |
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | |
|
|
|
|
 |
27 กุมภาพันธ์ 2550 |
|
 |
 |
|
 |
|
|
|
 |
 |
 |
 |
|
 |
 |
 |
 |
|
นามนั้นสำคัญไฉน
คนส่วนมากมักตั้งชื่อให้มีความหมายที่ดี แต่มีบางชื่อความหมายชื่อที่ตั้งผิดไปจากที่ตั้งใจ เช่น
นิมิต, นิรมิต, เนรมิต
มีความหมายเดียวกันคือ สร้าง, แปลง, ทำ, บันดาลให้เป็นขึ้นมีขึ้น (มาจากภาษาบาลีว่า นิมฺมิต และสันสกฤตว่า นิรฺมิต) ชื่อนี้มักตั้งชื่อโดยมี ร อยู่ข้างท้ายเป็น นิมิตร, นิรมิตร, เนรมิตร ความหมายจะกลับกลายไปทางไม่เป็นมงคลคือ ไม่มีมิตร
ณัฐ, ณัฏฐ์
คำนี้ไม่มีในพจนานุกรม เนื่องจากส่วนมากนิยมใช้ตั้งเป็นชื่อคนเสียมากกว่า โดยอาจเป็นคำเดียวโดด ๆ หรือมีคำอื่นตามเช่น ณัฐวุฒิ, ณัฐวิทย์, ณัฐพล
เรื่องคำว่า ณัฐ หรือเขียนให้เต็มรูปว่า ณัฏฐ์ นี้ เป็นคำที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยมาก ถึงกับได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาไปกราบทูลถามสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๘ (ร.ศ. ๑๒๔) แล้ว พร้อมกันนั้นก็ทรงส่งคำอธิบายที่มาแห่งณัฏฐศัพท์ ของหลวงประเสริฐอักษรนิติ (แพ ตาลลักษมณ เปรียญ) ไปถวายด้วย แล้วสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงเรียบเรียงความเห็นถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพอสรุปได้ว่า
คำว่า ณัฏฐ์ หรือ ณัฐ นี้ แปลว่า นักปราชญ์ ตัว ณ มาจากตัวท้ายของคำว่า ญาณ ซึ่งแปลว่า ความรู้ ตัว ฐ มาจากคำว่า ฐา ธาตุ ในความว่า ตั้งอยู่ เมื่อรวมกันแล้วก็แปลว่า ผู้ตั้งอยู่ในญาณคือความรู้ อันได้แก่บัณฑิตหรือนักปราชญ์นั่นเอง และขั้นสูงสุด ก็หมายถึง พระพุทธเจ้า ดังบาลีว่า ณฏฺโ วุจฺจเต พุทฺโธ แปลว่า บุคคลผู้รู้ นักปราชญ์ เรียกว่า ณัฏฐ ต่อมาท่านตัด ฏ ออก ในปัจจุบันจึงนิยมเขียนว่า ณัฐ
มีดาราคนหนึ่งชื่อ ณัฐฐาวีรนุช ทองมี ชื่อเล่นว่า จ๋า คงตั้งใจให้ชื่อมีความหมายว่า นางผู้กล้าหาญและเป็นนักปราชญ์ ถ้าจะเขียนชื่อเสียใหม่ว่า ณัฎฐาวีรนุช ก็คงได้ความหมายตามต้องการ
แต่ถ้าเขียน ณัฐ, ณัฏฐ์ ผิดเป็น นัฐ, นัฏฐ์ หรือบางทีมีคำอื่นตามเช่น นัฐวุฒิ, นัฐวิทย์, นัฐพล ความหมายของชื่อจะอัปมงคลมาก เนื่องจากคำว่า นัฐ หรือ นัฏฐ์ แปลว่า ฉิบหายแล้ว
มีคำถามที่คุ้นหูอยู่ว่า
"นามนั้นสำคัญไฉน"
ทีนี้คงได้คำตอบแล้วว่า
"นามนั้นสำคัญฉะนี้"
ข้อมูลจาก หนังสือ ภาษาไทยไขขาน กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แพร่พิทยา ๒๕๒๘. หน้า ๒๕๘-๒๖๐ เขียนโดย ศ.จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม
//www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?Search=1&ID=1252
สิริ-ศิริ
ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายว่า
สิริ ผสม, รวม, เช่น สิริอายุได้ ๗๒ ปี, ศรี, มิ่งขวัญ, มงคล
ศิริ ไม่มีในพจนานุกรม
จะว่าคำว่า ศิริ เขียนผิดก็ไม่เชิง สิริ มาจากภาษาบาลีว่า สิริ, สิรี ส่วน ศิริ เป็นคำที่คนโบราณใช้เขียนโดยเอารูปบาลีกับรูปสันสกฤตมาผสมกัน คือเอาตัว ศ มาจากคำสันสกฤตว่า ศรี และเสียง อิริ ก็มาจากคำบาลีว่า สิริ มาผสมกันเป็น ศิริ
คำว่า ศิริ ใช้กันเรื่อยมาจนถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ แม้ทรงพระปรีชาในภาษานคธ สันสกฤต ดังกล่าว ก็มิได้ทรงแก้ไขอย่างไร แต่ถ้าสังเกตให้ดี พระนามพระราชโอรสธิดาในรัชกาลที่ ๔ นั้น มิได้มีคำว่า ศิริ อยู่ในพระนามเลย
ผู้ใหญ่ที่เกิดในสมัยปลายรัชกาลที่ ๔ ท่านเล่าว่า ท่านได้ยินมาว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงมีพระราชกระแสว่า ศรี ใช้อย่างสันสกฤต สิริ ใช้อย่างมคธ แต่ ศิริ ใช้อย่างไทย จึงยังคงใช้ ศิริ กันเรื่อยมา จนถึงรัชกาลที่ ๕ เช่นพระนามสมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ที่เชิญมาตั้งชื่อโรงพยาบาลศิริราช เป็นต้น
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯพระราชทานนามกสกุล นามสกุลใดมีคำว่า ศิริ อันมาจากพระนามหรือนาม หรือราชทินนามของผู้เป็นบรรพบุรุษ ก็มิได้ทรงเปลี่ยนเป็น สิริ ว่ากันว่าทรงมีพระราชกระแสทำนองเดียวกับพระราชกระแสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ
ข้อมูลจาก
บทความเรื่อง ศิริ ใช้อย่างไทย นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ ๒๖๒๓ ปีที่ ๕๑ ประจำวัน อังคาร ที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๔๘ โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์ //www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=3562&stissueid=2623&stcolcatid=2&stauthorid=13
บทความสำหรบรายการวิทยุ "ภาษาไทย ๕ นาที" เรื่อง "คำบาลีผสมสันสกฤต" โดย ศ.จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม //www.tpschamnong.iirt.net/article/basa_5nt077.html
Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2550 |
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2550 15:04:31 น. |
|
0 comments
|
Counter : 14844 Pageviews. |
 |
|
|
| |
|
|
 |
 |
 |
 |
|
|