บทสุดท้าย ปราสาทวัดพู
ปิดท้ายของ trip ลาวใต้ คราวนี้ เป็นการเดินทางไปชมปราสาทวัดพู ซึ่งเป็นสถานที่ที่เป็นมรดกโลก แห่งหนึ่งของลาว นอกเหนือจากหลวงพระบาง เมืองที่นักท่องเที่ยวจะเดินทางไปมากกว่า การเดินทางไปปราสาทวัดพูต้องนั่งเรือข้ามฝั่งไปเมืองจำปาสัก ซึ่งเป็นเมืองเอกของนครจำปาสัก แต่ความเจริญจะน้อยกว่าเมืองปากเซ รถตู้คณะเราข้ามฝั่งไปด้วย แต่มีปัญหาเล็กน้อย ทำให้เราข้ามฝั่งไปรอรถเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง ระหว่างนั่งรอก็ถ่ายรูปไปเรื่อยเปื่อย เจอป้ายโฆษณา อันหนึ่งน่ารักดี...อ่านออกมั้ยเนี่ยหลังจากรถตู้ข้ามขึ้นฝั่งมาได้ เราก็ออกเดินทางไปยังจุดหมาย ในที่สุดก็ถึงแล้ว ..... นักท่องเที่ยวค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับความอะลังการของปราสาท ทั้งนี้อาจเป็นเพราะวันที่เรามาไม่ใช่วันหยุด และยังคงไม่มีการโปรโมทเท่าที่ควร ข้อสังเกตหนึ่งคือสถานที่ท่องเที่ยวที่นี่เค้าอนุรักษ์ไว้ ข้อดีคือ เราได้ชมสิ่งที่เก่าแก่จริง ๆ ไม่มีการเสริมเติมแต่ง เหมือนสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองไทย แต่ก็น่าเสียดายเหมือนกันว่าถ้าไม่มีการบูรณะซ่อมแซม คนรุ่นหลังอาจจะไม่มีโอกาสได้ยล เพราะสถานที่นี้ก็จะทรุดโทรมไปตามกาลเวลามาชมรูปปราสาทกัน...ทางเข้าปราสาทปราสาทเก่าแก่เห็นมั้ยค่ะว่าเก่าแก่จริง ๆ มีไม้ค้ำไว้ด้วย เพราะกลัวทรุด เนี่ยถ้ายังไม่มีการบูรณะปรับปรุง ในเวลาไม่นานก็อาจไม่เห็นภาพปราสาทเต็ม ๆ แบบนี้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับปราสาทวัดพูปราสาทวัดพู : ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองจำปาสักมาทางทิศใต้ประมาณ 10 กิโลเมตร ปราสาทวัดพู หรือ วัดพู นครจำปาสักได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในอดีตที่ตั้งของวัดพู เคยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และแห่งอารยธรรมโบราณถึง 3 สมัยด้วยกัน คือ อาณาจักรเจนละในช่วงศตวรรษที่ 6 8 ค้นพบจารึกกล่าวถึงการฆ่าคนเพื่อบูชาแด่เทพเจ้า ต่อมาเป็นยุคของอาณาจักรขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร ที่เลือกบริเวณนี้เป็นที่สร้างปราสาทหินในราวศตวรรษที่ 9 และสุดท้ายอาณาจักรล้านช้างได้เปลี่ยนเทวาลัยในศาสนาฮินดูให้เป็นวัดในพุทธศาสนานิกายเถรวาท สิ่งที่โดดเด่นสะดุดตาแก่ผู้พบเห็นคือภูเขาด้านหลังปราสาทที่ตั้งเด่นตระหง่านมองเห็นแต่ไกล รูปร่างคล้ายนมของผู้หญิงและคนเกล้ามวยผม ซึ่งเป็นที่มาของชื่อภูผาแห่งนี้ว่าเขานมสาว แต่ชาวบ้านนิยมเรียกภูเกล้ามากกว่า อาณาเขตของปราสาทวัดภู เริ่มต้นจากริมฝั่งแม่น้ำโดยมีบันไดทางขึ้นรถหลั่นกันขึ้นมา 3 ชั้น จนถึงองค์ประธานของปราสาทซึ่งอยู่ชั้นบนสุด นอกเขตวัดมีบารายขนาดใหญ่ ซึ่งในสมัยโบราณใช้เป็นที่แข่งเรือและที่สรงน้ำสำหรับพิธีกรรมต่างๆ เมื่อเข้าไปในบริเวณวัด จะเห็นซากวังที่พระราชวงค์สายจำปาสักให้สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรงานเทศกาลประจำปี ซึ่งจะจัดขึ้นในวัน 15 ค่ำ เดือน 3 สืบทอดต่อมาจนทุกวันนี้ ถัดมามีบันไดทางขึ้นที่ตัดในแนวตะวันออก ตะวันตก ทอดผ่านสระน้ำทรงสี่เหลี่ยม 2 แห่ง ตรงขึ้นไปสู่ชาลา (ทางเดิน) ชั้นกลางซึ่งมีปรางค์ 2 หลังขนาบข้าง สันนิษฐานจากภาพสลักรูปเทพเจ้าว่า ปรางค์ด้านขวามือเป็นสถานที่บวงสรวงบูชาสำหรับบุรุษ ส่วนปรางค์ทางซ้ายมือเป็นสถานที่บวงสรวงสำหรับสตรี เหนือโคปุระหรือประตูทางเข้าปรางค์ทั้งสอง เป็นทับหลังแกะสลักภาพนูนต่ำเล่าเรื่องราวในศาสนาฮินดู เดินต่อมาผ่านสิ่งปลูกสร้างหลายหลัง มีภาพปรักหักพังจนมองไม่ออกว่าสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ใด ผ่านบันไดที่มีรูปรางคล้ายเกล็ดนาคมาถึงหินสลักรูปโยนี สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ของศาสนาฮินดูที่อยู่ทางขวามือและซ้ายมือของทางเดินหลักถัดมาเป็นบันไดสูงชันที่ทอดสู่ชาลาชั้น 3 ผ่านทิวแถวของต้นจำปาเรียงรายสองข้างทางมาถึงปรางค์ประธานตั้งอยู่ท่ามกลางซากปรักหักพังของเทวรูป ทับหลัง และต้นไม้น้อยใหญ่ ในอดีตมีการต่อรางน้ำที่ไหลออกจากหินนย้อยในหลืบถ้ำบริเวณด้านหลังมาสู่ศิวลึงค์ที่ประดิษฐานอยู่ภายในองค์ประธาน เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งบ่งบอกได้ว่าปราสาทวัดพููแห่งนี้ในอดีตเคยเป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดูไศวนิกาย แต่ปัจุบันศิวลึงค์ได้ถูกนำออกมาและเปลี่ยนไปเป็นพระพุทธรูปแทน ชาวบ้านนิยมนำดอกไม้ธูปเทียนมาบูชา และเรียกปรางค์ประธานแห่งนี้ว่า หอไหว้ ส่วนทางด้านหลังซ้ายมือของปรางค์ประธานมีแผ่นหินขนาดใหญ่ ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีภาพแกะสลักรูปตรีมูรติขนาดเกือบเท่าคนจริง ซึ่งหมายถึงเทพเจ้าทั้ง 3 องค์ ผู้เป็นใหญ่ในศาสนาฮินดูได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม เดินถัดมาประมาณ 10 เมตร จะพบก้อนหิน 2 ก้อน แกะสลักเป็นรูปจระเข้และบันไดนาคอยู่ตรงข้ามกัน เชื่อว่าอาจเป็นฝีมือของชาวเจนละในสมัยนั้นที่สลักไว้เพื่อใช้ในพิธีบูชายัญ นอกจากนี้ยังพบก้อนหินรูปร่างกลมขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนยอดเขาแกะสลักเป็นรูปหัวช้างเชื่อว่าเป็นหลักฐานชิ้นสุดท้ายสมัยของเรืองอำนาจ สำหรับงานบุญประเพณีของวัดพูเป็นเทศกาลที่โด่งดัง และดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ทั้งจากในและต่างประเทศ โดยจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งจะจัดติดต่อกัน 3 วัน โดยประชาชนชาวลาวจากทั่วทุกแขวงจะเดินทางนำสิ่งของมาบวงสรวงบูชาตามจุดต่างๆ ในบริเวณองค์ประธาน สำหรับในวันสุดท้ายจะมีพระสงฆ์ออกมาบิณฑบาต พอตกค่ำจะมีพิธีเวียนเทียนไปรอบๆปรางค์ประธาน(ที่มาของข้อมูล //www.oceansmile.com/Lao/Watphu.htm)มีไม่กี่คนในทีมที่เดินขึ้นเขาไปจุดสูงสุดของปราสาท แต่ตัวดิชั้นเอง ไม่ไหว สงสัยว่าสูงวัยแล้ว....เอิ้ก..อีกอย่างดูเหมือนหัวหน้าคณะของเราจะทำเวลาที่จะกลับเมืองไทยวันนี้ด้วยแล้ว ก็ขอสมัครใจเดินเก็บภาพแถว ๆ ชั้นล่างของปราสาทเท่านั้น นั่งเหงา ๆ รอใครน้อวุฒิกะเจ้อ้อมลงมาพร้อมเพรียงกันเที่ยงก็ชิมก๋วยเตี๋ยวของร้านอาหารร้านเดียวที่อยู่บริเวณนั้น สนนราคา ชามละ สี่สิบบาท รสชาติอร่อยไม่แพ้ก๋วยเตี๋ยวบ้านเราแต่ที่ต่างกันตรงพวงเครื่องปรุง มีถ้วยผงชูรสให้ตักด้วย...............อร่อยกันจริงจากนั้นเราก็เดินทางกลับเมืองไทย..............ขากลับทีมงานไม่ค่อยคึกคักเท่าขามา เดินทางมาถึงช่องเม็ก ราว ๆ สี่โมงเย็น ช้อปปิ้งซึ้อของฝากกันเล็กน้อย ที่ขายดีเห็นจะเป็นกาแฟลาว ยี่ห้อ ดาว (ของคุณนายดาวเรือง)นี่ละ.......ใช้เวลาช้อปปิ้งและตรวจเอกสารที่ด่านประมาณครึ่งชั่วโมงก็กลับสู่พื้นแผ่นดินไทย พนักงานขับรถของเราสองคน คุณพี และคุณวี ดีใจกว่าใครเพราะเธอสองคนจะได้ปฏิบัติภารกิจหน้าที่ตนเองเสียที หลังจากอัดอั้นมานานตอนอยู่ที่ลาวนอกจากจะไม่ได้ขับรถเอง แล้วต้องลุ้นแทนคนขับรถของคณะทัวร์ด้วย เย้ เย้...............ถือว่าเสร็จสิ้นทริปลาวใต้ ด้วยความประทับใจขอขอบคุณเพื่อนร่วมทริปทุกท่าน พี่วิมาน อดีตข้าราชการที่เกษียณแล้วยังมาร่วมทริปกับน้อง ๆ และสร้างความสนุกสนานให้คณะทัวร์ รวมทั้งคนขับรถที่นำเราสู่เมืองไทยโดยสวัสดิภาพ ขอบคุณลูกทัวร์สูงวัยทุกท่าน และทีมของทัวร์ ไกด์ที่พาเราไป แม้ว่าจะไม่ค่อยประทับใจกับทัวร์นี้สักเท่าไหร่ แต่ก็ถือว่าเราก็โชคดีที่เดินทางกับโดยปลอดภัย และขอบคุณคนอ่านทุกคนค่ะ