Heat Sync : ผลงานที่ผ่านเข้ารอบ Use Me Again


ผลงาน : Heat Sync (Home decoration - Ecological - Artistic - Techonology - Tasking + Sync)

เจ้าของผลงาน 
  • ภิญโญ คงสุภาพศิริ   อายุ 33 ปี   อาชีพ มัณฑนากร
แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน
  • ในแต่ละปีสำนักงานหลาย ๆ แห่งมีการปรับปรุงเรื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ทำให้อุปกรณ์ไอทีที่เสียหรือตกรุ่นถูก กองทิ้งไว้ในห้องเก็บของเพื่อเตรียมขายออกเป็นขยะจำนวนมหาศาล โครงการ Use Me Again ได้กระตุ้นเตือนให้ตัวผมเองเข้ามาพิจารณาและดูขยะเหล่านี้ พบว่าอุปกรณ์ไอทีหลาย ๆ ชิ้น ออกแบบรูปทรงได้สวยมาก เพียงแต่ว่ามันไม่เคยได้ถูกใช้งานในลักษณะของทางกายภาพเลย เมื่อชิปเสีย ส่วนประกอบอื่น ๆ ก็ใช้งานไม่ได้ผู้คนเลยละเลยหลงลืมที่จะนำมาใช้ใหม่ในจุดประสงค์อื่น ตัว Heat sink เองถูกสร้างขึ้นด้วยวัสดุที่ดี ทองแดงหรืออลูมิเนียม สถาปัตยกรรมชั้นเลิศ แต่กลับมีประโยชน์สำหรับพ่อค้าของเก่าเท่านั้น ถ้าเราสามารถนำสิ่งเหล่านี้มาออกแบบให้เข้ากับสินค้าในกลุ่มหลักที่ผู้บริโภคสนใจ คือกลุ่มสินค้าของ apple จะเป็นเรื่องที่เราสามารถจะสื่อสารโดยตรงกับผู้บริโภคได้ง่ายและเร็วที่สุด ซึ่งจะรวดเร็วกว่านำไปทำเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่สนใจ
การช่วยผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลงาน
  • ในปัจจุบันมีขยะไอทีเหลือใช้ในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก ผลงาน Heat sync จะเป็นตัวกระตุ้นเตือนให้หลาย ๆ คนหันมามองขยะไอทีรอบตัวเรา โดยที่สามารถนำมาประดิษฐ์ได้ด้วยตนเอง สามารถทำใช้เองได้ในบ้าน เป็นการประหยัดเงินในการซื้อของใหม่ และลดขยะที่จะปล่อยสู่สังคมได้อีกด้วย ผลงาน Heat sync ใช้ขยะจากวัสดุไอทีที่ีอยู่ภายในออฟฟิศ เก็บไว้หลายปีเพื่อขายออกสู่ผู้ค้าของเก่า แต่ปัจจุบันหลังจากเริ่มทดลองผลงานชิ้นนี้แล้ว ขยะไอทีภายในออฟฟิศจะถูกนำมาดัดแปลงให้เป็นของใช้อื่น ๆ อีกต่อไป ขยะทุกชิ้นมีค่าอยู่ที่มีมุมมองว่าจะนำมันกลับมาใช้ใหม่อย่างไร
วัสดุที่ใช้
  • วัสดุไอทีเหลือใช้ ได้แก่ Heat Sink อลูมิเนียม, Hard Disk, พัดลมที่แกะจาก Heat Sink, Heat Sink ทองแดง 
  • วัสดุเหลือใช้อื่น ๆ ได้แก่ เศษยางแผ่น กาว วัสดุผสาน สีสเปรย์
  • วัสดุใหม่ ได้แก่ USB Hub สายต่อเชื่อม USB หัวปลั๊กตัวผู้สำหรับชาร์ตไฟ แจกันแก้วใสขนาดเล็ก ดินวิทยาศาสตร์ และต้นไผ่กวนอิม
ค่าใช้จ่ายในการประดิษฐ์ : 689 บาท

ขั้นตอนและวิธีการ
  • นำ Heat Sink มาแกะพัดผลออกจากครีบอลูมิเนียม และทำความสะอาด 
  • เริ่มทำ Docking ของไอแพดด้วยการนำครีบอลูมิเนียมมายึดติดกับฐานที่เป็นฮาร์ดดิสก์ โดยวางเหมือนการก่ออิฐ เพื่อให้วัสดุเชื่อมติดกันได้ทั้งกลุ่ม ยึดผนังพิง (ครีบระบายความร้อน) เข้ากับฐาน ตัดชิ้นยางแผ่นทำเป็นที่ล็อกไอแพด แล้วตัดชิ้นยางบาง ๆ แปะที่พนักพิงเพื่อรับน้ำหนักไอแพด และป้องกันรอยขีดข่วน
  • ทำ Docking ของไอโฟน โดยใช้พัดลมพลาสติกที่แกะมาจากครีบอลูมิเนียม นำฝาล็อกที่เป็นพลาสติกแข็งมาตัดให้มีส่วนโค้งเป็นขารับไอโฟน แล้วนำไปติดกับตัวพัดลมที่พลิกด้านใต้ขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์จากพัดลมทำขาตั้งหมุนได้ จากนั้นนำไปพ่นสี เพื่อรวมเป็นคอลเลกชั่นกับตัวอื่นๆ
  • เทดินวิทยาศาสตร์ลงในแจกันแก้วใสที่มีต้นไผ่กวนอิมอยู่ ติด USB Port ด้านข้าง Docking ไอแพด และติดแผ่นยางเพื่อล็อกขณะวาง
  • ได้ Heat Sync Docking ที่แยกได้เป็นสามชิ้นและต่อรวมเป็นชุดเดียวได้
ประโยชน์ใช้สอย 
  • เป็น Docking ให้ iPhone และ iPad โดยสามารถใช้ Sync เข้าคอมพิวเตอร์ได้พร้อมกัน


ภิญโญ คงสุภาพศิริ

“เริ่มแรกเลย ลองสำรวจอุปกรณ์ไอทีในออฟฟิศ และพบว่าหลายอย่างมีคาแรคเตอร์ที่แตกต่างกัน อย่าง heat sink มีคาแรกเตอร์ที่โดดเด่น ช่วยปกป้อง CPU ไม่ให้ร้อนจนเกินไป ผมว่าน่าสนใจเลยลองนำมาปรับเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น ซึ่งช่วยลดขยะได้ด้วย เรื่องสิ่งแวดล้อมจริง ๆ มันไม่ใช่ค่านิยม แต่เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องทำ ทุกวันนี้โลกเปลี่ยนแปลงไปเยอะมาก เราต้องช่วยกันเพื่อให้เหลือโลกที่ดีให้ลูกหลานในอนาคต”





Create Date : 30 พฤษภาคม 2556
Last Update : 24 มิถุนายน 2556 15:18:20 น.
Counter : 1962 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

น้องพาพัน
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



Group Blog
พฤษภาคม 2556

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
31
 
 
All Blog