อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต มันก็เหมือนกันน่ะแหละ

 
ตุลาคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
27 ตุลาคม 2552
 

ประวัติวิชานินจุสสุ สาย โตกาคุเระ

โตกาคุเระ ริว นินโป


ประวัติวิชานินจุสสุ สาย โตกาคุเระ


ในปี 1182 ระหว่างยุคสงครามของญี่ปุ่น มินาโมโต โยชินากะ ผู้นำทัพจากจังหวัดนากาโนะได้ยึดครองเมืองเกียวโต

เมื่อได้รับชัยชนะปรากฏว่าเขาถูกโจมตีจากญาติของเขาคือ มินาโมโต โยชิสุเนะ เมื่อทหารของโยชิสึเนะ

ได้ทำการปิดแม่น้ำอูจิซึ่งเป็นแม่น้ำหลักของเกียวโตแล้วทำให้โยชินากะต้องถอยทัพออกไป


ซามูไรคนหนึ่งของโยชินากะชื่อ ไดสุเกะ นิชินะ จากหมู่บ้านโตกาคุเระ ได้หลบหนีไปที่เทือกเขาของอิกะ

ภูเขาได้ให้ที่หลบซ่อนอย่างดีสำหรับทหารที่ต้องหลบหนีศัตรูที่ยังไล่ตามหาทหารของโยชินากะ และได้ให้สถานที่ ๆ

เหมาะสมกับไดสุเกะและผู้ติดตามที่จะฝึกฝนตนเองเป็น"ยามาบูชิ" หรือ "นักรบภูเขา" ต่อมาภายหลังไดสุเกะ นิชินะ

ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ไดสุเกะ โตกาคุเระ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันภายหลังว่าเป็นผู้ก่อตั้ง นินจุสสึ สายโตกาคุเระ


ระหว่างที่อยู่ในอิกะ ไดสุเกะได้พบกับ คะกะคุเระ โดชิ ซึ่งเป็นชิโนบิ และ ผู้สืบทอดวิชาฮะคุน ริว ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของวิชานินจุสสุ

ไดสุเกะได้ฝึกการต่อสู้กับโดชิ และ นำมาผสมกับความเชื่อที่เรียกว่าชูเก็นโดของเขา

(เป็นความเชื่อเรื่องแนวทางความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ)

ซึ่งตอนนั้นเองวิชาของโตกาคุเระ ริวได้เริ่มถูกขัดเกลาขึ้น นอกจากไดสุเกะยังมีซามูไรอีกคนหนึ่งที่ได้ฝึกการต่อสู้กับโดชิพร้อมกัน

ชื่อ ชิมะ โคซันตะ มินาโมโตะ ซึ่งเป็นเพื่อนของไดสุเกะ ซึ่งชิมะนี้เองกลายเป็นผู้สืบทอดคนที่สองของโตกะคุเระ ริว ต่อไป

หลังจากไดสุเกะเสียชีวิต ชิมะก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ไดสุเกะ โตกาคุเระ หลังจากนั้นลูกชายของเขาชื่อ โกะโระ โตกาคุเระ

ได้ขึ้นเป็นผู้สืบทอดลำดับที่สาม ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่สร้างแบบแผนการฝึกให้กับวิชาสายโตกาคุเระที่ใช้จนถึงปัจจุบัน


ต่อจากนั้นมานินจุสสุ สายโตกาคุเระได้สืบทอดต่อกันมาเรื่อย ๆ จากรุ่นสู่รุ่นอยู่ในเทือกเขาของอิกะ

ประมาณยุคของผู้สืบทอดลำดับที่สิบเอ็ดถึงสิบสามศูนย์กลางของนินจุสสุสายโตกาคุเระได้​จากหมู่บ้านโตกะคุเระมาอยู่ที่อิกะ อูเอโน่

(อูเอโน่อยู่ทางเหนือของอิกะ ส่วนโตกาคุเระอยู่ทางใต้ของอิกะ) แต่ยังไงก็ตามต่อมาศูนย์กลางของนินจุสสุ

สายโตกาคุเระก็กลับมาที่หมู่บ้านโตกะคุเระเช่นเดิม เนื่องจากแต่ละตระกูลในอิกะค่อนข้างใกล้ชิดกัน

หากดูในรายชื่อผู้สืบทอดจะเห็นชื่อตระกูลที่มีชื่อเสียงอย่าง อิกะ และ โคกะด้วย มีการกล่าวว่านินจุสสุสายของ

ฮัตโตริ ฮันโซก็เคยฝึกวิชาสายโตกาคุเระ และ ตระกูลโมโมชิก็เช่นกัน

โมโมชิ โคเบอิ ผู้สืบทอดของโมโมชิ ซันดายุ ซึ่งเป็นหนึ่งในนินจาที่มีชื่อเสียงที่สุดก็เป็นผู้สืบทอดของโตกะคุเระ ริว ลำดับที่ยี่สิบเอ็ด


เหมือนกับวิชาอื่น ๆ ในสมัยนั้น ผู้นำของวิชานินจุสสุสืบทอดจากพ่อสู่ลูก หรือ สมาชิกที่อาวุโสที่สุด

จนกระทั่งสืบทอดมาถึงโนบุซึนะ โทดะ ผู้นำตระกูลโทดะ และ ผู้สืบทอดลำดับที่ยี่สิบสี่

ซึ่งนอกจากวิชานินจุสสุสายโตกาคุเระยังสืบทอดวิชานินจุสสุสายคุโมกาคุเระ ,เกียวโค ริว และ โคโต ริวด้วย

ซึ่งต่อจากนั้นมาวิชาทั้งหมดได้ถูกสืบทอดไปพร้อม ๆ กัน


ผู้สืบทอดลำดับที่สามสิบสองของโตกะคุเระ ชื่อ ชินริวเค็น มาซะมิซึ โทดะ ซึ่งเป็นอาจารย์สอนดาบให้กับโตกุคาว่า โชกุนะเตะ

ได้ลาออกจากราชการเมื่อพบว่าวิชาที่สั่งสอนไปได้ให้กับโตกุคาว่าถูกใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง

ซึ่งผิดกับกฏของโตกะคุเระ ริว ซึ่งอาจารย์โทดะได้พบและเป็นอาจารย์ของอาจารย์ทากามัสซึ

ซึ่งเป็นคนจากตระกูลโทดะคนสุดท้ายในเวลาต่อมา ปัจจุบันการสืบทอดมาสู่อาจารย์มาซึอะกิ ฮัสซึมิ

ผู้สืบทอดลำดับที่สามสิบสี่ของโตกาคุเระ ริว นินโป


ลำดับผู้สืบทอดของโตกาคุเระ ริว


1. Togakure Daisuke

2. Shima Minamoto Kanesada

3. Togakure Goro

4. Togakure Kosanta

5. Koga Kisanta

6. Kaneko Tomoharu

7. Togakure Ryuho

8. Togakure Gakuun

9. Kido Koseki

10. Iga Tenryu

11. Ueno Rihei

12. Ueno Senri

13. Ueno Manjiro

14. Iizuka Saburo

15. Sawada Goro

16. Ozaru Ippei

17. Kimata Hachiro

18. Kataoka Heizaemon

19. Mori Ugenta

20. Toda Gogei

21. Kobe Seiun

22. Momochi Kobei

23. Tobari Tenzen

24. Toda Seiryu Nobutsuna

25. Toda Fudo Nobuchika

26. Toda Kangoro Nobuyasu

27. Toda Eisaburo Nobumasa

28. Toda Shinbei Masachika

29. Toda Shingoro Masayoshi

30. Toda Daigoro Chikahide

31. Toda Daisaburo Chikashige

32. Toda Shinryuken Masamitsu

33. Takamatsu Toshitsugu Uoh

34. Hatsumi Masaaki


การฝึกนินจุสสึให้ความสำคัญกับการฝึกแบบแผนการใช้มือเปล่าและอาวุธ

วิธีการใช้การวางแผนและการใช้ความคิดถูกสอนในแบบหลากหลาย

เพื่อฝึกให้ผู้ฝึกสามารถตอบโต้ได้หลายรูปแบบ เทคนิคถูกทำให้ง่ายขึ้นเพื่อไปใช้ให้เหมาสมตามสถานการณ์

ความแข็งแรง อายุ และ ความสามารถของผู้ใช้


ถึงแม้ปัจจุบันจะมีหลายคนออกมาอ้างตัวว่าเป็นผู้สืบทอดวิชานินจุสสุ แต่ยังไม่มีใครนอกจากอาจารย์มาซึอะกิ ฮะซึมิ

ที่จะมีหลักฐานว่าเป็นผู้สืบทอดจริง ๆ โดยเฉพาะในสายของอิกะ โคกะที่หายสาบสูญหรือผู้สืบทอดเสียชีวิตไปโดย

ไม่ได้แต่งตั้งใครใหม่นั้นก็มีคนแอบอ้างออกมาจำนวนมาก แต่เมื่อสืบค้นดูจริง ๆ แล้วโดยมากกลับไม่พบที่มาที่ไป

บางคนเป็นเพียงนักวิจัย บางคนเป็นนักแสดงเล่นเป็นนินจาตามเมืองเหล่านี้อยู่ดี ๆ ก็อ้างเป็นคนสืบทอดเสียเองก็มี



PS. บทความนี้ตอนแรกผมเขียนไว้ใน //www.bujinkan-thailand.com












Create Date : 27 ตุลาคม 2552
Last Update : 27 ตุลาคม 2552 23:59:37 น. 0 comments
Counter : 1138 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

buyuth
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




PhD in Informatics

รูปถ่ายทุกรูปในเวปสงวนลิขสิทธ์
ไม่สามารถนำไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต

Creative Commons License

บทความใน Blog ทั้งหมดใช้
ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย

[Add buyuth's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com