อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต มันก็เหมือนกันน่ะแหละ

 
สิงหาคม 2560
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
8 สิงหาคม 2560
 

มุไกริว อิไอโด / อิไอเฮียวโด



ไม่ได้มาเขียนอะไรที่ Bloggang มานานจนแทบลืมไปว่ามี blog นี้อยู่ จะมาอัพเดทบ้างแล้วกัน 


ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผมไปอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ผมได้เข้าร่วมสัมผัสศิลปะการต่อสู้หลายชนิด ทั้งคิวโด้(วิชาธนูญี่ปุ่น), อิไอ และ ทาเมชิกิริ ทำให้ได้เข้าใจวิชาต่าง ๆ มากขึ้นในมุมมองที่ต่างจากวิชาที่เคยศึกษา 

จนในที่สุดก็ได้ของอนุญาตอาจารย์เพื่อร่วมเข้าฝึกและเป็นสมาชิกของสำนักมุไก อิไอเฮียวโด (อักษรจะเขียนว่าเฮย์โดแต่จะอ่านอีกแบบหนึ่ง) 

วิชาดาบอิไอ ของสำนักมุกริวนั้น ท่าทั้งหมดมีความแตกต่างจากวิชาดาบอิไอโดทั่วไป โดยจัดเป็นสำนักโบราณหรือโคริววิชาหนึ่ง



วิถีดาบของมุไกริว มีลักษณะเด่นคือความกระชับ และ การเคลื่อนไหวที่ตรงไปตรงมา วิชานี้ถูกสร้างขึ้นโดยซามูไรในแถบเมืองอิกะ โดยมีความเกี่ยวเนื่องกับวิชาเซนค่อนข้างมาก เนื่องจากปรมาจารย์รุ่นแรกได้พบว่าเมื่อฝึกวิชาดาบแล้วยังมีบางสิ่งบางอย่างที่ขาดหายไป คือการฝึกฝนตัวเองด้านจิตใจ จึงได้ฝึกฝนตนเองในวิถีเซนจนได้รับชื่อเสียงเป็นอย่างมาก 

ในอดีตวิชาของสำนักมุไกโดยตัวปรามาจารย์รุ่นแรกนั้นมีชื่อเสียงอย่างมาก จนได้รับการเชื้อเชิญโดยไดเมียวจำนวนมาก ให้ไปสอนโดยเฉพาะกลุ่มซามูไรของปราสาทฮิเมจิ ซึ่งท่านที่ได้เข้าถึงวิถีแห่งเซ็นแล้วก็เลือกที่จะส่งลูกศิษย์ของตนเดินทางไปสอนแทนตัวเองตามสถานที่ต่าง ๆ จะวิชาดาบนี้ได้กระจายไปทั่วประเทศ

นอกจากนั้นเมื่อครั้งที่มีการก่อตั้งสมาพันธ์อิไอโดแห่งประเทศญี่ปุ่นท่ากาต้าของมุไกริวในภายหลังบางส่วนได้ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างมาตรฐานของวิชาดาบของอิไอโดร่วมกับอีกสี่สำนักใหญ่โดยสมาพันธ์อิไอโดแห่งประเทศญี่ปุ่นด้วย เรียกว่า Zen Nippon Iaido Toho 
(อักษรคันจิคำว่า Zen ในที่นี้มีความหมายถึง “ทั้งหมด” ไม่ใช่วิชาเซน)

วิชาของสำนักมุไก มีลักษณะเหมือนกับวิชาโคริว หรือ วิชาโบราณอื่น ๆ คือ ประกอบไปด้วยหลายส่วน เช่น อิไอโด เคนจุสสุ และ ทาเมชิกิริ ลักษณะหลายอย่างของมุไกริวผิดแผกจากวิชาดาบสำนักอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด การใช้ดาบที่สั้นกว่า)ํ การพกดาบที่ตัวโกร่งดาบอยู่กลางลำตัว และ กาต้าหลายท่าที่เป็นเอกลักษณ์

ปัจจุบัน มุไก ริว มีหลายหลายสำนักและกลุ่มองค์กรเนื่องจาก ซึจิ เกตตัน ซุเกะโมชิ และ ผู้สืบทอดได้เผยแพร่สอนวิชาดาบ มุไกริว อิไอ เฮียวโด ให้กับศิษย์จำนวนมากในหลากหลายสถานที่ จึงทำให้มีศิษย์ที่ได้ เม็งเกียวไคเด็นกระจายอยู่ทั่วญี่ปุ่น ซึ่งการเดินทางที่ยากลำบากและระยะห่างในขณะนั้นทำให้เกิดสำนักที่ได้สอนวิชาของ มุไก ริว ในชื่อสมาคมที่แตกต่างกันไป ซึ่งหลายสำนักเทคนิคก็ได้ผสมผสานกับวิชาอื่น ๆ ไปด้วย 

อาจารย์ โคนิชิ มิสะคะซุ ริวโอ นับเป็นโซเกะผู้สืบทอดคนที่ 16 ของ มุไก ชินเด็น มุไกริว อิไอ เฮียวโด นั้นรับสืบทอดตำแหน่งโดยสอนมุไกริวที่คงไว้ในแบบดั้งเดิม และจัดตั้งสมาคม ชิริวไค ที่ฮิเมจิ ดูแลกลุ่มสมาคมของมุไก ริว ทั้งหมดรวม 6 กลุ่มสมาคม โดยมุซาชิโนะคุนิมุไกริวเป็นหนึ่งในสมาคมที่ท่านดูแลโดยโรงฝึกกระจายอยู่ในแถบโตเกียว และ จังหวัดโดยรอบ 

เมื่อได้กลับมาเมืองไทยในช่วงแรกได้เปิดการฝึกให้กับกลุ่มศิษย์ภายใน แต่ต่อมาได้ขออนุญาตจากอาจารย์ จนได้รับอนุญาตให้เปิดกลุ่มฝึกอย่างเป็นทางการในประเทศไทยและสอนแก่บุคคลทั่วไปได้ ในชื่อ "มุไก ริว กรุงเทพ"











 

Create Date : 08 สิงหาคม 2560
0 comments
Last Update : 8 สิงหาคม 2560 3:09:00 น.
Counter : 5187 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

buyuth
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




PhD in Informatics

รูปถ่ายทุกรูปในเวปสงวนลิขสิทธ์
ไม่สามารถนำไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต

Creative Commons License

บทความใน Blog ทั้งหมดใช้
ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย

[Add buyuth's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com