กันยายน 2561

 
 
 
 
 
 
3
4
6
7
8
9
11
13
15
16
17
19
20
21
22
23
24
25
27
29
30
 
 
All Blog
เสื้อยืด นวัตกรรมเครื่องแต่งกาย จากอดีตถึงอนาคต




 เสื้อยืด   นวัตกรรมเครื่องแต่งกาย  จากอดีตถึงอนาคต

เสื้อยืดแขนสั้นหรืออีกชื่อที่รู้จักกันในนามT-shirt ถือกำเนิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 ซึ่งในปัจจุบันเสื้อยืดกลายเป็นแบบเสื้อที่มีคนนิยมใส่กันทั่วโลก ปี ค.ศ. 1990 แค่ในประเทศสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว ก็สามารถขายได้กว่าพันล้านตัว    จุดเริ่มต้นของเสื้อยืดคาดว่ามาจากชุดชั้นในที่ใช้สวมใส่ทำงานกลางแจ้ง มีเรื่องเล่าว่าเสื้อยืดมีกำเนิดมาจากกะลาสีเรือ โดยช่วงหนึ่งกะลาสีเรือชาวอังกฤษ ได้รับคำสั่งให้ทำการตัดเย็บแขนเสื้อสั้นๆติดไว้กับเสื้อกล้าม เพื่อที่เหล่าพระราชวงศ์จะได้ไม่เห็นขนรักแร้   เกี่ยวกับตัวอักษร ที่นำหน้าT-shirt ก็อาจจะมาจาก Tea ที่แปลว่า ชา   ซึ่งจุดกำเนิดของเสื้อยืดอาจจะมาจากคนขนถ่ายใบชาที่ท่าเรือแอนนาโปลิส  ในมลรัฐแมรีแลนด์  ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17  ได้ใส่เสื้อยืดแขนสั้นทำงาน  หรืออีกหนึ่งต้นกำเนิดตัว "T" อาจจะมาจากรูปร่างของเสื้อที่มีรูค่างเหมือนตัว "T"    ในปี ค.ศ.1913 กองทัพเรือสหรัฐฯ   กำหนดให้ทหารเรือใส่เสื้อผ้าฝ้ายสีขาวแขนสั้นคอกลมไว้ใต้เสื้อจัมเพอร์ที่ใช้เป็นเสื้อสวมศีรษะคลุมถึงสะโพก เหตุผลส่วนหนึ่งก็คงเพราะต้องการจะปิดบังไม่ให้เห็นขนหน้าอกอันน่าเกลียด เสื้อยืด หรือทีเชิ้ตมีประโยชน์สำหรับชายหญิงเป็นล้านๆคน ที่รับราชการทหาร โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อน เพราะดูเรียบร้อย ซักง่าย  เอาไว้ขัดหัวเข็มขัดก็ได้ ขัดรองเท้าก็ได้ ม้วนทำหมอนหนุน หรือเป็นผ้าพันแผล  นับว่าเป็นเสื้อสารพัดประโยชน์จริงๆ


เสื้อยืดคอวีแขนสั้น ผ้าสแปนเด็กซ์



ต่อมาสมัยหลังสงครามเสื้อยืดเปรียบเสมือนเสื้อชั้นในเลยก็ว่าได้ยิ่งถ้าเป็นแถบอากาศอบอุ่นแล้วจะใส่เพียงเสื้อยืดอย่างเดียว และไม่จำเป็นต้องมีเสื้อทับ เพราะมันเป็นเสื้อผ้าที่บ่งบอกถึงความมีสิทธิเท่าเทียมกัน  ไม่ว่าใครอาชีพใดๆ ก็สามารถใส่ได้ทุกคน ในยุคนั้นเหล่าทหารทั้งหลายส่วนใหญ่หากไม่ได้ใส่เสื้อยืดจะมีความรู้สึกเหมือนกำลังแก้ผ้าอยู่ทีเดียว  ส่วนใหญ่เราจะเห็นคนงานชอบใส่เสื้อยืด เพราะใส่สบาย เสื้อยืดเข้ามาแทนที่เสื้อกล้ามแบบโชว์รักแร้ทำให้เสื้อยืดกลายเป็นสัญลักษณ์ของชนชั้นกรรมาชีพ ปีค.ศ.1951ภาพยนตร์เรื่อง “A Street CarNamed Desire ” ซึ่งนำแสดงโดย มาลอน  แบรนโด ตอกย้ำสถานภาพของเสื้อยืดในยุคนั้น ซึ่งแบรนโดเล่นเป็นชายชาตรีที่ดุดันหยาบกระด้าง  กล้ามเนื้อเป็นมัดของเขามองเห็นได้ชัดใต้เสื้อทีเชิ้ตรัดรูป   และก็แบรนโดอีกเช่นกันที่ทำให้เสื้อยืดเป็นเสมือนธงรบของวัยรุ่นที่คิดกบฏต่อพ่อแม่  ซึ่งภาพพจน์นี้ยืนยาวที่สุด ในช่วงปลายทศวรรษที่ 60 เสื้อยืดถูกนำมาย้อมสี  โดยเอาเชือกมัดก่อนย้อม ซึ่งเรียกวิธีนี้ว่าการมัดย้อม เพื่อให้เสื้อยืดเกิดเป็นลวดลายต่างๆ หรือการระบายสี หรือการพิมพ์ซิลค์สกรีนเป็นรูปเครื่องหมายสันติภาพและสัญลักษณ์ของการประท้วง เสื้อยืดกลายเป็นเวทีแสดงความรู้สึกส่วนตัว การแสดงออกถึงหลักปรัชญา   การโฆษณาผู้สมัครรับเลือกตั้ง และโฆษณาสินค้าต่างๆ  ช่วงทศวรรษที่ ๗๐   ช่วงสงครามเวียดนาม ซึ่งณ ตอนนั้นได้มีการนำข้อความต่างๆที่แสดงออกถึงความเห็นโต้แย้งมาพิมพ์บนเสื้อยืด เด็กหนุ่มสาวต่างนิยมใส่เสื้อยืดพิมพ์ข้อความต่างๆที่ต่อต้านสงครามเวียดนามให้คนทั่วไปได้รับรู้ถึงความรู้สึกของพวกเขา  เสื้อยืดกลายเป็นสิ่งที่ทุกๆคนใส่โดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุการณ์ใดๆ เพราะสามารถเขียนข้อความร้องทุกข์ไว้บนหน้าอกเสื้อได้  ไม่ว่าจะไปฟังการหาเสียงทางการเมือง  หรือแค่ไปกินเบอร์เกอร์ก็สวมทีเชิ้ตออกไปได้ ในขณะนั้นอเมริกากำลังเริ่มให้ความสำคัญกับความคิดเห็นมากกว่าความรู้ เสื้อยืดกลายเป็นเวทีแสดงวาทะที่เหมาะเจาะ  โดยที่เราไม่ต้องพูดอะไรสักคำ ทุกคนก็สามารถรู้ได้ว่าจุดยืนของเราเป็นอย่างไร  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสงคราม  ความขัดแย้งทางเพศ หรือการต่อต้านผู้อยู่ในอำนาจ  ไม่นานนักเสื้อยืดก็ถูกนำไปใช้แทบจะในทุกๆเรื่อง การสื่อคำสารภาพส่วนตัว เช่น “ เสรีภาพในการสูบกัญชา ” หรือ “ ปลดนิกสัน ” หรือ “ ฉันยังเป็นสาวบริสุทธิ์  แต่นี่เสื้อตัวเก่านะ ”   ประโยคหลังนี้เป็นข้อพิสูจน์ว่าไม่มีอะไรที่แน่นอน    มีการผลิตเสื้อยืดคอปิดออกมา ทำให้ไม่จำเป็นต้องผูกเนกไท ชายหนุ่มทั้งหลายต่างรู้สึกขอบคุณเสื้อยืดคอปิดไปอีกนาน  ทางด้านผู้หญิงเองก็นิยมใส่เสื้อยืดไปด้วยเพราะมันดูแลรักษาง่าย สำนักงานหลายแห่งยอมให้พนักงานใส่เสื้อยืดผ้าฝ้ายแบบเรียบๆ สีเดียว แล้วใส่เสื้อสูททับมาทำงานได้   ไม่เคยมีใครคาดคิดว่าเสื้อยืดจะกลายเป็นประดิษฐกรรมของมนุษย์ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก และเหตุการณ์สำคัญที่สุดของแฟชั่นในคริสต์ศตวรรษที่๒๐ เมื่อไม่นานมานี้   ก็คือสถาบันเทคโนโลยีแฟชั่นในนิวยอร์กได้จัดนิทรรศการเสื้อยืดเพื่อแสดงให้เห็นเหตุการณ์ต่างๆ  




ในปี ค ศ   ๑๙๙๑ ตามที่มีบันทึกไว้บนเสื้อยืด ตั้งแต่ปฏิบัติการพายุทะเลทราย  ไปจนถึงคดีของวิลเลียม  เคนเนดี แผนกสามแผนกของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์อเมริกันแห่งชาติ   ได้แก่   แผนกเครื่องแต่งกาย   แผนกชีวิตตามชุมชน และแผนกประวัติศาสตร์การเมือง เริ่มมีการสะสมเสื้อยืดเพื่อเอาไว้สำหรับแสดงนิทรรศการด้วย   และประดิษฐกรรมใหม่ล่าสุดตอนนี้คือ เสื้อยืดที่มีสีแบบใหม่เรียกว่า “สีนูน ”   ที่ใช้วิธีบีบเอาจากหลอดโดยตรงออกมาเป็นหยดใหญ่ทำให้เสื้อยืดกลายเป็นเสื้อในฝันของเด็กๆ เพราะมีลายนูนต่ำ นวัตกรรมใหม่ของเสื้อยืดคือ เสื้อยืดที่ไวต่อความร้อนและสามารถเปลี่ยนสีได้เมื่อสวมใส่ลงบนร่างกายที่กำลังกลายเป็นที่นิยมในปัจจุบัน  ในอนาคตไม่มีใครทราบได้ว่าเสื้อยืดจะจบลงแบบใด ตราบที่คนอเมริกันต้องการระบายความในใจให้โลกรู้ เสื้อยืดก็คงต้องอยู่ต่อไป

https://www.สแปนเด็กซ์.com


ที่มา

“ ทีเชิ้ตเสื้อยืดยอดฮิตของชาวอเมริกัน ”   โดย เจ ดี รีด  ในนิตยสารเสรีภาพ   ฉบับที่ ๑ ๒๕๓๖ “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”




Create Date : 26 กันยายน 2561
Last Update : 28 กันยายน 2561 10:54:39 น.
Counter : 591 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 4754484
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]