ตุลาคม 2551
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
27 ตุลาคม 2551
 

เยาวชนรุ่นใหม่ เลิกใช้ “ภาษาวิบัติ” แล้วภาษาวิบัติมันคืออะไรล่ะ??

เยาวชนรุ่นใหม่ เลิกใช้ “ภาษาวิบัติ” แล้วภาษาวิบัติมันคืออะไรล่ะ??


โดย taeroz


จาก //www.taeroz.com/2008/03/what-is-the-disaster-language/



Photobucket

ที่จริงจะว่าไปแล้ว ถ้าใครได้เล่นอินเตอร์เนตเป็นประจำ ยังงั๊ย . . . ยังไง . . . ก็ต้องเคยเห็นป้ายนี้ซักแห่งนึงในโลกอินเตอร์เนตนี้ล่ะนะ แต่ดูเหมือนการเผยแพร่ป้ายนี้หลายต่อหลายที่ไม่ได้กำกับบอกว่าอันไหนเป็นภาษาวิบัติ อันไหนไม่ได้เป็นภาษาวิบัติเอาไว้ คือจริงอยู่ที่ภาษาแบบนี้เหมือนเราจะรู้ได้ด้วยจิตใต้สำนึกไม่ต้องพิจารณาอะไรมาก คำไหนที่ไม่ได้มีมาแต่โบร่ำโบราณเราก็ว่าเป็นวิบัติไปเสียหมด ทั้ง ๆ ที่บางคำนั้นไม่ใช่ภาษาวิบัติเลย ก็มีอยู่หลายแบบเช่น


คำเลียนเสียง
หลายต่อหลายครั้ง และ หลายต่อหลายคน ที่เคยคิดว่าคำเลียนเสียงนั้นวิบัติ (รวมทั้งผมด้วย) แต่หากมองกันดี ๆ แล้วมันน่าจะใช้ได้ และไม่น่าจะถือว่าวิบัติด้วย เช่น




  1. มั้ย - ไหม เวลาพูดถามจริงเหอะ อย่างเช่น “เธอกินข้าวมั้ย” เราออกเสียงว่า “มั้ย” หรือ “ไหม” ซึ่งผมคิดว่า “ส่วนมาก” คงออกว่า “มั้ย” (พูดว่าส่วนมากไว้ก่อน เผื่อมีส่วนน้อย หรือพวกจะค้านหัวชนฝา) เพราะฉนั้นคำว่า “มั้ย” ในความคิดของผมไม่ใช่ภาษาวิบัติ ซึ่งตรงนี้มีการกล่าวถึงในหลาย ๆ ที่อยู่แล้ว แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้



  2. ก็ - ก้อ เอาจริง ๆ เลยนะตามหลักภาษาไทย(ที่เรียนมากับ อาจารย์ปิง) คำว่า “ก็” นี่มันออกเสียงว่า /เก๊าะ/ คือเป็นเสียงสั้น แต่เรามักจะออกเสียงเป็น /ก้อ/ ซึ่งจะเป็นเสียงยาว จริง ๆ แล้วมันก็ถือว่าออกเสียงผิดนะ แต่ด้วยความเคยชิน และความสะดวกต่าง ๆ ก็ใช้ได้ ไม่ได้มีใครว่าอะไร จะว่าไป ส่วนใหญ่ก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจริง ๆ แล้ว “ก็” อ่านว่าอย่างไร เพราะฉนั้นถ้าต้องการเขียนแบบเลียนเสียงเราก็สามารถเขียนเป็น “ก้อ” ได้ไม่วิบัติแต่อย่างใด



  3. ชั้น - ฉัน



  4. เค้า - เขา



คำพิมพ์ผิด
     กลุ่มนี้นี่ประมาณว่า ปุ่ม Shift มันเสีย



  1. เป้น - เป็น คือถามว่าจริง ๆ แล้วมันผิดรึป่าวคำว่า “เป้น” เนี่ย คือมันก็ผิดอะนะ แต่มันไม่ใช่วิบัตินะ อาจจะบางครั้งแค่ต้องการความรวดเร็วในการพิมพ์เลยก็ลืมกด Shift หรืออาจจะกดแล้วนะ แต่มันไวเกินไปกดไม่ลงน่ะ(ผมเองก็เป็นบ่อย สังเกตได้จากในหลาย ๆ โพสในบล๊อกนี้ ก่อนจะ Publish ผมก็พยายามแก้หลายครั้งแล้ว แต่บางทีมันก็ไม่หมด ฮ่าๆ)

  2. และอื่น ๆ อีกหลาย ๆ คำ เช่น กุ รุ เห้น

  3. ลำใย (ลำไย)

  4. ศรีษะ(ศีรษะ)

  5. ปาติหาน

  6. อัศจรร


แบบคำย่อ



  1. มหาลัย(มหาวิทยาลัย)

  2. วิดวะ(วิศวะ)

  3. จาน (อาจารย์)

  4. สินสาด (ศิลปศาสตร์)

  5. สินกำ (ศิลปกรรมศาสตร์)

  6. เสารีย์ (อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ)

  7. โรงบาน (โรงพยาบาล)

  8. ซอย (สีลมซอย 2)

  9. อาร์ (อาร์ซีเอ)

  10. ตรอก (ตรอกข้าวสาร)

  11. โปร,โปรโกง (โปรแกรมโกงเกมส์)


คำอุทาน



  1. เว้ย

  2. เฮ้ย

  3. เจ๊ดเข้

  4. อุ๊ยแม่เมิงตก

  5. เสม็ตดุ๋ย

  6. ชะมดเช็ดสะเด็ดยาด

  7. ตะแบ๊บ ตะแบ๊บ เป๊าะแป๊ะ เป๊าะแป๊ะ แอ๊ว แอ๊ว


แบบคำเติมท้าย


ในที่นี้คือคำเติมท้ายที่ไม่มีความหมายในพจนานุกรมไทย แต่ก็จะใส่ มีไรมะ (เพราะเป็นคำที่ใช้แสดงอารมณ์หรือใช้แสดงความคิกขุของผู้เขียน/พิมพ์)



  1. งุงิ

  2. เงอะ

  3. ง่า

  4. งับ(ครับ)

  5. แง่ว


แบบคำแสลง



  1. แอ๊บแบ๊ว

  2. เสี่ยว


แบบคำทับศัพท์



  1. เกรท

  2. กู๊ด

  3. คาวาอี้

  4. อิคึ

  5. คิโมชิ~

  6. คิกขุ


แบบอิโมติค่อน



  1. ^__^

  2. @__@

  3.  :)

  4.  :(

  5. -*-


แบบจำเป็นต้องเปลี่ยนเพราะไม่อย่างนั้นจะถูกเซ็นเซอร์



  1. ครวย / ฆวย / Kuay / 8;p / คุวย / ฆวญ / KVY / kvy / Buffalo No R (ควย)

  2. กรู / กุ / GOO / GU (กู)

  3. มรึง / มึNG (มึง)

  4. แม่ม / แม่NG (แม่ง)

  5. เฮี่ย / เหรี้ย (เหี้ย)

  6. ไอ้สาด ไอ้เวน

  7. เย็ต / เย็ศ / เญ็ด / เย็ก / เยด / yed / YED (เย็ด)

  8. จังไร / จังไล / จันไล / จันไร / จางไร / จานราย / จางราย / จัญไล / จันทร์ไร (จัญไร)

  9. ฟาย / ฟราย / ฟลาย / Kwai (ควาย)


แบบลากเสียง



  1. อาราย (อะไร)

  2. คร้าบ(ครับ)


จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าบางคำที่เราคิดว่าวิบัติ จริง ๆ แล้วไม่ได้วิบัติเลย แล้วอาจจะสงสัยในคำวิบัติแล้วล่ะสิ ว่าแล้วคำไหนล่ะวิบัติขนานแท้ ก่อนพูดถึงตรงนั้น ได้ดูนิยามของภาษาวิบัติก่อนดีกว่า


ภาษาวิบัติ คือ ภาษาที่ถูกแปลงมาจากคำในภาษาเดิม ให้สามารถเขียนได้ในรูปลักษณ์ใหม่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ภาษาวิบัตินี้มักจะผิดหลักในการเขียนอยู่เสมอ และมักออกเสียงได้ไม่ตรงกับเสียงพูดจริง


ถ้าจะให้แยกแยะได้ง่ายๆ คำที่ไม่อยู่ในพจนานุกรม และไม่เป็นไปตามกฏของหลักภาษาไทยโดยส่วนใหญ่จะเป็นภาษาวิบัติ ซึ่งส่วนที่เป็นภาษาวิบัติขนานแท้ ที่ผมพอจะรวบรวมมาได้ก็มีดังนี้


กลุ่มพ้องเสียง
รูปแบบของภาษาวิบัติชนิดนี้ จะเป็น คำพ้องเสียง โดยส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะใช้ในเวลาเขียนเท่านั้น และคำที่นำมาใช้แทนกันนี้มักจะเป็นคำที่ไม่มีในพจนานุกรม



  1. เทอ (เธอ)

  2. จัย (ใจ)

  3. งัย (ไง)

  4. นู๋ (หนู)

  5. มู๋ (หมู)

  6. ปันยา (ปัญญา)

  7. กำ (กรรม)


กลุ่มขี้เกียจพิมพ์
พวกนี้จะคล้ายๆกับกลุ่มคำพ้องเสียง เพียงแต่ว่าบางครั้งการกด Shift มันน่ารำคาญ พวกนี้เลยขี้เกียจกด แล้วเปลี่ยนคำที่ต้องการเป็นอีกคำที่ออกเสียงคล้าย ๆ กันแทน ซึ่งอาจจะเห็นว่าไปตรงกับกลุ่ม คำพิมพ์ผิด ซึ่งไม่ใช่ภาษาวิบัติ ทำไม่มันขัดแย้งกันล่ะ เออ!! คือถ้าตั้งใจวิบัติ มันก็เป็นวิบัติน่ะ แต่ถ้าไม่ตั้งใจเช่นกด Shift แล้วนะ แต่มันไม่ลงอะ อาจจะบอกว่าสังเกตยากมาก ๆ แต่คือถ้ามันไม่ได้คอขาดบาดตาย หรือสาธารณะอะไรบ้าง ก็ปล่อยวางกลุ่มนี้มั่งก็ดีนะ



  1. กุ (กู)

  2. เหน (เห็น)

  3. เปน (เป็น)


ซึ่งสองตัวอย่างหลังนี่ ถ้าเคยเปิดอ่านหนังสือเก่าๆ ดู จะพบว่าไปซ้ำกับอักขรวิธีในสมัยก่อน (ประมาณปี พ.ศ. 2480)


กลุ่มโชว์ Inw
แบบว่า ใช้ตัวอัษรในภาษาอื่นแทนน่ะ



  1. Inw (เทพ)

  2. uou (นอน)

  3. เกรีeu (เกรียน)

  4. IInJIISJIISJ (แทงแรงแรง)


กลุ่มที่ใช้เวลาพูด
เป็นประเภทของภาษาวิบัติที่ใช้ในเวลาพูดกัน ซึ่งบางครั้งก็ปรากฏขึ้นในการเขียนด้วย แต่น้อยกว่าประเภทกลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน โดยมักพูดให้มีเสียงสั้นลง หรือยาวขึ้น หรือไม่ออกเสียงควบกล้ำเลย ประเภทนี้เรียกได้อีกอย่างว่ากลุ่มเพี้ยนเสียง เช่น



  1. ตะเอง (ตัวเอง)

  2. เตง (ตัวเอง)

  3. ขอบคุง (ขอบคุณ)

  4. แม่ม (แม่ง)

  5. แสด (สัตว์)

  6. พ่อง (พ่อเมิง)

  7. สลัด (สัตว์)

  8. สรัด,สรัส (สัตว์ :ออกเสียง ร เรือ ด้วย)


อย่างเช่นพวกคำที่ลากยาวทั้งหลายแหล่ (ม่าย ช่าย ด้าย) คือลองคิดนะ เวลาพูดมีใครออกเสียงแบบนี้หรือป่าว ถ้ามีก็ถือว่าเป็นคำเลียนเสียง แต่ถ้าไม่มีมันก็วิบัติ แต่บางคำก็ไม่ใช่นะ อย่างเช่น อาราย คือบางครั้งเราก็ออกเสียงนี้ได้ในบางโอกาส จริงมะ


หลายครั้งเรามักอ้างว่าใช้ภาษาวิบัติเพื่อความเร็วในการพิมพ์ เราเข้าใจภาษาวิบัติเป็นคำพิมพ์ผิดรึป่าว ลองไปอ่านดู เพราะภาษาวิบัติหลายคำจริง ๆ ดูแล้วมันจะพิมส์ช้าขึ้นเสียมากกว่า


เมื่อไรจะใช้ภาษาวิบัติได้
ตามหลักภาษาไทยแล้ว ภาษาแบ่งเป็น 5 ระดับ โดยระดับสุดท้ายเป็นภาษาระดับเป็นกันเอง ใช้กันแค่ในกลุ่ม เข้าใจกันในกลุ่ม ซึ่งตรงนี้แหละที่ผมคิดว่าใช้ได้นะ อย่างเช่น คุย MSN กัน 2 คน อะไรแบบนี้ จะใช้ก็ใช้ไปเถอะ หรืออาจจะในบล๊อกที่มีคนไม่มากนัก(อย่างที่นี่ เวรกำ!!) แต่ถ้ามีความเป็นสาธารณะขึ้นมาก็ไม่ควรใช้ เช่นตาม Webboard ต่าง ๆ ตามเว็บต่าง ๆ หรือแม้แต่ในสื่อต่าง ๆ


สรุป ตรงนี้ให้อธิบายง่าย ๆ ก็เหมือนกับ เราใช้สรรพนาม “กู-มึง” กับเพื่อนสนิท แต่เราใช้ “ผม-คุณ” กับคนที่ไม่รู้จัก คือเราสามารถใช้ “ผม-คุณ” กับเพื่อนสนิทก็ได้ แต่มันคงไม่ชิน และถ้าเราคิดว่าเราใช้ “กู-มึง” กับเพื่อนสนิทแล้ว จะทำให้เราใช้จนติด แล้วนำมาใช้กับคนอื่น เราก็คิดได้เองแหละครับ ว่าเราไม่ควรใช้ “กู-มึง” แม้แต่กับเพื่อนสนิท เพื่อที่จะได้ไม่ติด แต่ถ้าแยกแยะออก จะใช้ “กู-มึง” กับเพื่อนก็ไม่ได้เสียหายอะไรนี่ครับ!! ซึ่งมันก็เหมือนกับภาษาวิบัตินั่นแหละ!!


*** สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่ผมเขียนมาในข้างบนนี้ทั้งหมด เป็นเพียงความคิดเห็นของผมคนเดียว โปรดใช้วิจารนญาณในการอ่าน ถ้าผิดพลาดประการใด เอ่อ คอมเม้นไว้ละกันเดี๋ยวผมจะแก้ให้ ^^


 ปล. ข้อมูลบางส่วนจาก ไร้สาระนุกรม


เหตุผลสำคัญที่เขียนเอนทรี่นี้


ถึงแม้จะไม่ใช่ภาษาวิบัติ แต่ถ้ามันจะสร้างความวิบัติอยู่ดีก็คงไม่มีประโยชน์ที่จะรู้ แต่บางคำมันไม่ได้สร้างความวิบัติไงครับ แล้วที่นี้ทำให้ลังเลเวลาจะใช้ ถ้าใช้ผิดบางทีสื่อผิดไปเลย ตรงนี้นี่แหละ ที่เป็นสาเหตุให้ผมต้องทำโพสนี้ขึ้นมา


Written by Taeroz in: Society | Tags: ,


Free TextEditor




 

Create Date : 27 ตุลาคม 2551
2 comments
Last Update : 27 ตุลาคม 2551 11:03:05 น.
Counter : 860 Pageviews.

 
 
 
 
ภาษาวิบัติ ถ้าใช้แล้วสังคมล่มสลาย ก็น่ากลัวอยู่เหมือนกัน น่ะ
 
 

โดย: บ้าได้ถ้วย วันที่: 27 ตุลาคม 2551 เวลา:23:36:52 น.  

 
 
 
บางทีก็ติดเพราะบางคำมันพิมพ์ง่าย แต่ถ้าคุยสองคนก็ แอบ ลักไก่อยู่ประจำค่ะ

เห็นด้วยเวลาแทนตัวคุู่สนทนาว่า คุณ เพราะเป็นสากลดีค่ะ
 
 

โดย: ammzii วันที่: 31 ตุลาคม 2551 เวลา:19:50:23 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

แม่หมีตัวอ้วน
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add แม่หมีตัวอ้วน's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com