ได้ทำการวิจัยการจัดงานออกพรรษาที่เชียงคาน 2553 เพื่อปรับปรุงในงาน 2554
สรุปผลการวิจัยการจัดงานออกพรรษาที่เชียงคาน 2553

ว่าที่ พ.ต.ดร.ณัฏฐพล ตันมิ่ง

1. สรุปผลความพึงพอใจในงานออกพรรษาที่เชียงคาน 2553 ขบวนแห่พิธีเปิด

ข้อมูลทั่วไป

1.1. เพศ

เพศ จำนวน (คน) ร้อยละ

ชาย 82 41.00

หญิง 118 59.00

รวม 200 100.00

ส่วนมากเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย



1.2 อายุ

อายุ (ปี) จำนวน (คน) ร้อยละ

ระหว่าง 10 - 20 62 31.00

ระหว่าง 21 - 30 75 37.50

ระหว่าง 31 - 40 31 15.50

ระหว่าง 41 - 50 20 10.00

ระหว่าง 51 - 60 9 4.50

60 ขึ้นไป 3 1.50

รวม 200 100.00

อายุส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 21 – 30 ปี รองลงมาอายุอยู่ระหว่าง 10 – 20 ปี และอายุอยู่ระหว่าง 31 – 40 ปี น้อยที่สุดอายุ 60 ขึ้นไป



1.3 ระดับการศึกษา

ระดับการศึกษา จำนวน (คน) ร้อยละ

ต่ำกว่าปริญญาตรี 99 49.50

ปริญญาตรี 90 45.00

ปริญญาโท 11 5.50

รวม 200 100.00

ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ต่ำกว่าปริญญาตรี รองลงมา ปริญญาตรี และ ต่ำสุด ปริญญาโท



19



1.4 ที่อยู่

ที่อยู่ จำนวน (คน) ร้อยละ

อำเภอเชียงคาน 110 55.00

อำเภออื่นๆ ในจังหวัดเลย 77 38.50

ต่างจังหวัด 13 6.50

รวม 200 100.00

ส่วนใหญ่อยู่อำเภอเชียงคาน รองลงมาเป็น อำเภออื่นๆ ในจังหวัดเลย และต่างจังหวัด ตามลำดับ



1.5 รายละเอียดนักท่องเที่ยวต่างจังหวัด

จังหวัด จำนวน (คน) ร้อยละ

กรุงเทพมหานคร 8 61.53

นนทบุรี 1 7.69

ปทุมธานี 1 7.69

ขอนแก่น 1 7.69

อุดร 1 7.69

เชียงใหม่ 1 7.69

รวม 13 100

นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาจากกรุงเทพมหานคร

1.6 ตารางประเมินความพึงพอใจในงานออกพรรษาที่เชียงคาน 2553 ขบวนแห่พิธีเปิด

ข้อที่ รายการประเมิน ระดับความพึงพอใจ

น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก มากที่สุด รวม (คน)

1 2 3 4 5

1 สถานที่ที่ใช้จัดงาน 2 3 33 117 45 200

2 เวลาที่ใช้ในการเปิด 2 4 48 106 40 200

3 การประชาสัมพันธ์ 2 10 38 103 47 200

4 เวทีเปิด 2 3 42 93 60 200

5 ขบวนนำเทิดพระเกียรติ 0 4 43 92 61 200

6 ความเป็นระเบียบของขบวนแห่พิธีเปิด 0 7 46 93 54 200

7 ฝ่ายจัดขบวนแห่ปราสาทผึ้ง 9 ขบวน 3 2 40 100 55 200

8 ขบวนแห่วัฒนธรรมไทดำ 1 3 44 94 58 200

9 ขบวนแห่ยางพารา 3 5 42 96 54 200

10 ขบวนแห่ผลไม้ OTOP 0 3 46 104 47 200

11 ขบวนแห่ผีขนน้ำ 1 4 43 109 43 200

12 ความสวยงาม การตกแต่งของปราสาทผึ้ง 0 5 37 97 61 200

13 เทพีปราสาทผึ้ง 0 0 31 119 50 200

14 ความพร้อมเพียง สวยงาม ของนางรำ 0 6 41 102 51 200

15 เพลง ดนตรี ที่ใช้ในขบวนรำ 0 1 47 104 48 200

16 การแต่งกายของผู้ที่เข้าร่วมขบวน 1 7 26 115 51 200

17 ความสวยงาม ข้อความในป้ายผ้าไวนิล 0 5 35 119 41 200

1.7 ตารางประเมินความพึงพอใจในงานออกพรรษาที่เชียงคาน 2553 ขบวนแห่พิธีเปิด

ข้อที่ รายการประเมิน เปอร์เซ็นต์ของระดับความพึงพอใจ

น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก มากที่สุด รวม

1 2 3 4 5

1 สถานที่ที่ใช้จัดงาน 1.00 1.50 16.50 58.50 22.50 100.00

2 เวลาที่ใช้ในการเปิด 1.00 2.00 24.00 53.00 20.00 100.00

3 การประชาสัมพันธ์ 1.00 5.00 19.00 51.50 23.50 100.00

4 เวทีเปิด 1.00 1.50 21.00 46.50 30.00 100.00

5 ขบวนนำเทิดพระเกียรติ 0.00 2.00 21.50 46.00 30.50 100.00

6 ความเป็นระเบียบของขบวนแห่พิธีเปิด 0.00 3.50 23.00 46.50 27.00 100.00

7 ฝ่ายจัดขบวนแห่ปราสาทผึ้ง 9 ขบวน 1.50 1.00 20.00 50.00 27.50 100.00

8 ขบวนแห่วัฒนธรรมไทดำ 0.50 1.50 22.00 47.00 29.00 100.00

9 ขบวนแห่ยางพารา 1.50 2.50 21.00 48.00 27.00 100.00

10 ขบวนแห่ผลไม้ OTOP 0.00 1.50 23.00 52.00 23.50 100.00

11 ขบวนแห่ผีขนน้ำ 0.50 2.00 21.50 54.50 21.50 100.00

12 ความสวยงาม การตกแต่งของปราสาทผึ้ง 0.00 2.50 18.50 48.50 30.50 100.00

13 เทพีปราสาทผึ้ง 0.00 0.00 15.50 59.50 25.00 100.00

14 ความพร้อมเพียง สวยงาม ของนางรำ 0.00 3.00 20.50 51.00 25.50 100.00

15 เพลง ดนตรี ที่ใช้ในขบวนรำ 0.00 0.50 23.50 52.00 24.00 100.00

16 การแต่งกายของผู้ที่เข้าร่วมขบวน 0.50 3.50 13.00 57.50 25.50 100.00

17 ความสวยงาม ข้อความในป้ายผ้าไวนิล 0.00 2.50 17.50 59.50 20.50 100.00

18 การตกแต่งรถยนต์ 0.00 3.00 14.50 56.00 26.50 100.00

1.8 ตารางประเมินความพึงพอใจในงานออกพรรษาที่เชียงคาน 2553 ขบวนแห่พิธีเปิด

ข้อที่ รายการประเมิน ค่าเฉลี่ย



ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

S.D. แปลผล

(อยู่ในระดับ)

1 สถานที่ที่ใช้จัดงาน 4.00 0.73 มาก

2 เวลาที่ใช้ในการเปิด 3.89 0.77 มาก

3 การประชาสัมพันธ์ 3.91 0.84 มาก

4 เวทีเปิด 4.03 0.81 มาก

5 ขบวนนำเทิดพระเกียรติ 4.05 0.77 มาก

6 ขบวนนำเทิดพระเกียตริ 3.97 0.80 มาก

7 ฝ่ายจัดขบวนแห่ปราสาทผึ้ง 9 ขบวน 4.01 0.80 มาก

8 ขบวนแห่วัฒนธรรมไทดำ 4.02 0.78 มาก

9 ขบวนแห่ยางพารา 3.96 0.84 มาก

10 ขบวนแห่ผลไม้ OTOP 3.97 0.72 มาก

11 ขบวนแห่ผีขนน้ำ 3.945 0.74 มาก

12 ความสวยงาม การตกแต่งของปราสาทผึ้ง 4.07 0.76 มาก

13 เทพีปราสาทผึ้ง 4.09 0.63 มาก

14 ความพร้อมเพียง สวยงาม ของนางรำ 3.99 0.76 มาก

15 เพลง ดนตรี ที่ใช้ในขบวนรำ 3.99 0.70 มาก

16 การแต่งกายของผู้ที่เข้าร่วมขบวน 4.04 0.75 มาก

17 ความสวยงาม ข้อความในป้ายผ้าไวนิล 3.98 0.69 มาก

18 การตกแต่งรถยนต์ 4.06 0.72 มาก

สรุปความพึงพอใจขบวนแห่พิธีเปิด

มากที่สุด ตามลำดับ

1. เทพีปราสาทผึ้ง ( = 4.095)

2. ความสวยงาม การตกแต่งของปราสาทผึ้ง ( = 4.070)

3. การตกแต่งรถยนต์ ( = 4.060)

น้อยที่สุด ตามลำดับ

1. เวลาที่ใช้ในการเปิด ( = 3.890)

2. การประชาสัมพันธ์ ( = 3.915)

3. ขบวนแห่ผีขนน้ำ ( = 3.945)

23



1.9 ความคิดเห็น

1. เวทีใหญ่ล้ำมาถนนมากเกินไป

2. นางรำรอเป็นเวลานาน

3. ให้มาจัดแถวที่เดิมถนนใหญ่

4. เวลาเปิดเลื่อนไปนานเกินเวลามาก

5. ทุกคนให้ความร่วมมือดี คนไม่เคยรำปีนี้ออกมารำ

6. การจราจรที่ข้างโรงพยาบาลติดขัดมาก

7. แม่เอาร่มมากางให้ลูกขณะที่ลูกรำอยู่บนถนน

8. การแสดงของบางคุ้มวัดใช้เวลานานมาก บางแห่งใช้เวลานิดเดียว ควรกำหนดเวลาไม่เกิน 5 นาที เพราะมี 19 ขบวน

9. ดีใจมากที่ลูกได้เป็นนางรำ

10. รถเครื่องเสียงเสียงดังดีมาก บางวัดเสียงไม่ค่อยดัง

11. วัดป่ากลางแต่งชุดเหมือนกัน

12. สงสารเด็กถอดรองเท้ารำ

13. เพลงรำควรจะเป็นเพลงเกี่ยวกับเชียงคาน ปีนี้ไม่มีรำเบิ่งโขง

14. อยากให้มีขบวนต้นหมากเบ๊งขนาดใหญ่

15. บางคุ้มวัดมาช้ามากเกินเวลาแล้วก็มาเป็นชั่วโมง

16. ควรจะจัดแบบนี้ทุกปี

17. ผีขนน้ำขบวนยาว

18. อบต.ควรซื้อชุดรำให้นางรำ

19. ผาสาดต้องมีเครื่องครบข้าวเหนียวแดง

20. เรือสุพรรณหงส์สวยมาก

21. ทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

22. ปราสาทผึ้งสวยงามมาก

23. วัดโพนชัยพร้อมเพียงที่สุด

24. ผลไม้ควรแจกไปด้วยตลอดทาง

25. รถข้าวหลามควรมีเทพีข้าวหลามด้วย

26. เสาธงชาติ ธงธรรมจักบังหน้านางงามบนรถ

27. หมอนสามเหลี่ยมรองแขนเทพีแกะพลาสติกออกด้วย

28. ควรแห่ตอนบ่ายโมงบ้านไกลจะมาได้ทันและตื่นเช้า

29. ได้ใส่ชุดใหม่ที่เก็บไว้มานาน

30. ให้มีการติดดอกผึ้งแบบโบราญ

24



31. น่าจะมีการประกวดการทำต้นหมากเบ็ง

32. ชมเชยวัดใหญ่ที่สามารถรวบรวมนางรำพื้นเมืองได้มากรวมกันหลายร้อยปี

33. บ้านธาตุน่าจะมีนางรำมาด้วย มีธาตุแต่ไม่มีปราสาทผึ้ง

34. เรือสุพรรณหงส์งามมาก

35. ตั้งแถวอยู่ ร.ร.ปทุมมายาวไป

36. เวทีไม่เห็นหลังฉาก

37. เห็นผู้ว่ายืนรอนาน

38. ชอบเปิดตอนตีกลองจังหวะกลองเพล ถ้ามีฆ้องผสมด้วยจะเพราะมาก

39. ความจริงแล้วการทำแบบสอบถามควรทำหลังจากที่เราดูทุกอย่างจบแล้วแต่เข้าใจค่ะคนแจกก็แจกขณะที่มีการแสดงเพราะถ้าแจกหลังจบคนจะกลับบ้าน ข้อมูลจะทำได้ไม่ครบหรือเบี่ยงเบน

40. ขบวนนางรำ ไม่ยาวเท่าที่ควร

41. ควรเพิ่มจำนวนนางรำที่เป็นเด็กในขบวนมากขึ้น

42. ปราสาทผึ้งมีความสวยงามมาก

43. การตกแต่งรถยนต์ ไม่สวยงามเท่าที่ควร

44. การจัดร้านขายสินค้า ควรมีการจัดให้เป็นระเบียบ เป็นหมวดหมู่ แบ่งเป็นสัดส่วนให้ชัดเจน

45. การแห่ขบวน และนางรำบ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของเมืองเชียงคาน อันเป็นเสน่ห์ ให้นักท่องเที่ยวหลงใหล

46. การแสดงสวยงามมากๆ

47. อยากให้มีการจัดขบวนแห่แบบนี้ทุกปี

48. เห็นสมควรแล้วจะมีอีกต่อไป

49. เป็นการจัดที่ดีมากครับ

50. ควรมีแผนที่ประกอบ คล้ายกับเอกสารแผ่นพับ โบชัวร์

51. ขบวนโดยรวมดีมากครับ

52. ควรแห่จากที่เก่าจะดีกว่า

53. ไม่ค่อยเป็นระเบียบ

54. ขอให้มีการจัดอีก ต่อๆ ไป

55. แต่งกายให้เข้ากับเอกลักษณ์ท้องถิ่น

56. ให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม

57. น่าจะจัดสถานที่ชมให้เหมาะกว่านี้

58. งานเหมือนกับปีที่แล้ว

59. ควรจะมีการประชาสัมพันธ์มากกว่านี้

60. เป็นเอกลักษณ์ของงานออกพรรษา

25



61. ชาวบ้านมีการตื่นตัวในการร่วมสนับสนุนกิจกรรมที่ท้องถิ่นจัดขึ้น

62. กิจกรรมประเพณีที่จัดขึ้น ส่งผลต่อจิตสำนึกในการเห็นคุณค่าวัฒนธรรมประเพณีแก่ลูกหลานเมืองเชียงคาน

63. 23 ต.ค. ดี ทำให้คนตื่นเต้น อยากดู ครึกครื้นกว่าทุกปี

64. ค่าทำปราสาทผึ้งไม่พอต้องใช้เงินวัดออกมาแทน

65. เป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

66. ควรกำหนดรูปแบบการจัดซุ้มปราสาทผึ้ง

67. นางรำให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่

2. สรุปผลความพึงพอใจในงานออกพรรษาที่เชียงคาน 2553 แข่งขันเรือยาว

ข้อมูลทั่วไป

2.1 เพศ

เพศ จำนวน (คน) ร้อยละ

ชาย 88 62.86

หญิง 52 37.14

รวม 140 100.00

ส่วนมากเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง



2.2 อายุ

อายุ (ปี) จำนวน (คน) ร้อยละ

ระหว่าง 10 - 20 28 20.00

ระหว่าง 21 - 30 67 47.86

ระหว่าง 31 - 40 32 22.86

ระหว่าง 41 - 50 10 7.14

ระหว่าง 51 - 60 2 1.43

60 ขึ้นไป 1 0.71

รวม 140 100.00

อายุส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 21 – 30 ปี รองลงมาอายุอยู่ระหว่าง 31 – 40 10 – 20 ปี และอายุอยู่ระหว่าง 10 – 20 ปี ปี น้อยที่สุดอายุ 60 ขึ้นไป



2.3 ระดับการศึกษา

ระดับการศึกษา จำนวน (คน) ร้อยละ

ต่ำกว่าปริญญาตรี 92 65.71

ปริญญาตรี 48 34.29

ปริญญาโทขึ้นไป 0 0.00

รวม 140 100.00

ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ต่ำกว่าปริญญาตรี รองลงมา ปริญญาตรี

2.4 ที่อยู่

ที่อยู่ จำนวน (คน) ร้อยละ

อำเภอเชียงคาน 83 59.29

อำเภออื่นๆ ในจังหวัดเลย 53 37.86

จังหวัดต่างจังหวัด 4 2.86

รวม 140 100.00

ส่วนใหญ่อยู่อำเภอเชียงคาน รองลงมาเป็น อำเภออื่นๆ ในจังหวัดเลย และต่างจังหวัด



2.5 รายละเอียดนักท่องเที่ยวต่างจังหวัด

จังหวัด จำนวน (คน) ร้อยละ

กำแพงเพชร 1 25

ขอนแก่น 1 25

หนองคาย 2 50

รวม 4 100

นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาจากหนองคาย ขอนแก่น กำแพงเพชร

2.6 ตารางประเมินความพึงพอใจในงานออกพรรษาที่เชียงคาน 2553 แข่งขันเรือยาว



ข้อที่ รายการประเมิน ระดับความพึงพอใจ

น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก มากที่สุด รวม (คน)

1 2 3 4 5

1 ระยะทางของการแข่งขันเรือยาว 0 0 32 74 34 140

2 เวลาที่ใช้ในการปล่อยเรือ 0 0 11 83 46 140

3 การประชาสัมพันธ์แข่งขันเรือยาว 0 0 8 73 59 140

4 การร้องเพลงส่วงเรือยาว 0 0 10 79 51 140

5 ความสวยงาม การแต่งเครื่องบูชาเรือยาว 0 1 9 49 81 140

6 ความสามัคคีของฝีพาย 0 0 2 57 81 140

7 การแต่งกายของฝีพาย 0 1 5 44 90 140

8 ความสามัคคีของกองเชียร์ 0 0 2 71 67 140

9 การดูแลความปลอดภัยของฝีพาย 0 0 4 69 67 140

10 ความพร้อม ความสามัคคีของแต่ละชุมชน 1 0 1 48 90 140



2.7 ตารางประเมินความพึงพอใจในงานออกพรรษาที่เชียงคาน 2553 แข่งขันเรือยาว

ข้อที่ รายการประเมิน เปอร์เซ็นต์ของระดับความพึงพอใจ

น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก มากที่สุด รวม

1 2 3 4 5

1 ระยะทางของการแข่งขันเรือยาว 0.00 0.00 22.86 52.86 24.29 100.00

2 เวลาที่ใช้ในการปล่อยเรือ 0.00 0.00 7.86 59.29 32.86 100.00

3 การประชาสัมพันธ์แข่งขันเรือยาว 0.00 0.00 5.71 52.14 42.14 100.00

4 การร้องเพลงส่วงเรือยาว 0.00 0.00 7.14 56.43 36.43 100.00

5 ความสวยงาม การแต่งเครื่องบูชาเรือยาว 0.00 0.71 6.43 35.00 57.86 100.00

6 ความสามัคคีของฝีพาย 0.00 0.00 1.43 40.71 57.86 100.00

7 การแต่งกายของฝีพาย 0.00 0.71 3.57 31.43 64.29 100.00

8 ความสามัคคีของกองเชียร์ 0.00 0.00 1.43 50.71 47.86 100.00

9 การดูแลความปลอดภัยของฝีพาย 0.00 0.00 2.86 49.29 47.86 100.00

10 ความพร้อม ความสามัคคีของแต่ละชุมชน 0.71 0.00 0.71 34.29 64.29 100.00

29



2.8 ตารางประเมินความพึงพอใจในงานออกพรรษาที่เชียงคาน 2553 แข่งขันเรือยาว



ข้อที่ รายการประเมิน ค่าเฉลี่ย



ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

S.D. แปลผล

(อยู่ในระดับ)

1 ระยะทางของการแข่งขันเรือยาว 4.01 0.68 มาก

2 เวลาที่ใช้ในการปล่อยเรือ 4.25 0.58 มากที่สุด

3 การประชาสัมพันธ์แข่งขันเรือยาว 4.36 0.59 มากที่สุด

4 การร้องเพลงส่วงเรือยาว 4.29 0.59 มากที่สุด

5 ความสวยงาม การแต่งเครื่องบูชาเรือยาว 4.50 0.65 มากที่สุด

6 ความสามัคคีของฝีพาย 4.56 0.52 มากที่สุด

7 การแต่งกายของฝีพาย 4.59 0.59 มากที่สุด

8 ความสามัคคีของกองเชียร์ 4.46 0.52 มากที่สุด

9 การดูแลความปลอดภัยของฝีพาย 4.45 0.55 มากที่สุด

10 ความพร้อม ความสามัคคีของแต่ละชุมชน 4.61 0.58 มากที่สุด



สรุปความพึงพอใจขบวนแห่พิธีเปิด

มากที่สุด ตามลำดับ

1. ความพร้อม ความสามัคคีของแต่ละชุมชน ( = 4.614)

2. การแต่งกายของฝีพาย ( = 4.592)

3. ความสามัคคีของฝีพาย ( = 4.564)

น้อยที่สุด ตามลำดับ

1. ระยะทางของการแข่งขันเรือยาว ( = 4.014285714)

2. เวลาที่ใช้ในการปล่อยเรือ ( = 4.250)

3. การร้องเพลงส่วงเรือยาว ( = 4.292)


2.9 ความคิดเห็น

1. น่าจะมีการพากษ์การแข่งเรือเพื่อคนที่อยู่ในบ้านจะได้ยิน

2. ร้านค้าริมน้ำโขงแข่งเรือวางไม่เป็นระเบียบ

3. ถังขยะในบริเวณโดยรอบ ควรมีการออกแบบให้กลมกลืนกับท้องถิ่น

4. ควรมีบู้ธ หรือบริเวณ ให้นักท่องเที่ยวสามารถร่วมกิจกรรมทำบุญของวัดต่างๆ

5. ควรมีการแสดงที่เกี่ยวกับประวัติของประเพณีวันออกพรรษา

6. ควรมีการสาธิตการทำผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีชื่อเสียง เช่น การทำมะพร้าวแก้ว ผ้าห่มนวม ฯลฯ โดยสามารถให้นักท่องเที่ยวร่วมกิจกรรมดังกล่าว

7. ควรมียุวมัคคุเทศก์ คอยประจำอยู่ที่บริเวณการจัดงาน

8. ให้มีการประชาสัมพันธ์ให้มากกว่านี้ ปรับปรุงเรื่องการประชาสัมพันธ์

9. จัดงานอย่างนี้ทุกๆปี

10. ไม่ค่อยมีจุดดึงดูดเท่าที่ควร

11. จุดแข่งเรือ ไม่สูสี ไม่สนุก ฝีพายมีส่วน

12. จ้างคนที่อื่นมาพาย ผลประโยชน์มี เช่น ได้รางวัลแล้วแบ่งเท่าไหร่ บางแห่งเอาเงินเหมืองแร่จ้าง

13. หลายวัดเอาเงินจ้าง

14. เอาคนในชุมชนมาพายดีกว่า

15. ความสะอาดของสถานที่รับชม

16. การแต่งกายของฝีพายไม่มีความพิเศษ ธรรมดา

17. การดูแลความปลอดภัยควรมีการดูแลอย่างใกล้ชิด และเข้มงวดมากๆ

18. การแข่งเรือยาวมีการขาดตอน ทำให้ขาดความสนุก

19. ทุ่นลอยไม่แน่นถูกกระแสน้ำพัดผ่านไปจากจุดเดิม

20. ฝีพายใส่เสื้อคนละสี

21. เอาเรือลง ออกจากวัดไม่ค่อยมีคนมาช่วย

22. แต่งหัวเรือแบบโบราญ มีต้นหมากเบ็งด้วย

23. ไม่มีการแบ่งฝีพาย ใครจะพายลำไหนก็ได้

24. ฝีพายมีหลายชุด ฝีพายชาวบ้าน ฝีพายจ้างมา

25. ร้านค้าริมเขื่อนมีเยอะ และก็ทำสกปรก

26. เรือลากจูงมีคลื่นแรง ทำให้เรือเอียงไปได้

27. ปีหน้าควรออกกฎมาต้องเป็นฝีพายในอำเภอเชียงคานเท่านั้น หมู่บ้าน ตำบล อบต.ไหนก็ได้

28. มีหลายวัดจ้างมา แล้วแบ่งเปอร์เซนต์เอา

29. โฆษกเรือยาวอยากพูดอะไรก็พูด

30. ไม่มีพิธีกรรมทางสงฆ์ก่อนเอาเรือลงน้ำ

31



31. ทุก อบต. น่าจะส่งเรือยาวเข้าแข่งขัน เพื่อความสามัคคีในภาย อบต.เอง

32. การประชาสัมพันธ์น้อยไม่ค่อยตื่นเต้น

33. พิธีเปิดแข่งขันเรือยาว ฝีพายทุกลำควรอยู่ในเรือริมน้ำ

34. เรือหงศ์สวยงามมาก

35. บ้านผาแบ่นมาตั้งโรงครัวในบริเวณงาน อาหารน่าอร่อยมาก

36. อยากให้มีประกวดเพลงส่วงเฮือในแม่น้ำโขง

37. ควรกำหนดคุณสมบัติของเรือด้วยต้องเป็นเรือขุดจากต้นตะเคียนทั้งลำ ไม่ใช่เอาเรือกาบมาต่อหัวหางให้ยาวเพราะน้ำหนักจะเบากว่า

38. แม่ครัวผาแบ่นตำส้มหลายคนสนุกมาก สับหมากหุ่งริมริมแม่น้ำโขง ให้หาถุงดำมาด้วย

39. คนเชียงคานกลับบ้านอยากบริจาคเสื้อเรือยาว เมื่อรู้ว่าเป็นฝีพายต่างถิ่นเลยไม่บริจาค

40. หัวเรือยาวต้องเป็นแบนแบบสมัยโบราญ ไม่ใช่หัวกลมแบบสมัยใหม่

41. น่าจะมีการแห่ถ้วยพระเทพฯ ทางเรือ เห่เรือมาด้วยจะสวยงามมาก

42. อาหาร ของกิน ผลไม้ ปลาหมึกย่าง แพง ไม่ต่ำกว่า 20 บาทขึ้นไป 5 บาทของเด็กไม่มีแล้ว

43. หาเงินเข้าวัดให้หน่อย ค่าใช้จ่ายไม่พอต้องเอาเงินวัดมาออกแทน

44. เรือไม่ค่อยสูสีเท่าไหร่ ขาดกันมาเกินไป ไม่สนุก ไม่ได้ลุ้น

45. ประเพณีตีช้างน้ำนอง เรือยาวทุกลำแข่งพร้อมกันหายไปแล้ว

46. ไม้พายหาย

47. ระวังเรือล่มกลางแม่น้ำโขง ป้องกันภัยให้ดี

48. เรือยาวหัวสูงจะสวยมาก

49. น่าจะจัดให้ตรงกับวันหยุดยาว 3 วัน มาไม่ทันวันงาน

50. ทำไมต้องมีแต่เสื้อตราชฏาผงชูรส

51. น่าจะมีการประกวดกองเชียร์เรือยาวประชันกันด้วยเพื่อเสริมความสามัคคี

52. เรือผาแบ่นชนะ เรือวัดใหญ่เพราะฝีพายชุดเดียวกัน

53. ตลิ่งกองเชียร์หน้าวัดท่าคกสกปรกมาก

54. ระยะทางยาวเกินไป กิโลกว่าๆ น่าเปลี่ยนจุดเริ่มต้นที่ตลิ่งซอย 9 ถึง ซอย 21ก็พอ จะได้อัดกันเต็มที ไม่ใช่ปล่อยยาวมาแล้วเร่ง 50 เมตรสุดท้าย

55. กลัวเก้าอี้แดงหาย วางทิ้งไปทั่วงาน ไม่มีคนควบคุมดูแล

56. ปีนี้ปล่อยเรือได้เร็วกว่าทุกๆปีที่ผ่านมา

57. ไม่ควรใช้ทุ่นสีแดงสีเหลือง น่าจะใช้ทุ่นสีเดียวกัน

58. ป้ายติดต่องานแสดงหลังเรือหงส์หน้าวัดท่าคกเอาออก เสียทัศนความงามหมด

59. หัวเรือที่ใช้ท่อพีวีซี ผูกด้วยผ้าสี ไม่ใช่วัฒนธรรมเรือยาวของเชียงคาน ต้องทำด้วยไม้ไผ่สานขัดเท่านั้น

32



60. ตัดสินเรือไฟควรจะยึดเกณฑ์โบราณ

61. เรือบางลำรู้ว่าแพ้แต่ก็เอาลงแข่งขันตามประเพณีควรมีรางวัลเรือที่เข้าร่วมด้วย

62. เรือนำเที่ยวควรตามหลังเรือยาว

63. น่าจะมีการประกวดเรือยาวประเภทสวยงามด้วย บางลำสวยจริงๆ

64. สวัสดิการกรรมการจากรุ่นสู่รุ่นตามนั่งให้กำลังใจกันตลอด

65. ดูแลคนทำกับข้าววัดด้วย

66. เรือนำเที่ยวควรมาบริการที่หน้าวัดท่าคกให้นักท่องเที่ยวได้ขี่เรือ

67. เอาเรือขึ้นเอาเรือลงลำบากมาก

68. ควรให้คะแนนเรือที่ต้นหมากเบ็งด้วย

69. พื้นที่ในงานสกปรก รถขยะเข้าไม่ได้ ควรเก็บทุกวัน

70. เรือยาวสวยงามมาก

71. ฝีพายสามัคคีกันดีมาก

72. น่าจะมีการประกวดลายข้างเรือด้วย ความละเอียดต่างกัน

73. แข่งเรือเงินรางวัลไม่ควรมากทำให้เกิดธุรกิจการแข่งเรือเดินสาย

74. อยากให้หัวเรือ หางเรือยาวเป็นแบบแบนๆ เหมือนเดิม

75. เรือนำเที่ยวควรมีเสื้อชูชีพเพียงพอด้วย

76. ปลูกต้นจามจุรีเพิ่มในสวนสาธารณะเพราะให้ร่มเงามาก

77. ควรมีเรือกู้ภัยทางน้ำมากกว่านี้

78. อยากให้มีฝีพายท้องถิ่นมากกว่า

79. น่าจะกำหนดเวลาแข่งเรือเป็นคู่ไปเลย จะได้ไม่รอเรียกกันขึ้นไป บางลำรอนานมาก

80. เรือขาดกันเกินไประหว่าฝีพายอาชีพกับฝีพายชาวบ้าน บางลำเอาผู้หญิงลงเรือมาพายด้วย

81. ควรมีต้นหมากเบ็ง หมอน ผ้าร้อยด้วยเม็ดสี ไม้ไผ่ขัด ธงสี ที่หัวเรือแข่งทุกลำ ทำอย่างเรือวัดใหญ่และภูช้างน้อย

82. เจ้าหน้าที่ควรทำความสะอาดริมลิ่งทุกวันที่มีการแข่งเรือสกปรกมาก

83. คลื่นเรือนำเที่ยวใหญ่กระทบเรือที่กำลังแข่งขัน

84. ตัดหญ้าที่ตลิ่งน้ำด้วยขึ้นรกยาวมาก

85. จัดที่หน้าวัดท่าคกใกล้ดี

86. เมืองเชียงคานเป็นประวัติศาสตร์ เป็นวัฒนธรรมของประเทศ

3. สรุปผลความพึงพอใจในงานออกพรรษาที่เชียงคาน 2553 การแสดงศิลปวัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้าน พาแลง ลอยผาสาด การไหลเรือไฟ

ข้อมูลทั่วไป

3.1 เพศ

เพศ จำนวน (คน) ร้อยละ

ชาย 96 48.00

หญิง 104 52.00

รวม 200 100.00

ส่วนมากเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย






Create Date : 19 กันยายน 2554
Last Update : 19 กันยายน 2554 12:21:47 น.
Counter : 1083 Pageviews.

5 comments
  
3.2 อายุ

อายุ (ปี) จำนวน (คน) ร้อยละ

ระหว่าง 10 - 20 81 40.50

ระหว่าง 21 - 30 43 21.50

ระหว่าง 31 - 40 18 9.00

ระหว่าง 41 - 50 26 13.00

ระหว่าง 51 - 60 29 14.50

60 ขึ้นไป 3 1.50

รวม 200 100.00

อายุส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 10 – 20 ปี รองลงมาอายุอยู่ระหว่าง 21 – 30 ปี และอายุอยู่ระหว่าง 51 – 60 ปี น้อยที่สุดอายุ 60 ขึ้นไป



3.3 ระดับการศึกษา

ระดับการศึกษา จำนวน (คน) ร้อยละ

ต่ำกว่าปริญญาตรี 147 73.50

ปริญญาตรี 46 23.00

ปริญญาโทขึ้นไป 7 3.50

รวม 200 100.00

ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ต่ำกว่าปริญญาตรี รองลงมา ปริญญาตรี และ ต่ำสุด ปริญญาโท





34



3.4 ที่อยู่

ที่อยู่ จำนวน (คน) ร้อยละ

อำเภอเชียงคาน 156 78.00

อำเภออื่นๆ ในจังหวัดเลย 23 11.50

จังหวัดต่างจังหวัด 21 10.50

รวม 200 100.00

ส่วนใหญ่อยู่อำเภอเชียงคาน รองลงมาเป็น อำเภออื่นๆ ในจังหวัดเลย และต่างจังหวัด ตามลำดับ



3.5 รายละเอียดนักท่องเที่ยวต่างจังหวัด

จังหวัด จำนวน (คน) ร้อยละ

กรุงเทพมหานคร 10 47.61

มหาสารคาม 1 4.76

หนองคาย 1 43.76

ขอนแก่น 4 19.04

เพชรบูรณ์ 5 23.80

รวม 21 100

นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาจากกรุงเทพมหานคร รองลงมาเป็นเพชรบูรณ์ ขอนแก่น ตามลำดับ

3.6 ตารางประเมินความพึงพอใจ การแสดงศิลปวัฒนธรรม พาแลง ลอยผาสาด การไหลเรือไฟ

ข้อที่ รายการประเมิน ระดับความพึงพอใจ

น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก มากที่สุด รวม (คน)

1 2 3 4 5

1 สถานที่ที่ใช้จัดการแสดง 0 6 61 95 38 200

2 เวลาในการแสดง 1 11 93 75 20 200

3 พิธีกร การประชาสัมพันธ์ 3 25 83 67 22 200

4 รายการแสดงบนเวที 0 15 95 67 23 200

5 เครื่องเสียง แสง 0 18 94 73 15 200

6 อาหาร 1 21 101 55 22 200

7 พิธีกรรมลอยผาสาด 2 11 86 72 29 200

8 การแต่งกาย 0 5 67 83 45 200

9 การตกแต่งสถานที่ ปราสาทผึ้ง 0 7 80 88 25 200

10 นางงามปราสาทผึ้ง 0 8 75 79 38 200

11 เวลาในการปล่อยไหลเรือไฟ 1 12 67 93 27 200

12 ความสวยงามของเรือไฟ 0 15 96 65 24 200

13 ความเร็วของเรือไฟ 0 31 102 49 18 200


3.7 ตารางประเมินความพึงพอใจ การแสดงศิลปวัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้าน พาแลง

ลอยผาสาด การไหลเรือไฟ

ข้อที่ รายการประเมิน เปอร์เซ็นต์ของระดับความพึงพอใจ

น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก มากที่สุด รวม

1 2 3 4 5

1 สถานที่ที่ใช้จัดการแสดง 0.00 3.00 30.50 47.50 19.00 100.00

2 เวลาในการแสดง 0.50 5.50 46.50 37.50 10.00 100.00

3 พิธีกร การประชาสัมพันธ์ 1.50 12.50 41.50 33.50 11.00 100.00

4 รายการแสดงบนเวที 0.00 7.50 47.50 33.50 11.50 100.00

5 เครื่องเสียง แสง 0.00 9.00 47.00 36.50 7.50 100.00

6 อาหาร 0.50 10.50 50.50 27.50 11.00 100.00

7 พิธีกรรมลอยผาสาด 1.00 5.50 43.00 36.00 14.50 100.00

8 การแต่งกาย 0.00 2.50 33.50 41.50 22.50 100.00

9 การตกแต่งสถานที่ ปราสาทผึ้ง 0.00 3.50 40.00 44.00 12.50 100.00

10 นางงามปราสาทผึ้ง 0.00 4.00 37.50 39.50 19.00 100.00

11 เวลาในการปล่อยไหลเรือไฟ 0.50 6.00 33.50 46.50 13.50 100.00

12 ความสวยงามของเรือไฟ 0.00 7.50 48.00 32.50 12.00 100.00

13 ความเร็วของเรือไฟ 0.00 15.50 51.00 24.50 9.00 100.00

3.8 ตารางประเมินความพึงพอใจ การแสดงศิลปวัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้าน พาแลง

ลอยผาสาด การไหลเรือไฟ

ข้อที่ รายการประเมิน ค่าเฉลี่ย



ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

S.D. แปลผล

(อยู่ในระดับ)

1 สถานที่ที่ใช้จัดการแสดง 3.82 0.76 มาก

2 เวลาในการแสดง 3.51 0.76 มาก

3 พิธีกร การประชาสัมพันธ์ 3.40 0.89 ปานกลาง

4 รายการแสดงบนเวที 3.49 0.79 มาก

5 เครื่องเสียง แสง 3.42 0.75 มาก

6 อาหาร 3.38 0.83 ปานกลาง

7 พิธีกรรมลอยผาสาด 3.57 0.84 มาก

8 การแต่งกาย 3.84 0.79 มาก

9 การตกแต่งสถานที่ ปราสาทผึ้ง 3.65 0.74 มาก

10 นางงามปราสาทผึ้ง 3.73 0.81 มาก

11 เวลาในการปล่อยไหลเรือไฟ 3.66 0.80 มาก

12 ความสวยงามของเรือไฟ 3.49 0.80 มาก

13 ความเร็วของเรือไฟ 3.27 0.83 ปานกลาง

สรุปความพึงพอใจขบวนแห่พิธีเปิด

มากที่สุด ตามลำดับ

1. การแต่งกาย ( = 3.840)

2. สถานที่ที่ใช้จัดการแสดง ( = 3.825)

3. นางงามปราสาทผึ้ง ( = 3.735)

น้อยที่สุด ตามลำดับ

1. ความเร็วของเรือไฟ ( = 3.270)

2. อาหาร ( = 3.380)

3. พิธีกร การประชาสัมพันธ์ ( = 3.400)

2.9 ความคิดเห็น

1. กิจกรรมพาแลง ควรมีการตกแต่งขันโตก ให้สวยงาม เข้ากับเอกลักษณ์ท้องถิ่น ทั้งในเรื่องของผ้าปูขันโตก และที่รองนั่ง

2. ควรมีการจุดพรุ ที่สวยงามในจำนวนที่มาก

3. ทุกฝ่ายควรมีการเตรียมการในการนัดแนะ ในการจุดปะทัดเป็นระยะๆ และพร้อมเพรียงกันเพื่อความสวยงามของบริเวณโดยรอบ

4. ควรมีเอกสารแนะนำเกี่ยวกับประเพณีที่ทางเชียงคานจัดขึ้น

5. ควรมีฝ่ายที่รับผิดชอบเรื่องความสะอาดเรียบร้อย หลังจากการจัดงานเสร็จ เพื่อรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ลดผลกระทบด้านมลพิษทางสายตา

6. หลังจากเสร็จพิธีแล้วควรมีจุดจอดเรือไฟที่ห่างไกล สถานที่จัดพิธีอื่นๆ ในโอกาสต่อไป เพื่อความสวยงามในการถ่ายภาพ (กรณีในวันถัดมา)

7. การแต่งกายของนางรำเข้ากับเอกลักษณ์ที่เป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยว

8. เทพีปราสาทผึ้งสวย

9. จุดบริการอาหารแขกที่มารับประทานพาแลง ควรจัดไว้หลังเวที หรือจุดที่รัดกุม ผู้คนไม่พลุกพล่าน เพื่อความเป็นระเบียบ และลดปัญหาฝุ่นละอองที่จะตกลงไปในชามอาหาร

10. ควรมีการแนะนำเกี่ยวกับความเป็นมาของอาหารพื้นเมือง ในพาแลง

11. ควรเลื่อนเวทีการแสดงออกไปอีก เพื่อเป็นการขยายพื้นที่ในการจัดกิจกรรมให้แก่นักท่องเที่ยว ในบริเวณลานวัดท่าคก

12. การตกแต่งซุ้มประจำวัดต่างๆ ในอำเภอเชียงคานมีความสวยงามมาก

13. การตกแต่งเรือไฟ ควรไปในทิศทางที่เดียวกัน

14. การตกแต่งโดยรอบมีความสวยงาม ในเรื่องของการตกแต่งดอกไม้ แต่ควรเพิ่มเทียน หรือ กะลาน้ำมันเพื่อใช้จุดเทียนประจำจุดต่างๆ โดยรอบราวสะพาน ในจุดที่แนะนำให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงได้

15. ควรเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในพื้นที่เพิ่มเติม เพื่อป้องกันปัญหา หรืออุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

16. ได้รับความร่วมมือในการจัดกิจกรรมการแสดงด้านบนเวทีจากโรงเรียนในท้องถิ่นดีมาก

17. ควรปรับปรุงขบวนนางรำตอนกลางคืนให้ดีขึ้นไม่เป็นระเบียบ

18. ไม่ควรทิ้งระยะห่างในการไหลเรือไฟมากนัก

19. ควรแจกแบบสอบถามก่อน-ขณะมีการแสดง

20. มีการกำหนดหัวข้อของการจัดเรือไฟ

21. จัดทำบอร์ดนิทรรศการ เพื่อคอยตอบข้อสงสัย หรือแนะนำแก่นักท่องเที่ยว

22. ขบวนไม่เป็นระเบียบ



39



23. การประชาสัมพันธ์มีน้อย

24. เพลงให้นางรำที่ตลิ่งริมแม่น้ำโขงให้ดังกว่านี้

25. เรือไฟมาช้ามากๆ

26. ดับไฟเรือไฟเร็วเกินไป ควรปล่อยให้นักท่องเที่ยวดูก่อน ห้าทุ่มค่อยดับก็ได้

27. เรือไฟปล่อยมาช้า รอนาน

28. การแสดงศิลปวัฒนธรรมมีน้อย

29. ไม่ดึงดูดความสนใจ คนชมน้อยมาก

30. ใช้เวลาในการปล่อยเรือให้เร็วขึ้น และต่อเนื่อง

31. อยากให้มีการประชาสัมพันธ์มากๆ

32. อยากทราบประวัติความเป็นมาของพิธีกรรมผาสาด

33. การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดี และไม่ครอบคลุม

34. อำนวยความสะดวกการชมให้มากกว่านี้

35. งานออกพรรษาน่าจะติดต่อกันไม่น่าจะแยกกันออกเป็นคนละงาน (เหมือนมี 2 งาน)

36. ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวยังคงไม่ค่อยน่าไว้วางใจ

37. การแต่งกายของชาวบ้านบางส่วนยังไม่แสดงถึงวัฒนธรรมที่ดีงาม

38. ผู้มาเที่ยวผิดหวังกับงานในครั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา

39. ไม่ทราบเวลาในการปล่อยเรือไฟ

40. เวลาที่นางรำข้างตลิ่งริมโขง ขณะที่แขกผู้มีเกียรติเดินไปลอยผาสาด ควรให้นางรำร้องเพลงประจำเมืองที่มาจากเสียงของนางรำเอง เพราะจะทำให้นักท่องเที่ยวรู้สึกประทับใจในความเป็นเชียงคาน แทนที่จะเปิดเสียงเพลงจากเครื่องเสียง

41. ไม่ควรปล่อยโคมลอย ไปค้างสายไฟหน้างานเกิดอันตรายไฟดับทั้งเมืองได้

42. เครื่องเสียงเวทีใหญ่ดังกระหึ่มดีมาก

43. ชื่นชอบกิจกรรมลอยกระทงสะเดาะเคราะห์ ทำให้มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยว

44. สถานที่จัดงานแสดงเวที มีทำเลที่ตั้ง ที่เหมาะสม ติดริมแม่น้ำโขงทำให้ได้รับบรรยากาศการท่องเที่ยวเชียงคานอย่างเต็มที่

45. หงส์อยู่ต่ำกว่าพญานาค ผิดฮวงจุ้ย

46. เทพี ปราสาทผึ้ง ห้ามจ้างมาประกวด

47. บริเวณทางเดินริมโขง ควรมีการจุดตะเกียงน้ำมันเป็นจุดๆ เพื่อความสวยงามและให้แสงสว่างแก่นักท่องเที่ยวที่ต้องการชื่นชมบรรยากาศริมแม่น้ำโขง

48. แต่งกายสไตล์แบบโบราณของเมืองเชียงคาน เพื่อเป็นการดึงดูดความน่าสนใจ

49. สถานที่การจัดงานขาดตอน โดยเฉพาะช่วงที่เป็นถนนโล่ง (เหมือนเป็น 2 งานในวันเดียวกัน)



40



50. กิจกรรมนี้ทำให้นักท่องเที่ยวจดจำ และประทับใจ เกิดความต้องการท่องเที่ยวซ้ำอีกครั้ง และเป็นการบอกต่อถึงความประทับใจแก่คนรู้จัก ถือเป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่สำคัญ

51. รูปแบบกระทงที่ใช้ลอยสะเดาะเคราะห์ดูแปลกตา และเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นที่น่าสนใจ

52. ทำให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนเชียงคาน โดยการเรียงร้อยเรื่องราวเพื่อนำมาแสดง

53. มีการเล่นโคมลอย ไฟอาจไหม้บ้านเมืองได้

54. ไฟจากกระป๋องสวยกว่าไฟจากหลอดไฟ

55. ขอชมเชยช่างเรือไฟทำงานทั้งวันทั้งคืนหลายวัน

56. พอใจมากในวันที่ 23 มีกิจกรรมให้ชมทุกอย่าง

57. วัดกลางเอาเรือไฟของเก่ามาตกแต่งได้ชนะอีกแล้ว

58. สงสารพระ เณร ปีนเรือไฟ มัด จุดตะเกียง

59. ทำไมปราสาทผึ้งวัดใหญ่ได้ชนะเลิศหลายปีซ้อนกัน

60. ควรให้รางวัลคนถือต้นหมากเบ็งที่ออกแบบสวยงาม

61. ให้หาช่างศิลป์มือใหม่มาออกแบบเรือไฟ จะได้รูปแบบใหม่ๆบ้าง

62. เรือไฟไม่ควรทำด้วยขวดยาบำรุงกำลังเพราะระเบิดได้

63. ขอรณรงค์เรื่อง การจุดโคมลอย ด้วยนะครับ เชียงคานเป็นบ้านไม้เก่า ลมของแม่น้ำโขงก็ปั่นป่วน

64. คนทำเรือไฟมีน้อยมีแต่พระกับเณร ช่วยกันมัด

65. เจอประทัดและดอกไม้ไฟโดนเข้ามาใส่เพราะความคะนองของน้องๆ เด็กวัยรุ่นนักท่องเที่ยว ทำให้คนแถวนั้นตกใจกันมาก และแทนที่จะขอโทษก็กลับทำเนียน หัวเราะ แล้วโหวกเหวกพากันเดินหนีไป น้องผู้หญิงกลุ่มใหญ่กันเลยทีเดียว

66. ไฟเรือไฟดับมอดก่อนถึงหน้าวัดท่าคกดูแล้วไม่เต็ม

67. ไม่ได้ดูใกล้ๆ เพราะพาแลงกันที่หมด

68. ออกประกาศห้ามซื้อ ขาย เล่นโคมไฟเพราะ ไม่ใช่ประเพณีของเชียงคาน

69. เรือหงษ์น่าจะลอยอยู่ในน้ำมากกว่าจะเอามาตั้งโชว์ไว้บนบก

70. ทำไมปราสาทผึ้งวัดศรีคุณเมืองได้ที่ 1 ทุกปี

71. ห้ามปล่อยโคมไฟ ไฟจะไหม้บ้านไม้เก่า

72. แสงไฟเรือเรือหงส์น้อยไป ไม่เด่น

73. ปราสาทผึ้งอยากให้ตกแต่งเหมือนบุฮม มีพานบายศรี พญานาคด้วย

74. ผาสาดลอยเคราะห์ หรือผาสาดสะเดาะเคราะห์ เขียนป้ายไม่เหมือนกัน

75. นางงามตั้งใจรำแต่เสียงเพลงอยู่ไกล เสียงค่อย รำเป็นขบวน

76. นั่งอยู่ทั้งโคมลอยมาใส่บ้านพัก ตกใจมาก

77. ไม่มีปราสาทผึ้งแบบโบราณ

78. พญานาคในซุ้มบุฮมสวยมาก

41



79. พาแลงแย่งที่ของชาวบ้านจะไปเข้าชมบนเวที

80. ควรนำนักเรียนมาร่วมขบวนลอยผาสาดเสดาะห์เคราะห์

81. น่าจะเพิ่มไฟให้นางรำที่ไปรำริมตลิ่งแม่น้ำโขง มืดมาก เสียงเพลงก็ไม่ดังพอ

82. คนเข้าร่วมพิธีเยอะมากไม่มีที่ให้นักท่องเที่ยวได้นั่งเพราะเลยไปเป็นที่นั่งของพาแลง

83. พิธีกรรมสะเดาะห์เคราะห์เร็วเกินไป ไม่เร้าใจเหมือนสืบชะตา

84. กระทงผาสาดเสดาะห์เคราะห์ควรมีรูปแบบเดียวเป็นช่องๆ ไม่ใช่เอาต้นหมากเบ็งมาลอยผาสาด

85. โปะเรือลอยผาสาดสูงเกินไป

86. ไม่ควรจุดโคมไฟในงาน ไฟไหม้สายไฟเสาไฟฟ้า

87. สะเดาะห์เคราะห์น่ากลัว

88. ควรหาเก้าอี้ให้ผู้ว่านั่ง แทนที่จะนั่งพับเพียบ

89. สาวงามเชียงคานแต่งตัวสวยดีน่าจะรำมาจากซอย 9 แทนซอย 17 สั้นไป

90. วันออกพรรษาชาวเชียงคานจะลอยเรือไฟบกที่บ้านจุดเทียนเป็นแนวยาวไปปีนี้ไม่เห็นมี

91. นางรำเบิ่งโขงควบคุมไม่ได้

92. ผู้ว่าจุดเทียนเสียงยังดังอยู่

93. เทพีปราสาทผึ้งสวยทุกคนเป็นคนเชียงคาน

94. ซุ้มปราสาทผึ้งใหญ่เล็กไม่เท่ากัน ตั้งอยู่หน้าวัดท่าคกดีแล้ว นักท่องเที่ยวผ่านไปมาได้ชม

โดย: โฟมน่ารัก วันที่: 19 กันยายน 2554 เวลา:12:23:02 น.
  
3.10 ความคิดเห็นด้านการท่องเที่ยว

1. รถของนักท่องเที่ยว หรือ คนท้องถิ่น บดบังทัศนียภาพทางด้านการท่องเที่ยว ถ่ายรูปไม่ได้

2. ควรมีฝ่ายที่คอยให้บริการ ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวในเรื่องต่างๆ

3. ควรมีสถานที่จอดรถ ที่เป็นระเบียบ

4. ควรมีป้ายสื่อความหมายในการอธิบาย วัสดุ สิ่งของ เครื่องใช้ สถานที่ ต้นไม้ สมัยโบราณของท้องถิ่น

5. ควรจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเพิ่มเติม เป็นการละเล่นท้องถิ่น และมีของรางวัลให้

6. ในภาชนะบรรจุของฝาก เช่น มะพร้าวแก้ว ควรมีฉลากแนะนำความเป็นมา ต้นกำเนิด ประโยชน์ของสินค้า โดยออกแบบให้สวยงาม

7. ควรมีการจัดบอร์ดนิทรรศการเกี่ยวกับงานประเพณี ประวัติ แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง แหล่งท่องเที่ยวแนะนำ ของเมืองเชียงคาน เพื่อจัดแสดงภายในงาน ไว้คอยบริการแก่นักท่องเที่ยวที่ต้องการศึกษา

8. ควรมีป้ายบอกที่จอดรถเป็นระยะๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเป็นกลุ่มคณะ ในจำนวนมากๆ และจัดที่จอดรถสำรองไว้ เผื่อกรณีที่จอดรถเต็ม

9. ควรมีหน่วยพยาบาลเคลื่อนที่ หรือจุดพยาบาล ไว้คอยบริการแก่นักท่องเที่ยว

10. ผู้คนท้องถิ่นอัธยาศัยดี ยิ้มแย้มแจ่มใส ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว

11. หางบประมาณมาช่วยดำเนินการให้มากกว่าเดิม

12. ควรมีกล่องรับความคิดเห็นประจำตามจุดต่างๆ เพื่อสอบถามความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวได้อย่างทั่วถึง

13. ร้านอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว ในช่วงวันเทศกาล ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเยอะๆ

14. มีของที่ระลึกเพื่อเผยแพร่ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว

15. อาหารไม่อร่อย

16. รู้สึกผิดหวังในการมาเที่ยวครั้งนี้

17. อาหารราคาไม่แพง และรสชาติดี

18. ไม่มีความเห็น เพราะยังไม่ได้เที่ยวอะไรเลย

19. ควรมีการเช็คอัตราห้องพักที่มีในอำเภอเชียงคาน และรายงานผลต่อวันแก่เจ้าหน้าที่ ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ และสามารถแจ้งที่พักที่ยังมีห้องว่าง เพื่อความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาและต้องการค้างคืน

20. สถานที่ท่องเที่ยว และกิจกรรมที่จัดขึ้นของอำเภอเชียงคาน สร้างความประทับใจแก่ผู้มาเยี่ยมเยือน

21. บริเวณทางเดินข้างริมโขง(ร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์) ควรมีการจัดให้เป็นระเบียบ และรักษาความสะอาด มากกว่านี้

43



22. ลูก-หลาน ได้กลับมาทำงานที่บ้าน

23. บางเจ้า เจ๊ง

24. ควรมีการจัดและตกแต่งความสวยงามของธุรกิจร้านค้า ที่พัก ที่ติดบริเวณริมแม่น้ำโขงทั้งสองด้าน (ทั้งด้านหน้าและหลังของธุรกิจดังกล่าว)เพื่อเป็นการเพิ่มจุดสนใจให้แก่นักท่องเที่ยว

25. ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ไว้คอยบริการ นักท่องเที่ยว

26. พ่อค้าแม่ค้า ขายของเป็นยังไงบ้าง รายได้ รายจ่ายดีกว่ากัน

27. นักท่องเที่ยว ดู กิน ซื้อของ

28. ถ้าไม่มีชิงช้าสวรรค์ ฯลฯ อาจไม่มีคนเยอะ

29. ที่พักไม่พอ

30. เศรษฐกิจเข้าเมืองเชียงคานเยอะ ผลกระทบตามมา ไม่รู้

31. ไม่เป็นที่น่าพอใจ

32. คนเชียงคานคิดกินระยะสั้น คนที่อื่นคิดระยะยาว

33. ออกแบบป้ายสื่อความหมายให้กลมกลืนกับท้องถิ่น เช่น ป้ายไม้เก่า

34. การทำบุญพระประจำวันเกิด การเสี่ยงเซียมซี การโยนเหรียญลงน้ำพุศักดิ์สิทธิ์ สร้างในวัดใกล้ถนน เพื่อความเป็นศิริมงคล

35. กองเชียร์ฟุตบอลทะเลาะกัน โยนขวดยาบำรุงกำลังแตกกระจาย ตำรวจมาไม่ทัน

36. ให้มีการแข่งขันมอเตอร์ไซต์ทุกวัน

37. กรรมการฟุตบอลไม่พอ

38. ชอบมอเตอร์ครอสมากๆ ปีหน้าเอามาอีก

39. การนุ่งผ้าซิ้นใส่บาตรตอนเช้า

40. วาง Road map ของเชียงคาน

41. ดูพระอาทิตย์ตกดิน ดูวิถีชีวิตคนท้องถิ่น กินอาหารพื้นบ้านจริงๆ ที่มีเฉพาะที่เชียงคานเท่านั้น

42. น่าจะมีตำรวจหรือเวรยามคอยออกตรวจตราในเวลาค่ำคืนก็จะทำให้มั่นใจขึ้น

43. ควรจัดพิมพ์หนังสือข้อแนะนะเกี่ยวกับสิ่งที่ "ควรทำ" และ "ต้องไม่ทำ" ระหว่างการอยู่ ท่องเที่ยวเมืองเชียงคาน

44. ประทับใจส้มตำขนมจีนเส้นด๊องแด๊ง

45. เชียงคานมีสิ่งดีดีในตัวอยู่แล้ว อย่าทำลายและเปลี่ยนแปลง คงไว้สิ่งเก่าๆๆๆๆ บำรุงให้ดีแต่อย่าสร้างใหม่

46. การจูบ จับมือและกอดในที่สาธารณะไม่สุภาพ

47. เมืองโตไม่ทัน

48. ก่อนจะถ่ายรูปใครสักคน เป็นการดีที่จะถามดูว่าเจ้าตัวจะยินยอมหรือไม่

49. ให้ความรู้การท่องเที่ยวกับชาวบ้าน

44



50. ชอบแข่งขันมอเตอร์ไซต์

51. การแสดงจ้างแต่นักร้องมาไม่ได้เอาวงดนตรีมาด้วย

52. จอดรถไม่เป็นระเบียบ

53. มาขายเสื้อผ้าในวัดท่าคกไม่ค่อยได้ขาย

54. คนเชียงคานจัดระบบเดินรถดีมาก

55. เก็บต้นไม้ก่อนไม่มีคนซื้อ

56. คนเยอะมาก แย่งกันซื้อแย่งกันถ่ายรูป

57. ความเป็นจริง ถนนคนเดินมันไม่ใช่เสน่ห์ในความเป็นเชียงคาน ถนนคนเดินที่ไหนก็มีได้

58. ข้าวจี่ทอด ซาลาเปา ง่ายๆ ราคาถูก ที่พักก็เหมาะกับเศรษฐกิจพอเพียง

59. อยากรู้วัฒนธรรม ที่มีอยู่ การใส่บาตร วัดเก่าที่มีอยู่ตำนานวัด ตำนานเมือง

60. คนท้องถิ่นคงมีเคืองที่คนที่อื่นอาศัยกระแสมาแย่งทำมาหากิน

61. อยากเข้าไปทำวิจัยเกี่ยวกับทรัพยากรวัฒนธรรมที่เชียงคาน

62. ป้าคำก้อยและน้องนำฝนดูแลและให้คำแนะนำถึงประเพณีการตักบาตรข้าวเหนียว

63. ตักบาตรให้นักท่องเที่ยวใส่ผ้าเบี่ยงด้วยจะสวยงามส่งเสริมวัฒนธรรม

64. รู้สึกว่าเชียงคานจะวุ่นวายขึ้นจากเมื่อปีที่แล้ว

65. บ้านเมืองสงบเงียบ อากาศก็ดีไม่ต้องใช้ชีวิตเร่งรีบอย่างคนกรุงเทพฯ

66. สนุกสนานดีมากๆครับ ทั้งบรรยากาศบนถนนริมโขง งานไหลเรือไฟ แข่งเรือยาว

67. ถ้าไม่วางแผนจัดการให้ดี วิถีชีวิตและวัฒนธรรมจะเปลี่ยนไปรับใช้นักท่องเที่ยว

68. แบ่งที่ให้จักรยานด้วย

69. รถทัวร์คันใหญ่ ๆ เค้าปล่อยให้เข้ามาในถนนสายล่างได้อย่างไรถนนก็แคบ

70. ชอบบ้านดินที่มีไม้ไผ่สานตรงผนังเอามากๆ แต่ตอนนั้นก็ทรุดโทรมมากแล้ว

71. อยากให้มีหอเมืองเชียงคาน หรือพิพิธภัณฑ์เมือง บอกเล่าความเป็นมาของเมือง

72. ไปเที่ยวภูทอก วิวสวยดี

73. คนที่เชียงคาน แล้วแต่ดวงค่ะ บางร้านก็ดี บางร้านก็ไม่ค่อยอยากรับแขกเท่าไหร่..ส่วนที่ดีเค้าก็มี

74. นักท่องเที่ยวใส่กางเกงขาสั้น

75. อย่าให้เชียงคานเติบโตไปทางที่ผิด

76. ทำไมไทเชียงคานถึงชาร์ทราคาของกินแพง

77. มะพร้าวแก้วร้อนๆแบบเพิ่งลงจากกระทะอร่อยกว่าตอนที่มันแห้งแล้วซะอีก

78. อยากให้เชียงคาน อยู่แบบนี้ต่อไป ไม่อยากให้เมืองที่เงียบสงบกลายเป็นเมืองในเชิงธุรกิจ มีแต่คนฉกฉวยหาผลประโยชน์

79. โฮมสเตย์ นักท่องเที่ยวที่มาในกลุ่มรถตู้นั้นตำหนิว่า ที่นอนแข็งมากบ้าง น้ำไหลไม่แรงบ้าง



45



80. อาหารของเขาก็แพงเหลือเชื่อ สิ่งนี้เป็นอันตรายกับชาวเชียงคานมาก หากไม่มีการควบคุม ปล่อยให้มีการขายอาหารราคาแพง รวมทั้งมีร้านเหล้าเบียร์ตลอดถนนอย่างนี้ เป็นสิ่งมอมเมาเยาวชนเชียงคานแน่นอน สุดท้ายก็จะเละ และฟื้นตัวลำบาก

81. นักท่องเที่ยว ควรจอดรถไปที่ถนนศรีเชียงคาน ถนนใหญ่ด้านบนไม่ควรขับเข้าซอย ไปที่ถนนชายโขง มันจะทำให้รถติดมาก ๆ

82. ร้านอาหารตอนเช้า พูดจาไม่ดีเลยค่ะออกแนวเสียงดังใส่

83. น่าห่วงในช่วงนี้คือ การที่คนจากที่อื่นเอามาทำมาหากินโดยไม่มีความเข้าใจในความเป็นเชียงคาน

84. แถมหาข้าวกินยากมากแถมได้โต๊ะที่ร้านลุกโภชนาเป็นโต๊ะสุดท้ายได้กินแค่ไข่เจียวกับผัดเผ็ด2อย่างที่สั่งไปหมด

85. อยากให้อนุรักษ์รูปลักษณ์ของชุมชนโบราณไว้

86. บางร้านพูดไม่แคร์ลูกค้าเลยเหมือนจะเอาแต่ตัง

87. ช่วยๆกันรักษา ความงามแบบเชียงคานดั้งเดิม ไว้ให้นานๆ

88. ตอนนี้โปรโมทกันขนาดหนัก ทั้งในเวปทั้งในทีวี

89. ถนนหนทางของเมืองเป็นระเบียบดี มีป้ายบอกเลขที่ซอยเรียงไปเรื่อยๆ จำง่าย ไม่มีเลขคู่ เลขคี่เหมือนซอยในกรุงเทพ

90. อยากให้เชียงคานเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆครับ อย่าเอาสิ่งแปลกปลอมเข้าไปเลย

91. เมืองที่สงบ แต่ไม่เงียบ มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ผู้คนอัธยาศัยดี ยิ้มแย้มแจ่มใส อาหารก็อร่อย

92. อย่าให้ทุนต่างถิ่นมารุกราน มาทำลายเชียงคานของเรา

93. รักและภูมิใจในท้องถิ่นของตัวเองให้มากๆ

94. คนมาเชียงคาน อยากชมวิว กินอาหารพื้นบ้าน ทำบุญ เรียนรู้วิถีชีวิต สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม ประวัติศาสตร์

95. แต่งกายให้เรียบร้อยเมื่ออยู่ในวัดต่างๆ ไม่ใส่กางเกงขาสั้นเข้าวัด

96. ไม่มีแสงสี ไม่มีสิ่งอบายมุข ไม่มีผับมีบาร์ ระยะเกือบหกร้อย กม. ที่พวกเราตั้งใจไปมันคุ้มค่า

97. สตรีไม่ควรแตะเนื้อต้องตัวพระหรือจีวรพระ

98. รักษาความสะอาดโดยไม่ทิ้งขว้าง การช่วยเก็บเศษขยะเป็นการสร้างตัวอย่างที่ดี

99. สนับสนุนคนท้องถิ่นโดยการซื้องานฝีมือ

100. เชียงคานไม่เคยมีรูปแบบการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง

101. ตัวเมืองเองมีวัดเป็นสิบๆวัด.

102. ผาสาดเสดาะห์เคราะห์ไม่ใช่ลอยกระทง อย่าให้เหมือนลอยกระทง

103. แนะนำวัด ที่เที่ยว อาจมีไกด์ท้องถิ่น โดยหัดเด็กๆนักเรียนเป็นไกด์

104. เป็นกำลังใจให้ชาวเชียงคาน ขอให้ต่อสู้กับกระแสบริโภคนิยมอย่างมีสติ



46



105. ให้เด็กมานั่งด้วยเป็นการฝึกอารยธรรมของเมืองเชียงคาน

106. มีเอกลักษณ์เฉพาะตนดีมาก โดยอย่างยิ่งบ้านเก่า วัด วิถีชีวิต

107. ไก่ย่างจาก 30 บาท ขึ้นเป็น 50 บาท ไม่ขายให้คนเชียงคาน

108. เล่าความเป็นมา พาทำบุญเก้าวัด

109. ข้าวปุ้นเคยซื้อ 20 บาท ไม่ขาย จะขายให้แต่นักท่องเที่ยว

110. โฮมสเตย์เอาแต่เงิน ไม่คุยกับนักท่องเที่ยว

ฯลฯ

โดย: โฟมน่ารัก วันที่: 19 กันยายน 2554 เวลา:12:23:35 น.
  
โดย: Kavanich96 วันที่: 20 กันยายน 2554 เวลา:9:58:04 น.
  
มาชมงานวันที่ 10 ตค.นี้พร้อมกับนักศึกษากลุ่มเล็ก ๆ ที่มากันน้อยเพราะนักศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ประสบอุทกภัย แต่ก็ได้รับความประทับใจอย่างมาก ที่ได้เข้าเรียนรู้เรื่องภาษาและขนบประเพณี พร้อมชมงานอย่างใกล้ชิด มีการจัดทำแบบสอบถามในกลุ่มที่มาเชียงคานวันนั้น สรุปได้อย่างนี้ครับ
แบบสอบถามความคิดเห็นการไปทัศนศึกษาดูงาน
“เทศกาลออกพรรษา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่เชียงคาน”
วันที่ ๑๐ เดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ เทศบาลเมืองเชียงคาน จังหวัดเลย
๑. สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกเป็น
๑.๑ เพศ ชาย ๑๒ คน หญิง ๘ คน
๑.๒ ตำแหน่ง นักศึกษา ๑๐ คน อาจารย์ ๔ คน
อื่นๆ เจ้าหน้าที่คณะนิเทศศาสตร์ และคณะอื่น ๆ รวม ๖ คน
๒. แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ไปทัศนศึกษา จำนวน ๒๐ ชุดสรุปผลได้ดังนี้
ประเด็นสอบถามความคิดเห็น ระดับความเหมาะสม
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
๑ การประสานงาน/การประชาสัมพันธ์งานของ
”กลุ่มเครือข่ายการสื่อสารต่างวัฒนธรรม ๑/๕๔” ในการไปทัศนศึกษาในครั้งนี้มีเพียงใด ผล /ปานกลาง
๒ ท่านมีความพึงพอใจในการเดินทางไปทัศนศึกษาตามโครงการของกลุ่มในครั้งนี้เพียงใด ผล/มาก
๓.ช่วงระยะเวลาไปทัศนศึกษาดูงานมีความเหมาะสม ผล/น้อย /
๔.กลุ่มเป้าหมายมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีเพียงใด ผล/มากที่สุด
๕.เอกสารประกอบการเยี่ยมชมงาน/ข้อมูลการไปทัศนศึกษาในครั้งนี้เหมาะสมเพียงใด ผล/ปานกลาง
๖.การบริหารงานแบบกลุ่มเครือข่ายเอื้อประโยชน์ในการพัฒนาทักษะประสบการณ์รายวิชาที่เรียนทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่มเพียงใด ผล/ปานกลาง /
๗.อาหาร เครื่องดื่มและที่พักเหมาะสมเพียงใด ผล/ปานกลาง /
๘.การบริการ/อำนวยความสะดวก/ความสุภาพของของมัคคุเทศก์และผู้ควบคุมรถ ผล/มาก
๙.ความคุ้มค่า/คุ้มทุนในการไปทัศนศึกษาในครั้งนี้ ผล/มาก
๑๐.ประโยชน์ที่ได้รับในด้านการฝึกทักษะการสื่อสารต่างวัฒนธรรมจากการไปทัศนศึกษาครั้งนี้ ผล/มาก
๓. ข้อเสนอแนะอื่นๆ
๓.๑ การเดินทางควรร่วมใช้พาหนะน้อยคันที่สุด เพื่อแบ่งปันและเรียนรู้ทัศนคติ/ ความคิดเห็นระหว่างการเดินทาง รวมทั้งการบริหารเวลา ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ง่าย และประหยัด
๓.๒ ควรมีการจัดสถานที่เฉพาะเพื่อการเข้ารับฟังการบรรยายเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของชุมชนกลุ่มเป้าหมาย พิธีการ รวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ที่สัมพันธ์กับรายวิชา กับผู้แทนชุมชนฯ
หมายเหตุ เนื่องจาก เกิดสภาวะการณ์คับขันเรื่องอุทกภัย ที่นักศึกษา คณาจารย์ส่วนหนึ่งห่วงใยกังวลต่อญาติพี่น้องในพื่นที่เสี่ยง ทำให้การประชาสัมพันธ์และการบริหารจัดการการนำทัศนศึกษาครั้งนี้ประสบอุปสรรค และติดขัดหลายประการ กอปรกับมหาวิทยาลัยฯ เพิ่งสอบปลายภาคเสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 9 ตค. จึงมีผู้ร่วมทัศนศึกษาฯน้อยกว่าที่คาด อย่างไรก็ดีกลุ่มที่มาร่วมงานฯในวันดังกล่าว มีผู้เคยเข้าร่วมงานฯในปีก่อน ๆ เพียง 1 คน เท่านั้น ทำให้ผู้เข้าร่วมงานฯเกิดภาพความประทับใจในการจัดงานอย่างเรียบง่ายแต่สวยงามเหมาะสม ประชาชนในพื้นที่ให้ความสำคัญต่องานเป็นอย่างมาก พร้อมทั้งมีปฏิสัมพันธ์กับผู้มาเยือนอย่างมีน้ำใจและมิตรไมตรีแท้จริง... ผมเสียดายเวลาที่มีน้อยมาก เพราะต้องรีบกลับไปปฏิบัติภารกิจอื่นอีก จึงเป็นลักษณะ มาเช้ากลับบ่าย ฯ อย่างไรก็ตาม หวังว่าในปีต่อไป จะมีโอกาสมาเยี่ยมเชียงคาน และซึมซับวัฒนธรรมที่ดี ในระยะเวลาที่มากกว่านี้ ขอบคุณน้ำใจไมตรีที่งดงามของชาวเชียงคานทุกคนครับ
โดย: ลูกหิน IP: 223.205.237.204 วันที่: 12 ตุลาคม 2554 เวลา:7:37:51 น.
  
กรุณาส่งต่อคำขอบคุณมายังพี่น้องชาวคุ้มต่าง ๆ โดยเฉพาะบุคคลท่านต่อไปนี้ครับ คุณพี่เขี่ยน จันทะไชยา คุณพี่วิเชียร - พี่สมัย สุทธิสานนท์ คุณจิระพรรณ แก้วขาวใส คุณเศกสิทธิ์ - คำหล้า สอนสิงห์ คุณพี่ร้านศิริมงคล และผู้ที่รักนับถืออีกหลายท่าน ที่ยังคงแสดงน้ำใจไมตรีที่อบอุ่นให้แก่กลุ่มของผม ฯ เสียดายไม่มีโอกาสชมงานให้ครบทุกวัน ขอบคุณอีกครั้งสำหรับเว็บนี้ที่ท่านตั้งขึ้นเพื่อชาวเชียงคานโดยแท้ ... ด้วยความนับถือ
โดย: ลูกหิน IP: 223.205.237.204 วันที่: 12 ตุลาคม 2554 เวลา:7:57:41 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

โฟมน่ารัก
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



Group Blog
กันยายน 2554

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog