ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
 
มีนาคม 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
17 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 

บังคับจำนองตามปพพ.ม.733

จะขอชำระหนี้ส่วนต่างที่เกิดจากการขายทอดตลาดได้หรือไม่

หลังจากบ้านถูกขายทอดตลาดไปแล้วแต่ยังเหลือหนี้ส่วนต่าง หนี้ส่วนหนี้จะขอประนอมเพื่อชำระหนี้ได้หรือไม่ หรือต้องโดนยึดทรัพย์อื่น ๆ ที่มีอยู่สถานเดียว

ยอดหนี้ตามหมายฟ้อง 1,000,000 กว่านิด ๆ จำไม่ได้ แต่บ้านได้ถูกประเมินราคาเพื่อขายทอดตลาดเพียง 500,000บาท ซึ่งประเมินต่ำมาก ๆ

ต่อมาบ้านได้ถูกประกาศขายทอดตลาด ครั้งที่1 ไม่มีผู้สู้ราคา ครั้งที่2 มีผู้สู้ราคาแต่ธนาคารสู้ราคาไว้เอง 400,000บาท ตัวเองได้คัดค้านไว้ จึงต้องเลื่อนการขายทอดตลาดไปครั้งที่ 3

ถึงตอนนี้ตัดสินใจไม่ถูกว่า

1.จะหาคนไปประมูลซื้อเองดีหรือไม่ วิธีนี้เมื่อประมูลได้แล้วก็เชื่อว่า ต้องยังคงเหลือหนี้ส่วนต่างที่ยังต้องชำระอีกอยู่ดี (ใจจริงไม่อยากรบกวนคนอื่นให้มาต้องมีหนี้เพราะตัวเองเลย เพราะต้องเอาเค้าไปกู้ธนาคารให้เกรงใจเค้า และถ้ากู้มาแล้วก็ยังต้องจ่ายเงินทั้งที่กู้พร้อมไปกับหนี้ส่วนต่างจากการขายทอดอยู่ดีก็จะเป็นภาระที่หนักอยู่เหมือนเดิม หนำซ้ำถ้าหนี้ส่วนต่างธนาคารมายึดทรัพย์หรืออายัดเงินอื่น ๆเพิ่มด้วยแล้ว ก็เท่ากับว่าหมดตัวไม่เหลืออะไรเลย) ส่วนเงินก้อนจะซื้อคืนก็ไม่มี

2.ก็ยอมให้หลุดไปตามราคาประมูลสูงสุดจากการขายทอดครั้งที่2 คือ 400,000บาท ซึ่งจะมีส่วนต่าง อีก 600,000 กว่าบาท

ซึ่งในกรณีที่ 2 นี้ ส่วนต่างที่คงเหลือนี้เราจะสามารถขอชำระหนี้กับธนาคารโดยการผ่อนชำระได้หรือไม่ หรือธนาคารจะต้องยึดทรัพย์สินอื่น ๆ ที่มีก่อนถ้าไม่พอจึงจะยอมให้เราชำระเงิน

จะเป็นไปได้หรือไม่ถ้าเราขอชำระเป็นเงินโดยการผ่อนชำระ โดยที่ยังไม่ให้ธนาคารไปยึดทรัพย์สินอื่น ๆ ก่อน

และถ้าหากว่าธนาคารไม่ยอมจะยึดทรัพย์สินอื่น ๆ ไว้ก่อนเลยนั้น ธนาคารจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง กับหนี้ส่วนต่างนี้ คือ สามารถยึดทรัพย์อื่น ๆ ได้เลยทันที เพื่อนำมาขายทอด

หรือต้องดำเนินการยื่นเรื่องต่อศาลให้ศาลตัดสินในการยึดทรัพย์อื่น ๆ เพิ่ม จากหนี้ส่วนต่างนี้ก่อน จึงจะยึดได้ ถ้าเป็นกรณีเช่นนี้ ใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่ หลังจากขายทอดตลาดไปแล้ว


รบกวนผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ หรือนักกฎหมาย ช่วยแนะนำการตัดสินใจที่ดีที่สุดให้ด้วยนะคะ ขอบคุณไว้ล่วงหน้าเลยค่ะ

จากคุณ : เต้าส้อ
เขียนเมื่อ : 16 มี.ค. 53 23:30:17



ความคิดเห็นที่ 3

กรณีการบังคับจำนอง แม้จะมีหลักตามม.733 ในปพพ.ที่ว่า

มาตรา 733 ถ้าเอาทรัพย์จำนองหลุด และราคาทรัพย์สินนั้นมี ประมาณต่ำกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่ก็ดี หรือถ้าเอาทรัพย์สิน ซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวน เงินที่ค้างชำระกันอยู่นั้นก็ดีเงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดลูกหนี้ไม่ต้อง รับผิดในเงินนั้น


แต่อย่างไรก็ตามศาลฎีกาได้วางหลักไว้ว่ากฏหมายดังกล่าวไม่ใช่กฏหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่สัญญาสามารถตกลงเป็นอย่างอื่นได้ เช่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7391/2547
ป.พ.พ. มาตรา 733 เป็นเพียงบทสันนิษฐานถึงเจตนาของคู่กรณี หาใช่บทกฎหมายซึ่งเกี่ยวด้วยผลประโยชน์ของมหาชนโดยทั่วไปไม่ แต่เกี่ยวแก่คู่กรณีโดยเฉพาะ และหาได้เกี่ยวกับศีลธรรมตามที่นิยมกันในหมู่ชนทั่วไปหรือธรรมเนียมประเพณีของสังคมแต่อย่างใดไม่ จึงมิใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ผู้รับจำนองและผู้จำนองอาจตกลงกันเป็นประการอื่นจากที่มาตรา 733 บัญญัติไว้ย่อมกระทำได้ ข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับตามกฎหมายหาตกเป็นโมฆะไม่

คือ หากผู้รับจำนอง-ผู้จำนอง จะตกลงให้บังคับจำนองกับทรัพย์ที่จำนองแล้ว ได้เงินไม่พอชำระหนี้ ลูกหนี้ต้องรับผิดในเงินส่วนที่ขาด ข้อตกลงนี้ก็สามารถบังคับได้ครับ

มาว่ากันถึงกรณีที่ จขกท.หารือมาครับ

1.จะหาคนไปประมูลซื้อเองดีหรือไม่ วิธีนี้เมื่อประมูลได้แล้วก็เชื่อว่า ต้องยังคงเหลือหนี้ส่วนต่างที่ยังต้องชำระอีกอยู่ดี (ใจจริงไม่อยากรบกวนคนอื่นให้มาต้องมีหนี้เพราะตัวเองเลย เพราะต้องเอาเค้าไปกู้ธนาคารให้เกรงใจเค้า และถ้ากู้มาแล้วก็ยังต้องจ่ายเงินทั้งที่กู้พร้อมไปกับหนี้ส่วนต่างจากการขายทอดอยู่ดีก็จะเป็นภาระที่หนักอยู่เหมือนเดิม หนำซ้ำถ้าหนี้ส่วนต่างธนาคารมายึดทรัพย์หรืออายัดเงินอื่น ๆเพิ่มด้วยแล้ว ก็เท่ากับว่าหมดตัวไม่เหลืออะไรเลย) ส่วนเงินก้อนจะซื้อคืนก็ไม่มี

^
^

ควรหาคนไปประมูลแข่งกับธนาคารเพื่อให้ได้ราคาสูงที่สุดครับ เพราะยิ่งได้ราคาสูงเท่าใด ส่วนต่างหรือภาระหนี้ที่ จขกท.จะต้องรับผิดก็จะน้อยลงเท่านั้นครับ

2.ก็ยอมให้หลุดไปตามราคาประมูลสูงสุดจากการขายทอดครั้งที่2 คือ 400,000บาท ซึ่งจะมีส่วนต่าง อีก 600,000 กว่าบาท

ซึ่งในกรณีที่ 2 นี้ ส่วนต่างที่คงเหลือนี้เราจะสามารถขอชำระหนี้กับธนาคารโดยการผ่อนชำระได้หรือไม่ หรือธนาคารจะต้องยึดทรัพย์สินอื่น ๆ ที่มีก่อนถ้าไม่พอจึงจะยอมให้เราชำระเงิน

^
^

กรณีต้องอยู่ที่ธนาคารครับ ส่วนใหญ่ถ้าลูกหนี้เจรจาขอชำระ เขาน่าจะไม่ยึดทรัพย์นะครับ เว้นแต่ ข้อเสนอชำระหนี้ของลูกหนี้ไม่ดีพอ เขาก็จะยึดหรืออายัดทรัพย์ของลูกหนี้ต่อไป

จากที่กล่าวมาโดยสรุปคือ

1.ธนาคารมีสิทธิบังคับชำระหนี้ในส่วนต่างได้
2. จขกท.ควรหาคนไปประมูลแข่งกับธนาคารในการขายครั้งต่อไปให้ได้ราคาสูงที่สุด
3.จขกท.น่าจะขอผ่อนชำระหนี้ส่วนต่างได้ ทั้งนี้อยู่ที่ข้อเสนอว่าดีพอไหม ธนาคารรับหรือไม่

ขอร่วมแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ

แก้ไขเมื่อ 17 มี.ค. 53 08:25:49

จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 17 มี.ค. 53 08:21:52


ที่มา- //www.pantip.com/cafe/social/topic/U8997915/U8997915.html




 

Create Date : 17 มีนาคม 2553
0 comments
Last Update : 17 มีนาคม 2553 8:32:19 น.
Counter : 1777 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.