ยินดีต้อนรับครับผม
Group Blog
 
 
มีนาคม 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
16 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 
เจาะเลือดที่เป็นข่าว

เกี่ยวกับการเจาะเลือดที่เป็นข่าวครับ(ไม่การเมืองครับ)

เจ้าหน้าที่(หมอ/พยาบาล)ที่จะมาเจาะให้มีผลอะไรกับใบอนุญาตวิชาชีพหรือเปล่าครับ
แล้วถ้าไม่ใช่ผู้มีความรู้วิชาชีพมาเจาะจะมีผลอะไรทางกฎหมายหรือเปล่า

เพิ่งอ่านหนังสือเจอมาเกี่ยวกับความผิดฐานทำร้ายร่างกาย
กรณีแพทย์ตัดอวัยวะเพศชายทิ้งให้เฉยๆ โดยไม่ได้แปลงเพศ
ตีความว่าไม่จัดเป็นขั้นตอนการรักษาศัลยกรรม
และแม้เจ้าตัวจะยอมก็เป็นการขัดความสงบหรือศึลธรรม



ปล.ฟังจากข่าวก็ไม่เห็นว่ารมต.หรือกาชาดกล่าวถึงประเด็นนี้ มีแต่พูดเกี่ยวกับด้านสุขภาพ
ปล2.ย้ำว่าไม่มีเจตนาด้านการเมืองครับ
แต่ผมไปตั้งถามที่เวบด้านกฎหมาย(ไxxจัxxิx) โดนลบทิ้ง"ทันที" ยังไม่ได้คำตอบเลยครับ

จากคุณ : temp
เขียนเมื่อ : 16 มี.ค. 53 04:48:26 A:111.84.97.120 X: TicketID:003184


ความคิดเห็นที่ 15

ยินยอม ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง ยอม,ไม่ขัด, ตกลง, ชอบใจ, ตามใจ

ความยินยอมกับความรับผิดในทางแพ่ง

มีหลักกฎหมายทั่วไปกล่าวไว้ว่า “Volenti non fit injuria” (that of which a man consents cannot be considered injury) ซึ่งมีความหมายว่า “ ความยินยอมไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ทำให้เป็นละเมิด ” ซึ่งเป็นหลักกฎหมายที่แพร่หลาย หลายประเทศนำหลักนี้ไปใช้และเนื่องจากหลักความยินยอมเป็นหลักกฎหมายที่นำมาใช้เพื่อยกเว้นความผิด จึงมักไม่นิยมบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเช่นเดียวกับกฎหมายไทยก็ไม่มีหลักนี้ปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายใดเลย

หลักเกณฑ์ที่กฎหมายถือว่าเป็นการให้ความยินยอมนั้นใช้อ้างได้

1) ผู้ให้ความยินยอม ผู้ถูกกระทำต้องเข้าใจถึงการกระทำและผลของการให้ความยินยอม เช่น แดงยินยอมให้ดำตีศีรษะของตน เมื่อแดงเข้าใจถึงผลของการให้ความยินยอม ว่าแดงต้องได้รับบาดเจ็บถือว่าความยินยอมนั้นใช้ได้โดยไม่คำนึงถึงอายุหรือเพศผู้ให้ความยินยอมแต่อย่างใด ผู้ให้ความยินยอมต้องเป็นผู้มีจิตปกติและมีความรู้สึกนึกคิดในความเป็นเหตุเป็นผล แต่ไม่จำเป็นต้องถึงขนาดเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ เช่น หญิงอายุ 16 ปีแม้ว่าจะอยู่ในความปกครองของบิดามารดา ก็สามารถให้ความยินยอมในการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศได้ (ฎีกาที่ 828/2496) อย่างไรก็ดีความยินยอมให้กระทำการบางอย่างผู้เยาว์หรือผู้ไร้ความสามารถอาจไม่สามารถให้ความยินยอมตามลำพังได้ จึงต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลให้ความยินยอมแทน เช่น ยินยอมให้แพทย์ตัดขาทิ้งหรือรับการผ่าตัดรักษา เป็นต้น แต่ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวซึ่งผู้เยาว์สามารถเข้าใจในผลแห่งความยินยอมได้โดยลำพัง ผู้เยาว์นั้นก็ให้ความยินยอมเองได้ เช่น สมัครใจชกต่อยกับเพื่อนรุ่นเดียวกัน

2) เวลาที่ให้ความยินยอม ต้องให้ก่อนหรือขณะกระทำละเมิดและไม่จำกัดว่าจะต้องให้ก่อนล่วงหน้านานแค่ไหน แต่อย่างน้อยจะต้องมีอยู่เวลากระทำและมีอยู่ตลอดการกระทำนั้น ตราบใดที่ยังไม่ถอนการให้ความยินยอมถือว่าความยินยอมนั้นยังคงใช้ได้อยู่และการบอกเลิกหรือถอนการให้ความยินยอมจะทำเมื่อใดก็ได้ แต่ควรอยู่ในระยะเวลาที่เหมาะสมตามภาระแห่งหนี้ที่ตนก่อให้เกิดความผูกพันขึ้นด้วย มีข้อสังเกตว่าการบอกเลิกการให้ความยินยอมไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ( ฎีกาที่ 1121/2507 )

3) ให้ความยินยอมต่อผู้กระทำโดยตรงด้วยความสมัครใจ ความยินยอมที่เกิดจากการถูกข่มขู่หลอกลวง หรือความสำคัญผิด ไม่ถือว่าเป็นความยินยอมด้วยความสมัครใจดังสุภาษิตที่ว่า “ Nothing is so contrary to consent as force and fear ” (ไม่มีสิ่งใดเป็นปฏิปักษ์ต่อความยินยอมเท่ากับการถูกบังคับและความเกรงกลัว) เช่น ชายกระทำชำเราหญิงโดยทำให้หญิงเข้าใจผิดคิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น อันเป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราและเป็นความผิดทางแพ่งฐานละเมิดด้วย ชายจะอ้างว่าหญิงให้ความยินยอมไม่ได้ เพราะการยินยอมของหญิงเป็นไปโดยความสำคัญผิดมิใช่สมัครใจ แต่หากให้ความยินยอมเพราะถูกจูงใจให้ยินยอม เช่น หญิงยอมเสียตัวให้ชาย โดยชายหลอกลวงหญิงว่าจะเลี้ยงดูและจดทะเบียนสมรสด้วย กรณีนี้เป็นเพียงเหตุจูงใจให้ความยินยอมหลอกลวงในมูลเหตุ มิใช่หลอกลวงให้สำคัญผิดในตัวบุคคล หญิงจะอ้างว่าตนให้ความยินยอมไปโดยความสำคัญผิดหรือถูกหลอกลวงไม่ได้ (ฎีกาที่ 586/2488) ความสำคัญผิดที่จะยกขึ้นอ้างว่า ตนมิได้ให้ความยินยอมโดยสมัครใจนั้นจะต้องมิได้เกิดขึ้นเพราะความสำคัญผิดโดยประมาทเลินเล่อของผู้ให้ความยินยอม

4) การให้ความยินยอม จะโดยตรง โดยปริยาย หรือโดยการนิ่ง การให้ความยินยอมจะทำเป็นลายลักษณ์อักษรหรือด้วยวาจาก็ได้ เพราะกฎหมายมิได้บัญญัติแบบของการให้ความยินยอมไว้ แต่การนิ่งที่จะถือเป็นการให้ความยินยอมนั้น จะต้องเป็นกรณีที่การนิ่งนั้นตามปกติประเพณีหรือตามกฎหมาย ให้ถือว่าการนิ่งนั้นคือการยอมรับด้วย อย่างไรก็ตามการให้ความยินยอมย่อมมีขอบเขตจำกัด ถ้าเป็นการกระทำนอกเหนือไปจากที่ได้ให้ความยินยอมไว้ก็จะอ้างความยินยอมเพื่อไม่ต้องรับผิดไม่ได้

แต่หลังจากที่ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาอันไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 9 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ความตกลงหรือความยินยอมของผู้เสียหายสำหรับการกระทำที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจะนำมาอ้างเป็นเหตุยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเพื่อละเมิดมิได้” มีผลบังคับทำให้การให้ความยินยอมต่อการกระทำที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จะนำมาอ้างเป็นเหตุยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเพื่อละเมิดมิได้ ซึ่งถือว่าเป็นการกลับหลักแนวคิดและคำพิพากษาเดิมที่ว่า “ ความยินยอมไม่ทำให้เป็นละเมิด ” เช่น ยินยอมให้ฟันเพื่อลองวิชาอาคม เมื่อผู้ให้ความยินยอมได้รับอันตรายแก่กายผู้กระทำจะอ้างความยินยอมมาเป็นเหตุยกเว้นความรับผิดในมูลละเมิดมิได้

ความยินยอมกับความรับผิดในทางอาญา
แม้จะมิได้มีการบัญญัติเกี่ยวกับความยินยอมไว้ในมาตราใดโดยเฉพาะก็ตาม แต่มีความผิดบางฐานเมื่อได้รับความยินยอมแล้วก็ไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น หากหญิงยินยอมการกระทำของชายก็ไม่เป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตามมาตรา 276 ( เทียบกับฎีกาที่ 828/2486 ) โดยถือว่าเป็นการขาดองค์ประกอบภายนอกของความผิดตามมาตรา 276 ไปเลย และความผิดเกี่ยวกับทรัพย์บางมาตรา หากผู้เสียหายยินยอมให้กระทำโดยบริสุทธิ์ใจ ไม่มีการข่มขู่หรือหลอกลวงการกระทำก็ไม่เป็นความผิด เช่น ความผิดฐานลักทรัพย์ โกงเจ้าหนี้ ยักยอก ทำให้เสียทรัพย์และบุกรุก เช่น เข้าไปในบ้านเพื่อชมรายการโทรทัศน์โดยได้รับความยินยอม ยังฟังไม่ได้ว่าเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร แม้ขณะออกจากบ้านได้ถือโอกาสอนาจารผู้เสียหายด้วย ก็ไม่มีความผิดฐานบุกรุกตามมาตรา 364 เมื่อไม่มีความผิดตามมาตรา 364 ก็ไม่ผิดตามมาตรา 365 (1)(3) ด้วย ( ฎีกาที่ 2853/2539 ) การกระทำผิดทางอาญาบางฐานแม้จะได้รับความยินยอมจากผู้ถูกกระทำแต่กฎหมายก็มีเจตนารมณ์บัญญัติไว้เพื่อปกป้องคุ้มครองบุคคลบางประเภทแม้ว่าจะให้ความยินยอม ความยินยอมนั้นก็ไม่มีผลบังคับใช้ได้ เช่น การกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี แม้เด็กหญิงนั้นจะยินยอมผู้กระทำชำเราก็ต้องรับผิด

ความยินยอมบางกรณี เป็นเหตุ “ยกเว้นความผิด” เช่น แดงเป็นโรคร้ายแรง แพทย์จำต้องทำการผ่าตัดขาของแดงข้างหนึ่ง แดงยินยอมให้แพทย์ทำการผ่าตัดขา การที่แพทย์ตัดขาแดงเป็นการทำร้ายได้รับอันตรายสาหัสตามมาตรา 297 เพราะการผ่าตัดก็ถือว่าเป็นการทำร้ายร่างกายแล้ว แต่แพทย์ไม่มีความผิดมาตรา 297 เพราะความยินยอมของแดง ความยินยอมที่จะยกเว้นความผิดได้นั้น จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ด้วยเหตุนี้ หากยอมให้มีการยิง ฟัน หรือแทง เพื่อทดสอบว่าอยู่ยงคงกระพันจริงหรือไม่ จึงไม่อาจยกเว้นความผิดให้แก่ผู้กระทำได้ เช่น ผู้ตายเชื่อว่าวิชาที่จำเลยถ่ายทอดให้จะอยู่ยงคงกระพัน จึงยอมให้จำเลยใช้ปืนยิง การที่จำเลยเอาปืนจ่อยิงที่สะบักอันเป็นที่สำคัญ ย่อมเล็งเห็นผลแห่งการกระทำนั้นว่า ถ้าปืนลั่นออกไป ผู้ตายก็ต้องตายแน่นอน ซึ่งจำเลยก็สำนึกในการกระทำนั้นจำเลยมีความผิดตามมาตรา 288 ประกอบมาตรา 59 ( ฎีกาที่ 59/2502 ) และการที่บุคคลยินยอมเข้าชกมวยกันเพื่อความมุ่งหมายในการกีฬา มิใช่เพราะความอาฆาต ถือว่าความยินยอมนั้นเป็นการยกเว้นความผิด แต่ถ้าหากชกกันเพระอาฆาตไม่ใช่เพราะการกีฬา แม้จะสวมนวมชกกันบนเวทีก็ไม่เป็นการยกเว้นความผิด..


เอกสารอ้างอิง

กลุ่มสอบสวนและคดี

กองนิติการ กรมทางหลวงชนบท

//law.mahabuddharam.com/?p=33



สำหรับกรณีการเจาะเลือดคนเสื้อแดงตามข่าว

เป็นการให้ความยินยอมโดยบริสุทธิ์ใจ ทั้งก่อนเจาะเลือดได้มีการตรวจร่างกายก่อนแล้วว่าพร้อมที่จะให้เลือดได้ ทั้งเลือดที่เจาะก็เพียง 10 ซีซี ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมาก ไม่น่าจะเป็นอันตรายแก่ผู้ที่เจาะเลือด

ในความเห็นส่วนตัว จึงเห็นว่าผู้เจาะเลือดไม่มีความผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญาครับ

ขอร่วมแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ

จากคุณ : อุบลแมน
เขียนเมื่อ : 16 มี.ค. 53 11:17:33


ที่มา - //www.pantip.com/cafe/social/topic/U8993475/U8993475.html#15


Create Date : 16 มีนาคม 2553
Last Update : 16 มีนาคม 2553 11:33:18 น. 0 comments
Counter : 1017 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุบลแมน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุบลแมน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.